สุขภาพช่องปาก

สุขภาพช่องปาก เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรจะละเลย เพราะภายในช่องปากของเรานั้น เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพช่องปาก

วิธีแก้ร้อนใน และวิธีดูแลช่องปาก อย่างเหมาะสม

แผลร้อนใน เป็นแผลบวมแดงที่มักเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น ริมฝีปากด้านใน ภายในปากอาจมีแผลร้อนในพร้อมกันเกิน 1 จุด และแผลอาจเพิ่มจำนวนหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ วิธีแก้ร้อนใน สามารถทำได้ด้วยการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์และสารฆ่าเชื้อ ทาเจลฆ่าเชื้อที่แผล ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยทั่วไป แผลร้อนในจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากเป็นแผลนานกว่า 3 สัปดาห์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ร้อนใน คืออะไร ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Mouth ulcers) เป็นแผลตื้น ๆ ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ตรงกลางเป็นสีขาวอมเหลือง ขอบแผลเป็นสีแดง ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น เพดานปาก ริมฝีปากด้านใน เหงือก อาจทำให้รู้สึกเจ็บ รับประทานอาหารไม่สะดวกหรือพูดได้ลำบาก หากเครียด เจ็บป่วย อ่อนเพลียรุนแรง ก็อาจทำให้อาการร้อนในแย่ลงได้ ทั้งนี้ แผลร้อนในไม่ใช่โรคไม่ติดต่อ ต่างจากแผลโรคเริม (Cold sores) ที่พบบริเวณริมฝีปากด้านนอกและรอบริมฝีปาก […]

หมวดหมู่ สุขภาพช่องปาก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพช่องปาก

ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ช่องปากแห้ง สาเหตุ อาการ และวิธีดูแลที่คุณควรรู้

ช่องปากแห้ง หรือภาวะน้ำลายน้อย อาจส่งผลต่อความสะอาดและการย่อยอาหารในช่องปากได้ เนื่องจากน้ำลายมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปาก ฉะนั้น ถ้าใครรู้สึกว่าปากแห้ง มีน้ำลายน้อย Hello คุณหมอ มีข้อควรรู้ในเรื่องนี้มาฝากค่ะ สาเหตุของอาการ ช่องปากแห้ง อาการปากแห้ง หรือช่องปากแห้ง จะเกิดขึ้นเวลาที่ต่อมน้ำลายในปากผลิตน้ำลายออกมาไม่เพียงพอต่อการทำให้ภายในช่องปากเปียกหรือแฉะอยู่เสมอ ซึ่งการที่ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติอาจเป็นผลมาจาก… การใช้ยา มียาอยู่มากมายหลายชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการปากแห้ง ซึ่งยาที่มีความเสี่ยงจะทำให้เกิดปัญหานี้ ได้แก่ ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง และโรควิตกกังวล รวมทั้งยาแก้แพ้ ยาแก้คัดจมูก ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้ปวด อายุมากขึ้น ผู้สูงวัยมักจะมีอาการปากแห้งเมื่อมีอายุมากขึ้น ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นการใช้ยาบางชนิด ความสามารถในการดูดซึมยาลดลง ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และมีปัญหาด้านสุขภาพเป็นเวลานาน ยาเคมีบำบัดโรคมะเร็ง ยาเคมีบำบัดอาจทำให้ธรรมชาติของน้ำลายเปลี่ยนไป รวมทั้งทำให้การผลิตน้ำลายลดลงด้วย อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการเพียงชั่วคราว ซึ่งเมื่อใช้ยาเคมีบำบัดเสร็จสิ้นแล้ว น้ำลายก็จะกลับมาตามปกติ นอกจากนี้ การฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอ ก็อาจทำให้ต่อมน้ำลายเกิดความเสียหาย จนร่างกายผลิตน้ำลายได้น้อยลง อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการเพียงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีและบริเวณที่มีการฉายรังสี เส้นประสาทได้รับความเสียหาย เกิดจากอุบัติเหตุหรือศัลยกรรมที่ทำให้เส้นประสาทบริเวณศีรษะและคอเกิดความเสียหาย และส่งผลให้เกิดอาการปากแห้งได้ มีปัญหาทางด้านสุขภาพ อาการปากแห้งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน เส้นเลือดในสมองแตก การติดเชื้อราในช่องปาก โรคอัลไซเมอร์ โรคที่เป็นผลมาจากการแพ้ภูมิตัวเอง (เช่น โรคในกลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s syndrome) โรคเอดส์ ) นอกจากนี้ การนอนกรนและการหายใจทางปาก ก็อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ด้วย การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ […]


โรคเหงือกและช่องปาก

สุขภาพเหงือก เรื่องสำคัญของช่องปากที่ห้ามละเลย

สุขภาพเหงือก คือตัวบ่งบอกสุขภาพฟัน ฉะนั้น ถ้าเราดูแลสุขภาพเหงือกให้ดี ฟันและเหงือกก็จะมีสุขภาพดีไปตลอดชีวิต และยิ่งสุขภาพฟันและเหงือกดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้เราห่างไกลจากโรคเหงือกและโรคฟันผุได้มากเท่านั้น Hello คุณหมอ มีข้อมูลของสุขภาพเหงือกและฟันมาแบ่งปันกันค่ะ โรคเหงือกคืออะไร โรคเหงือก จะเกิดขึ้นเวลาที่คราบฟันเกิดการสะสมอยู่ในบริเวณแนวเหงือก คราบฟันที่ว่านั้นก็คือคราบเหนียว ๆ ที่เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียพวกนี้จะทำให้เหงือกและกระดูกเกิดอาการบาดเจ็บ และนำไปสู่ปัญหาโรคเหงือกและฟันผุได้ นอกจากนี้คราบฟันยังอาจทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบขึ้นมาได้อีกด้วย และอาการดังกล่าวคืออาการเริ่มต้นของโรคเหงือก ซึ่งอาการเหงือกอักเสบจะทำให้เหงือกของเรามีอาการตังต่อไปนี้ อักเสบ อ่อนนุ่ม มีสีแดง บวม มีเลือดออกง่าย โชคดีอาการเหงือกอักเสบลักษณะนี้ไม่ทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่โอบอุ้มฟันของเราอยู่นั้นได้รับผลกระทบไปด้วย และสามารถรักษาให้หายได้ แต่หากคุณเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งหมายถึงโรคเหงือกที่มีความรุนแรงขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อกระดูกที่โอบอุ้มฟันได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้เหงือก กระดูก และเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกับฟันเกิดความเสียหายได้ อาการของโรคปริทันต์ ได้แก่ มีกลิ่นปากและรับรสได้ไม่มีอย่างต่อเนื่อง ฟันดูห่างออกจากกันหรือมีฟันโยก เหงือกมีเลือดออกได้ง่าย เหงือกบวม แดง หรืออ่อนนุ่ม เหงือกร่น โรคเหงือกระยะสุดท้าย หรือก็คือโรคปริทันต์อักเสบที่มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นเวลาที่เส้นใยและกระดูกที่โอบอุ้มฟันเอาไว้ถูกทำลายลง อาการนี้จะส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร และอาจจำเป็นต้องถอนฟันที่มีปัญหานั้นออก ดังนั้น ถ้าใครมีสัญญาณหรืออาการดังต่อไปนี้ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่าโดนโรคเหงือกเล่นงานเข้าให้แล้ว วิธีการดูแล สุขภาพเหงือก โรคเหงือกเป็นโรคที่เราสามารถป้องกันได้ โดยปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้ สามารถที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพเหงือกที่ดีได้ ใช้ไหมขัดฟัน เราควรใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง ซึ่งจะช่วยขจัดคราบฟันและเศษอาหารในบริเวณที่แปรงสีฟันซอกซอนเข้าไปไม่ถึง โดยเราสามารถใช้ไหมขัดฟันได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางคืน ตอนเช้า หรือหลังทานอาหารกลางวัน หรือหลังอาหารมื้อใดก็ได้ ให้ผู้เชี่ยวชาญทำความสะอาดเป็นประจำ ทันตแพทย์จะสามารถตรวจพบอาการของโรคเหงือกได้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากคุณไปพบทันตแพทย์เป็นประจำสม่ำเสมอ หากคุณหมอพบสิ่งผิดปกติใดๆ ก็จะสามารถทำการรักษาก่อนที่จะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้น การทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญเช่นนี้ เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยกำจัดคราบหินปูนออกไปได้ นอกจากนี้ ยังช่วยกำจัดคราบฟันในบริเวณที่แปรงสีฟันหรือไหมขัดฟันซอกซอนเข้าไปไม่ถึง ดังนั้นถ้าใครมีอาการเหงือกอักเสบ การแปรงฟัน […]


ทันตกรรมเพื่อความงาม

ฟอกสีฟัน โดยทันตแพทย์ กับฟอกสีฟันที่บ้าน ฟันขาวจริงไหม แบบไหนดีกว่า

สีขาว… เป็นสีที่ให้ความรู้สึกถึงความสะอาด สดใส ไม่เว้นแม้กระทั่งอวัยวะในร่างกายของเราอย่าง “ฟัน” เพราะใคร ๆ ก็ชื่นชอบฟันที่ดูขาวสะอาด แต่อาหารที่เรากินเข้าไปในแต่ละวัน ก็อาจทำให้ฟันมีคราบจนสีฟันไม่ขาวสดใส หรือเกิดปัญหาฟันเหลือง จนบั่นทอนความมั่นใจของใครหลาย ๆ คนได้ ดังนั้น จึงได้เกิดนวัตกรรมการฟอกสีฟันที่ช่วยคืนความขาวสะอาดให้แก่ฟันของคุณ แต่การฟอกสีฟันก็มีหลากหลายวิธี ทั้งการฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์ และการฟอกสีฟันเองที่บ้าน หากใครยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะกับการ ฟอกสีฟัน แบบไหน Hello คุณหมอ ขอแนะนำให้ลองอ่านบทความนี้ดูได้เลย ฟันขาวขึ้นได้ ด้วยการ ฟอกสีฟัน การฟอกสีฟัน เป็นการแก้ปัญหาฟันเหลืองจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน การรับประทานยาบางชนิด หรือจากคราบน้ำชา กาแฟ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถแก้ฟันเหลืองด้วยการฟอกสีฟันได้ เพราะในบางครั้งโรคของฟันบางอย่างก็เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ยากต่อการฟอกสีฟัน เช่น ภาวะเหงือกร่น ฟันมีสีจากอุบัติเหตุ ฟันมีสีตามอายุการใช้งาน การฟอกสีฟันที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้ 1. การฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์ ก่อนฟอกสีฟัน ทันตแพทย์จะต้องตรวจช่องปากและดูประวัติสุขภาพของคุณอย่างละเอียด เพื่อประเมินว่า คุณสามารถรับการฟอกสีฟันได้หรือไม่ หากได้ แพทย์จะฟอกสีฟันให้คุณ โดยการลงน้ำยาฟอกสีฟันที่มีความเข้มข้นสูง อย่าง ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

ไหมขัดฟัน ชนิดและวิธีการใช้

ไหมขัดฟัน มีลักษณะเป็นเชือกเส้นเล็ก ๆ ถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยทำความสะอาดช่องปากจากเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟัน หรือใต้เหงือก บริเวณที่แปรงสีฟันไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งการใช้ไหมขัดฟันอาจช่วยป้องกันฟันผุ ลดกลิ่นปาก ลดคราบพลัครวมถึงปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ เช่น โรคเหงือก  ประเภทของไหมขัดฟัน  ในปัจจุบันอาจมีรูปแบบลักษณะไหมขัดฟันต่าง ๆ ให้เลือกใช้ ซึ่งประเภทของไหมขัดฟันอาจมีดังต่อไปนี้ ไหมขัดฟันแบบเคลือบขี้ผึ้งและไม่เคลือบขี้ผึ้ง ไหมขัดฟันทั้ง 2 แบบนี้ทำมาจากวัสดุไนลอน ที่สามารถช่วยขจัดเศษอาหารที่อยู่ตามซอกฟัน ไหมขัดฟันแบบเคลือบขี้ผึ้งอาจมีประสิทธิภาพในการขจัดเศษอาหารได้ดีกว่า เนื่องจากสามารถขยับเขยื้อนเข้าซอกฟันได้ง่ายขึ้น และไม่ค่อยฉีกขาดง่าย อย่างไรก็ตาม ไหมทั้ง 2 แบบอาจมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน รวมถึงไหมขัดฟันที่แต่งกลิ่นและเพิ่มรสชาติต่างๆ อาจช่วยทำให้รู้สึกช่องปากหอม สดชื่น  ไหมขัดฟันแบบริบบิ้นหรือเทป  ไหมขัดฟันที่มีแถบริบบิ้นหรือเทปที่กว้าง จะมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดมากกว่า  เนื่องจากไหมขัดฟันที่กว้างขึ้น อาจช่วยทำความสะอาดตามซอกฟันได้ครอบคลุมกว่า นอกจากนี้ ยังควบคุมตำแหน่งได้ง่ายกว่า และมีโอกาสที่จะบาดเหงือกได้น้อยกว่า ไหมขัดฟันแบบมีด้ามจับ  เป็นไหมขัดฟันชนิดที่มีด้ามจับเพื่อให้ถนัดมือ ใช้งานสะดวกและพกพาง่าย เนื่องจากไม่ต้องใช้นิ้วพันแบบไหมขัดฟันเป็นเส้น และอาจสามารถช่วยขจัดเศษอาหารที่อยู่ด้านในของช่องปาก  วิธีการใช้ไหมขัดฟัน  การทำความสะอาดช่องปากเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรดูแลอย่างเป็นประจำ ดังนั้นการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี อาจช่วยลดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน ซึ่งอาจมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้  การเลือกใช้ไหมขัดฟันตามแต่ละชนิด และยี่ห้อ  ใช้ไหมขัดฟันประมาณ 18 นิ้ว พันรอบนิ้วกลาง โดยเหลือประมาณ 1-2 นิ้วไว้สำหรับขัดฟัน  จับไหมขัดฟันให้แน่นระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ แล้วเลื่อนไหมขัดฟันขึ้นลงเบา ๆ ตามซอกฟัน รวมถึงขัดเบา ๆ ที่ฐานฟัน แต่ควรระวังไหมบาดเหงือก ใช้ไหมขัดฟันทั้งฟันบน และฟันล่าง […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

โรคหัวใจ ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงจาก โรคฟันผุ

โรคฟันผุ มาเยือนบ่อยครั้งจนต้องไปพบหมอฟันนับครั้งไม่ถ้วน แต่หลาย ๆ คนก็ยังอาจคิดว่าโรคฟันผุเป็นเพียงปัญหาเล็ก ๆ ของสุขภาพช่องปากที่ไม่ได้รุนแรงแต่อย่างใด และสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ในระยะเวลาสั้น ๆ จึงเลือกที่จะละเลยปัญหาฟันผุ แต่สิ่งที่เรามองข้ามมักกลายเป็นเรื่องใหญ่เสมอ เพราะอันที่จริง ปัญหาในช่องปากที่ดูไม่น่าไม่อันตรายอย่างโรคฟันผุ กลับกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้!  อันตรายขนาดนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้วค่ะ ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทำความรู้จักและหลีกเลี่ยงฟันผุกัน โรคฟันผุ เป็นอย่างไร โรคฟันผุ เป็นปัญหาในช่องปากประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคือ ฟันถูกทำลายจากกรด ฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในส่วนตัวฟันและรากฟันที่โผล่พ้นออกมาจากเหงือก โดยปกติระบบการทำงานในช่องปาก จะมีกระบวนการเปลี่ยนแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสในชั้นผิวเคลือบฟันกับน้ำลายตลอดเวลาอย่างสมดุล ทำให้ไม่มีการสูญเสียแร่ธาตุออกจากผิวฟัน แต่ในภาวะที่จุลินทรีย์มีการย่อยสลายอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล จะเปลี่ยนน้ำลายเป็นกรด ทำให้สูญเสียแคลเซียม และฟอสฟอรัสออกจากตัวฟันมากกว่าการได้รับกลับคืน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นบ่อยก็จะทำให้เกิดฟันผุ สาเหตุของการเกิดโรคฟันผุ การเกิดฟันผุ มาจากปัจจัย 4 ประการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ แผ่นคราบจุลินทรีย์ อาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล ตัวฟัน เวลา โดยแบคทีเรียที่มีอยู่ตามปกติในช่องปากจะทำปฏิกิริยากับคราบพลัค (Plaque) ที่ติดค้างอยู่ตามซอกฟัน และผิวเคลือบฟัน ซึ่งเราขจัดออกไปได้ไม่หมด เกิดเป็นกรดขึ้น ซึ่งกรดสามารถทำลายผิวเคลือบฟัน ก่อให้เกิดฟันผุขึ้นได้หากค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในปากมีค่าต่ำกว่า 5.5 บ่อย ๆ และเป็นเวลานาน ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงจากโรคฟันผุ อาการปวดฟันจากฟันผุ หากปล่อยให้ลุกลามจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย […]


โรคเหงือกและช่องปาก

เปลี่ยน ปากเหม็น เป็นลมหายใจหอมสดชื่น ฉบับเร่งด่วน

ปากเหม็น เป็นปัญหาที่ไม่มีใครกล้าบอกเรา และเราก็ไม่กล้าบอกใคร หลายคนต้องทุกข์ทน นั่งกลั้นหายใจ คอยลุ้นว่าเมื่อไหร่คนที่มีกลิ่นปากจะหยุดพูดเสียที ถ้าเราเป็นคนฟังที่นั่งอดทนก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถ้ากลายเป็นเราที่มีกลิ่นปากเองล่ะจะทำยังไง วิธีตรวจสอบง่ายๆ ว่าเรามีกลิ่นปากหรือเปล่า ให้ลองทำดังนี้ ถามคนสนิท (ที่กล้าพูดความจริงกับเรา) ว่าเราปากเหม็นหรือเปล่า เอามืออังปาก พ่นลมหายใจใส่ฝ่ามือ เพื่อเช็กว่ามีกลิ่นปากไหม เลียที่ข้อมือ รอให้น้ำลายแห้ง และลองดมตรงจุดที่เลีย ถ้ามีกลิ่นแสดงว่าเรามีกลิ่นปาก สำหรับใครที่รู้ตัวว่าตัวเองมีกลิ่นปาก ก็อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป มาดูสาเหตุและวิธีการแก้ไขกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้ ปากเหม็น ช่องปากไม่สะอาด สาเหตุอันดับหนึ่ง คือ สุขภาพช่องปากไม่สะอาด อาจเป็นเพราะไม่ได้แปรงฟัน หรือไม่ใส่ใจกับการแปรงฟัน เช่น ใช้แปรงสีฟันเก่านานหลายปี นอกจากจะทำความสะอาดได้ไม่ดีแล้ว แปรงยังชำรุด ขนแปรงเสื่อมสภาพ เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคด้วย ดังนั้นพวกคนที่ชอบใช้แปรงสีฟันเดิมนานๆ ไม่ยอมเปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อเก่าแล้ว หรือขนแปรงเปลี่ยนสภาพไป ควรต้องระวังให้ดี เพราะจะมีกลิ่นปากแน่ๆจากการที่ไม่ใส่ใจดูแลการแปรงฟัน และแปรงสีฟันเสื่อมสภาพในการแปรงฟัน โรคเหงือกและฟัน เหงือกอักเสบ ฟันผุ ฟันเป็นรู และปัญหาอื่นๆ ของเหงือกและฟันต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีกลิ่นปากได้ เพราะจุดที่มีปัญหาจะเป็นแหล่งรวมตัวของแบคทีเรีย เช่น แบคทีเรียกลุ่มแอคติโนมัยสิส (Actinomyces) กลุ่มอีแบคทีรัม (Eubacterium) ซึ่งในช่องปากของเรามีแบคทีเรียมากกว่า 500 ชนิด ที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นปาก แถมอุณหภูมิในช่องปากที่สูงได้ถึง 37 องศาเซลเซียส […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

เยื่อบุช่องปากอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

คำจำกัดความ เยื่อบุช่องปากอักเสบคืออะไร เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis) คือ อาการเจ็บหรืออักเสบที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก ด้านในริมฝีปาก หรือบนลิ้น ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบหลักๆ สองประเภทคือ เริมในช่องปาก (Herpes Stomatitis หรือ ​Cold Sore) และ แผลร้อนใน (Aphthous stomatitis) เยื่อบุช่องปากอักเสบพบได้บ่อยได้แค่ไหน ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นอย่างไร อาการทั่วไปมีดังนี้ มีแผลในช่องปากเป็นชั้นสีขาวหรือเหลือง ฐานเป็นสีแดง ปกติแล้วจะพบได้ที่ด้านในริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม หรือบนลิ้น มีรอยปื้นสีแดง มีตุ่มพอง บวม ความรู้สึกไม่สบายในช่องปาก เช่น อาการปวดแสบปวดร้อน โดยปกติแผลจะหายภายใน 4-14 วัน และมักจะกลับมาเป็นอีกครั้ง อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุ สาเหตุของเยื่อบุช่องปากอักเสบ การติดเชื้อไวรัส herpes simplex 1 (HSV-1) คือสาเหตุของโรคเริม พบมากในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปาก เช็กสิ! คุณมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือเปล่า

สุขภาพช่องปากเป็นสิ่งที่เราควรให้ความใส่ใจเป็นอันดับต้น ๆ การดูแลสุขภาพช่องปากโดยทั่วไปก็ไม่มีอะไรซับซ้อน แค่แปรงฟันวันละสองครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ และไปพบทันตแพทย์ปีละสองครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่คนเรามักจะมองข้ามในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน จนส่งผลให้ปากและฟันมีปัญหาก็คือ การแสดง พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปาก เหล่านี้โดยไม่รู้ตัว ว่าแต่พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากที่ว่าจะมีอะไรบ้าง บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณแล้ว พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปาก ดื่มน้ำผลไม้สีสันสดสวย ถึงแม้น้ำผลไม้ปั่นที่ใช้ส่วนผสมหลากสีสัน จะมีคุณค่าทางอาหารและส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ถ้านำมาพิจารณากับสุขภาพฟันแล้วล่ะก็… อาจจะไม่ใช่ เพราะอาหารที่มีเม็ดสีแน่น ๆ แบบนี้ อาจจับตัวเป็นคราบฝังแน่นอยู่บนผิวฟันได้ ฉะนั้น เวลาที่คุณดื่มเครื่องดื่มหรืออาหารเหลวที่มีเม็ดสีแน่น ๆ แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ หรือน้ำผลไม้สีสดสวย เราแนะนำให้คุณใช้หลอดดีกว่า ฟันของคุณจะได้สัมผัสกับเม็ดสีพวกนี้น้อยที่สุด พอบอกอย่างนี้ หลายคนอาจคิดว่า ถ้าอย่างนั้นการดื่มน้ำเปล่า ที่ฝานมะนาวหรือเลมอนใส่ลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติและสีสันน่าจะปลอดภัยกว่า แต่จริง ๆ แล้ว การดื่มน้ำเปล่าสไตล์นี้ ก็ถือเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากเช่นกัน เพราะมะนาวจะสร้างกรดที่เป็นอันตราบต่อชั้นเคลือบฟัน ทำให้ฟันสึกกร่อนได้ ไม่ยอมแปรงฟันก่อนนอน ถ้ามีคืนไหนที่คุณเหนื่อยเหลือทนจนไม่ยอมแปรงฟัน ไม่ใช้ไหมขัดฟัน หรือไม่ยอมใช้น้ำยาบ้วนปาก ในการดูแลสุขภาพฟันและเหงือกแล้วล่ะก็ นั่นอาจเป็นการสร้างนิสัยแย่ ๆ ขึ้นมาก็ได้ ผู้คนมักให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากในตอนเช้ามากกว่า เนื่องจากต้องการดูดีที่สุดเวลาจะออกไปไหน ส่วนตอนกลางคืนก็มักจะหลงลืม ไม่ได้ดูแลช่องปากอย่างถูกต้อง ซึ่งพฤติกรรมนี้ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพในช่องปาก เพราะจะทำให้เกิดกรดขึ้นในปาก […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

มา บ้วนปาก ด้วยน้ำมันมะพร้าว กันเถอะ

การบ้วนปากด้วยน้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันงา น้ำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันมะพร้าว หรือที่เรียกว่าออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) เป็นวิธีของชาวอินเดียโบราณ โดยชาวอินเดียเชื่อว่าการอมน้ำมันค้างไว้ในปากแล้วบ้วนออกมา จะช่วยรักษาโรคได้มากมาย ตั้งแต่อาการปวดศีรษะไปจนถึงโรคเบาหวาน และจากการศึกษาวิจัยในปัจจุบันก็พบว่าออยล์พูลลิ่งนั้นทำให้เชื้อโรคในปากลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ได้ สำหรับใครที่ไม่ชอบบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก แต่อยากทำความสะอาดช่องปากมากกว่าการแปรงฟัน การ บ้วนปาก ด้วยน้ำมันมะพร้าว อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าลอง ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์หลายอย่าง หลายคนกินน้ำมันมะพร้าวเพื่อรักษาโรคหัวใจ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยเรื่องโรคเบาหวาน โรคลำไส้แปรปรวน รวมถึงใช้เพื่อลดความอ้วนด้วย น้ำมันมะพร้าวแตกต่างจากน้ำมันที่สกัดจากพืชชนิดอื่นอย่างน้ำมันงา หรือน้ำมันดอกทานตะวัน เนื่องจากในน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดกลาง (medium chain fatty acids) ซึ่งเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมได้เร็ว ต่างจากกรดไขมันอิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดยาว (long chain fatty acid) ที่ร่างกายใช้เวลาย่อยนานและเก็บสะสมไว้ในชั้นเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งทำให้ร่างกายมีไขมันเยอะ 92% ของน้ำมันมะพร้าวคือกรดไขมันอิ่มตัว โดยมีกรดลอริก (Lauric) เป็นหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบและป้องกันเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้น จึงนิยมนำมาใช้ทาผิว รวมถึงใช้เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ช่วยป้องกันไม่ให้ผมแห้งเสียได้อีกด้วย น้ำมันมะพร้าวกับสุขภาพช่องปาก น้ำยาบ้วนปากที่มีขายตามท้องตลาด เป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนต (Chlorhexidine Gluconate) ซึ่งก็คือยาฆ่าเชื้อโรคในช่องปากนั่นเอง […]


ทันตกรรมสำหรับเด็ก

แปรงสีฟันเด็ก ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม

แปรงสีฟันเด็ก เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เนื่องจากการเลือกแปรงสีฟันให้เหมาะสมกับอายุของลูกอาจช่วยให้ดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีขึ้น โดยเด็กควรเริ่มแปลกฟันตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น ด้วยการใช้น้ำเปล่าในช่วง 0-18 เดือน หลังจากนั้น อาจเปลี่ยนมาใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ต่ำ และยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์มาตรฐานตามลำดับ หากคุณพ่อคุณแม่เลือกแปรงสีฟันเด็กที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เหงือกและฟันของลูกเสียหายได้ ทำไมเด็กต้องแปรงฟัน สำหรับเหตุผลที่เด็กต้องแปรงฟันก็เพื่อรักษาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากอาการฟันผุอาจเป็นหนึ่งในปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อยในเด็ก ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกเจ็บปวด เกิดการติดเชื้อ มีปัญหาในการรับประทานอาหาร การพูด การเล่น และการเรียนรู้ ดังนั้น การดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากด้วยการแปรงฟันให้ถูกต้อง อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาฟันผุ ช่วยให้สุขภาพฟันและเหงือกให้แข็งแรง และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้ในภายหลัง โดยการแปรงฟันอาจเริ่มตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น โดยวิธีการแปรงฟันตามอายุ อาจทำได้ดังนี้ เด็กอายุ 0-18 เดือน อาจแปรงฟันโดยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เด็กอายุตั้งแต่ 18 เดือนจนถึงอายุ 6 ขวบ อาจแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันสำหรับเด็กที่มีฟลูออไรด์ต่ำ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ข้างผลิตภัณฑ์ ในปริมาณเท่าเม็ดถั่ว ตั้งแต่อายุ 6 ขวบขึ้นไป อาจแปรงฟันโดยยาสีฟันฟลูออไรด์มาตรฐานในปริมาณเท่าเมล็ดถั่ว การใช้ยาสีฟันอาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ดังนั้น อาจสอบถามทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพช่องปาก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แปรงสีฟันเด็ก ควรเลือกอย่างไร การเลือกซื้อแปรงสีฟันสำหรับเด็กอาจทำได้ ดังนี้ เลือกแปรงสีฟันที่ขนแปรงนุ่ม ที่ออกแบบมาเพื่อทารกและเด็กโดยเฉพาะ สอนให้เด็กถือแปรงสีฟัน หากเด็กมีปัญหาในการถือแปรงสีฟัน ลองทำให้ด้ามแปรงหนาขึ้นด้วยการเอาผ้ามาพัน หรือหาซื้อแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีด้ามแปรงหนา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน