เป็นเรื่องปกติที่ความสามารถและความเก่งในด้านต่างๆ ของคนเรามักไม่เท่ากัน แต่สำหรับบางคนมักคิดว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่นั้นยังไร้ค่า ยังไม่ดีพอ ทั้งที่คนอื่นมองว่าคุณเก่ง หากคุณกำลังมีความคิดแบบนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า คุณอาจจะกำลังเป็น โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ แต่อาการของโรคนี้จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันในบทความที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากกันวันนี้
โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ (Impostor Syndrome) เป็นอย่างไร
โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ (Impostor Syndrome) หมายถึงประสบการณ์ภายในที่เชื่อว่าคุณไม่มีความสามารถอย่างที่คนอื่นมองว่าคุณเป็น แม้คำจำกัดความมักจะถูกใช้กับสติปัญญาและความสำเร็จ แต่ก็มีความเชื่อมโยงกับความสมบูรณ์แบบและบริบททางสังคม
พูดง่ายๆ ก็คือ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ คือประสบการณ์ของความรู้สึกที่เหมือนของปลอม คุณจะรู้สึกราวกับว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณถูกพบว่าเป็นคนหลอกลวง เช่น คุณไม่ได้ไปถึงจุดที่ตั้งเป้าหมายไว้ หรือโชคไม่ดี มันสามารถส่งผลกระทบต่อทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถานะทางสังคมพื้นฐาน การทำงาน ระดับทักษะ หรือระดับความเชี่ยวชาญ
นักจิตวิทยาได้อธิบายถึงกลุ่มอาการนี้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1978 จากนั้นยังมีการวิจัยเพิ่มเติมในปีค.ศ. 2011 ชี้ให้เห็นว่า ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนจะมีอาการของโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอแอบแฝงอยู่อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต โดยอาการนี้มักจะเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่งในหมู่ผู้หญิงที่ถือว่าประสบความสำเร็จสูง หลายคนอาจจะมีอาการในช่วงเวลาที่จำกัด เช่น ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของงานใหม่เท่านั้น
ประเภทของโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ
Dr.Valerie Young นักพูด นักเขียน และผู้เชี่ยวชาญชั้นนำที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติเกี่ยวกับโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ ได้แบ่งชนิดของโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอเอาไว้ 5 ประเภท ดังนี้
1.ผู้เชี่ยวชาญ (The expert)
ผู้เชี่ยวชาญนั้นจะไม่รู้สึกพอใจเมื่อทำงานเสร็จ จนกว่าพวกเขาจะรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องที่ทำทั้งหมด โดยพวกเขาเชื่อว่า พวกเขาจะไม่มีวันรู้สึกว่าทักษะความสามารถเพียงพอ และกลัวว่าจะถูกเปิดเผยว่าไม่มีประสบการณ์ บางคนอายที่จะไปสมัครงานในประกาศรับสมัครงาน เว้นแต่เขาจะรู้สึกว่ามีคุณสมบัติหรือข้อกำหนดด้านการศึกษาที่ตรงกับตัวเองทุกข้อ
พวกเขามักจะมองหาการฝึกอบรม หรือการรับรองอย่างต่อเนื่อง เพราะคิดว่าตัวเองต้องพัฒนาทักษะของตัวเองเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ แม้พวกเขาจะทำงานในตำแหน่งที่ได้รับมาสักระยะหนึ่ง แต่มันก็ยังสามารถเชื่อมโยงกับความรู้สึกที่เขารู้สึกว่าตัวเองยังรู้ไม่เพียงพอ
2.ผู้ที่รักความสมบูรณ์แบบ หรือ เพอร์เฟคชั่นนิสต์ (The perfectionist)
เพอร์เฟคชั่นนิสต์ หรือคนที่รักความสมบูรณ์แบบมักจะตั้งเป้าหมายที่สูงเกินไปสำหรับตัวเอง และเมื่อพวกเขาไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ พวกเขาจะเริ่มรู้สึกสงสัยในตัวเอง และกังวลกับการวัดผล ไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่คนกลุ่มนี้จะยังสามารถควบคุมตัวเองได้อยู่ ถ้าพวกเขารู้สึกว่าต้องการสิ่งที่ถูกต้อง พวกเขาจะต้องทำมันด้วยตัวเอง สำหรับคนที่อยู่ในประเภทนี้ความสำเร็จมักไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจ เพราะพวกเขาเชื่อว่าตัวเองทำได้ดีกว่านี้
3.ผู้ที่เป็นอัจฉริยะโดยธรรมชาติ (The natural genius)
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่เป็นอัจฉริยะโดยธรรมชาติสามารถฝึกฝนทักษะใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เมื่อเทียบกับความพยายามของพวกเขา พวกเขามักรู้สึกอับอายและอ่อนแอเมื่อไม่สามารถทำได้ คนที่อยู่ในประเภทนี้มักจะตัดสินตัวเองตามความคาดหวัง และยังตัดสินตัวเองจากการทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องในครั้งแรก เมื่อทำอะไรไม่ได้อย่างรวดเร็วหรือคล่องแคล่ว ก็เหมือนจะมีเสียงเตือนพวกเขาดังขึ้น
4.ศิลปินเดี่ยว (The soloist)
ศิลปินเดี่ยวอาจเรียกได้ว่าเป็นนักปัจเจกบุคคลที่สมบุกสมบัน พวกเขาชอบทำงานคนเดียวและมักจะเชื่อว่าการของความช่วยเหลือ จะทำให้คนอื่นเห็นถึงความไร้ความสามารถของตัวเอง โดยทั่วไปแล้วศิลปินเดี่ยวนั้นมักจะปฏิเสธความช่วยเหลือ เพื่อให้พวกเขาสามารถพิสูจน์คุณค่าของพวกเขาเองในฐานะปัจเจกบุคคล
5.ซูเปอร์ฮีโร่ (The superhero)
แน่นอนว่าฮีโร่นั้นมักจะเก่งในทุกด้านเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็เพราะพวกเขาพยายามผลักดันตัวเองอย่างหนัก คนบ้างานหลายคนสามารถถูกจัดอยู่ในกลุ่มซูเปอร์ฮีโร่ได้ คนพวกนี้มักจะพยายามผลักดันตัวเองให้ทำงานหนักขึ้นและยากขึ้นเพื่อวัดผลของตัวเอง การทำงานหนักเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของพวกเขาเอง นอกจากนั้นมันยังอาจส่งผลไปถึงความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย
อาการของ โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ
หากคุณมีความรู้สึกว่าตัวเองเก่งไม่พอมากเกินไป มันอาจทำให้การพัฒนาศักยภาพตัวเองเป็นเรื่องที่ยากขึ้น นอกจากนั้นมันยังสามารถนำไปสู่อาการของความทุกข์ที่บ่งบอกถึงลักษณะของโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอได้อีกด้วย โดยบุคคลที่เป็นโรคนี้มักจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
กังวลว่าพวกเขาจะทำตามที่คาดหวังไม่ได้
หลายคนที่ประสบกับโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ มักจะกลัวว่าเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานจะคาดหวังจากพวกเขามาเกินไป
หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบเพิ่มเติม
คนที่เป็นโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอมักจะฝังตัวเองอยู่กับการทำงานของตัวเอง แทนที่จะรับหน้าที่เพิ่มเติมที่จะสามารถพิสูจน์ความสามารถของพวกเขาได้ พวกเขาจะพยายามไม่มีส่วนร่วมในการเป็นอาสาสมัคร เพราะพวกเขามองว่า มันอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ไขว้เขวและอาจส่งผลต่อคุณภาพของงานอื่นๆ
ติดอยู่ในวัฏจักรโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Impostor cycle)
สำหรับผู้ที่เป็นโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอนั้น ความสำเร็จมักจะทำให้เกิดความสงสัยในตัวเองอยู่เสมอ ทุกครั้งที่ทำบางสิ่งบางอย่างสำเร็จ พวกเขาจะมีความกังวลมากขึ้นว่า คนอื่นจะค้นพบความจริงเกี่ยวกับความสามารถของตัวเอง
ระบุความสำเร็จให้กับปัจจัยภายนอก
บุคคลที่เป็นโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอมักจะปฏิเสธความสามารถของตัวเอง พวกเขามักรู้สึกว่าปัจจัยภายนอกหรือโอกาสอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของพวกเขา ดันนั้น พวกเขาจึงเชื่อว่าตัวเองต้องทำงานหนักกว่าคนส่วนใหญ่
พฤติกรรมบั่นทอนตัวเอง (Self-sabotage)
ผู้ที่มีแนวโน้มของโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอมักมีความมั่นใจในตัวเองต่ำและกลัวความล้มเหลว พวกเขาพบกับการต่อสู้ภายในอย่างต่อเนื่องระหว่างการประสบความสำเร็จและหลีกเลี่ยงการถูกค้นพบ การต่อสู้นี้ป้องกันไม่ให้คนจำนวนมากที่มีเงื่อนไขเข้าถึงศักยภาพของพวกเขา
พบความไม่พอใจในงาน
ผู้ที่เป็นโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอมักจะไม่มีความสุขในการทำงาน พวกเขาอาจไม่รู้สึกท้าทายเพียงพอ แต่ความกลัวที่จะล้มเหลวหรือการค้นพบ ทำให้พวกเขาหยุดค้นหาความรับผิดชอบที่เพิ่มเติม
จากผลการศึกษาในปีค.ศ. 2014 ชี้ให้เห็นว่า คนที่เป็นโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ มักอยู่ในตำแหน่งเดิม เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่าตัวเองจะทำได้ดีกว่านี้ พวกเขาอาจประเมินค่าทักษะของตัวเองต่ำกว่าปกติ หรือไม่ได้คิดว่าบทบาทอื่นๆ อาจทำให้ความสำคัญกับความสามารถของตัวเองเก่งขึ้น
ตั้งเป้าหมายกับงานเอาไว้สูง
ความกลัวอย่างมากต่อการล้มเหลวและความต้องการที่ดีที่สุดสามารถทำให้คนบรรลุเป้าหมายมากเกินไปเมื่อทำงานบางอย่างเสร็จ นอกจากนั้นจากบทความในปีค.ศ. 2011 ยังพบว่า ผู้ที่เป็นโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอมักตั้งเป้าหมายกับงานเอาไว้สูงมากและมักจะต้องพบกับความผิดหวังเมื่อตัวเองไม่สามารถทำเป้าหมายให้บรรลุตามที่ตั้งเอาไว้ได้
สิ่งที่ควรทำเพื่อลดผลเสียจาก โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ
แน่นอนว่าการเป็นโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอนั้นมักจะส่งผลเสียต่อทั้งตัวเอง รวมไปถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้น สิ่งที่ควรทำเพื่อลดความเสียจากโรคนี้ สามารถทำได้ ดังนี้
1. รับรู้สึกความรู้สึกที่เกิดขึ้น การรับรู้เป็นขั้นตอนแรกในการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น อย่าลืมสังเกตดูว่าอาการของโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอนั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อใด
2. เขียนเตือนตัวเอง แทนที่จะบอกตัวเองว่าคุณไม่สมควรได้รับความสำเร็จ คุณควรเปลี่ยนมาเตือนตัวเองว่ามันเป็นเรื่องปกติที่คนเราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างและคุณจะพบข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อคุณก้าวหน้าขึ้น
3. พูดถึงความรู้สึกของคุณ อาจมีคนอื่นๆ ที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอเช่นกัน ดังนั้น ควรมีการพูดคุยแบบเปิดกว้าง แทนที่จะเก็บงำความคิดเชิงลบเอาไว้เพียงอย่างเดียว
4. พิจารณาความคิดของตัวเอง คนส่วนใหญ่มักจะมีประสบการณ์ในช่วงเวลาหรือโอกาสที่พวกเขาจะรู้สึกไม่มั่นใจ 100 เปอร์เซ็นต์ และอาจมีบางครั้งที่เกิดความสงสัยในตัวเอง หากคุณเริ่มคิดได้ว่าตัวเองกำลังคิดว่ารับประโยชน์ให้พยายามจัดระบบความคิดเสียใหม่
5. ปรับความล้มเหลวให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้ พยายามค้นหาบทเรียนและนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์ในอนาคต ซึ่งนี่ถือเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับทุกคน
6. ใจดีกับตัวเอง จำไว้ว่าคุณมีสิทธิ์ที่จะทำผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เป็นครั้งคราว แต่เมื่อทำผิดแล้วควรให้อภัยตัวเอง และอย่าลืมให้รางวัลแก่ตัวเองสำหรับการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้ถูกต้อง
7. ขอความช่วยเหลือ แน่นอนว่าทุกคนมักจะต้องการความช่วยเหลือ คุณสามารถขอความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ ได้ และคุณไม่จำเป็นที่จะต้องทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว วิธ๊นี้จะทำให้คุณได้รับการตรวจสอบความเป็นจริงที่ดีและทำให้คุณได้พูดคุยกับคนอื่นๆ ด้วย
8. วาดภาพความสำเร็จของคุณเอาไว้ การวาดภาพความสำเร็จเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเสร็จหรือทำการนำเสนอให้ลุล่วงไปได้ จะทำให้คุณมีสมาธิและสงบขึ้น