backup og meta

ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ให้เปลี่ยนไปได้จริง หรือแค่คิดไปเอง

ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ให้เปลี่ยนไปได้จริง หรือแค่คิดไปเอง

เมื่อเกิดความเครียดและความวิตกกังวล นอกจากจะสร้างความไม่สบายใจให้กับตัวเองแล้ว ปัญหาความเครียดและความวิตกกังวลเหล่านี้ ยังส่งผลต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจถี่ขึ้น ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคน ที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ความวิตกกังวลยังส่งผลต่อการรับรส อีกด้วย ซึ่งเป็นผลกระทบที่หลาย ๆ คนอาจไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปหาคำตอบว่า ความเครียด ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ได้อย่างไร

ความเครียดและความกังวลส่งผลต่อการรับรส ได้อย่างไร

จากงานวิจัยพบว่า สำหรับบางคนเมื่อเกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล การรับรสชาติบางรสชาติอาจจะรับรสได้น้อยลง จากการวิจัยในปี 2012 พบว่า ความเครียดมีส่วนทำให้การรับรสชาติเค็มและหวานลดลง ทำให้ในช่วงที่เกิดเครียด จะทำให้พวกเขารับประทานอาหารรสชาติเค็มขึ้นและหวานขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในปี ค.ศ. 2011 ที่ได้ทำการวิจัยผู้ที่ตกอยู่ในสถาการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล เช่น การที่ต้องพูดในที่สาธารณะ การแก้ไขโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยาก จากการทดลองพบว่า เมื่อพวกเขาเกิดความวิตกกังวล การรับรสหวานลดลง และทำให้พวกเขารับประทานอาหารรสชาติหวานมากขึ้น

นอกจากรสชาติหวานและเค็มแล้ว สำหรับบางคนเมื่อเกิดความเครียด อาจทำให้ปากได้รสชาติรสโลหะอีกด้วย ซึ่งแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า รสชาติโลหะที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ แต่แพทย์คาดว่าเมื่อเกิดความเครียดจนทำให้ปากแห้ง ทำให้น้ำลายในปากน้อยลง จนปากเกิดรสชาติขมและรสโลหะ

วิธีแก้ปัญหาเมื่อ ความกังวลส่งผลต่อการรับรส

เมื่อเกิดความเครียดและความวิตกกังวล วิธีที่ดีที่สุดคือการใจเย็น พยายามควบคุมสติและทำให้ตัวเองสงบ ไม่ว่าจะเป็นการ ฝึกกำหนดลมหายใจ อ่านหนังสือ หรือแม้กระทั่งการวาดรูปก็ช่วยให้มีสติและสมาธิได้มากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเพื่อฟื้นฟูความเครียดและความวิตกกังวล นอกจากนี้วิธีจัดการกับความเครียดแล้ว การรับมือกับรสชาติที่เปลี่ยนไปจากความเครียดสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในช่องปาก
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยให้น้ำลายในปากเพิ่มขึ้น ลดอาการปากแห้ง
  • ลดการรับประทานอาหารที่เป็นกรดหรืออาหารรสจัด เพราะจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

หากยังคงมีอาการรับรสที่เปลี่ยนไปติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรเข้าปรึกษากับคุณหมอถึงอาการที่เกิดขึ้น ว่าควรรักษาอย่างไรเพื่อให้อาการดีขึ้น ความวิตกกังวลส่งผลต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการรับรสที่เปลี่ยนไปด้วย หากยิ่งร่างกายมีความเครียดเรื้อรังก็จะยิ่งทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลง ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพ ลดเครียดและความวิตกกังวล จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Can Anxiety Cause a Metallic Taste in Your Mouth?

https://www.healthline.com/health/anxiety/metallic-taste-in-mouth-anxiety

Does Anxiety Cause a Metallic Taste in Your Mouth?

https://www.calmclinic.com/anxiety/symptoms/metallic-taste

Bad Taste In Mouth and Anxiety

https://www.anxietycentre.com/anxiety/symptoms/bad-taste-in-mouth-anxiety.shtml

Metallic Taste In Mouth, Numbness Or Tingling And Unusual Taste In Mouth

https://www.medicinenet.com/metallic_taste_numbness_or_tingling_and_bad_taste_in_mouth/multisymptoms.htm

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/01/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ต่อมรับรสเปลี่ยน สาเหตุเหล่านี้อาจกำลังทำให้การรับรสอาหารเปลี่ยนไป

วิตกกังวลง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ หากไม่อยากให้อาการแย่กว่าเดิม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา