สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าตามแนวขน เคล็ดไม่ (ลับ) สำหรับคนเป็นสิว

การ ล้างหน้าตามแนวขน เป็นอีกหนึ่งศาสตร์การล้างหน้าที่มีส่วนช่วยลดการอุดตันของสิว กระชับรูขุมขนและช่วยลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอีกด้วย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำเคล็ดลับ หน้าสวย ไร้สวย ด้วยการล้างหน้าตามแนวขน มาฝากกันค่ะ จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย ล้างหน้าตามแนวขน เคล็ดไม่ (ลับ) สำหรับคนเป็นสิว ล้างหน้าตามแนวขน เป็นอีกหนึ่งศาสตร์การล้างหน้า ที่ถูกคิดค้นโดย นายแพทย์สมนึก อมรสิริพาณิชย์ ซึ่งกล่าวว่า ท่อน้ำมันจะมีแนวเดียวกับโพรงขน การล้างหน้าไปตามทิศทางเดียวกันกับโพรงขนจะช่วยให้น้ำมันไหลออกมาทิศทางเดียวกัน จึงทำให้ไม่เกิดการอุดตันของสิว หากล้างหน้าไม่ตรงทิศทาง อาจส่งผลให้สิ่งสกปรกออกมาไม่หมด เพิ่มโอกาสการเป็นสิวอุดตันได้  4 ขั้นตอนการล้างหน้า ตามแนวขน อย่างถูกต้องและถูกวิธี เคล็ดลับง่าย ๆ ในการล้างหน้าตามแนวขน อย่างถูกต้องและถูกวิธี มีดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการนำโฟมล้างหน้าผสมกับน้ำเล็กน้อยให้เกิดฟอง โดยเริ่มจากถูบริเวณหน้าผาก จากบริเวณตรงกลางหน้าผากออกไปด้านช้าง ขั้นตอนที่ 2 หลังจากนั้นถูไล่ลงมาบริเวณจมูก ขั้นตอนที่ 3 เริ่มใหม่ที่บริเวณแก้ม ถูแนวเฉียง ๆ ลงมาจนถึงบริเวณขากรรไกร ขั้นตอนที่ 4 ลำดับสุดท้ายบริเวณริมฝีปากบนลงมาถึงบริเวณคาง จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด และซับให้แห้ง  ข้อควรรู้เกี่ยวกับการล้างหน้า ควรล้างหน้าเป็นประจำทุกวันอย่างน้อยวันละ […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

สุขภาพผิว

ผิวขาดน้ำ หรือผิวแห้งสามารถสังเกตได้อย่างไร

การดูแลสุขภาพผิวถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อช่วยให้ผิวเปล่งปลั่งและมีสุขภาพดี แต่ในบางคน ผิวอาจลอก เป็นขุย ดูไม่สดใส ทั้งยังอาจทำให้เสียความมั่นใจ แต่หลายคนอาจสงสัยว่า ปัญหาผิวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะ ผิวขาดน้ำ หรือผิวแห้ง ดังนั้น การรู้ถึงความแตกต่างระหว่างผิวขาดน้ำกับผิวแห้งอาจช่วยให้บำรุงผิวได้อย่างถูกต้อง ผิวขาดน้ำ ผิวแห้ง คืออะไร ผิวขาดน้ำ คือ ภาวะที่ผิวขาดความชุ่มชื้นหรือน้ำในผิวหนังชั้นบนสุดหรือชั้นขี้ไคล (Stratum Corneum) เป็นปัญหาผิวหนังที่อาจเกิดได้กับทุกสภาพผิว ไม่ว่าจะเป็นผิวปกติ ผิวแห้ง ผิวผสม หรือผิวมันโดยเฉพาะในผู้ที่ผิวมันมากหรือเป็นสิว หากปล่อยให้ผิวขาดน้ำก็อาจทำให้ผิวแย่มากขึ้น ส่วน ผิวแห้ง คือ สภาพผิวที่ขาดซีบัม (Sebum) หรือน้ำมันตามธรรมชาติของผิว เนื่องจาก ต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตซีบัมออกมาไม่เพียงพอ จึงทำให้ผิวแห้งตึง บางครั้งอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ส่วนใหญ่ผู้ที่มีผิวแห้งจะมีรูขุมขนเล็ก เนื่องจาก ไม่ค่อยมีน้ำมันออกมาหล่อเลี้ยงผิว รูขุมขนจึงไม่ขยายกว้างเหมือนผู้ที่มีผิวมัน อาการของผิวขาดน้ำ ผิวหนังชั้นบนสุดมีเซลล์คีราติโนไซต์ (Keratinocytes) เป็นองค์ประกอบหลัก ทำหน้าที่ในการผลิตสารโปรตีนไม่ละลายน้ำที่เรียกว่า เคราติน (Keratin) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกัน ช่วยกักเก็บน้ำให้ผิว แต่เมื่อผิวขาดน้ำ คีราติโนไซต์ก็ไม่สามารถผลิตเคราตินเพื่อมาปกป้องผิวได้ ผิวจึงสูญเสียความชุ่มชื้น สารระคายเคืองต่าง ๆ เข้าสู่ผิวชั้นหนังกำพร้าได้ง่าย […]


การดูแลเล็บ

ตัดเล็บ บ่อยเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพ

ตัดเล็บ เป็นหนึ่งในกิจวัตรที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่ใช่แค่ให้เล็บดูดี แต่เพื่อป้องกันการสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรคในเล็บ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ ที่ได้ให้ข้อมูลว่า การตัดเล็บมือและเล็บเท้าบ่อยเกินไป อาจทำให้เล็บมีปัญหา ทั้งยังอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเล็บ จนเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเล็บตามมา ตัดเล็บ บ่อยเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ การตัดเล็บทุกวัน ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า เพื่อให้เล็บดูดี อาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพเล็บ เนื่องจากการตัดเล็บแบบไม่ถูกวิธีเป็นประจำอาจปรับสมดุลของการเจริญเติบโตของเล็บได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเครียดทางกายภาพ (Physical Stress) ต่อเล็บ และเมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเล็บ จนเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเล็บตามมา นอกจากนี้ ควรตัดเล็บให้ถูกวิธี และตัดเล็บอย่างง่าย เช่น ตัดให้เป็นทรงโค้ง ทรงเหลี่ยม เพื่อลดความเครียดในการเจริญเติบโตของเล็บ นอกจากการตัดเล็บแล้ว เล็บยังสามารถบ่งบอกปัญหาสุขภาพได้ โดยหากสังเกตเห็นว่าเล็บเปลี่ยนไป เช่น สีเปลี่ยน รูปร่างเปลี่ยน ผิวสัมผัสเปลี่ยนไป ควรปรึกษาคุณหมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเล็บ อาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง โรคเชื้อราที่เล็บ วิธีตัดเล็บที่ถูกต้อง การตัดเล็บด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม ตามคำแนะนำของแพทย์ผิวหนังอาจมีดังต่อไปนี้ ทำให้เล็บนุ่ม เวลาที่ดีที่สุดที่ควรตัดเล็บ คือ ตัดเล็บทันทีหลังอาบน้ำ แต่หากไม่สามารถทำได้ อาจแช่เล็บในน้ำอุ่นเป็นเวลา […]


สิว

ยาฮอร์โมนรักษาสิว ทำงานอย่างไร

ยาฮอร์โมนรักษาสิว คือยาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน หนึ่งในปัจจัยที่อาจกระตุ้นการเกิดสิว โดยอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารยับยั้งการสังเคราะห์แอนโดรเจน กับ สารต้านการทำงานของตัวรับแอนโดรเจน ซึ่งแต่ละชนิดก็อาจมีจุดประสงค์ในการใช้และผลข้างเคียงที่ต่างกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาการทำงานของยาฮอร์โมนรักษาสิว และปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนเลือกใช้ยาใด ๆ [embed-health-tool-bmi] ยาฮอร์โมนรักษาสิว ทำงานอย่างไร มีหลักฐานจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าฮอร์โมนเพศมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดสิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มีฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจนเกิน แอนโดรเจนจะกระตุ้นต่อมไขมันในผิวหนังให้ผลิตไขมัน และทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขนจึงเกิดสิวอุดตันและเกิดการอักเสบตามมา การที่สิวตอบสนองต่อยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานและกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชายเป็นหลักฐานที่สำคัญในทางคลินิกที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของฮอร์โมนในการรักษาสิว นอกจากนี้ยังพบว่า ฮอร์โมนยังมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาสิวในผู้หญิงแม้จะมีระดับแอนโดรเจนปกติ  หลักในการพิจารณาการใช้ยาฮอร์โมนรักษาสิว โดยทั่วไปพิจารณาใช้ในผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีฮอร์โมนเพศชายเกิน ผู้ที่เป็นสิวในช่วงอายุมากกว่า 25 ปี หรือที่เรียกว่าสิววัยผู้ใหญ่ มีการกระจายของสิวเด่นบริเวณกราม สิวที่มาพร้อมกับการมีประจำเดือน สิวอุดตันที่มีภาวะต่อมไขมันทำงานเกินร่วมด้วยและสิวที่ดื้อต่อการรักษาแบบดั้งเดิม หรือการรักษาแบบดั้งเดิมใช้ไม่ได้ผล เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรมีการวางแผนครอบครัวก่อนที่จะเริ่มการรักษาด้วยฮอร์โมนเสมอ เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องรับประทานฮอร์โมนเป็นระยะเวลาติดต่อกันค่อนข้างนาน อย่างน้อย 3 ถึง 6 เดือนจึงจะเห็นผลการรักษา ซึ่งจะมีผลให้มีการเว้นระยะของการมีบุตร และควรมีการประเมินเกี่ยวกับโรคของต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยสิวมีอาการที่ส่อว่ามีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงร่วมด้วย เช่น ขนดกและเกิดผิดที่ มีภาวะผมบางตามกรรมพันธุ์ มีลักษณะเพศชายเด่น มีภาวะอ้วนลงพุง ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ เป็นหมัน เป็นสิวรุนแรงฉับพลัน หรือเป็นสิวที่ไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาแบบดั้งเดิม เป็นต้น ประเภทของฮอร์โมนรักษาสิว ฮอร์โมนที่ใช้ในการรักษาสิวสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

คุยกับคุณหมอเรื่อง เรตินอยด์ในครีมบำรุงผิว

เรตินอยด์ ป็นสารประกอบอนุพันธ์ของวิตามินเอ ที่สามารถพบได้ทั้งตามธรรมชาติ พบในอาหาร และมาจากการสังเคราะห์ขึ้นเพื่อนำใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด ซึ่ง เรตินอยด์ในครีมบำรุงผิว อาจช่วยแก้ไขปัญหาผิวพรรณ โดยเฉพาะปัญหาสิว ทั้งยังมีคุณสมบัติชะลอริ้วรอย จึงมักถูกนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในหลากหลายผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เรตินอยด์ คืออะไร และทำหน้าที่อะไร เรตินอยด์ (Retinoid) เป็นสารประกอบอนุพันธ์ของวิตามินเอ ที่สามารถพบได้ทั้งตามธรรมชาติ อาหาร และอาจมาจากการสังเคราะห์ขึ้น เพื่อนำใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด โดยส่วนใหญ่ เรตินอยด์จะออกฤทธิ์ทางชีวภาพโดยการดูดซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แล้วไปจับกับตัวรับ RAR และ RXR ภายในนิวเคลียสของเซลล์ จากนั้นจะกลายเป็นสารประกอบซึ่งมีหน้าที่หลายอย่างในการควบคุมการทำงานของเซลล์ เช่น ปรับเปลี่ยนการแสดงออกของยีนบางตัว ควบคุมการหลั่งไซโตไคน์ (Cytokines) บางชนิด หน้าที่หลักของเรตินอยด์ในผิวหนัง คือ การควบคุมการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของผิวหนัง (epidermal differentiation) ตั้งแต่ผิวหนังชั้นล่างสุดไปจนถึงชั้นหนังกำพร้า รวมถึงควบคุมการผลัดเซลล์ผิวหนังกำพร้าทั้งในภาวะปกติและเมื่อมีการบาดเจ็บของผิวหนัง  ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ เรตินอยด์แบบทา (Topical Retinoid) จึงถูกใช้อย่างกว้างขวางและเป็นยาหลักในการรักษาโรคผิวหนังหลายชนิด เช่น สิว ฝ้า สะเก็ดเงิน มะเร็งผิวหนังบางชนิด เรตินอยด์ในครีมบำรุงผิว มีชนิดใดบ้าง ไอโสเตรติโนอิน (Isotretinoin) และ ตรติโนอิน (Tretinoin) เป็นเรตินอยด์แบบทารุ่นแรก ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาสิวเป็นเวลานานกว่า 50 ปี […]


โรคผิวหนังอักเสบ

วิธีธรรมชาติในการจัดการโรคผิวหนังอักเสบ

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบออกผื่น หรือกลาก ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังแดงและคัน โรคนี้มักจะพบได้ในเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกวัยเช่นกัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่มักจะเป็นเรื้อรัง ทั้งยังพร้อมที่จะลุกลามขึ้นมาเป็นระยะ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้อาจจะเกิดอาการหอบหืด (Asthma) หรือไข้ละอองฟาง (Hay Fever) ร่วมด้วย ดังนั้น วิธีธรรมชาติในการจัดการโรคผิวหนังอักเสบ อาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น จากนั้นควรไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmr] วิธีธรรมชาติในการจัดการโรคผิวหนังอักเสบ สำหรับวิธีธรรมชาติในการบรรเทาอาการผื่นคัน อาการระคายเคือง ที่เกิดจากโรคผิวหนังอักเสบ อาจทำได้ดังนี้ อาจประคบเย็น ความเย็นอาจช่วยบรรเทาอาการผื่นคันได้ ดังนั้น หากเริ่มมีอาการคันเรื่องจากโรคผิวหนังอักเสบ อาจบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นด้วยการหาผ้าเย็นมาประคบ รวมทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เผลอไปเกาอีกด้วย อาจแช่น้ำอุ่น การแช่น้ำอุ่นอาจช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นจากโรคผิวหนังอักเสบได้ โดยการเปิดน้ำอุ่นใส่อ่างแล้วโรยเบคกิ้งโซดา ข้าวโอ๊ตดิบ หรือข้าวโอ๊ตผงลงในน้ำ จากนั้นแช่เป็นเวลา 10-15 นาที เช็ดตัวให้แห้งแล้วทาโลชั่นยา มอยส์เจอไรเซอร์ หรือทั้ง 2 อย่าง โดยให้ทายาก่อนมอยซ์เจอร์ไรซ์เซอร์ อาจเลือกใช้สบู่สูตรอ่อนโยนที่ปราศจากสีหรือน้ำหอม การใช้สบู่สูตรอ่อนโยนอาจช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นจากโรคผิวหนังอักเสบได้ โดยหลังจากถูสบู่เรียบร้อยแล้วควรล้างออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันสารตกค้าง ซึ่งอาจทำให้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นจากโรคผิวหนังอักเสบแย่ลงได้ อาจใช้น้ำยาฟอกขาวผสมน้ำอาบ การใช้น้ำยาฟอกขาวผสมน้ำอาบ อาจช่วยลดแบคทีเรียที่ผิวหนังและการติดเชื้อได้อย่างดีทีเดียว เพียงผสมน้ำยาฟอกขาวชนิดเจือจาง จำนวน 1/2 ถ้วย หรือ 118 มิลลิลิตร ลงในอ่างอาบน้ำขนาด 151 ลิตร ที่มีน้ำอุ่น จากนั้นแช่จากคอลงไปหรือแช่ในบริเวณผิวหนังที่มีอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นจากโรคผิวหนังอักเสบเป็นเวลาประมาณ 10 นาที […]


สุขภาพผิว

สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด

สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด อาจอยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น สบู่ ครีมทาหน้า ครีมกันแดด ยาสระผม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ คัน สิว รอยแดง ดังนั้น การรู้เกี่ยวกับสารระคาบเคืองผิว รวมถึงใส่ใจกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ภายในบ้าน อาจช่วยให้หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองที่ส่งผลต่อผิวได้ สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด ผิวหนังที่มีความไวต่อการระคายเคือง อาจทำให้เกิดอาการคัน ผื่นคัน รอยแดง และอาการบวมได้ทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี สารทำความสะอาด โลชั่น หรือครีมบางชนิด การศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อผิวหนังอาจช่วยให้คุณป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับอาจเกิดกับผิวหนังได้ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่อาจพบสารระคายเคืองผิวได้มากที่สุดอาจได้แก่ 1. สบู่ สบู่อาจมีส่วนประกอบของสารฟอมัลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่อาจทำให้ผิวหนัง ดวงตา และปอด เกิดการระคายเคืองได้ นอกจากนี้ สบู่ยังอาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ (Eczema) ได้ด้วย การทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่มากเกินไป อาจทำให้ผิวหนังแห้งและแตกซึ่งหากไม่รักษาภาวะดังที่เกิดขึ้นทันทีอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่รุนแรงมากขึ้น เช่น มีเลือดออก ให้ลองใช้คลีนเซอร์ทำความสะอาดผิวที่มีฤทธิ์ไม่รุนแรง ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมและสารเคมีต่าง ๆ หรือมีเพียงเล็กน้อย ในการทำความสะอาดผิวบริเวณที่แห้งและแตกอย่างสม่ำเสมอ อาจทำให้อาการดีขึ้นได้ 2. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง […]


การดูแลเล็บ

เล็บขบ วิธีรักษา และวิธีป้องกันเล็บขบ

เล็บขบ หมายถึงเล็บที่ยาวจนแทงทิ่มเข้าไปในเนื้อ ซึ่งอาจเกิดจากการดูแลรักษาเล็บไม่ดี เช่น ตัดเล็บสั้นหรือโค้งเกินไป ใส่รองเท้าที่บีบรัดเกินไป หรือมีเล็บโค้งมนมาก ๆ จนมุมเล็บทิ่มเข้าไปในเนื้อด้านข้างเล็บ ทำให้เจ็บนิ้ว นิ้วบวม เกิดแผล และอาจทำให้นิ้วที่มีเล็บขบติดเชื้อ เป็นหนอง และส่งกลิ่นเหม็นได้ พบได้บ่อยในบริเวณนิ้วโป้งเท้า เล็บขบสามารถรักษาและป้องกันได้ด้วยการดูแลเล็บอย่างเหมาะสม วิธีการรักษาเล็บขบ ประคบอุ่น หรือแช่เท้าในน้ำสบู่อุ่น อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10-20 นาที เพื่อลดอาการปวดบวมจากการเป็นเล็บขบ โดยอาจเลือกใช้สบู่ที่ทำจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Castile soap) แล้วใส่แมกนีเซียมซัลเฟต หรือดีเกลือ (Epsom salts) ลงไปผสมด้วยก็ได้ รักษาความสะอาดของเท้า หากเท้าเปียกน้ำให้รีบเช็ดเท้าให้แห้งทันที ควรดูแลให้เท้าแห้งสะอาดตลอดวัน ป้องกันการอับชื้นและการเกิดเชื้อราที่เล็บ ซึ่งอาจกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงนำไปสู่เล็บขบ ทายาปฏิชีวนะ หรือครีมต้านเชื้อรา เพื่อรักษาและช่วยป้องกันการติดเชื้อที่เล็บเท้า ควรทายาปฏิชีวนะ หรือครีมต้านเชื้อรา แล้วพันด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผล เลือกรองเท้าและถุงเท้าที่สวมใส่สบาย ถุงเท้าและรองเท้าต้องไม่คับหรือบีบรัดจนเกินไป เพื่อช่วยไม่ให้เล็บขบที่เป็นแย่ลง ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่มีหัวเรียว เช่น รองเท้าส้นสูง เพราะอาจบีบรัดเล็บเท้า และทำให้อาการเล็บขบรุนแรงขึ้น กินยาแก้ปวด เมื่อมีอาการปวดที่เล็บขบ เช่น ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากเล็บขบ หรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ที่ช่วยลดปวด บวม อักเสบ กินยาปฏิชีวนะ หากเล็บขบบวมแดงขึ้น […]


โรคผิวหนังอักเสบ

เซ็บเดิร์ม อาการ สาเหตุ การรักษา

เซ็บเดิร์ม เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากภาวะอักเสบของผิวหนังจากเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ลักษณะของเซ็บเดิร์มอาจคล้ายกับโรคกลาก โรคสะเก็ดเงิน อาจส่งผลทำให้ผิวหนังเป็นขุย เป็นสะเก็ด และอาจมีผื่นคันเกิดขึ้น แม้เซ็บเดิร์มอาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย แต่ก็อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว อับอาย และอาจทำให้รู้สึกเหมือนเป็นคนสกปรก เซ็บเดิร์มอาจพบได้บ่อยบริเวณหนังศีรษะ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนบนร่างกาย [embed-health-tool-bmr] เซ็บเดิร์ม คืออะไร เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คือ โรคผิวหนังทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะอักเสบของผิวหนังจากเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) อาจมีลักษณะคล้ายโรคกลาก โรคสะเก็ดเงิน หากเซ็บเดิร์มเกิดขึ้นในเด็ก อาจถูกเรียกว่า ผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณศีรษะ (Cradle Cap) เพราะอาจเกิดจากไขมันบนหนังศีรษะของเด็กจับตัวหนาขึ้น และอาจทำให้ผิวหนังลอกออกมา เซ็บเดิร์มอาจพบได้บ่อยบริเวณหนังศีรษะ ทั้งยังอาจพบได้ในบริเวณที่มีน้ำมันของร่างกาย เช่น ใบหน้า ด้านข้างของจมูก คิ้ว หู เปลือกตา หน้าอก อาการของเซ็บเดิร์ม อาจทำให้ผิวเป็นขุย เป็นสะเก็ด เกิดผื่นคัน เกิดรอยแดงบริเวณผิวหนังที่มีสีอ่อน และเกิดจุดด่างบริเวณผิวหนังที่มีสีเข้ม เซ็บเดิร์มอาจหายได้เอง แต่โดยส่วนใหญ่อาจจะเป็นแบบเรื้อรัง อาจเป็น ๆ หาย ๆ และอาการอาจกำเริบในช่วงฤดูหนาว อากาศแห้ง และอากาศเย็น หากต้องการรักษาให้หายขาด […]


โรคผิวหนังอักเสบ

ประเภทของผิวหนังอักเสบ มีอะไรบ้าง

ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) คืออาการผื่นแดงที่เกิดร่วมกับอาการคัน เจ็บปวด และระคายเคือง ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น ผื่นแพ้จากการสัมผัส ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม ผิวหนังอักเสบรูปเหรียญบาท ซึ่งอาจมีอาการและการรักษาที่แตกต่างกันไป ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับ ประเภทของผิวหนังอักเสบ เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ผิวหนังอักเสบคืออะไร ผิวหนังอักเสบ หรือผื่นแดง คือ อาการของผิวหนังบริเวณใดบริเวณหนึ่งบวม หากเป็นผิวหนังอักเสบในระยะแรกเริ่ม หรือเป็นระยะของอาการผิวหนังอักเสบชนิดอ่อน อาจรู้สึกคัน ผิวแห้ง และผิวมีสีแดงชัดเจน ส่วนผิวหนังอักเสบที่มีอาการรุนแรง จะมีรอยแตก รู้สึกเจ็บปวด เป็นแผล และผิวหนังหลุดลอกได้ ผื่นบางชนิดอาจเกิดขึ้นหลังผู้ป่วยมีอาการผิวหนังอักเสบ ในขณะที่ผื่นบางชนิดอาจปรากฏต่อเมื่อเกิดอาการหลายวันไปแล้ว บางชนิดสามารถหายได้อย่างรวดเร็ว บางชนิดอาจปรากฏอยู่บนผิวหนังเป็นเวลานาน สาเหตุของ ผิวหนังอักเสบ มีหลายประการ และคุณหมอมักวางแผนการรักษาที่เหมาะสมตามสภาพผิวและภาวะสุขภาพของคนไข้แต่ละราย สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณหมอจะตรวจเพื่อหาสาเหตุและประเภทของผิวหนังอักเสบว่าเป็นผื่นชนิดไหนก่อนทำการรักษา ถึงแม้การรักษาส่วนใหญ่นั้นจะคล้ายคลึงกันก็ตาม ประเภทของผิวหนังอักเสบ มีอะไรบ้าง ผื่นแพ้จากการสัมผัส (Contact dermatitis) ผื่นแพ้จากการสัมผัส คือสภาพผิวหนังของผู้ป่วยมีอาการแดง บวม แห้ง หรือแสบร้อนหลังจากสัมผัสกับสารบางอย่าง ผื่นแพ้จากการสัมผัส ถือเป็น ประเภทผิวหนังอักเสบ ชนิดหนึ่ง อาการมักจะปรากฏขึ้นภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่กี่วันหลังการสัมผัสสารนั้น ๆ ผื่นแพ้จากการสัมผัสที่พบได้ทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือ […]


การดูแลเล็บ

โรคเชื้อราที่เล็บเท้า อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

โรคเชื้อราที่เล็บเท้า คือ การติดเชื้อราที่เล็บเท้าผ่านรอยแตกของเล็บ หรือบาดแผลบนผิวหนัง ส่งผลให้เล็บเท้าเปลี่ยนสีหรือหนาขึ้น รวมทั้งอาจสร้างความเจ็บปวดได้อีกด้วย เนื่องจากบริเวณนิ้วเท้ามักจะอุ่นและชื้น เชื้อราจึงสามารถเติบโตได้ดี  หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อจะแพร่กระจายไปสู่เล็บเท้านิ้วอื่น ๆ รวมถึงแพร่กระจายสู่ผิวหนัง หรือแม้แต่เล็บนิ้วมือได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ โรคเชื้อราที่เล็บเท้า คืออะไร โรคเชื้อราที่เล็บเท้า มีอีกชื่อหนึ่งว่า Onychomycosis คือ การติดเชื้อราที่เล็บเท้า โดยสามารถติดเชื้อได้ผ่านรอยแตกของเล็บ หรือบาดแผลบนผิวหนัง อาจทำให้เล็บเท้าเปลี่ยนสีหรือหนาขึ้น รวมทั้งอาจสร้างความเจ็บปวดได้อีกด้วย เนื่องจากบริเวณนิ้วเท้ามักจะอุ่นและชื้น เชื้อราจึงสามารถเติบโตได้ดี เชื้อรานั้นมีอยู่หลายชนิด และบางครั้ง เชื้อราจะส่งผลให้เกิดอาการต่างในแต่ละส่วนของเล็บที่มีการติดเชื้อ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อจะแพร่กระจายไปสู่เล็บเท้านิ้วอื่น ๆ รวมถึงแพร่กระจายสู่ผิวหนัง หรือแม้แต่เล็บนิ้วมือได้อีกด้วย โรคเชื้อราที่เล็บเท้าพบได้บ่อยเพียงใด โรคเชื้อราที่เล็บเท้าพบได้ทั่วไป โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคเชื้อราที่เล็บเท้า อาการที่เห็นชัดเจนที่สุด คือ เล็บเท้ามีการเปลี่ยนสี ไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีน้ำตาล หรือสีเหลือง เชื้อราอาจแพร่กระจายทั่วบริเวณเล็บและทำให้เนื้อเล็บหนาขึ้น หรือเกิดรอยแตกขึ้นได้ โดยทั่วไปแล้ว เล็บที่ติดเชื้อจะหนามากกว่าปกติ หรืออาจมีรูปทรงบิดงอหรือผิดรูป อีกทั้งยังแตกหักได้ง่ายมาก เล็บเท้าที่ติดเชื้อราอาจเป็นสีเหลือง บางครั้งก็ปรากฏเป็นจุดสีขาวบนเล็บ และค่อย ๆ มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เมื่อเชื้อราก่อตัวอยู่ใต้เล็บเท้า ก็อาจทำให้เล็บหลวมเหมือนจะหลุด หรือแม้แต่ทำให้เล็บแตกจากโคนเล็บ นอกจากนี้ เชื้อรายังสามารถแพร่กระจายสู่ผิวหนังที่อยู่รอบเล็บเท้าได้อีกด้วย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน