ขวบปีแรกของลูกน้อย

ช่วงขวบปีแรกของลูกน้อย คือช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเด็กทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลและสนับสนุนลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรียนรู้ข้อมูลทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจในช่วง ขวบปีแรกของลูกน้อย ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็ก1ขวบ มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในหลายส่วนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ การสื่อสาร ภาษา สังคมและอารมณ์ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เนื่องจากเด็ก1ขวบเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและลอกเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีและการให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เด็ก1ขวบมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในหลายด้านที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและมีสุขภาพดี ดังนี้ การเจริญเติบโตทางร่างกาย น้ำตัวของเด็กทารกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 เท่าตั้งแต่แรกเกิด และเมื่ออายุครบ 1 ขวบ เด็กจะตัวโตขึ้นประมาณ 9-11 นิ้ว หลังจากนั้น น้ำหนักตัวของเด็กจะเพิ่มขึ้นช้าลงหรืออาจคงที่ เนื่องจากระดับกิจกรรมที่มากขึ้น ดังนั้น การให้เด็กกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ เด็ก1ขวบจะมีพัฒนาการในการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเด็กจะเรียนรู้ทักษะในการหยิบจับสิ่งของด้วยการใช้มือและนิ้วมือ เช่น การส่งของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง การหยิบของเข้าปาก การเปิดหน้าหนังสือ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การพลิกตัว การคลาน การยืนด้วยการจับวัตถุรอบข้าง การยืนด้วยตัวเอง การเดินพร้อมกับการจับวัตถุรอบข้าง การสื่อสารและภาษา เด็ก1ขวบจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์สั้น ๆ ง่าย ๆ […]

สำรวจ ขวบปีแรกของลูกน้อย

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 หรือประมาณ 6 เดือน เป็นช่วงที่ทารกเริ่มที่จะสามารถยืนขึ้นได้ด้วยตัวเอง โดยการยึดเกาะสิ่งรอบตัว และการมีพัฒนาการด้านการพูดเล็กน้อย เริ่มเปร่งเสียงอ้อแอ้ได้เป็นคำ ๆ ที่ไม่มีความหมาย ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพฟันของลูก โดยการแปรงฟันและทำความสะอาดคราบเศษอาหารที่ติดอยู่ในช่องปากให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาช่องปากและฟันในทารก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 27 ยืนได้ด้วยการจับยึดกับคนหรือของอื่นๆ แสดงอาการขัดขืนเมื่อพยายามจะแย่งของเล่นของเขา พยายามหยิบจับของเล่นที่เอื้อมไม่ถึง ส่งของจากมือหนึ่งข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่ง ควานหาของที่ทำตก ใช้นิ้วมือหยิบของเล็กๆ ขึ้นมาได้ และกำไว้ในมือ ดังนั้นพ่อแม่ควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือลูก พูดอ้อแอ้ด้วยการผสมสระกับวรรณยุกต์เข้าด้วยกัน อยากจะกินอาหารแบบที่ใช้มือหยิบกินได้ กินแครกเกอร์หรืออาหารอื่น ๆ ที่ใช้มือถือไว้ได้ด้วยตัวเอง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยอาจบอกว่าเขาพร้อมจะลองใช้มือหยิบอาหารขึ้นมากิน ด้วยการแย่งช้อนหรือคว้าอาหารในจาน อาจจะลองแบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ 4-5 ชิ้น วางในถาดอาหารสำหรับเด็กหรือในจานที่ตกไม่แตก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักอาหาร ทางที่ดีควรป้อนอาหารในขณะที่เขานั่งตัวตรงบนเก้าอี้หรือที่นั่งสำหรับเด็ก ลูกน้อยอาจเจริญอาหารมากแต่ยังไม่มีฟันเคี้ยว ฉะนั้นจึงควรเริ่มจากอาหารที่ใช้เหงือกเคี้ยวได้ หรือละลายได้ง่ายในปาก พอลูกน้อยโตขึ้นก็ค่อยเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ควรหาหนังสือให้ลูกน้อยอ่าน เพื่อฝึกทักษะทางด้านภาษาของเด็ก และช่วยให้เขารักการอ่านมากขึ้น ลูกอาจไม่มีความอดทนพอจะนั่งฟังอ่านหนังสือให้เขาฟัง แต่อย่าเพิ่งเลิกทำง่ายๆ ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไร การอ่านจะช่วยให้เขาได้มีทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษที่ดี สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์จะทำการตรวจสอบทางร่างกายโดยรวม โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกน้อย แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางรายการ ฉีดวัคซีนให้เป็นครั้งที่สาม […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 หรือประมาณ 6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถนั่งได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย สามารถมองหันไปตามทิศทางของเสียงได้ และอาจเริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มให้ลูกกินอาหารอย่างอื่นนอกจากนม โดยควรเป็นอาหารที่สุก นิ่ม และมีขนาดเล็ก เช่น ข้าวบด กล้วยบด ไข่แดงบด ให้เสริมกับการกินนม เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอื่นเพิ่มมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด้กสัปดาห์ที่ 26 ใช้สองขารับน้ำหนักตัวได้มากขึ้นเวลาที่ถูกจับให้ยืนตรง นั่งได้โดยไม่ต้องให้ใครช่วย หันไปตามทิศทางของเสียงที่ได้ยิน ทำอะไรตลก ๆ ด้วยการพ่นน้ำลาย ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกอาจจะชอบใช้มือข้างหนึ่งไปซักพัก แล้วเปลี่ยนไปใช้มืออีกข้างหนึ่ง แต่อาจจะยังบอกไม่ได้ว่าลูกน้อยถนัดมือข้างไหน จนกว่าลูกจะอายุได้ 2-3 ขวบ พ่อ คุณแม่ไม่ควรบังคับเรื่องการใช้มือข้างขวาหรือซ้ายกับลูก เพราะมือข้างที่ถนัดนั้นถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์แล้ว ถ้าบังคับให้ลูกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด จะทำให้เกิดความสับสนและนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในภายหลัง เช่น ตาและมือทำงานไม่ประสานกัน เกิดปัญหาเรื่องความคล่องแคล่ว และมีผลกระทบต่อความสามารถในการเขียนหนังสือในภายหลัง ถ้าต้องการสอนภาษามือให้ลูกน้อย ตอนนี้ก็ถือเป็นโอกาสอันดี การช่วยให้ลูกน้อยมีเครื่องมือในการแสดงออก จะทำให้ลูกคลายความอึดอัดลงได้ เริ่มต้นด้วยการใช้มือส่งสัญญาณคำง่าย ๆ เช่น “หนังสือ” คุณแม่อาจทำท่าหงายฝ่ามือสองข้างแล้วเกาะเกี่ยวไว้ด้วยกัน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เช่น การยืน การเดิน การแต่งตัว โดยมีผู้ปกครองคอยช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ อีกทั้งอาจมีความซุกซน ชอบกัดชอบจับสิ่งของต่าง ๆ ตามประสาเด็ก ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด และคอยสังเกตอาการผิดปกติ เนื่องจากเด็กอาจเจ็บป่วยจากเชื้อโรคต่าง ๆ รอบตัวได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยอาจเริ่มมีการพัฒนาในเรื่องของการช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น แต่ยังคงต้องการให้คุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเขาอยู่ข้าง  ๆ เช่น การเดินในขณะที่จูงมือเขาไปด้วย หรือมีการยื่นแขน และขาเพื่อช่วยให้แต่งตัวให้เขาได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน หากลูกรักมีการเติบโตอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้พวกเขานั้นเริ่มหยิบจับแก้วน้ำ ช้อน ตักอาหารด้วยตัวเองได้ แต่ก็คงยังมีการเคลื่อนไหวไม่แข็งมากซึ่งอาจใช้เวลาสักระยะพร้อมกับการฝึกฝนจึงจะสามารถทำให้พวกเขานั้นทานอาหารเองได้อย่างคล่องขึ้น โดยส่วนมากพวกเขามักจะเผยพฤติกรรมต่อไปนี้ ที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ถึงกับตื้นตันใจ ร่วมด้วย ยืนด้วยตัวเองได้ชั่วขณะ พูดคำว่า  “มาม๊า” อย่างรู้ความหมาย ชี้ไปที่บางสิ่งเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ทารกจะตั้งใจ ทิ้งสิ่งของเพื่อให้ใครบางคน ซึ่งก็อาจจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ เก็บมันขึ้นมา หากรู้สึกเหนื่อย กับเกมส์ทิ้งสิ่งของ ก็อาจจำเป็นต้องนำสิ่งของออกไปห่าง  ๆ ซัก 2-3 นาที แล้วหาอะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจจากลูกน้อยแทน อย่างการเล่นกับลูกรักโดยไม่ใช้อุปกรณ์ เช่น การเล่นจ๊ะเอ๋ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 หรือประมาณ 10 เดือน ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถนั่งได้เองแล้ว และสามารถเดินได้เล็กน้อยโดยพยายามเกาะสิ่งของรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่ แต่ควรระมัดระวังสิ่งของเล็ก ๆ ที่เด็กอาจนำเข้าปากและไปติดคอได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยในช่วงวัยนี้สามารถนั่งได้อย่างมั่นใจ และสามารถเดินได้โดยการเกาะฟอร์นิเจอร์ และอาจจะยืนแบบปล่อยมือได้บ้าง ในระยะสั้น ๆ และยืนได้ นอกจากนี้ยังอาจพยายามหอบของเล่นในระหว่างที่ยืนขึ้นด้วย หากลูกยังไม่เดินในช่วงนี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เด็กส่วนใหญ่จะเดินก้าวแรกประมาณอายุ 12 เดือน ในขณะที่เด็กบางคนอาจจะต้องรอถึง 18 เดือน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 42 นั่งได้เองโดยการใช้หน้าท้อง ตบมือ หรือโบกมือ หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง ดังนั้นพ่อแม่ควรเก็บของอันตรายไว้ให้ห่างจากมือเด็ก เดินโดยเกาะกับฟอร์นิเจอร์ เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ไม่เชื่อฟังเสมอไป ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร หลีกเลี่ยงการป้อนอาหารที่อาจจะทำให้เกิดการสำลัก เช่น แครอทดิบ องุ่นทั้งลูก ควรทำผักให้สุกก่อนแล้วหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนยแข็งหรือผลไม้แห้ง ก็ควรต้องปลอกเปลือกและหั่นเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก ๆ ด้วย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพสำหรับเด็กในวัยนี้ จึงควรโทรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีข้อกังวลใด ๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปได้ สิ่งที่ควรรู้ แมลงกัดต่อย ควรสังเกตอาการแมลงกัดต่อยกับเด็กในช่วงวัยนี้ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กในวัยนี้ได้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 หรือประมาณ 10 เดือน เป็นช่วงวัยที่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกโดยใช้ประโยคแบบเดียวกับที่พูดคุยกับผู้ใหญ่ และเน้นพูดเป็นประโยค แทนการออกเสียงเป็นคำ ๆ เพื่อฝึกให้ลูกสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังควรคอยสังเกตลักษณะการนอนหลับของลูก เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยกำลังเริ่มเข้าใจคำศัพท์ง่าย ๆ หรือประโยคสั้น ๆ แล้ว จึงควรจะพูดคุยกับลูกอยู่เรื่อย ๆ เริ่มสอนรูปแบบการพูดที่ดีให้ โดยพูดคำที่พูดให้เป็นภาษาของผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพูดขึ้นมาว่า “นา-นา” ก็แก้การออกเสียงของให้ถูกต้องโดยพูดว่า “หนูต้องการขวดนมใช่มั้ยลูก?” ในช่วงวัยนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดแบบเด็ก ๆ ถึงแม้จะเป็นเรื่องสนุก แต่การได้ยินเสียงที่ถูกต้องนั้น จะดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยมากกว่า ถึงแม้ว่าจะฟังดูเป็นภาษาของเด็กไปหน่อย แต่การสนทนากับลูกน้อยนั้น จะช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาให้ได้ เมื่อพูดอะไรขึ้นมาลอยๆ ก็ควรโต้ตอบกลับไปว่า “อ๋อ จริงเหรอ?” “น่าสนใจจริง ๆ” แล้วอาจจะยิ้มและพูดเจื้อยแจ้วต่อไป พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 41 ยืนโดยการเกาะแขนขาคนอื่น หรือเกาะกับสิ่งของต่าง ๆ ยืนขึ้นด้วยการดึงตัวเองขึ้นจากท่านั่ง ทักท้วงถ้าหยิบของเล่นของออกไป พูดคำว่า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 หรือประมาณ 7 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจโตพอที่จะเริ่มต่อต้านเวลาที่พ่อแม่แสดงความรัก กอด อุ้ม หรือเวลาที่ถูกแย่งเอาของเล่นไป อีกทั้งยังอาจสามารถใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ได้คล่องขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังไม่ให้ลูกเอานิ้วมือไปแหย่จุดที่อันตราย เช่น ปลั๊กไฟ พัดลม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงนี้แม่สามารถบอกลูกให้เข้าใจได้แล้วว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ของเล่น เครื่องดนตรีไม่ได้มีเอาไว้ขว้างปา หรือห้ามดึงผมคนอื่น เด็กในวัยนี้จะเริ่มขัดขืนคำสั่งแม่แล้ว เช่น การไม่ยอมทำตามที่แม่บอก ซึ่งไม่ได้เกิดจากการไม่เชื่อฟังแม่ แต่เป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็นของเด็กวัยนี้นั่นเอง พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 30 นั่งเองได้โดยไม่ได้ต้องมีคนช่วย พยายามรั้งตัวเองไว้ตอนแม่อุ้ม เริ่มต่อต้านถ้าแม่เอาของเล่นของลูกไป หาทางออกจากของเล่นได้ หาของที่ตกได้เอง เอานิ้วแหย่ของหรือถือของไว้ในมือตัวเองได้แล้ว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย แม่ควรนำสิ่งของที่มีอันตรายให้อยู่ห่างจากเด็ก ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร แม่ต้องจำไว้ว่าลูกยังไม่สามารถจดจำสิ่งที่เราพูดได้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้คำพูดง่าย  ๆ ว่า  “ไม่”  ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจว่าลูกจะไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ เด็กส่วนใหญ่จะชอบเล่นจ๊ะเอ๋มาก และการเล่นแบบนี้จะช่วยส่งเสริมให้ลูกรับรู้ได้ว่า มีผู้คนรอบ  ๆ ตัวลูกอยู่ตั้งมากมาย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ ถ้าคิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่าลูกมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แม่ควรจดบันทึกข้อสงสัยปรึกษากับหมอในครั้งถัดไป และหากเกิดปัญหาหรือถ้ามีข้อกังวลใด  ๆ เป็นพิเศษ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 ของลูกน้อย

ถ้าเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา ควรศึกษาข้อมูล  พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแล และสังเกตพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยเติบโตสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยกำลังสำรวจสิ่งของต่าง ๆ โดยการเขย่า กระแทก โยนทิ้ง และขว้างปา ก่อนจะกลับมาใช้วิธีสำรวจที่แน่นอนที่สุด นั่นก็คือการเคี้ยว ลูกน้อยอาจมีความคิดที่ว่าเขาสามารถจะทำอะไรกับข้าวของพวกนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระแทก กระทุ้ง บีบ บิด เขย่า โยนทิ้ง และเปิดดู พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 34 ส่งสิ่งของอื่น ๆ จากมือข้างหนึ่งไปยังอีกข้าหนึ่ง สำรวจสิ่งต่าง ๆโดยการเขย่า ตี โยนทิ้ง และขว้างปา และเห็นสิ่งของพวกนั้นกระเด้งขึ้นมาอีก ลุกขึ้นยืนโดยยึดจับคนหรืออะไรบางอย่างเอาไว้ ขัดขืนถ้าคุณพ่อคุณแม่พยายามที่แย่งของเล่นจากเขา ขยับตัวออกไปเอาของเล่นที่อยู่เกินเอื้อม เล่นจ๊ะเอ๋ ลุกขึ้นนั่งจากท่าคลาน ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยมักรู้สึกเพลิดเพลินกับของเล่นที่มีวิธีใช้เป็นการเฉพาะ อย่างเช่น โทรศัพท์ ถ้าเขาไม่สามารถถือไว้ในระดับหูของตัวเองได้ ก็ช่วยเขาถือแล้วแกล้งพูดโทรศัพท์กับเขา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เขาจะเริ่มใช้วัตถุตามการใช้งานจริงได้ เช่น แปรงผมตัวเอง ดื่มน้ำจากถ้วย และส่งเสียงอ้อแอ้กับโทรศัพท์ของเล่น สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 จะเริ่มก้าวเท้า สำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น ควรใช้ขารับน้ำหนักตัวเองในขณะยืนได้แล้ว และสามารถหันไปตามทิศทางที่มาของเสียง และมองหาของที่ทำตกได้ เด็ก ๆ อาจเริ่มปีนป่าย และมักหกล้มได้ง่าย จึงไม่ควรปล่อยให้คลาดสายตา [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ทารกอายุ 8 เดือน ควรใช้ขารับน้ำหนักตัวเองในขณะยืนได้แล้ว สามารถหันไปตามทิศทางที่มาของเสียง และมองหาของที่ทำตกได้ ความสามารถในการเคลื่อนไหวนี้ จะทำให้หกล้มหรือกระแทกโน่นกระแทกนี้ได้ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้สึกใจหายใจคว่ำ แต่การนั่งมองดูเขาสำรวจสิ่งรอบตัว และค้นหาข้อจำกัดของตัวเอง ก็นับว่าเป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่งเลยทีเดียว พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 33 ใช้ขารับน้ำหนักตัวเวลายืนตรงได้ รับประทานขนมปังกรอบได้เอง ใช้นิ้วหยิบของแล้วกำไว้ในมือ ดังนั้น ควรเก็บของอันตรายให้พ้นมือเด็ก หันไปตามทิศทางของเสียง มองหาของที่ทำตกหล่น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร สัญชาตญาณแรกของคุณพ่อคุณแม่คือการปกป้องลูกน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติ วิธีเลี้ยงดูที่ดีที่สุดก็คือให้เขามีโลกส่วนตัวในการเติบโตและเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพึ่งพาตัวเองได้ แต่ไม่ได้หมายความต้องปล่อยให้เขาอยู่เพียงลำพังตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่มีความปลอดภัยขึ้นมาได้ โดยนึกภาพเอาว่า อะไรที่จะเป็นอันตรายในขนาดความสูงของลูกน้อย แล้วหาทางแก้ไขจนไม่เป็นอันตราย ซี่งอาจจะแก้ปัญหาด้วยการเก็บของที่ตกแตกง่ายไว้ในที่ที่เขาเอื้อมไม่ถึง รวมทั้งเก็บของที่เป็นอันตรายไว้ในตู้ที่ล็อกกุญแจเอาไว้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร อาจไม่มีตารางการนัดพบแพทย์ในช่วงนี้ แต่ถ้าความกังวลใจเร่งเด่วนเกิดขึ้น ก็ไม่ควรรอจนกว่าจะถึงเวลานัดครั้งต่อไป นับเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพูดคุยกับคุณหมอทันทีหากเกิดปัญหา ถ้าคิดว่าลูกน้อยมีพัฒนาการที่ไม่ปกติ ควรจดสัญญานที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลเอาไว้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32 เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะเลียนแบบพฤติกรรม ดังนั้น ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบข้างทำอะไร ลูกน้อยจะจดจำและค่อย ๆ ทำตาม รวมทั้งเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลทำความสะอาดสุขภาพช่องปากและฟันให้ลูกน้อยเพื่อสุขอนามัยที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร อารมณ์ของลูกจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าสามารถเรียนรู้ที่จะชื่นชม เลียนแบบความรู้สึก และอาจแสดงออกถึงความเห็นใจได้เป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกน้อยได้ยินเสียงคนร้องไห้ เขาก็อาจจะเริ่มร้องไห้ตาม ถึงแม้ว่าเขาจะเพิ่งเริ่มเรียนรู้ความรู้สึกของตัวเอง แต่เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งในอนาคตลูกน้อยก็จะสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติต่อผู้คนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในสัปดาห์ที่ 32 เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน เปลี่ยนจากท่าคลานเป็นท่านั่ง เล่นตบมือและโบกมือบ๊ายบาย เก็บวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เข้าปาก ทำการสำรวจรอบบ้านของตัวเอง เรียก “แม่” หรือ “พ่อ” อยู่ตลอดเวลา ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในกรณีที่ลูกน้อยนอนห้องแยกต่างหาก พวกเขาอาจเกิดความกลัวที่จะต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ในเวลากลางคืน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้เวลาอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟังมากขึ้น กอด หรือเปิดเพลงกล่อมเด็กให้ฟังก่อนนอนจนลูกน้อยรู้สึกสบายใจ เพราะการทำแบบนี้เป็นประจำจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย และนอนหลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรเวลาในการทำงานบ้าน และการเลี้ยงลูกให้สมดุล ที่สำคัญงานทั้งหมดในห้องนอนลูกควรทำให้เสร็จเพื่อเตรียมพร้อมให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างสบาย นอกจากนั้น ควรสอนให้ลูกน้อยรู้ว่า ห้องนอนใช้สำหรับการนอน ไม่ควรใช้เล่นไล่จับกันก่อนนอน สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง ในขณะเดียวกัน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 คือ ช่วงที่เด็กกำลังพยายามเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืน การเดิน การบอกความต้องการของตัวเองด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการร้องไห้ รวมถึงอาจมีพัฒนาการด้านภาษา ซึ่งในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย รวมถึงช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และอย่าปล่อยให้พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจ การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงสัปดาห์ที่ 48 หากเด็กยังเดินไม่ได้ ก็มีแนวโน้มจะเดินได้ด้วยตัวเองในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นกังวล พราะเด็กส่วนใหญ่อาจเริ่มเดินในช่วงเดือนที่ 16-17 พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 48 ยืนได้ด้วยตัวเอง เดินได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ด้วยวิธีอื่นแทนที่จะร้องไห้ เล่นลูกบอลได้ และสามารถกลิ้งลูกบอลกลับไปหาคุณพ่อคุณแม่ได้ ดื่มจากแก้วได้ด้วยตัวเอง ใช้ภาษาเฉพาะสำหรับเด็ก เช่น การพูดเจื้อยแจ้วที่มีเสียงเหมือนกำลังพูดภาษาต่างประเทศอยู่ ทำตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องใช้ท่าทาง พูดได้อีก 2-3 คำนอกเหนือจากคำว่า มาม๊า ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และอย่าปล่อยให้พวกเขารู้สึกไม่ได้รับความสนใจ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังอาจช่วยส่งเสริมทักษะการเดินให้แก่เด็กได้ด้วยการยืนหรือคุกเข่าอยู่ตรงหน้าแล้วรอให้เด็กเดินมาหา หรือจับมือไว้ทั้ง 2 ข้างแล้วให้เด็กเดินมาหาก็ได้เช่นกัน โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มเดินด้วยท่าทางที่กางแขนทั้ง 2 ข้างออกและงอข้อศอก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม