backup og meta

นักกีฬาควรรู้! ฟิตผิดวิธี อาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว

นักกีฬาควรรู้! ฟิตผิดวิธี อาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว

อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในนักกีฬา ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคเข่าปูดให้มากขึ้น จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ

ทำความรู้จักโรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease)

โรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease) เป็นภาวะที่ทำให้ใต้หัวเข่ามีอาการปวด บวม ซึ่งเกิดจากแรงดึงของเส้นเอ็นกระดูกที่ยึดติดกับสะบ้าหัวเข่าและด้านบนของกระดูกหน้าแข้ง ส่งผลให้กระดูกหน้าแข้งอักเสบ 

อย่างไรก็ตาม เข่าปูด มักพบในเด็กผู้ชาย ที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องวิ่งและกระโดดเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว เช่น กีฬาวิ่ง ฟุตบอล บาสเก็ตบอล บัลเลต์ เป็นต้น 

โรคเข่าปูด มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง?

เข่าปูด มักเกิดขึ้นขณะเล่นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง การกระโดด การงอ เป็นต้น ขณะที่เรากำลังวิ่ง กล้ามเนื้อขาจะหดตัว ส่งผลให้เอ็นตรงที่ยึดติดกับลูกสะบ้าหัวเข่าตึงรั้งกระดูกใต้เข่า ทำให้กระดูกบริเวณนั้นเกิดการแตกร้าวขึ้น รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • อายุ เพศชายอายุระหว่าง 12-14 ปี เพศหญิงอายุ 10-13 ปี
  • เพศ พบได้บ่อยในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 
  • กีฬา ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง การกระโดด 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงข้างต้น มักส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่า เข่าบวม และมักรู้สึกเจ็บทุกครั้งที่คุกเข่า วิ่ง กระโดด รวมถึงการเดินขึ้นในที่สูงอย่างการขึ้นเขา หรือขึ้นบันได

นักกีฬาควรรู้! เป็นโรคเข่าปูดสามารถเล่นกีฬาได้หรือไม่

โรคเข่าปูดไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หรือผ่าตัด อาการปวดจะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อกระดูกหยุดการเจริญเติบโต สำหรับนักกีฬาที่เป็นโรคเข่าปูดไม่ต้องกังวลใจไป เพราะสามารถทำกิจกรรมเล่นกีฬาได้อย่างปกติ โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้ 

  • สวมรองเท้าที่สามารถดูดซับแรงกระแทกในรองเท้าผ้าใบได้
  • ชุบน้ำอุ่นไว้ที่หัวเข่าประมาณ 15 นาที ก่อนเล่นกีฬา
  • ประคบน้ำแข็งบนเข่าเป็นระยะเวลา 15 นาที หลังเล่นกิจกรรม
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันเข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักมวยปล้ำ นักบาสเกตบอล นักวอลเลย์บอล เป็นต้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Osgood-Schlatter Disease. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/osgoodschlatter-disease.

Osgood-Schlatter Disease. https://kidshealth.org/en/parents/osgood.html.

Osgood-Schlatter Disease. https://www.health.harvard.edu/a_to_z/osgood-schlatter-disease-a-to-z.

10 วิธีฟิตเข่า ให้แข็งแรง. https://www.vejthani.com/th/2021/03/10-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2/.

Osgood-Schlatter disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/osgood-schlatter-disease/symptoms-causes/syc-20354864.

Osgood-Schlatter Disease (Knee Pain). https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases–conditions/osgood-schlatter-disease-knee-pain/

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/03/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า (Baker's Cyst)

 5 ท่าบริหารหัวเข่า แก้อาการปวดเมื่อย จากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 26/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา