การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นอีกทางเลือนึ่งที่อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง ลดความเครียด และยังทำให้รู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาวะอาการของตนเอง หรือศึกษาข้อมูลในบทความของ Hello คุณหมอ ว่าคนที่มี ความดันโลหิตสูง ควรมีการ ออกกำลังกาย ด้วยวิธีใดบ้าง เพื่อการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง
[embed-health-tool-heart-rate]
การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้อย่างไร
ปกติแล้วการออกกำลังกายจะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ซึ่งเมื่อหัวใจแข็งแรงก็จะสามารถสูบฉีดเลือดได้ดี ไม่ต้องทำงานหนักมาก และมักจะส่งผลให้ค่าความดันโลหิตลดลง เกณฐ์มาตรฐานของค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีตัวเลขค่ารัดับความดันที่สูงขึ้น การออกกำลังกายอาจช่วยทำให้ค่าความดันโลหิตลดลงได้ โดยจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 เดือนเพื่อให้เห็นผล และควรออกกำลังกายต่อไป อย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่ถูกตองที่สามารถทำการเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้
ความดันโลหิตสูง ควร ออกกำลังกาย แบบไหนดี
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือแบบคาร์ดิโอ สามาช่วยลดความดันโลหิต และทำให้หัวใจแข็งแรง เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การกระโดดเชือก การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิค และการว่ายน้ำ
- การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ในระหว่างวัน และช่วยทำให้ข้อต่อและกระดูกแข็งแรงด้วย
- การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้คุณเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บด้วย
ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงอาจออกกำลังกายแบบแอโรบิค เพื่อควบคุมความดันโลหิต และอาจออกกำลังกายแบบอื่นควบคู่ไปด้วย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในยิมหลายชั่วโมงเป็นประจำทุกวัน เพราะเพียงแค่ออกกำลังกายแบบที่ตัวเองชอบ เช่น เดินเร็ว วันละ 30 นาที เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ก็สามารถทำให้สุขภาพดีขึ้นได้แล้วค่ะ
หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วควรจะใช้เวลาออกกำลังกายนานเท่าไหร่ดี องค์กร The Department of Health and Human Services แนะนำว่าควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ในระดับปานกลาง หรือถ้าคุณออกกำลังกายอย่างหนัก การออกกำลังกาย 75 นาทีต่อสัปดาห์ก็เหมาะสม ดังนั้นคุณอาจจะจัดตารางการออกกำลังกายเป็น 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบคุณหมอ
ควรไปหาคุณหมอทันทีถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้
- ความดันโลหิตสูงขึ้นมาก หลังจากออกกำลังกาย
- ความดันโลหิตลดลง หลังออกกำลังกาย
- ค่าความดันโลหิตตัวบน สูงกว่า 200 มิลลิเมตรปรอท ตอนออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย
- ค่าความดันโลหิตตัวล่าง เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
- ค่าความดันโลหิตระหว่างออกกำลังกาย และหลังออกกำลังกายอยู่ที่ 180/120 มิลลิเมตรปรอท