รู้หรือไม่คะว่า วิตามินดี (Vitamin D) มีส่วนสำคัญในการควบคุมความดันโลหิต ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต่หากร่างกายได้รับวิตามินดีมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ
[embed-health-tool-heart-rate]
วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก หากร่างกายขาดวิตามินดี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ เพราะวิตามินดีมีสารเรนิน (Renin) ที่ไต ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมความดันโลหิตภายในร่างกาย
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวิตามินดีจะมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากเพียงใด แต่หากรับประทานมากจนเกินอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับคำแนะนำการรับประทานวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย
4 แหล่งอาหารจากวิตามินดี ช่วยลดความดันโลหิตสูง
ปกติร่างกายสามารถรับวิตามินดีได้จากแสงแดดธรรมชาติในยามเช้า รวมถึงสารอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี โดยมีแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี มีดังต่อไปนี้
- ปลาแซลมอน อุดมด้วยวิตามินดีและคุณค่าทางสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง
- นม อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินนานาชนิด โดยส่วนใหญ่นมที่มีปริมาณวิตามินดีสูงจะเป็นนมเสริมจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ (นมปริมาณ 8 ออนซ์ มีวิตามินดีระหว่าง 115 ถึง 124 IU)
- ข้าวโอ๊ต อุดมด้วยไฟเบอร์และคุณค่าทางสารอาหาร ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง โดยข้อมูลจากสำนักงานอาหารเสริม สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health : NIH) ระบุว่า ข้าวโอ๊ตบดที่ปราศจากน้ำตาลปริมาณ 1 ซอง สามารถเพิ่มวิตามินดีได้ประมาณ 40 IU
- ไข่แดง 1 ฟอง มีวิตามินดีประมาณ 41 IU นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีนซึ่งมีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ข้อแนะนำ
จากบทความดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าวิตามินดีมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูงมากเพียงใด หากร่างกายขาดวิตามินดีอาจนอกจากจะส่งผลต่อความดันโลหิตแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดความดันโลหิตได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น สัมผัสแสงแดดตอนเช้า หรือเลือกรับประทานอาหารที่อุมด้วยวิตามินดี