backup og meta

อาการผีอำ ที่เจอ เกิดจากผี หรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อกันนะ

อาการผีอำ ที่เจอ เกิดจากผี หรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อกันนะ

นอนหลับอยู่ดี ๆ ก็เกิดขยับตัวไม่ได้ พยายามตะโกนเรียกคนข้าง ๆ ก็ไม่มีเสียงออกมา ร่างกายกำลังโดน ผีอำ หรือว่าเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อกันแน่ แล้วอาการที่เกิดขึ้นนั้นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ใครที่เคยมีอาการนี้ขณะนอนหลับ และกังวลว่าจะเป็นอันตราย วันนี้  Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาการผีอำ มาช่วยไขข้อข้องใจให้ทุกคนค่ะ

อาการผีอำ คืออะไร

อาการผีอำ หรือทางการแพทย์เรียกว่า Sleep Paralysis เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในขณะหลับไปได้ไม่นาน หรือในช่วงที่เพิ่งตื่นนอน สถาบันการการนอนหลับแห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Sleep Medicine) พบว่าคนส่วนใหญ่จะมีอาการผีอำครั้งแรกเมื่ออายุระหว่าง 14-17  ปี และคนจำนวนร้อยละ 40-50 ของประชากรโลกนั้นจะมีอาการผีอำ

อาการผีอำนั้นสามารถเกิดขึ้นพร้อมกับอาการผิดปกติของการนอนหลับที่เรียกว่า โรคลมหลับ (Narcolepsy) ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ผู้ที่เป็นโรคนี้จะเกิดอาการง่วงนอนในเวลาที่ผิดปกติ หรือจะรู้สึกง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะนอนมากขนาดไหนก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เป็นโรคลมหลับก็สามารถเกิดอาการ ผีอำ ได้เช่นกัน แม้อาการนี้จะไม่เป็นอันตราย แต่ก็อาจสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ผู้ที่เจอปัญหานี้ได้

อาการผีอำ เป็นอย่างไร

อาการ ผีอำ เป็นอาการที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน แต่อาจทำให้ผู้ที่มีอาการ ผีอำ เกิดอาการวิตกกังวลได้ อาการโดยทั่วไปของอาการ ผีอำ คือ ร่างกายจะไม่สามารถขยับตัวหรือพูดได้ โดยผู้ที่เป็นจะมีอาการไม่เกิน 2 นาที ซึ่งผู้ที่มีอาการ ผีอำ มักจะมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมด้วย

  • รู้สึกเหมือนมีอะไรมากดทับ
  • รู้สึกเหมือนมีใคร หรือมีบางสิ่งบางอย่างอยู่ในห้อง
  • รู้สึกกลัว
  • อาจเกิดภาพหลอนในระหว่างก่อนหรือหลังนอนหลับ แต่เป็นอาการที่หาได้ยาก อาจเกิดขึ้นได้เฉพาะกับบางคนเท่านั้น

อาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้ หรืออาการจะหายไปเมื่อมีคนอื่นมาสะกิดคุณ ขณะที่มีอาการ ผีอำ นั้นคุณอาจจะรู้สึกตัวอยู่ตลอดแม้ว่าจะไม่สามารถขยับตัวได้ก็ตาม และคุณสามารถจดจำเหตุการณ์เหล่านั้นได้ แม้ว่าอาการเหล่านั้นจะผ่านไปแล้ว

สาเหตุของการเกิดอาการผีอำ

อาการผีอำสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการนี้เป็นพิเศษ ก็คือ ผู้ที่มีโรคต่าง ๆ เหล่านี้

การที่เรามีตารางการนอนที่ผิดปกติ หรือเวลาในการนอนไม่ตรงกัน เช่น การที่ต้องทำงานเป็นกะ หรือมีอาการเจ็ตแล็ก (Jet Lack) สามารถทำให้เกิดอาการผีอำได้ นอกจากนี้ การนอนน้อย หรือนอนหงายยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการ ผีอำ อีกด้วย

รักษาอาการผีอำอย่างไร ให้ไม่เกิดขึ้นอีก

อาการผีอำเป็นอาการที่สามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่นาที นอกจากนี้ ยังเป็นอาการที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดอาการ ผีอำ ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัว สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ผู้ที่มีอาการผีอำได้ ผู้ที่มีอาการ ผีอำ เพียงอย่างเดียวนั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่หากมีอาการผีอำร่วมกับโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคลมหลับ ก็ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและหาทางรักษา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Sleep Paralysis

https://www.healthline.com/health/sleep/isolated-sleep-paralysis

Sleep Paralysis

https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-paralysis#1

Everything you need to know about sleep paralysis

https://www.medicalnewstoday.com/articles/295039.php

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/08/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

นอนหลับยาก ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น กว่าที่คิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา