สุขภาพช่องปาก

สุขภาพช่องปาก เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรจะละเลย เพราะภายในช่องปากของเรานั้น เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพช่องปาก

วิธีแก้ร้อนใน และวิธีดูแลช่องปาก อย่างเหมาะสม

แผลร้อนใน เป็นแผลบวมแดงที่มักเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น ริมฝีปากด้านใน ภายในปากอาจมีแผลร้อนในพร้อมกันเกิน 1 จุด และแผลอาจเพิ่มจำนวนหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ วิธีแก้ร้อนใน สามารถทำได้ด้วยการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์และสารฆ่าเชื้อ ทาเจลฆ่าเชื้อที่แผล ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยทั่วไป แผลร้อนในจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากเป็นแผลนานกว่า 3 สัปดาห์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ร้อนใน คืออะไร ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Mouth ulcers) เป็นแผลตื้น ๆ ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ตรงกลางเป็นสีขาวอมเหลือง ขอบแผลเป็นสีแดง ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น เพดานปาก ริมฝีปากด้านใน เหงือก อาจทำให้รู้สึกเจ็บ รับประทานอาหารไม่สะดวกหรือพูดได้ลำบาก หากเครียด เจ็บป่วย อ่อนเพลียรุนแรง ก็อาจทำให้อาการร้อนในแย่ลงได้ ทั้งนี้ แผลร้อนในไม่ใช่โรคไม่ติดต่อ ต่างจากแผลโรคเริม (Cold sores) ที่พบบริเวณริมฝีปากด้านนอกและรอบริมฝีปาก […]

สำรวจ สุขภาพช่องปาก

โรคเหงือกและช่องปาก

กลิ่นปากจากกาแฟ มีทางแก้ ไม่ต้องเสียเซลฟ์

กาแฟ คือเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์ กาแฟช่วยทำให้คนเราตื่นตัว สดชื่น กระปรี้กระเปร่า แต่หลายครั้ง กาแฟ ก็สามารถสรา้งปัญหาให้แก่สุขภาพช่องปากของคุณได้เช่นกัน คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าหลังจากดื่มกาแฟ กลิ่นปากจะส่งกลิ่นรุนแรง และอาจทำให้คุณเสียเซลฟ์ไปเลยก็ได้ บทความนี้มีวิธีรับมือกับปัญหา กลิ่นปากจากกาแฟ มาฝากกัน กลิ่นปากจากกาแฟ เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่ว่าเราจะรับประทานอะไรเข้าไป ต่างก็สามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้ทั้งนั้น ยิ่งอาหารที่รับประทานมีกลิ่นแรงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลต่อกลิ่นปากได้มากเท่านั้น กาแฟ ซึ่งมีองค์ประกอบของกำมะถันสูง ก็เป็นหนึ่งในวายร้ายที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้ ยิ่งไปกว่านั้น สารคาเฟอีนในกาแฟยังทำให้ปากแห้ง เมื่อปากของคนเราไม่สามารถผลิตน้ำลายได้เพียงพอ กลิ่นปากก็จะตามมา เนื่องจากน้ำลายจะทำหน้าที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปาก ถ้าไม่มีน้ำลาย แบคทีเรียก็จะเติบโตและเป็นต้นเหตุของกลิ่นปาก นอกจากนี้ เศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในปาก ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกชะล้างด้วยน้ำลาย ก็เป็นต้นเหตุของกลิ่นปากด้วยเหมือนกัน เหตุผลข้อสุดท้ายที่การดื่มกาแฟทำให้คุณมีกลิ่นปาก ก็เป็นเพราะว่ากาแฟมีกลิ่นแรง เมื่อรวมตัวกับองค์ประกอบอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้แล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงกลายเป็นกลิ่นปากแรงมากและยังมีความเป็นไปได้ว่าส่วนผสมในกาแฟที่คุณดื่มเข้าไปอย่างเช่น นม ก็สามารถทำให้กลิ่นปากรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก ดื่มกาแฟอย่างไรไม่ให้เกิดกลิ่นปาก เห็นได้ชัดว่าการแปรงฟันให้เร็วที่สุดหลังดื่มกาแฟ เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับการเคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอมดับกลิ่นปาก รวมถึงการพกไม้จิ้มฟันติดตัวไว้เพื่อแคะเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ระหว่างซอกฟัน ก็เป็นความคิดที่ดีไม่น้อย ถ้าคุณไม่ชอบรสชาติของกาแฟกับยาสีฟันที่ปะปนกันอยู่ในช่องปาก แต่ก็ยังคงไม่อยากให้ลมปากมีกลิ่นกาแฟ อาจดื่มชาเขียวตามก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะข้อมูลจากวารสาร Oral Biology เปิดเผยว่า สารสกัดจากชาเขียว จะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกำมะถันที่เกิดขึ้นเพราะฟันผุได้ นอกจากนี้ กลุ่มนักวิจัยยังได้แนะนำว่า ชาเขียวช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งทำความสะอาดฟันหลังรับประทานอาหาร (รวมถึงหลังจากดื่มกาแฟ) […]


โรคเหงือกและช่องปาก

ผลการศึกษาชี้! บุหรี่ไฟฟ้า ตัวการทำเหงือกพัง ช่องปากมีปัญหา

ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่ นั่นเพราะหลายคนเชื่อว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลเสียต่อร่างกายน้อยกว่าการสูบบุหรี่แบบดั้งเดิม แต่ความจริงแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมีผลการศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลกระทบกับเหงือกและฟัน ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอีกมากมาย ทำความรู้จักกับ บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า (Electric cigarette หรือ E-cigarettes) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ เครื่องทำละออง (atomizer) น้ำยา และแบตเตอรี่ เมื่อน้ำยาไหลผ่านเครื่องทำละอองจะร้อนขึ้นถึง 200°C จนเกิดเป็นละอองลอย หรือหมอกยา (aerosol) ที่ผู้ใช้สูบเข้าไป กระบวนการเหล่านี้ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่ จึงกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหล่านักสูบรุ่นใหม่ให้ความสนใจ ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีอะไรบ้าง น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ประกอบด้วยสารประกอบหลัก คือ สารละลาย (Dilution) เช่น โพรไพลีนไกลคอล กลีเซอรีนจากพืช ถือเป็นสารประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดละอองลอย นิโคติน โดยน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีปริมาณนิโคตินอยู่ที่ 0-36 mg/ml สารแต่งกลิ่นและรส เพื่อเพิ่มกลิ่นให้กับน้ำบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจาก บุหรี่ เมนทอล ผลไม้ ขนม ผลเสียต่อเหงือกและช่องปาก ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะผู้ใช้ส่วนหนึ่งเชื่อว่า บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลเสียต่อร่างกายน้อยกว่าบุหรี่แบบดั้งเดิม แต่จากผลการศึกษาวิจัยของศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ (University of Rochester Medical Center) ประเทศสหรัฐอเมริกา […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร และส่งผลต่อสุขภาพช่องปากได้อย่างไรบ้าง

การนอนกัดฟัน (Bruxism) มักเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับความเครียดหรือความกังวล และโดยปกติจะไม่ถือเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่สำหรับบางคน นอนกัดฟัน อาจทำให้มีอาการปวดบริเวณใบหน้าและปวดหัว นอนกัดฟันเกิดจากสาเหตุใด ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง และเมื่อไหร่ที่ต้องไปพบคุณหมอ นอนกัดฟัน คืออะไร นอนกัดฟัน (Teeth grinding or Bruxism) มักจะเกิดขึ้นขณะหลับ หรือขณะที่กำลังใช้ความคิด รวมถึงช่วงที่กำลังเครียด โดยผู้ที่นอนกัดฟันมักจะไม่รู้ตัวว่ากำลังกัดฟันอยู่ และโดยปกติแล้วไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเกิดขึ้นทุกวัน เป็นเวลานาน อาจทำให้ฟันเสียหายได้ และจะมีปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ ตามมา เกิดจากสาเหตุใด สาเหตุของอาการนอนกัดฟันยังไม่ชัดเจน แต่มักจะเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียด ความกังวล และปัญหาการนอนหลับ ความเครียดและความกังวล นอนกัดฟันมักจะเกิดจากความเครียดหรือความกังวล และหลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเครียดอยู่ ซึ่งอาการนอนกัดฟันจะเกิดขึ้นในช่วงที่นอนหลับ ยาบางชนิด นอนกัดฟันอาจเป็นผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants) โดยเฉพาะยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) การนอนหลับผิดปกติ ถ้าคุณนอนกรน หรือมีการนอนหลับที่ผิดปกติ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea) ก็มีแนวโน้มที่จะนอนกัดฟันขณะหลับ เนื่องจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น อาจรบกวนการหายใจในช่วงขณะหลับ นอกจากนี้คุณมีแนวโน้มที่จะนอนกัดฟัน ในกรณีดังนี้ พูด หรือพึมพำขณะหลับ แสดงพฤติกรรมรุนแรงขณะหลัง เช่น เตะหรือต่อย มีอาการ […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาการฟันผุ

อาการฟันผุ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แบคทีเรียในช่องปาก หรือการทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดี หลายคนรู้จักอาการฟันผุตั้งแต่เด็กๆ  แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังคงเข้าใจผิดในเรื่องบางเรื่อง เกี่ยวกับอาการฟันผุอยู่ บทความนี้จึงชวนมาเช็คดูว่าคุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาการฟันผุ อยู่หรือเปล่า ความเข้าใจผิดที่ 1 ถ้าไม่ปวดฟัน แสดงว่าไม่มีปัญหาอะไร ในกรณีที่คุณไม่มีอาการปวดฟัน อาจไม่ได้หมายความว่า คุณไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากเมื่อถึงเวลาที่คุณรู้สึกปวดฟัน นั่นหมายความว่าเส้นประสาทบริเวณฟัน ได้รับผลกระทบแล้ว จึงอาจสายเกินไปที่จะรักษาฟัน ดังนั้นการไปตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ และไม่ควรรอให้ปวดฟันก่อนแล้วค่อยไปหาทันตแพทย์ เพราะอาการฟันผุอาจไม่ทำให้คุณรู้สึกปวดฟัน จนกระทั่งอาการรุนแรงแล้ว ความเข้าใจผิดที่ 2 กินน้ำตาลมาก คงไม่ถึงขั้นทำให้ฟันผุหรอก ความจริงแล้ว น้ำตาลสามารถเป็นต้นเหตุที่ทำให้ฟันผุได้ และบางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากน้ำตาลโดยตรง เนื่องจากน้ำตาลในอาหาร เช่น ลูกอม ขนมปัง ถั่ว ผลไม้ มันฝรั่ง และอาหารอื่นๆ จะทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในช่องปาก ทำให้เกิดกรดที่สามารถทำลายผิวเคลือบฟันได้ ดังนั้นจึงควรลดการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง และทำความสะอาดช่องปากเป็นประจำ รวมถึงควรใช้ไหมขัดฟันเพื่อดูแลฟันด้วย ความเข้าใจผิดที่ 3 น้ำอัดลม 0 แคลอรี่ไม่ทำให้ฟันผุ ไม่ใช่แค่น้ำตาลเพียงอย่างเดียวที่อาจทำให้ฟันผุ แต่อาหารทุกประเภทที่ทำให้เกิดกรดที่มาจากแบคทีเรียในช่องปาก ต่างก็สามารถเป็นต้นเหตุของอาการฟันผุได้ทั้งสิ้น รวมถึงน้ำอัดลม 0 แคลอรี่ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลด้วย ดังนั้นจึงควรบริโภคในปริมาณที่พอดี เพื่อป้องกันอาการฟันผุ ความเข้าใจผิดที่ 4 ฟันผุไม่เป็นไร เพราะรักษาให้ฟันกลับมามีสภาพดังเดิมได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เคลือบฟัน (enamel) บนผิวฟันสามารถกลับคืนมาได้ […]


โรคเหงือกและช่องปาก

กลิ่นปาก เกิดจากอะไร

กลิ่นปาก อาจสร้างความกังวลให้กับใครหลาย ๆ คน โดยสาเหตุของกลิ่นปาก มักเกิดจากการอาหารหรือเครื่องดื่มที่สะสมอยู่ตามซอกฟัน คราบหินปูน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางประการ เช่น การสูบบุหรี่หรือท้องผูกเป็นประจำ รวมถึงโรคบางประเภท เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ วัณโรค หากไม่หาสาเหตุและการรักษา อาจส่งผลให้มีกลิ่นปากรุนแรงขึ้น ทำให้สูญเสียความมั่นใจในการพูดคุยและเข้าสังคมกับผู้อื่น สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก  สาเหตุในการเกิดกลิ่นปาก อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ เช่น การมีสุขอนามัยช่องปากไม่ดี  การไม่แปรงฟัน หรือไม่ใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาดช่องปากในทุกวัน อาจทำให้เศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟัน และเกิดเป็นคราบพลัค คราบจุลินทรีย์ และหากสะสมนานอาจกลายเป็นคราบหินปูน ที่อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก และอาจทำให้เกิดฟันผุ โรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ นอกจากนี้ ผู้ที่ใส่ฟันปลอมควรหมั่นทำความสะอาดเช่นกัน เพราะฟันปลอมอาจเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย และก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อการลดกระบวนการผลิตน้ำลาย ทำให้ภายในช่องปากแห้ง อาจทำให้เกิดการกระตุ้นการสะสมเชื้อแบคทีเรีย  การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ เนื่องจากการสะสมของสารเคมีในควันบุหรี่ เช่น นิโคติน สารหนู ฟอร์มาลีน อาจสามารถทำให้เกิดกลิ่นปากเฉพาะตัวได้เมื่อเกิดการร่วมตัวกับกลิ่นอื่น ๆ หรือแบคทีเรียในช่องปาก  รวมถึงยังอาจส่งผลในการเป็นโรคปริทันต์ การไม่ทำสะอาดลิ้น แบคทีเรียบนลิ้นอาจเป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดกลิ่นปาก การทำความสะอาดลิ้นด้วยแปรงสีฟันหรือที่ขูดลิ้นอาจช่วยได้ ควรหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ขูดลิ้นที่เป็นโลหะ เพราะอาจเกิดการระคายเคือง ควรเลือกใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกแทน  ฟันแตก และการอุดฟัน  ฟันแตกอาจทำให้เศษอาหารเข้าไปในช่องฟัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการสะสมเชื้อแบคทีเรีย อาจส่งผลให้ฟันผุและทำให้มีกลิ่นปาก อาหาร การรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ และเพิ่มปริมาณโปรตีน ทำให้ร่างกายไม่ได้รับคาร์โบไฮเรตที่เพียงพอ อาจทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันเพิ่มแทน ซึ่งเป็นภาวะคีโตซิส (Ketosis) […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

เคล็ดลับการกินอาหารสำหรับผู้ที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

หากคุณมี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint) ซึ่งเป็นอาการที่อาจส่งผลกระทบต่อขากรรไกรและปาก จนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น การกัดฟัน ปวดกราม ปวดศีรษะ การเปิดหรือปิดปากได้ไม่ถนัด เกิดเสียงดังขณะเคี้ยวหรือเสียงก้องในหู หากคุณมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร สิ่งที่ต้องระวังระวังเป็นอย่างมากก็คือ อาหารที่รับประทาน การรับประทานอาหารนิ่ม ๆ หรือการหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะช่วยลดแรงกดบนข้อต่อ ซึ่งทำหน้าที่ในการเปิด-ปิดขากรรไกร อีกทั้งยังช่วยให้ข้อต่อได้ฟื้นฟู วันนี้ Hello คุณหมอ มีอาหารที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมาฝากกันค่ะ ว่าแต่อาหารที่ควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร จะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย อาหารสำหรับผู้ที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาหารที่มีลักษณะนิ่มเหล่านี้ อาจช่วยให้คุณไม่ต้องเปิดปากกว้าง เพื่อลงแรงกดบนข้อต่อทุก ๆ ครั้งที่คุณรับประทาน ชีสชนิดที่มีลักษณะนิ่มต่าง ๆ โยเกิร์ตธรรมชาติ ผักนึ่ง น้ำผลไม้คั้นสด หรือน้ำผลไม้ปั่น ผลไม้นิ่ม เช่น เบอร์รี กล้วย สตรอเบอร์รี เชอร์รี เรดเคอร์แรนท์ ถั่ว ซุป ไข่คน มันบด อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาหารที่ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรต้องหลีกเลื่ยงคือ อาหารที่ต้องมีการบดเคี้ยวนาน ๆ หรืออาหารที่จะเพิ่มแรงกดให้กับข้อต่อ เช่น ขนมปังแข็งกรอบ ซีเรียลกรอบ เนื้อเหนียว เช่น สเต็ก อาหารที่มีความเหนียวหรือหนืด เช่น แอปเปิ้ลเคลือบคาราเมล หมากฝรั่ง อาหารกรอบและแข็ง เช่น […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ปวดในช่องปาก..อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุของ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint หรือ TMJ) เกิดขึ้นบริเวณขากรรไกรและกล้ามเนื้อใบหน้า ที่ควบคุมขากรรไกร เพื่อทำความรู้จักกับอาการผิดปกตินี้ ลองอ่านข้อมูลที่นำเสนอต่อไปนี้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจถึงสาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ข้อสันนิษฐานที่ดีที่สุดก็คือ อาการอาจเกิดขึ้นจากขากรรไกรและกล้ามเนื้อโดยรอบ อาการบาดเจ็บที่ขากรรไกรและบริเวณที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้เช่นกัน สาเหตุอื่นๆ ยังมีปัญหาข้ออักเสบ การกัดฟัน ความเครียด และการเลื่อนของกระดูกบริเวณข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูก เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หากคุณมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร คุณอาจรู้สึกปวดและไม่สบายในช่องปาก บางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรัง ขณะที่บางรายอาการอาจเกิดเพียงชั่วคราว ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมาพร้อมกับอาการปวดบริเวณใบหน้า และขากรรไกร รวมถึงคอและไหล่ อาจลามไปถึงหูเมื่อคุณเคี้ยว พูด หรือเปิดปากกว้าง คุณอาจรู้สึกเหมือนขากรรไกรล็อค และอาจเกิดเสียงแปลกๆ ขณะที่ขากรรไกรเคลื่อนไหว คุณอาจพบปัญหาทางการเคี้ยวหรือกัด นอกจากนี้ แก้มอาจบวมข้างเดียว อาการอื่นๆ ได้แก่ ปวดฟัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดคอ ปวดหู ปัญหาทางการได้ยิน ปวดไหล่ช่วงบนและมีเสียงอื้อในหู (tinnitus) วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร -พักการใช้ขากรรไกร ทานอาหารนิ่มๆ เช่น โยเกิร์ต มันบด ชีส และซุป หั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเคี้ยวมาก หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแข็ง กรอบ […]


การดูแลสุขภาพช่องปาก

ยาสีฟันต่างชนิด เลือกอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพปากและฟัน?

ยาสีฟัน ที่ดีคือยาสีฟันที่เหมาะกับความต้องการของคุณ โดยคุณควรคำนึงถึงปัญหาสุขภาพช่องปาก หรือความต้องการในการดูแลช่องปากเฉพาะจุด เช่น ต้องการลดอาการเสียวฟัน หรือต้องการให้ฟันขาว ซึ่งยาสีฟันแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน บทความนี้จึงมีข้อมูลของ ยาสีฟันต่างชนิด และวิธีเลือกซื้อยาสีฟัน เพื่อให้คุณมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้ยาสีฟันที่เหมาะกับคุณ ส่วนผสมพื้นฐานของยาสีฟัน แคลเซียม คาร์บอเนต (Calcium carbonate) และซิลิเกต (Silicate) จะช่วยกำจัดคราบต่างๆ และเศษอาหารออกจากฟัน รวมถึงช่วยกำจัดแบคทีเรียด้วย กลีเซอรอล (Glycerol) คือสารที่จะป้องกันไม่ใช้ยาสีฟันแห้ง และคงรูปเป็นเนื้อเจล โซเดียมลอเรทซัลเฟต (SLS, Sodium Lauryl Sulfate) เป็นสารที่ทำให้ยาสีฟันมีฟอง แซ็กคาริน (Saccharin) เป็นสารให้ความหวานเทียมที่มักจะมีในยาสีฟัน เพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น รสมินต์ รสซินนามอน หรือรสมะนาว ยาสีฟันชนิดต่างๆ ที่ควรรู้จัก ยาสีฟันฟลูออไรด์ สถาบัน American Dental Association (ADA) และทันตแพทย์ส่วนใหญ่พิจารณาว่าฟลูออไรด์เป็นส่วนผสมที่จำเป็นในยาสีฟัน เนื่องจากเวลาที่แบคทีเรียในช่องปากย่อยน้ำตาลและแป้ง จะทำให้เกิดกรด ซึ่งฟลูออไรด์จะช่วยทำให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรง และช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากกรด นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังช่วยฟื้นฟูฟันที่เกิดความเสียหายจากกรด โดยการคืนแร่ธาตุ (Remineralizing) ในบริเวณที่เริ่มมีอาการฟันผุ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่พบว่า การใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในฟัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คุณยังไม่ฟันผุ การใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์จะช่วยฟื้นฟูผิวเคลือบฟัน แต่หากคุณฟันผุแล้ว การใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์อาจไม่ส่งผล […]


ทันตกรรมสำหรับเด็ก

8 เรื่องควรรู้ในการดูแล สุขภาพปากและฟันของเด็ก

ปัญหา สุขภาพปากและฟันของเด็ก อันดับ 1 คือปัญหาฟันผุ โดยข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า เด็กวัย 2 ขวบ 10% และเด็กวัย 3 ขวบ 28% มีปัญหาฟันผุมากกว่า 1 จุดในช่องปาก ขณะที่เด็กอายุ 5 ขวบ เกือบ 50% มีปัญหาฟันผุ คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าปัญหาฟันผุในเด็กคงไม่เป็นไร เพราะอีกหน่อยลูกก็ไม่มีฟันน้ำนม และมีฟันแท้ขึ้นมาแทน แต่ความจริงแล้ว ปัญหาฟันผุอันตรายกว่าที่คิด การที่ลูกฟันผุตั้งแต่เด็กจะทำให้มีปัญหาสุขภาพช่องปากในอนาคต ผู้ปกครองสามารถช่วยเด็กๆ ดูแลสุขภาพปากและฟันได้ดังนี้ แปรงฟันให้ลูก ตอนที่ฟันของลูกยังไม่ขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจทำความสะอาดเหงือกด้วยแปรงสีฟันสำหรับทารก โดยเอาแปรงชุบน้ำ และทำความสะอาดเหงือกของลูกอย่างอ่อนโยน แต่เมื่อฟันของลูกขึ้นแล้ว ให้แปรงฟันด้วยยาสีฟันสำหรับเด็กที่มีฟลูออไรด์ และใช้แปรงสีฟันที่มีขนาดเหมาะสม โดยแปรงฟันให้ลูกวันละ 2 ครั้ง ใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงนุ่ม เด็กๆ ควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ด้วยแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีขนแปรงนุ่ม เนื่องจากขนแปรงที่แข็งจนเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อเหงือกของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรสอนวิธีแปรงฟันให้ลูก โดยให้เด็กๆ ค่อยๆ แปรงฟันทั้งด้านในและด้านนอก รวมถึงแปรงลิ้น ข้อควรระวังคืออย่าให้ลูกกลืนยาสีฟันลงไป นอกจากนี้ถ้าแปรงสีฟันเริ่มขาด หรือขนแปรงบานออก ให้เปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ ไม่ควรให้ลูกกินน้ำหวานบ่อยๆ น้ำหวานทำให้ฟันผุ ดังนั้นจึงไม่ควรให้ลูกกินน้ำหวานบ่อยๆ และต้องระวังไม่ให้ลูกหลับไปทั้งๆ ที่ยังกินนมจากขวดนมอยู่ […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

ฟันคุด กับวิธีรับมือกับปัญหานี้อย่างเหมาะสม

ฟันคุด อาจไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก แต่อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะเป็นผู้ที่บอกได้ว่า ควรผ่าฟันคุดหรือไม่ หากใครที่กำลังมีข้อข้องใจเรื่องฟันคุด สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฟันคุดก่อนพบทันตแพทย์ ได้ดังต่อไปนี้ ฟันคุดคืออะไร ฟันคุด คือ เป็นฟันกรามที่สาม ที่อยู่บริเวณด้านในสุดของปาก ซึ่งไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะโผล่ออกมาหรือพัฒนาอย่างปกติ และฟันคุดยังเป็นฟันซี่สุดท้ายที่จะเกิดขึ้นในปาก โดยคนส่วนใหญ่จะมีฟันคุด 4 ซี่ คือด้านบน 2 ซี่และด้านล่าง 2 ซี่ ที่บริเวณด้านหลังฟันกรามซี่ในสุด ฟันคุดสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ และอาจสร้างความเสียหายให้ฟันซี่อื่น รวมถึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากฟันคุดนั้นยากต่อการทำความสะอาด จึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุและโรคเหงือกมากกว่าฟันซี่อื่น อย่างไรก็ตามในบางกรณีฟันคุดอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก จำเป็นต้องผ่าฟันคุดหรือไม่ ถ้าฟันคุดไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหา ทันตแพทย์ของคุณอาจแนะนำว่าไม่ต้องผ่าฟันคุด อย่างไรก็ตามยังคงมีการถกเถียงกันในวงการแพทย์ ว่าควรทำอย่างไรกับฟันคุดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดอาการใดๆ ซึ่งทันแพทย์บางคนเสนอว่าควรผ่าฟันคุดออกเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และทันตแพทย์บางคนให้ความเห็นว่าควรปล่อยไว้ ไม่ต้องถอนฟันคุดออก ดังนั้นถ้าคุณและทันตแพทย์ตัดสินใจที่จะไม่ผ่าฟันคุด คุณควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก และควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุกๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อไหร่ที่ต้องไปผ่าฟันคุด ฟันคุดมักจะเกิดขึ้น ตอนที่คุณอายุ 17-25 ปี โดยสามารถเห็นฟันคุดได้จากการเอกซเรย์ และคนส่วนใหญ่มักจะกำจัดฟันคุดเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ ฟันคุดขึ้น ฟันคุดขึ้นแบบไม่ปกติอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น ฟันคุดสามารถติดอยู่ในกระดูกขากรรไกรหรือเหงือก ซึ่งอาจสร้างเจ็บปวดให้คุณ นอกจากนี้การที่ฟันคุดขึ้นผิดมุม อาจสร้างแรงกดดันต่อฟันซี่อื่น ปากมีขนาดเล็ก สำหรับคนที่มีปากขนาดเล็ก อาจทำให้กรามไม่มีพื้นที่สำหรับฟันคุด ฟันผุหรือโรคเหงือก คุณอาจไม่สามารถทำความสะอาดฟันคุดได้ด้วยแปรงสีฟัน หรือไหมขัดฟัน จึงเป็นเหตุให้ฟันผุและเป็นโรคเหงือก นอกจากนี้หากฟันคุดเกิดการติดเชื้อ หรือสร้างความเสียหายให้ฟันซี่อื่น รวมถึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม