backup og meta

พัฒนาการลูก ทั้ง 4 ด้าน มีอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร

พัฒนาการลูก ทั้ง 4 ด้าน มีอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร

พัฒนาการลูก เป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนควรเอาใจใส่เพราะส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมกับวัยเพื่อที่เด็ก ๆ จะสามารถช่วยเหลือตัวเองและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะ พัฒนาการลูก ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา พัฒนาการทางด้านสังคมและอารมณ์ และพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร

[embed-health-tool-vaccination-tool]

พัฒนาการลูก ทั้ง 4 ด้าน ที่คนในครอบครัวควรรู้

พัฒนาการลูกทั้ง 4 ด้าน อาจสามารถนำไปร่วมในการวางแผน เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ หรือเสริมทักษะให้แก่ลูกรักได้ดียิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

1. พัฒนาการด้านร่างกาย 

เป็นพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย การควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัว รวมไปถึงระบบประสาทสัมผัส ขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดิน วิ่ง คลาน หยิบจับสิ่งของ โดยเด็ก ๆ แต่ละคนย่อมมีร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโตแต่ละช่วงวัย ควรได้รับการส่งเสริมและดูแลให้บริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนให้ทำกิจกรรมหรือเล่นอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย

2. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

ระบบความคิด สติปัญญา การเรียนรู้เพื่อประมวลผล ล้วนเป็นพัฒนาการที่มีปัจจัยเชื่อมโยงจากการเลี้ยงดู ฝึกอบรม และสภาพแวดล้อมรอบข้างเป็นหลัก เพราะเป็นแรงกระตุ้นให้เด็ก ๆ นั้นเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น พร้อมจดจำเอาไว้ในความทรงจำ หรืออาจนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับในชีวิตประจำวันจนส่งผลในเชิงบวก จวบจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีแต่หากเป็นสิ่งที่ผู้คนรอบข้างปลูกฝังในสิ่งที่นำพาเด็ก ๆ ไปในเชิงลบ ก็อาจทำให้พวกเขาไม่สามารถจะพัฒนาตนเองต่อไปได้ และเลือกจะจดจำช่วงเวลาที่เลวร้ายเอาไว้ จนส่งผลกระทบต่อระบบความคิด การทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจนกลายเป็นพัฒนาการล่าช้าและอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าสังคม

3. พัฒนาการทางสังคม และอารมณ์

เด็ก ๆ ส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ว่า สังคมและผู้คนรอบข้างนั้นมีการใช้ชีวิต หรือมีอุปนิสัยอย่างไร ทำให้มีการปรับตัว และเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์เพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตร รู้จักเห็นใจ แบ่งปัน ใช้เหตุผลในเชิงบวกมากขึ้น พัฒนาการทางนี้ควรได้รับการส่งเสริมและเริ่มแนะนำตั้งแต่ยังเล็ก หรือประมาณช่วงอายุเตรียมเข้าอนุบาล เพราะเด็ก ๆ จะต้องเข้าไปเจอสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ดังนั้น การใช้ชีวิตกับคนแปลกหน้า จำเป็นต้องมีการควบคุมอารมณ์ การปรับตัวเข้ากับสังคมที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่น การทำร้ายร่างกายกัน พูดจาหยาบคาย

4. พัฒนาการด้านภาษา

ในด้านของภาษา และการสื่อสารนี้ สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงวัยทารกที่มีการเปล่งเสียงออกมาตอบสนองเมื่อได้ยินเสียงจากรอบตัว ถึงแม้จะยังมีภาษา หรือคำที่ยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่เมื่อได้รับการพัฒนาฝึกฝนจากคุณพ่อคุณแม่ ก็อาจทำให้เริ่มพูดเป็นคำ จนถึงพูดออกมาเป็นประโยคได้อย่างชัดเจน และเชื่อมโยงไปถึงการรับรู้ในการสร้างบทสนทนาโต้ตอบกลับไปมา ที่สำคัญไม่ใช่เพียงแค่ภาษาประจำชาติเกิดเพียงเท่านั้น แต่ผู้ปกครองสามารถเสริมทักษะการเรียนรู้ภาษาที่สามหรือภาษาที่สี่ เช่น ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน ด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ดีขึ้น อย่างการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูการ์ตูน

สาเหตุที่ทำให้ พัฒนาการลูก 4 ด้าน ล่าช้า

สำหรับเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเกณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็ก ๆ จำนวนมากในช่วงอายุเดียวกัน เป็นไปได้ว่าอาจมีสาเหตุมาตั้งแต่ระหว่างการตั้งครรภ์ และการเลี้ยงดูหลังคลอด ดังนี้

  • การติดเชื้อร้ายแรง อาจส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายทำให้ไม่สามารถมีการพัฒนาทั้ง 4 ด้านได้
  • การสัมผัสโดนสารพิษก่อนคลอด เช่น สารตะกั่ว แอลกอฮอล์ รวมถึงสารเสพติดต่าง ๆ อาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยได้ หรืออาจทำให้พัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ
  • ภาวะทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม อาจต้องได้รับการส่งเสริม ใส่ใจมากเป็นพิเศษ แต่ในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • กลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกเขย่ารุนแรง จนเกิดการบาดเจ็บที่สมอง ส่งผลให้พัฒนาการหยุดชะงัก
  • การบาดเจ็บทางจิตใจ จนส่งผลเกิดภาวะเครียดจนไม่รู้สึกอยากตอบสนองแม้จะมีการกระตุ้นพัฒนาการในด้านต่าง ๆ
  • ไม่ได้รับสารอาหารที่ดี รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย หรือได้รับไม่เพียงพอ
  • โรคฟีนิวคีโตนูเรีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลสร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอ เสี่ยงให้ทารกมีโอกาสสมองทึบและพัฒนาการต่ำกว่าช่วงวัย
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ตั้งแต่กำเนิด ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโดตหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการล่าช้าได้อีก ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาฝึกฝน หรือกระตุ้นหรือส่งเสริมลูกแบบผิดวิธี หากจะให้หาสาเหตุที่แท้จริงอย่างชัดเจน อาจต้องเข้าขอคำปรึกษาจากคุณหมอร่วมด้วย เพราะเด็กแต่ละคนนั้นมีภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน

วิธีกระตุ้น พัฒนาการลูก  4 ด้าน ตั้งแต่แรกเกิด

ภายใน 17 สัปดาห์แรกของทารกในครรภ์ ทารกอาจเริ่มได้ยินเสียง คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มสื่อสาร พูดคุยกับลูกน้อย หรือเปิดเพลงให้ฟังจนกระทั่งหลังคลอด และต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน

นอกจากนี้ การใช้ของเล่นเสริมทักษะ เช่น การหยิบจับ จำแนกสีรูปทรงสิ่งของ เครื่องดนตรีสำหรับเด็ก แผ่นป้ายจับคู่ อาจเป็นเครื่องมือที่ดีที่จะทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ เพลิดเพลิน สนุกสนาน โดยที่มีคุณพ่อคุณแม่หรือสมาชิกในครอบครัวคอยพูดคุยหรืออธิบายอยู่ข้าง ๆ ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังสัมผัส และมองเห็นคือรูปทรงใด สีใด

ที่สำคัญไปกว่านั้น เด็ก ๆ ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนอย่างเพียงพอต่อวันตามช่วงอายุ เพื่อช่วยให้ร่างกายของเด็กสามารถนำสารอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยงระบบประสาท และสมอง ให้มีการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 Ways to Promote Baby Development https://www.everydayhealth.com/hs/your-developing-baby/ways-to-promote-baby-development/ . Accessed June 07 2022.

The Domains of Development and Learning https://earlychildhood.marylandpublicschools.org/prek-grade-2/maryland-early-learning-framework/maryland-early-learning-standards/domains-development . Accessed June 07 2022.

ABOUT THE AEDC DOMAINS https://www.aedc.gov.au/about-the-aedc/about-the-aedc-domains . Accessed June 07 2022.

4Child Development and Early Learning https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK310550/ . Accessed June 07 2022.

Developmental Delay https://www.ssmhealth.com/cardinal-glennon/developmental-pediatrics/developmental-delay . Accessed June 07 2022.

Developmental Domains: Main Areas of Child Development and Learning https://psychcentral.com/pro/child-therapist/2020/02/developmental-domains-main-areas-of-child-development-and-learning . Accessed June 07 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/04/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ สร้างได้ด้วยการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์

อาหารบำรุงฟื้นฟูคุณแม่ ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา