หากใครทราบว่าตนเองมีอาการป่วยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเร็วที่สุด เพราะถ้าหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจร้ายแรงจนทำให้ไส้ติ่งแตกและนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาเปิดตำราให้คำแนะนำผู้ป่วยสำหรับ หัตถกรรมไส้ติ่งอักเสบ กันค่ะ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เบื้องต้นในตัวโรคและการรักษา
การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งในคนทั่วไปมีขนาดประมาณ 0.5 ซม. x 5 ซม. หรือขนาดอาจแตกต่างกันไป เมื่อมีอะไรก็ตามมาอุดด้านในไส้ติ่ง จะทําให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นก้อนอุจจาระที่แข็งก้อนเล็กๆ โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน พบได้บ่อยทั้งในผู้ใหญ่ และเด็กโดยมีอาการดังนี้
- ปวดท้อง : โดยเริ่มแรกอาจจะปวดรอบๆ สะดือ ลักษณะปวดตื้อๆ ต่อมาย้ายมาปวดมากขึ้นที่ท้องน้อยด้านขวา
- อาการอื่นๆ ที่อาจตรวจพบร่วมด้วย : คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือบางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย
- ไข้ : ในระยะเริ่มแรกอาจจะไม่มีไข้ ต่อมาเมื่อมีการอักเสบนานขึ้นก็อาจมีไข้ได้
วิธีการวินิจฉัยโดยแพทย์
การตรวจร่างกาย
- โดยกดที่ท้องน้อยด้านขวาแล้วมีอาการเจ็บมากขึ้น เมื่อแพทย์ปล่อยมือขึ้นจากหน้าท้อง
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
- ตรวจเลือด เพื่อดูจํานวนเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะสูงขึ้นในรายที่มีการอักเสบ หรือ ติดเชื้อ
- ตรวจปัสสาวะ เพื่อ ตรวจหาสภาวะผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมีอาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ เช่น นิ่วในท่อไตกรวยไตอักเสบ
การเอ็กซเรย์
- การทําอัลตราซาวน์ (Ultrasound) เพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องท้อง สามารถพบขนาดไส้ติ่งที่ผิดปกติ หรือมีภาวะการอักเสบได้
- การทําเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ในกรณีที่การทําอัลตราซาวน์ไม่ชัดเจน ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติอื่นๆ
อีกได้
วัตถุประสงค์ของการทำหัตถการ
ป้องกันการเกิดฝีในท้อง (Abscess) ช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)
วิธีรักษาผู้ป่วยสำหรับ หัตถกรรมไส้ติ่งอักเสบ
การรักษาไส้ติ่งอักเสบ
- ในรายที่อาการชัดเจน แนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดโดยด่วนหลังจากเตรียมผู้ป่วยให้พร้อม และเหมาะสมต่อการให้ยาสลบ
- ในรายที่อาการไม่ชัดเจน แต่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ให้รับตัวไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาล เพื่อติดตาม และประเมินอาการ อย่างใกล้ชิด โดยงดน้ำและอาหาร และอาจใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
- ในรายที่มีอาการมาหลายวัน หรือ พบก้อนบริเวณท้องน้อยขวา และมีข้อบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นหนองไส้ติ่ง (Appendiceal phlegmon หรือ Abcess) ควรรักษาโดยวิธีประคับประคอง โดยการให้ยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการปวดท้องดีขึ้น หรือก้อนมี ขนาดเล็กลง ก็สามารถให้การผ่าตัดได้หลังจากนั้น 6 สัปดาห์- 3 เดือน หรืออาจพิจารณาผ่าตัดไส้ติ่งออกเลย ขึ้นอยู่กับ ดุลยพินิจของศัลยแพทย์
การรักษาโดยการผ่าตัด
- วิธีการผ่าตัดแบบมาตราฐาน โดยจะผ่าตัดเป็นแผลเล็กๆ ขนาดยาว 2- 3 ซม. บริเวณท้องน้อยด้านขวา ถ้าไส้ติ่งอยู่ใน ตําแหน่งผิดปกติหรือผู้ป่วยอ้วน แผลผ่าตัดอาจจะยาวขึ้นได้
- วิธีการส่องกล้องผ่าตัด โดยการผ่าตัดผ่านกล้อง ที่สอดทางหน้าท้องด้านขวา หลังการผ่าตัดจะมีรอยที่เกิดจากการสอดเครื่องมือประมาณ 3 จุด
โอกาสความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยสำหรับ หัตถกรรมไส้ติ่งอักเสบ
- โดยทั่วไปการผ่าตัดจะได้ผลเกือบ 100%
ทางเลือกอื่นๆ
- ไม่มี
การพักฟื้น/ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดผู้ป่วย ไส้ติ่งอักเสบ จะนอนพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับอาการ
ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการผ่าตัด/การรักษา
- ถ้าหากผู้ป่วยเป็นไส้ติ่งแล้วไม่ได้รับการผ่าตัดก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เกิดฝีในท้อง (Abscess) ช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ซึ่งอัตราการตายจะสูงมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน
คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนและหลังเข้าการรักษา
- งดน้ำและ อาหาร ตามแผนการรักษาของแพทย์
- หากมีอาการปวดแผลสามารถแจ้งเพื่อรับยาแก้ปวด และใช้มือหรือหมอนประคองแผลเวลาไอ จาม หรือเมื่อมีการ เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อลดการกระเทือนของแผล ที่นำมาสู่อาการปวดแผล
- ผู้ป่วยจะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดในขณะที่ไม่ได้รับประทานอาหาร
- การรับประทานอาหารจะเริ่มจากการจิบน้ำ รับประทานอาหารเหลว รับประทานโจ๊ก หรืออาหารอ่อน รับประทานอาหารได้ ตามปกติภายในเวลา 7 วัน
- ระยะพักรักษาในโรงพยาบาล ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยปกติประมาณ 2 – 3 วัน
- สามารถปฏิบัติภารกิจตามปกติได้หลังผ่าตัด ประมาณ 7 วัน
[embed-health-tool-bmr]