backup og meta

ซีรีเบลลัม สมองน้อยๆ ที่มีผลต่อวิวัฒนาการของคน

ซีรีเบลลัม สมองน้อยๆ ที่มีผลต่อวิวัฒนาการของคน

ซีรีเบลลัม คือสมองน้อยๆ ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกายในด้านต่างๆ แต่สำหรับบางคนอาจจะรู้จักแค่ว่าซีรีเบลลัมนั้นคือสมอง แต่ยังไม่รู้ว่ามันทำหน้าที่อะไรในร่างกายของเราบ้าง ดังนั้นวันนี้ ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

[embed-health-tool-bmr]

ทำความรู้จักกับ ซีรีเบลลัม (Cerabellum)

ซีรีเบลลัม คือ สมองน้อยที่ได้รับข้อมูลจากระบบประสาท ไขสันหลัง และส่วนอื่นๆ ของสมอง ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซีรีเบลลัมจะทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆ เช่น ประสานระหว่างท่าทางการทรงตัวเข้ากับการพูด เพื่อทำให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างสอดคล้องและสมดุล

ซีรีเบลลัมเป็นส่วนหนึ่งในสมองที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ขนาดประมาณ 10% ของน้ำหนักรวมของสมอง แต่มีเซลล์ประสาทประมาณ 80% ของเซลล์ประสาททั้งหมด เซลล์ประสาทนี้จะทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าภายในร่างกาย

ซีรีเบลลัมนี้ไม่ได้มีแต่ในมนุษย์เท่านั้น มันยังมีอยู่ในสัตว์ด้วย แต่ทางนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ซีรีเบลลัมนั้นมีอยู่ในมนุษย์ก่อนสัตว์ และเมื่อซีรีเบลลัมได้รับความเสียหาย มันอาจจะนำไปสู่การขาดสมดุล กสนเคลื่อนไหวช้าลง และมีภาวะการสั่นเกิดขึ้น นั่นเอง

หน้าที่ของซีรีเบลลัมคืออะไร

หลังจากทำความรู้จักกับซีรีเบลลัมกันมากขึ้นแล้ว คราวนี้ลองมาดูหน้าที่ของซีรีเบลลัมกันบ้างดีกว่า เพราะนอกจากมันจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และการประสานงานต่างๆ แล้ว มันยังมีหน้าที่ ดังนี้

  • รักษาสมดุล ซีรีเบลลัมจะทำหน้าที่ในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของความสมดุลและการเคลื่อนไหว จากนั้นก็จะส่งสัญญาณไปยังร่างกายเพื่อให้ปรับสมดุล
  • การประสานงานการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ต้องการการประสานงานของกล้ามเนื้อหลายกลุ่ม ซีรีเบลลัมจะทำหน้าที่ในการประสานงานให้กล้ามเนื้อหลายกลุ่ม เพื่อให้กล้ามเนื้อนั้นทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น
  • วิสัยทัศน์ ซีรีเบลลัมมีหน้าที่ในการประสานการเคลื่อนไหวของดวงตา
  • เรียนรู้ในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซีรีเบลลัมมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเรียนรู้การเคลื่อนไหว และปรับร่างกายอย่างละเอียดเพื่อให้ทำงานได้ราบรื่น ตัวอย่างเช่น ซีรีเบลลัมมีบทบาทในการเรียนรู้เกี่ยวกับการปั่นจักรยาน หรือการเล่นเครื่องดนตรี
  • อื่นๆ นอกจากนั้นนักวิจัยยังเชื่อว่า ซีรีเบลลัมมีบทบาทในการคิด ภาษา การประมวลผล และอารมณ์ แต่การทำงานในส่วนนี้ของซีรีเบลลัม ยังไม่ได้รับการสำรวจอย่างสมบูรณ์

5 เหตุผลที่ซีรีเบลลัมสำคัญต่อการเจริญเติบโต

เหตุผลของการพัฒนาซีรีเบลลัมก็เพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ลองมาดูเหตุผลกันว่าทำไมซีรีเบลลัมถึงสำคัญต่อการเจริญเติบโต

  • ซีรีเบลลัมถือเป็นหัวใจสำคัญของความเฉลียวฉลาด และความคิดที่แตกต่าง หากคุณไม่ได้ใช้งาน หรือเอาแต่นั่งทั้งวันอาจทำให้ซีรีเบลลัมฝ่อได้
  • นอกจากนั้นแล้วการอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์มากเกินไปก็จะทำให้ซีรีเบลลัมลดขนาดลง ดังนั้นการเจริญเติบโตของคนเรา จึงต้องมีการพัฒนาสมองน้อยๆ นี้ด้วย
  • ซีรีเบลลัมอาจเป็นที่ตั้งของความคิดสร้างสรรค์ จิตนาการ และนวัตกรรม
  • ออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) เซลล์เพอร์คินจี (Purkinje Cells) และซีรีเบลลัม ทั้งหมดล้วนมีความเกี่ยวข้องกัน
  • การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ทำให้ของไหลยิ่งยวด (Superfluidity) ทำงานดีขึ้น เนื่องจากเป็นการไปกระตุ้นประสาทและการเชื่อมต่อของซีกสมองทั้ง 4 ส่วนเข้าด้วยกันนั่นเอง

ถือว่า ซีรีเบลลัม นั้น สำคัญต่อพัฒนาการต่างๆ ในร่างกายเป็นอย่างมาก ดังนั้นควรจะต้องหาวิธีฝึกและบำรุงสมองส่วนนี้อยู่เสมอ ที่สำคัญที่สุด ไม่ควรทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บทางสมอง รวมไปถึงอันตรายที่อาจทำให้เสียชีวิตได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cerebellum. https://www.healthline.com/human-body-maps/cerebellum#1. Accessed February 20, 2020

Everything you need to know about the cerebellum. https://www.medicalnewstoday.com/articles/313265.php. Accessed February 20, 2020

5 Reasons the Cerebellum Is Key to Thriving in a Digital Age. https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-athletes-way/201605/5-reasons-the-cerebellum-is-key-thriving-in-digital-age. Accessed February 20, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/11/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาสมอง เพิ่มพูนความจำ ป้องกันสมองเสื่อม ได้ง่ายๆ ด้วยการ บริหารสมอง

กินปลาไหม บำรุงสมองและร่างกายนะ เพราะ ปลามีประโยชน์ มากมาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา