สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

วัคซีนบาดทะยัก ผู้ใหญ่ กี่เข็ม และเมื่อไหร่ถึงควรฉีด

เมื่อเกิดแผลบนร่างกายจนเลือดออก หลายคนจะนึกถึง โรคบาดทะยัก โดยเฉพาะตอนที่ถูกของมีคมซึ่งขึ้นสนิมบาดร่างกาย จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้หรือไม่ วัคซีนบาดทะยัก เมื่อฉีดให้ผู้ใหญ่ ต้องฉีดวัคซีนกี่เข็ม  [embed-health-tool-bmi] โรคบาดทะยัก คืออะไร โรคบาดทะยัก (Tetanus) จัดว่าเป็นโรคติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ สาเหตุของโรคบาดทะยัก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Clostidium tetani ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะผลิต Exotoxin มีพิษต่อเส้นประสาทซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เกิดเป็นอาการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา อาการเริ่มแรกของโรคบาดทะยัก กล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง จนอ้าปากไม่ได้ โรคบาดทะยัก จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคขากรรไกรแข็ง (Lockjaw) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคอแข็ง หลังแข็ง จากนั้นจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว และเสี่ยงต่ออาการชัก เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในรูปแบบของสปอร์ พบได้ในดินตามพื้นหญ้า ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์ และพบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แบ่งตัวและขับ Exotoxin ออกมา โดยเฉพาะในแผลลึกที่เชื้อจะเจริญแบ่งตัวได้ดี  เช่น  บาดแผลจากตะปูตำ  แผลไฟไหม้  แผลจากน้ำร้อนลวก  เกิดผิวหนังถลอกเป็นบริเวณกว้าง  เกิดบาดแผลในปาก ฟันผุ  เชื้อแบคทีเรียเข้าทางหูที่อักเสบ จากการใช้เศษไม้หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อ มาแคะฟันหรือแยงในใบหู อาการของโรคบาดทะยัก ระยะจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ มีอาการคอแข็ง  หลังจากอาการแรก […]

สำรวจ สุขภาพ

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

แก้หมันชาย (Vasectomy Reversal)

ข้อมูลพื้นฐานการแก้หมันชาย คืออะไร การแก้หมันชาย (Vasectomy Reversal) คือ การผ่าตัดเพื่อต่อท่อนำเชื้ออสุจิหรือสเปิร์มเข้าด้วยกันใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยตัดท่อน้ำเชื้อออกจากกันแล้วผูกปลายทั้งสองข้างเอาไว้ หรือที่เรียกว่าการทำหมันชาย (Vasectomy) ซึ่งถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดถาวรที่นิยมมากวิธีหนึ่ง โดยทั่วไป อัตราการมีบุตรของผู้ชายที่แก้หมันจะอยู่ที่ประมาณ 30-90 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัด และระยะเวลาในการทำหมัน อายุของฝ่ายหญิง ความชำนาญของแพทย์ เป็นต้น ความจำเป็นในการ แก้หมันชาย การแก้หมันเป็นการแก้ปัญหาสำหรับใครที่เคยทำหมันไปแล้ว และต้องการจะมีบุตรอีกครั้ง ความเสี่ยงความเสี่ยงของการแก้หมันชาย โอกาสที่การแก้หมันชายจะประสบความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับว่าทำหมันชายมานานแค่ไหนแล้ว เพราะยิ่งทำหมันนาน ก็ยิ่งมีโอกาสที่ท่อนำเชื้ออสุจิจะอุดตันมากขึ้น ทั้งยังพบว่าบางคนที่แก้หมันชายไปแล้ว อาจเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอสุจิของตนเองได้ด้วย ซึ่งหากเกิดการอุดตันระหว่างท่อนำเชื้ออสุจิและท่อเก็บอสุจิ ก็จะยิ่งทำให้การผ่าตัดแก้หมันชายใช้เวลานานและซับซ้อนขึ้นไปอีก หากอยากมีลูก แต่ไม่อยากผ่าตัดแก้หมันชาย คุณอาจจะพิจารณาใช้อสุจิจากผู้บริจาค ซึ่งอาจจะเป็นของคนรู้จัก หรือจากธนาคารอสุจิก็ได้ บางครั้งหมอจะเลือกใช้เข็มดูดอสุจิจากอัณฑะออกมา ซึ่งเป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF Treatment) ก่อนตัดสินใจผ่าตัดแก้หมันชาย คุณควรทำความเข้าใจความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนให้ดี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์ ขั้นตอนการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ แก้หมันชาย ก่อนผ่าตัด แพทย์จะซักถามข้อมูลสุขภาพ ยาที่กิน อาการแพ้ต่างๆ จากนั้นคุณจะได้พบวิสัญญีแพทย์ เพื่อวางแผนการใช้ยาระงับความรู้สึก คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรงดรับประทานอาหารและน้ำดื่มก่อนการผ่าตัดตามที่แพทย์แนะนำ แพทย์จะแจ้งวิธีการปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด รวมถึงการงดน้ำงดอาหาร ว่าต้องงดก่อนผ่าตัดกี่ชั่วโมง โดยปกติแล้ว คุณควรเริ่มงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด แต่อาจสามารถจิบเครื่องดื่มบางอย่างได้ เช่น กาแฟ และไม่ควรทานอะไรเลยก่อนการผ่าตัด […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant Surgery)

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาในส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา เพื่อให้กลับมามองเห็นได้ปกติ และช่วยให้อาการของโรคที่กระจกตาหรือบาดแผลที่กระจกตาดีขึ้น รู้เรื่องเบื้องต้น การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คืออะไร การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant) คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา กระจกตาเป็นชั้นเนื้อเยื่อใสส่วนหน้าสุดของลูกตา ทำหน้าที่เสมือนหน้าต่าง ช่วยให้จอประสาทตาสามารถโฟกัสแสงได้เป็นปกติ ก่อนส่งภาพที่ได้ไปแปลผลในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจน เมื่อกระจกตาถูกทำลาย ความโปร่งใสก็จะลดลง รูปร่างของกระจกตาเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กระบวนการนำแสงไปสู่จอประสาทตาผิดปกติ ภาพที่ถูกส่งไปแปลผลที่สมองจึงผิดรูปหรือไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นปกติอีกครั้ง ความจำเป็นของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา สาเหตุที่ทำให้กระจกตาขุ่น และเสี่ยงต่อปัญหากระจกตาล้มเหลว ได้แก่ แผลจากการติดเชื้อ เช่น กระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา แผลจากขนตาทิ่มตา เนื่องจากขนตางอกยาวเข้าไปในตา เมื่อขยี้ตาอาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้ โรคทางพันธุกรรม เช่น Fuchs’ corneal dystrophy (ความผิดปกติของเซลล์ชั้นในสุดของกระจกตา) โรคตาบางชนิด เช่น โรคกระจกตาโป่งพองขั้นรุนแรง กระจกตาบางมากหรือผิดรูป ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยจากการทำเลสิก กระจกตาได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือสารเคมี กระจกตาบวมน้ำ ปฏิกิริยาต่อต้านจากการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาครั้งก่อน กระจกตาล้มเหลวจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาช่วยลดความเจ็บปวด ทำให้อาการของโรคที่กระจกตาหรือบาดแผลที่กระจกตาดีขึ้น และสามารถทำให้การมองเห็นกลับมาดีดังเดิมได้ การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ร่างกายปฏิเสธกระจกตาใหม่ที่ได้รับจากผู้บริจาค ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก ความเสี่ยงที่ควรรู้ ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา การปลูกถ่ายกระจกตาเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น การติดเชื้อที่ตา เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก ความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้น เกิดปัญหากับไหมที่ใช้เย็บกระจกตาของผู้บริจาค ภาวะปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย (กระจกตา) ของผู้บริจาค ภาวะกระจกตาบวม ในบางกรณีที่ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ร่างกายอาจปฏิเสธกระจกตาใหม่จากผู้บริจาค ถือเป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ หรือต้องทำการปลูกถ่ายกระจกตาใหม่อีกครั้ง ควรนัดหมายกับจักษุแพทย์หากคุณสังเกตเห็นอาการปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย เช่น สูญเสียการมองเห็น มีอาการเจ็บปวด มีรอยแดง มีปฏิกิริยาไวต่อแสง หรือแพ้แสง การปฏิเสธสิ่งปลูกถ่ายเกิดขึ้นได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของการปลูกถ่ายกระจกตา ก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัด ควรทำความความเข้าใจต่อความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แนวทางปฏิบัติตัว การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเลือกใช้เมคอัพถาวร หรือ การสักเพื่อความงาม

การสักเพื่อความงาม (Cosmetic Tattoo) คือการเสริมความงามถาวร หรือเมคอัพถาวร (Permanent Makeup) บางครั้งอาจเรียกว่า เมคอัพกึ่งถาวร หรือการสักเพื่อความงามกึ่งถาวร ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการเสริมเติมแต่งรูปลักษณ์ของสาวๆ ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการสักคิ้ว สักปาก สักขอบตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้เราสวยขึ้นดังใจต้องการ แต่ยังช่วยประหยัดเวลาในการแต่งหน้าได้ไม่น้อยเลยทีเดียว แค่นั้นยังไม่พอ การสักเพื่อความงามยังช่วยทำให้คุณดูสวยอยู่เสมอ แม้จะเป็นวันที่ตื่นสาย ไม่มีเวลาแต่งหน้า หรือต้องหน้าสดไปยิม หากใครสนใจความสวยที่ติดทนนานประเภทนี้ Hello คุณหมอแนะนำให้อ่านบทความนี้เลย การสักเพื่อความงาม ทำอย่างไร เมคอัพกึ่งถาวร หรือการสักเพื่อความงาม เป็นการใช้เทคนิคไมโครพิคเมนเทชัน (Micro-pigmentation Technique) โดยการใช้เข็มสักใส่สีแล้วสักไปตามผิวหนังเพื่อนำสีเข้าสู่ผิวหนัง การสักเพื่อความงามนี้มีกระบวนการและอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น เครื่องสักแบบคอยล์ (Coil Machines) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการสักแบบดั้งเดิม ปากกาสัก เครื่องสักโรตารี่ (Rotary Machines) รวมถึงการสักด้วยมือ แบบไม่ใช้เครื่องสัก โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการสักเพื่อความงาม มีดังนี้ รับคำแนะนำเรื่องสภาพสีผิวและวิธีการฝังเม็ดสีเข้าในผิวหนังของผู้รับการสัก ทดสอบว่าผิวแพ้สารบางชนิดหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญจะสักเพื่อฝังเม็ดสีลงบนผิวหนัง โดยส่วนใหญ่จะมีการให้ยาชาในบริเวณที่ต้องการสักก่อน และในขณะสักอาจรู้สึกเจ็บเหมือนผึ้งต่อย หรือมดกัด ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจสอบคุณภาพงานสัก สีและความแน่นของเม็ดสีว่าตรงตามที่ต้องการหรือไม่ การสักเพื่อความงาม หรือเมคอัพถาวร ควรทำโดยแพทย์ผิวหนัง ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม พยาบาล หรือช่างสัก ที่ผ่านการฝึกอบรม มีใบอนุญาตถูกต้อง ใช้เทคนิคที่ได้รับการรับรอง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ซาวน่า กับสารพัดประโยชน์ คุณค่าที่คนรักสุขภาพคู่ควร

การอบ ซาวน่า อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน และถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่อยู่ในกระแสและได้รับความนิยมมาโดยตลอด การใช้เวลาอยู่ในห้องซาวน่าไม่เพียงแต่จะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมายหากใครยังไม่เคยลองอบซาวน่า Hello คุณหมอรับรองว่า หากได้ลองสักครั้ง คุณจะต้องติดใจอย่างแน่นอน ซาวน่า คืออะไร การอบซาวน่า ปรากฏในประวัติศาสตร์มนุษยชาติมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชาวมายัน ชาวโรมัน ชาวฟินแลนด์ เป็นต้น ต่างก็มีวัฒนธรรมการอบซาวน่าเพื่อวัตถุประสงค์ทางความเชื่อและเพื่อสุขภาพ การซาวน่าในปัจจุบันนิยมทำในห้องซาวน่าที่ทำจากไม้ การอบตัวในห้องซาวน่าจะอาศัยความร้อนจากการเผาหินด้วยฮีตเตอร์ หรืออุปกรณ์ทำความร้อนแบบไฟฟ้าและรักษาระดับความร้อนให้อยู่ที่ประมาณ 70°-100° เซลเซียส โดยระหว่างอบซาวน่า อุณหภูมิที่ผิวหนังของคุณอาจเพิ่มสูงได้ถึงประมาณ 40° เซลเซียส ส่งผลให้เหงื่อเริ่มออก อัตราการเต้นของหัวใจค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ร่างกายพยายามปรับอุณหภูมิให้เย็นลง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะสูญเสียเหงื่อจำนวนมาก แม้จะอบซาวน่าแค่ครู่เดียวเท่านั้น ประโยชน์ด้านสุขภาพของการอบ ซาวน่า 1. ช่วยบรรเทาปวด การอบซาวน่าช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น จึงอาจช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยลดอาการปวดเนื่องจากข้ออักเสบได้ด้วย 2. ซาวน่า ช่วยผ่อนคลายความเครียด ความร้อนจากการอบซาวน่า ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด แต่ยังทำให้คุณสดชื่น และรู้สึกว่าสุขภาพดีขึ้นด้วย 3. ช่วยเรื่องผิวพรรณ การอบซาวน่าช่วยชำระล้างผิว ทำให้คุณรู้สึกได้ว่าผิวพรรณผ่องใสขึ้น สำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินบางรายพบว่า การอบซาวน่าลดอาการของโรคได้ แต่หากคุณเป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ หรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ควรหลีกเลี่ยงการอบซาวน่า เพราะอาจทำให้อาการของคุณแย่ลงได้ 4. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ การอบซาวน่าอาจช่วยให้ระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น ช่วยละลายเสมหะ ทำให้รู้สึกหายใจสะดวกขึ้น 5. ช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้น การอบซาวน่าช่วยลดระดับความเครียด […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แอลแคปโตนูเรีย (Alkaptonuria)

