backup og meta

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ กับความรู้พื้นฐาน ที่ไม่ควรพลาด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ กับความรู้พื้นฐาน ที่ไม่ควรพลาด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในช่วงวัยทารกในครรภ์ แต่ในบางครั้งเมื่อผู้ป่วยเติบโตถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ ก็อาจทำให้อาการบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ที่แตกต่างออกไปบ้างจากในวัยเด็ก เนื่องจากระบบการทำงานภายในร่างกายเรานั้นมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้พื้นฐานที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อาการ ตลอดไปจนถึงการรักษา มาฝากทุกคนค่ะ

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ มีสาเหตุมาจากอะไร

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ (Congenital heart disease in adults) คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องของหัวใจมาแต่กำเนิด โดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของบุคคลในครอบครัว เชื้อไวรัสที่ปะปนเข้ามาระหว่างตั้งครรภ์ รวมไปถึงพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ จนทำให้เกิดความผิดปกติกับหัวใจ และกลายเป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ที่สำคัญโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนี้อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวอย่างภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตในปอดสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ โดยปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่สมัยยังเป็นทารกในครรภ์ ไปจนถึงในวัยผู้ใหญ่

อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ มีอะไรบ้าง

อาการของ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงวัยผู้ใหญ่ มีดังนี้

แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าคุณจะมีอาการทั้งหมด หรืออาการใดอาการหนึ่ง ก็อาจต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาตามอาการให้คงที่ ก่อนอาการเหล่านี้จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นนำไปสู่การเสียชีวิตได้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ มีวิธีรักษาอย่างไร

โดยส่วนใหญ่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มักได้รับการรักษาตั้งแต่ในช่วงวัยทารก เมื่อร่างกายของทารกพร้อมรับการผ่าตัด แต่หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าร่างกายของคุณช่วงวัยเด็กยังไม่พร้อม คุณอาจได้รับการรักษาในวัยผู้ใหญ่แทน ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การใส่อุปกรณ์กระตุ้นหัวใจแบบฝังตัว เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาคงที่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติร่วมด้วย
  • การใส่ท่อสวนขนาดเล็ก เป็นวิธีการผ่าตัดเปิดแผลเล็ก เพื่อทำการสอดท่อเข้าไปเข้าสู่หลอดเลือดดำจนถึงจุดหมายบริเวณหัวใจที่แพทย์ต้องการแก้ไข แล้วจึงสอดอุปกรณ์ผ่านท่อสวนนี้อีกครั้งเพื่อเข้าไปซ่อมแซมส่วนของหัวใจที่มีปัญหา
  • การผ่าตัดหัวใจแบบแผลใหญ่ หากการรักษาโดยใช้ท่อสวนไม่มีประสิทธิภาพมากพอ แพทย์ก็จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดบริเวณหน้าอก เพื่อเข้าไปซ่อมแซมข้อบกพร่องของหัวใจโดยตรง

หากการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดไม่ได้ผล แพทย์อาจจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการปลูกถ่ายหัวใจ โดยนำหัวใจจากผู้บริจาคที่มีสภาพแข็งแรงเข้าไปใส่แทน ส่วนสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากนัก แพทย์ก็อาจจะให้รับประทานยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคแทน

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Congenital heart disease in adults https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adult-congenital-heart-disease/diagnosis-treatment/drc-20355461 . Accessed April 29, 2021

Congenital Heart Defects in Adults https://uihc.org/congenital-heart-defects-adults . Accessed April 29, 2021

Adult Congenital Heart Disease (ACHD) https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/adult-congenital-heart-disease-achd . Accessed April 29, 2021

Adult Congenital Heart Disease https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3400517/ . Accessed April 29, 2021

About Congenital Heart Defects. https://www.heart.org/en/health-topics/congenital-heart-defects/about-congenital-heart-defects#.VsQY1ZMrLBJ. Accesed May 21, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/06/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะรับได้มืออย่างไร

ทำงานหนักต้องระวัง เครียดเรื่องงาน อาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา