ในปัจจุบันพบว่าประชากรไทยส่วนใหญ่มักประสบกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะเครียด โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เป็นต้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ อีกหนึ่งอาการทางสุขภาพจิตที่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ทำความรู้จัก โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ
โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ (Exhibitionism) เป็นอาการทางสุขภาพจิตที่เกิดจากความผิดปกติของการแสดงออกเกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักรู้สึกตื่นเต้น เมื่อแสดงพฤติกรรมโชว์อวัยวะเพศต่อคนในที่สาธารณะ ยิ่งบุคคลแปลกหน้าที่ได้เห็นมีอาการตกใจ หวาดกลัว ยิ่งทำให้ผู้ป่วยพึงพอใจ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ
ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ หรือบุคคลแปลกหน้า ส่วนใหญ่มักเป็นเพศชาย โดยเกิดสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้
- การโดนล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก
- มีอาการหมกมุ่นทางเพศหรือได้รับการกระทบกระเทือนจิตใจตั้งแต่วัยเด็ก
- การติดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- รสนิยมทางเพศส่วนบุคคล
- โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder)
เช็กให้ชัวร์ ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ รสนิยมทางเพศหรือปัญหาสุขภาพจิต
หลายคนอาจสงสัยว่าผู้ที่ ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ นั้น เป็นเพียงรสนิยมหรือแท้จริงแล้วกำลังมีปัญหาสุขภาพจิตกันแน่น ซึ่งหากผู้ป่วยที่เข้าข่าย ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ จะมีลักษณะพฤติกรรมแสดงออก ดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยมีความต้องการทางเพศในการโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะซ้ำ ๆ ติดต่อกัน และมีอารมณ์รุนแรงมากขึ้นเมื่อได้โชว์ของลับ
- ผู้ป่วยมีความต้องการโชว์อวัยวะเพศต่อบุคคลที่ไม่ยินยอม เช่น คนรอบข้างที่รู้จัก เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสม
วิธีการรักษา
ผู้ป่วยที่ ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่จะไม่เข้ารับการรักษานอกจากจะถูกจับได้ หรือมีบุคคลรอบข้างใกล้ชิดผู้ป่วยมาพารับการรักษา โดยแพทย์จะใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังต่อไปนี้
- การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy : CBT) อาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเอง ฝึกทักษะการเผชิญกับปัญหา จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม
- ยา แพทย์อาจแนะนำยาที่ช่วยยับยั้งฮอร์โมนทางเพศ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีความต้องการทางเพศลดลง