โรคแอลแคปโตนูเรียคืออะไรแอลแคปโตนูเรีย (Alkaptonuria) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่หายาก เกิดเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์ที่เรียกว่าเอนไซม์ โฮโมเจนทิเสต ไดออกซีจิเนส (Homogentisate Dioxygenase หรือ HGD) ที่ใช้กำจัดสารพิษที่เรียกว่ากรดโฮโมเจนทิเสต (Homogentisate) เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิต HGD ได้เพียงพอ กรดโฮโมเจนทิเสตก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย การสะสมของกรดโฮโมเจนทิเสตเป็นสาเหตุให้กระดูกและกระดูกอ่อนเปลี่ยนสีและแตกหักง่าย นำไปสู่โรคข้อกระดูกอักเสบ (Osteoarthritis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกสันหลังและข้อต่อใหญ่ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อกระดูกอักเสบมีปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเมื่อปัสสาวะสัมผัสกับอากาศ โรคแอลแคปโตนูเรียพบได้บ่อยแค่ไหนโรคแอลแคปโตนูเรียเป็นโรคที่พบยาก ตามข้อมูลขององค์กรโรคหายากแห่งชาติ (The National Organization for Rare Disorders -NORD) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในสหรัฐฯ ยังไม่พบตัวเลขที่แท้จริงของโรคนี้ ประมาณว่าพบ 1 คนในทุกๆ 250,000 คน อย่างไรก็ตาม มักพบมากในแถบประเทศสโลวาเกีย ประเทศเยอรมัน และสาธารณรัฐโดมินิกัน อย่างไรก็ตาม เราสามารถจัดการกับโรคนี้ได้โดยลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูล อาการของโรคแอลแคปโตนูเรียเป็นอย่างไรโดยปกติอาการของโรคแอลแคปโตนูเรียก็คือ มีจุดดำในตาขาว กระดูกอ่อนในหูหนาและสีเข้มขึ้น ผิวหนังบริเวณที่ถูกแสงแดดมีสีน้ำเงิน โดยเฉพาะต่อมเหงื่อ เหงื่อ หรือคราบเหงื่อมีสีเข้ม ขี้หูมีสีดำ มีนิ่วในไตและต่อมลูกหมาก ข้ออักเสบ (โดยเฉพาะสะโพกและข้อต่อเข่า) สัญญาณและอาการของโรคแอลแคปโตทูเรียจะชัดเจนขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนมากจะเห็นชัดเจนว่าปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือมีสีดำ เมื่อปัสสาวะสัมผัสกับอากาศ เมื่อถึงช่วงอายุ 20 ถึง 30 ปี อาจพบสัญญาณของโรคข้อเสื่อมแบบเฉียบพลัน โรคแอลแคปโตนูเรียอาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ การสร้างกรดโฮโมเจนทิเสตเป็นสาเหตุให้ลิ้นหัวใจแข็งตัวจนปิดตัวอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเอออร์ติค และลิ้นหัวใจไมตรัลผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไรหากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม