โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ข้อต่อ ช่วยเชื่อมกระดูกสองส่วนเข้าด้วยกัน เช่น กระดูกหัวเข่า กระดูกหัวไหล่ ส่วนเส้นเอ็น ช่วยเชื่อมกล้ามเนื้อให้ติดกับกระดูก และหากอวัยวะทั้งสองส่วนนี้ผิดปกติ เช่น ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นตามมาได้ แต่ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเอ็นและข้อต่อไม่ได้มีแค่นี้ โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เนื้องอกข้อต่อ หนึ่งในโรคหายาก ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม

หลายคนอาจคุ้นเคย หรือรู้ว่าเนื้องอกสามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกในสมอง ได้ แต่คุณรู้ไหมว่า ที่ข้อต่อของเราก็สามารถเป็นเนื้องอก หรือที่เรียกว่า เนื้องอกข้อต่อ ได้เช่นกัน Hello คุณหมอ มีบทความดี ๆ เกี่ยวกับอาการ และวิธีการรักษาเนื้องอกชนิดนี้เบื้องต้นมาฝาก เพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทัน และระวังตนเองจากภาวะสุขภาพนี้ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำความรู้จักกับ เนื้องอกข้อต่อ กันเถอะ เนื้องอกข้อต่อ (Tenosynovial giant cell tumor หรือ TGCT) จัดเป็นกลุ่มเนื้องอกหายากที่มักเกิดขึ้นในข้อต่อ โดยส่วนใหญ่เนื้องอกนี้จะปรากฎบริเวณไขข้อที่มีชื่อเรียกว่า Synovium และ Bursae ซึ่งเป็นถุงน้ำที่มีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหว รวมถึงเกิดที่ปลอกหุ้มเอ็นได้ด้วย แต่คุณไม่ต้องกังวลใจไป เนื่องจากเนื้องอกข้อต่อจะไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ ปกติเนื้องอกข้อต่อมีหลายประเภท และมีระดับความรุนแรงต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต ดังนี้ เนื้องอกขนาดใหญ่ในปลอกหุ้มเอ็น (GCTTS) เป็นเนื้องอกที่เจริญเติบโตช้าที่สุด ส่วนใหญ่มักเกิดที่บริเวณข้อต่อในมือ เนื้องอกขนาดใหญ่ชนิด Pigmented villonudular synovitis (PVNS) เป็นเนื้องอกที่มีการแพร่กระจาย มักส่งผลกระทบกับข้อต่อบริเวณ ไหล่ ข้อศอก สะโพก […]

สำรวจ โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ตะคริวที่เท้า ยิ่งนั่งนานก็ยิ่งเป็น จะรับมืออย่างไรได้บ้าง

ตะคริวที่เท้า เป็นอาการทางสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศและทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ชนิดที่ไม่เลือกทั้งเวลาและสถานที่ ทั้งตอนตื่นนอน ขณะที่กำลังนอน หรือแม้แต่ตอนที่กำลังอยู่ในห้องน้ำก็ตาม อาการตะคริวที่เท้า เกิดจากอะไร และจะรับมืออย่างไร ไปตามดูกันได้เลยในบทความนี้จาก Hello คุณหมอ สาเหตุของ ตะคริวที่เท้า อาการตะคริวที่เท้า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณอาจเป็นตะคริวได้จากเหตุปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ภาวะขาดน้ำ หากในแต่ละวันมีการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะมีอาการขาดน้ำ ส่งผลให้เกลือแร่ของเลือด (electrolytes) โพแทสเซียม โซเดียม และแมกนีเซียมในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในกล้ามเนื้อ และถ้าหากกล้ามเนื้อเกิดความไม่สมดุล จะทำให้กล้ามเนื้อที่นิ้วเท้าและฝ่าเท้าเกิดการหดตัวจนเกิด อาการตะคริวที่เท้า ขึ้นมา ไม่ค่อยออกกำลังกาย การไม่ออกกำลังกายนอกจากจะทำให้ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เสี่ยงที่จะเป็นโรคภัยไข้เจ็บชนิดรุนแรงและเรื้อรังแล้ว ยังสามารถส่งผลให้เกิด อาการตะคริวที่เท้า ได้อีกด้วย เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อและระบบประสาทเกิดความสมดุล ทำให้กล้ามเนื้อไม่หดตัว ลดโอกาสในการเป็นตะคริว สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ในแต่ละวันเราใช้เท้าในการก้าวเดินไปยังที่ต่าง ๆ หลายร้อยหลายพันก้าว การเลือกรองเท้าที่มีรูปแบบการดีไซน์ที่เหมาะสม จะช่วยในการกระจายน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น คับไป หรือหลวมไป จะส่งผลให้เป็นตะคริวได้ อาการทางสุขภาพ ผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพบางประเภท อาจมีผลทำให้เกิด อาการตะคริวที่เท้า ได้ เช่น ผู้ป่วยด้วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) โรคพาร์กินสัน หรือโรคเบาหวาน เพราะอาการทางสุขภาพดังกล่าวจะทำให้ระบบประสาทมีการเปลี่ยนแปลง […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ข้อเท้าพลิก ทําไงหายเร็ว แล้วนานแค่ไหนจะออกกำลังกายได้

ข้อเท้าพลิก ทำไงหายเร็ว ? ทั้งนี้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา หรือแม้แต่อาจเป็นอุบัติเหตุไม่คาดฝันในชีวิตประจำวัน เช่น ตกบันได รองเท้าพลิก ตกส้นสูง ก้าวเท้าพลาด ซึ่งอาจมีอาการตั้งแต่ปวด บวม แต่ยังเดินไหว ไปจนถึงเจ็บหนักมาก จนลุกเดินไม่ได้ ควรรู้จักวิธีดูแลตัวเองเพื่อให้หายเร็วที่สุดและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ [embed-health-tool-bmi] ข้อเท้าพลิกมีสาเหตุจากอะไร ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าเคล็ด เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเมื่อข้อเท้าบิดหรือพลิก จนทำให้เส้นเอ็นที่เป็นตัวยึดข้อกับกล้ามเนื้อยืดหรือฉีกขาด ซึ่งมักเกิดจากการเล่นกีฬา การเดิน การวิ่ง มักเกิดเมื่อเดินบนพื้นผิวขรุขระ หรือบางครั้งก็เกิดจากการประสบอุบัติเหตุอย่างเช่น หกล้ม ตกบันได ก้าวเท้าพลาด โดยอาการข้อเท้าพลิกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับความรุนแรง ดังนี้ ระดับที่ 1 เส้นเอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไป ทำให้เส้นเอ็นบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงขั้นฉีกขาด นับเป็นอาการแพลงชนิดไม่รุนแรง และสามารถพบได้บ่อยที่สุด ระดับที่ 2 เส้นเอ็นบางส่วนฉีกขาด ทำให้ข้อเท้าบวมและปวดในระดับปานกลาง และความมั่นคงของข้อเท้าลดลงจนทำให้ยืนลำบาก ซึ่งนับเป็นอาการแพลงชนิดรุนแรงปานกลาง ระดับที่ 3 เส้นเอ็นที่เท้าฉีกขาดทั้งหมด จนยืนไม่ได้ ขยับข้อเท้าไม่ได้ และเจ็บปวดมาก ถือเป็นอาการแพลงชนิดรุนแรง อาการของภาวะข้อเท้าพลิก หรือข้อเท้าแพลงนี้จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงข้างต้น โดยอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ ภัยเงียบที่คนนอนดิ้นควรระวัง

เมื่อคุณรู้สึกถึงบริเวณฝ่ามือที่ชา และมีอาการเจ็บข้อมือเล็กน้อยหลังจากตื่นนอนในยามเช้า จนทำให้คุณเกิดความสับสน เพราะเป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับเหน็บชา หรือตะคริว แต่แท้จริงแล้วนั้น เป็นเพียงสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกถึง โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ ซึ่งทุกคนอาจยังไม่ค่อยคุ้นหูกันมากนัก แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้น พร้อมเผยวิธีป้องกันอย่างละเอียด โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือคืออะไร โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดจากการบีบตัว หรือถูกกดทับบริเวณเส้นประสาทในโพรงฝ่ามือของคุณ จนไปถึงบริเวณข้อมือ ทำให้ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และยังมีทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวทั้งหมดของนิ้ว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณรวมถึงอาชีพต่างๆ เช่น การใช้แป้นพิมพ์ในการพิมพ์งานอยู่บ่อยครั้ง การอยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นเวลานาน อาการใดบ้างที่บอกถึงโรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ อาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยหลังจากคุณตื่นนอน เพราะอาจเกิดการนอนดิ้นจนทับมือของตนเองในช่วงเวลากลางคืนอันแสนยาวนานโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว รู้สึกเจ็บปวด หรือเสียวซ่าบริเวณนิ้วมือ ปวดข้อมือในเวลากลางคืน ปลายนิ้วชา หรือมือชา ใครกำลังเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนมากอาการนี้มักเสี่ยงต่อบุคคลที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับสายงานการผลิต งานก่อสร้าง และพนักงานออฟฟิศที่ใช้งานด้านการพิมพ์ หรือผู้ที่ใช้มือในการทำงานอื่นๆ เป็นหลัก รวมถึงสภาวะของโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกข้อมือ ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคไขข้ออักเสบ ดูแล และป้องกันตนเองอย่างไร ให้สุขภาพมือของคุณแข็งแรง พักการใช้งานของข้อมือ และนิ้วเมื่อรู้สึกเจ็บปวด หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงข้อมือหนัก ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำเป็นการใส่อุปกรณ์บางอย่าง เพื่อป้องกันการกดทับเส้นประสาทของข้อมือในช่วงเวลากลางคืนขณะที่คุณเปลี่ยนท่านอนไปมา และบรรเทาอาการชา เสียวซ่า พร้อมกับการรับประทานยาลดการอักเสบ หรืออาการบวมลง เพื่อเพิ่มการนอนหลับของคุณให้สบายยิ่งขึ้น Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ป้องกัน เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ด้วยการเลือกรองเท้าอย่างเหมาะสม

คุณกำลังรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ ใต้ฝ่าเท้าอยู่หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้าเดิน วิ่ง และโดยเฉพาะผู้ที่ทำกิจกรรมในการยืน หรือนั่งกับที่เป็นเวลานาน จนอาจทำให้เกิด เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ โดยที่คุณไม่รู้ตัว มารู้จักกับอาการนี้ไปพร้อมกับบทความของ Hello คุณหมอ ที่มีคำแนะนำในการเลือกรองเท้าสวมใส่อย่างเหมาะสมมาฝากทุกคนค่ะ รู้จักกับอาการ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar fasciitis) มักมีอาการปวดในบริเวณฝ่าเท้าบน และด้านล่างช่วงส้นเท้า เหมือนกับมีคนกำลังเอาของมีคมมาทิ่มแทง ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อนั้นหนาขึ้นเรียกสั้นๆ ได้ว่า พังผืด ที่เชื่อมต่อไปยังส้นเท้าด้านหลังที่ช่วยในการเคลื่อนตัว ทำให้เกิดอาการคล้ายเส้นยึดในบริเวณฝ่าเท้า และรู้สึกเจ็บ ส่วนมากอาการนี้มักพบในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บจนก้าวเท้าออกข้างนอกได้ยากนั้น อาจเป็นเพราะ การมีน้ำหนักเกินมาเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ชอบด้านการออกกำลังกายด้านการวิ่ง เช่น วิ่งมาราธอน รวมถึงการเลือกรองเท้าที่ใส่ในชีวิตประจำวันแบบผิดๆ จึงทำให้ฝ่าเท้าของคุณเกิดเจ็บปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ อายุ : เอ็นฝ่าเท้าอักเสบพบได้มากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 40 – 60 ปี หรือผู้ที่รักการออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อใต้เท้าเกิดการบวมอักเสบ น้ำหนักเกินมาตรฐาน : เนื่องจากเท้าเป็นอวัยวะที่รองรับน้ำหนักเราแทบทั้งตัว จึงทำให้เมื่อเคลื่อนไหว หรือหักโหมในการทำกิจกรรมอย่างหนัก อาจทำให้ฝ่าเท้าเกิดตึงและปวดได้ อาชีพ : ในตำแหน่งหน้าที่ของการทำงานนั้น มีหลากหลายมากมาย และยังส่งผลให้เกิดอาการฝ่าเท้าอักเสบได้ เมื่อต้องยืน หรืออยู่กับที่เป็นเวลานาน เช่น ครู […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เมื่อร่างกายเกิดผิดรูป เสี่ยงเป็น โรคเอฟโอพี (FOP) หรือไม่ ?

รูปปั้นมีชีวิต เป็นคำนิยามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า คือการแสดงชนิดหนึ่งที่โด่งดังอย่างมาก สร้างสีสันแปลกตา โดยนักแสดงจะแต่งกาย และมีกิริยาเหมือนหุ่นยนต์ หรือรูปปั้นแน่นิ่ง แต่เมื่อผู้ใดเข้าใกล้ หรือให้ค่าตอบแทนจะขยับร่างกายทันที แต่ โรคเอฟโอพี ไม่ใช่เช่นนั้น ถึงจะมีลักษณะร่างกายที่ดูแข็งคล้ายกัน แต่เป็นโรคพิการอย่างรุนแรง มาทำความรู้จักโรคนี้ไปพร้อม กับ Hello คุณหมอในบทความนี้กันเถอะ โรคเอฟโอพี (FOP) เกิดจากอะไร ร้ายแรงแค่ไหนกันนะ… โรคเอฟโอพี มีชื่อเต็มว่า (Fibrodysplasia Ossificans Progressiva ; FOP) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกระดูกนอกโครงสร้าง เกี่ยวโยงกับเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้ร่างกายเกิดการผิดรูป นอกจากนี้ยังมีความแข็งเหมือนรูปปั้น แถมยังบิดเบี้ยว โค้งงอไปมา ซึ่งเป็นความพิการทางร่างกายค่อนข้างรุนแรง โดยสามารถเป็นได้ตั้งแต่วัยเด็กจนเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่ และยังไม่มีการค้นพบวิธีรักษาให้หายขาด ทำได้แค่บรรเทาอาการให้เจ็บปวดจากการเคลื่อนไหวทุเลาลงเท่านั้น ในเดือนเมษายน ปี 2006 ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยไอลีนเอ็มชอร์ (Eileen M. Shore) จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่สรุปได้ว่าโรคเอฟโอพี นี้เกิดจากการกลายพันธุ์ หรือการคัดลอกของยีนบนโครโมโซม 2 (2q23-24) ที่สืบทอดมาจากคนในครอบครัวผิดเพี้ยน ส่งต่อไปยันลูกหลานได้ในอนาคตถึง 50% เลยทีเดียว อาการที่ทำให้เกิด ร่างกายผิดรูป […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ข้อเคลื่อน (Dislocation)

คำจำกัดความข้อเคลื่อน คืออะไร ข้อเคลื่อน หรือข้อหลุด (Dislocation of joint หรือ Dislocation) คือ ภาวะที่หัวกระดูกหรือปลายกระดูกสองอัน ที่มาชนกันเป็นข้อ เคลื่อนหรือหลุดออกจากตำแหน่งปกติ จนส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เส้นเลือด และเส้นประสาทในบริเวณนั้น เช่น ทำให้ฉีกขาด ฟกช้ำ ยืด ข้อเคลื่อนส่วนมากเกิดบริเวณหัวไหล่ และนิ้วมือ ส่วนอื่นที่มักเกิดข้อเคลื่อน เช่น ข้อศอก หัวเข่า สะโพก ส่วนใหญ่แล้ว หากข้อบริเวณใดเคยเกิดภาวะข้อเคลื่อนแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ในอนาคต ข้อเคลื่อน พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะข้อเคลื่อนหรือข้อหลุดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ ผู้ที่ง่ายต่อการหกล้ม และขาดการเคลื่อนไหว เด็กเล็ก หากผู้ปกครองไม่เฝ้าระวังให้ดี เด็กอาจเกิดอันตรายจนข้อเคลื่อนได้ ผู้ที่ฝึกออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าสำหรับอุบัติเหตุอย่างข้อเคลื่อนเช่นกัน อย่างไรก็ดี ภาวะนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม   อาการอาการของข้อเคลื่อน อาการทั่วไปของข้อเคลื่อน เช่น เห็นชัดเจนว่าข้อกระดูกอยู่ผิดที่ ปูดบวม หรือเปลี่ยนสี รู้สึกปวดเมื่อเคลื่อนไหว อาการชา หรือรู้สึกเสียวแปลบรอบบริเวณที่ข้อเคลื่อน สูญเสียการเคลื่อนไหว สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำแข็งประคบข้อต่อที่เคลื่อน  และพยายามอย่าเคลื่อนไหวในขณะที่กำลังรอการรักษาทางการแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุข้อเคลื่อนหรือข้อหลุดสามารถเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย หรือโดนทำร้ายร่างกาย จนทำให้บริเวณข้อเคลื่อนออกจากกัน ตัวอย่างสาเหตุของข้อเคลื่อน เช่น การล้ม […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

อะไรคือสาเหตุของอาการปวดที่ข้อต่อ?

อาการปวดที่ข้อต่อ (Joint pain) ส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต เป็นอาการทั่วไปที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปถ้าแบ่งสาเหตุตามโครงสร้างภายในข้อต่อ อาการปวดและอาการอักเสบของข้อต่อมักเกิดขึ้นจากการมีพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อภายในและรอบๆ ข้อ เช่น กระดูกอ่อน, กระดูก, เอ็น, เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ในทางการแพทย์อาการปวดที่ข้อต่อ มักจำเพาะเจาะจงหมายถึง ข้ออักเสบ (Arthritis) หรือ อาการปวดข้อ (Arthalgia) ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในข้อเอง อาการปวดที่ข้อต่อสามารถมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเฉพาะขณะมีการขยับของข้อจนถึงปวดรุนแรงจนกระทั่งไม่สามารถขยับข้อได้เลย หรือออกแรงลงน้ำหนักบริเวณข้อที่ปวดแล้วเกิดอาการปวดอย่างรุนแรง ซึ่งลักษณะอาการปวดต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละโรคที่เป็นสาเหตุ สาเหตุดังต่อไปนี้เป็นสาเหตุของอาการปวดที่ข้อต่อที่พบได้ Adult Still’s disease Ankylosing spondylitis (ข้อสันหลังอักเสบติดยึด) Avascular necrosis(กระดูกตายจากการขาดเลือด) Bone cancer (มะเร็งกระดูก) Broken bone (กระดูกหัก) Bursitis(joint inflammation) Complex regional pain syndrome(chronic pain due to a dysfunctional nervous system) Dislocation (ข้อเคลื่อน) Fibromyalgia (ไฟโบรมัยอัลเจีย) Gonococcal arthritis (ข้ออักเสบโกโนเรีย) Gout(เกาท์) Hypothyroidism(ไทยรอยด์ต่ำ) Juvenile idiopathic arthritis(formerly known as […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

อาการข้อติด (Joint Stiffness)

คำจำกัดความอาการข้อติดคืออะไร อาการข้อติด คือ ภาวะที่ข้อต่อในร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัดหรือยากลำบาก ภาวะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความอ่อนแรง หรือจากอาการปวดข้อต่อ โดยผู้ที่มีภาวะข้อติดบางคนสามารถขยับข้อต่อได้เต็มระยะตามปกติ เพียงแต่ต้องออกแรงมากกว่าเดิม อาการข้อติดพบได้บ่อยเพียงใด อาการข้อติดพบได้ทั่วไป ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะสามารถพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ก็ยังเกิดได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการของภาวะข้อติด สัญญาณและอาการที่เกี่ยวข้องของภาวะข้อติด มีดังนี้ ข้อต่อเจ็บหรือบวม มีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว ข้อต่อผิดรูปทรง สาเหตุสาเหตุของอาการข้อติด สาเหตุของอาการข้อติด ประกอบด้วย อายุ อาการข้อติดเกิดขึ้นได้กับคนจำนวนมาก การใช้งานไปนานๆ ย่อมทำให้ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และกระดูก เสื่อมสภาพ หลายคนพบว่าตนเองมีอาการข้อติดหลังตื่นนอน เหตุผลก็เพราะว่า การนอนหลับเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงจะลดจำนวนของเหลวในร่างกายลง โดยเฉพาะในข้อต่อ จึงกลายเป็นเรื่องยากสำหรับการขยับข้อต่อเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis – RA) สาเหตุโดยทั่วไปที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อก็คือโรคข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือหนึ่งในรูปแบบของโรคข้ออักเสบที่พบได้ทั่วไป ปกติแล้วจะปรากฏอาการในกลุ่มคนช่วงอายุ 30 ถึง 60 ปี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จัดเป็นโรคอักเสบชนิดเรื้อรัง แถมยังเป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย ซึ่งหมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีส่วนที่แข็งแรงของร่างกาย เช่น เนื้อเยื่อบุข้อต่อ นี่เอง จึงเป็นสาเหตุของการอักเสบ ความเจ็บปวดและภาวะข้อติด เมื่อเวลาผ่านไป ยังก่อให้เกิดการผิดรูปของข้อต่อและการสึกกร่อนของกระดูกตามมา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่สามารถรักษาได้ จึงไม่สามารถกำจัดอาการได้อย่างหายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ผ่านการรับประทานยา และการรักษาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อตัวโรครุนแรงมากขึ้น สิ่งที่ทำได้คือการจะป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ข้อเสื่อม (Osteoarthritis – OA) […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ข้อไหล่ติด ภัยร้ายวัยทำงานรู้ไว้รักษาทัน

เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ โรคภัยก็เริ่มคืบคลานเข้ามา หันซ้าย หันขวาทีก็ลั่นกร๊อบแกร๊บ โดยเฉพาะวัยทำงานที่นั่งทำงานในห้องแอร์เย็นเฉียบ นั่งทำงานอยู่กับที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรค ข้อไหล่ติด โรคนี้มีอาการและส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย Hello คุณหมอ นำสาระเรื่องนี้มาฝากกัน ภาวะ ข้อไหล่ติด คืออะไร ภาวะข้อไหล่ติด เป็นภาวะที่ข้อไหล่เคลื่อนที่ได้น้อย เมื่อยกแขนขึ้นจะเกิดอาการปวด ไม่ว่าจะยกมือถูหลังก็มีอาการปวด นี่อาจเป็นสัญญาที่บ่งบอกว่าอาจมี ภาวะข้อไหล่ติด โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ไหล่ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มข้อไหล่จะมีการยืดหยุ่น ทำให้ไหล่เคลื่อนไหวได้ง่ายและคล่องตัว แต่เมื่อเนื้อเยื่อหุ้มไหล่เกิดการยึดติด ไม่ยืดหดตามการเคลื่อนไหวของไหล่ ยกไหล่ขึ้นได้ไม่เต็มที่และมีอาการปวดเมื่อยกแขน โดยมากภาวะข้อไหล่ติดมักเกิดกับคนที่มีอายุช่วง 40-60 ปีและเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เป็นเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจมีโอกาสเกิดภาวะโรคข้อไหล่ติดมากกว่าคนทั่วไป สาเหตุของข้อไหล่ติด ข้อไหล่ติดไม่ได้มีสาเหตุอย่างแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ในปัจจุบันมีทฤษฎีเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ปกติระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะมีหน้าที่ในการป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะอื่นๆ จากสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แต่หากระบบภูมิคุ้มกันไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง นอกจากจะไม่ป้องกันแล้วยังโจมตีและทำลายเนื้อเยื่ออีกด้วย หากเนื้อเยื่อถูกทำลายก็จะเกิดการอักเสบ หากการอักเสบมีความรุนแรงขึ้นก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อหุ้มบริเวณไหล่เกิดการหดรัด แข็งตัวจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ นอกจากนี้ภาวะไหล่ติดก็ยังเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก เช่น กล้ามเนื้อฉีกขาด กล้ามเนื้ออักเสบ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ กระดูกบริเวณไหล่หัก กระดูกบริเวรไหล่เคลื่อน การเสื่อมของไหล่ โรคข้ออักเสบ อาการและระยะต่างๆ ของโรค อาการของโรคข้อไหล่ติดแบ่งออกได้ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

โยคะ..วิธีง่ายๆ ที่ได้ผลในการบรรเทาอาการ ปวดจากข้ออักเสบ

สำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบ (arthritis) หลายรายนั้น การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพโดยทั่วไป และช่วยบรรเทาอาการ ปวดจากข้ออักเสบ ได้เป็นอย่างมาก ตราบใดที่คุณใช้วิธีการที่เหมาะสม หากคุณกังวลว่า การเข้ายิมอาจไม่ส่งผลดีสำหรับอาการปวดข้อต่อ วิธีการทดลองในกลุ่มที่มีการควบคุมแบบสุ่มที่ตีพิมพ์ใน Journal of Rheumatology เมื่อไม่นานมานี้พบว่า ผู้ป่วยข้ออักเสบที่เล่นโยคะ สามารถได้รับผลดีทั้งทางร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก นานาประโยชน์ของโยคะ คนจำนวนมากหันมาเล่นโยคะ เนื่องจากเป็นวิธีออกกำลังกายที่ไม่รุนแรง รวมทั้งช่วยลดความตึงเครียดของร่างกาย และทำให้ความยืดหยุ่นของข้อต่อดีขึ้น นักวิจัยได้ค้นพบว่า โยคะสามารถบรรเทาภาวะข้ออักเสบ โดยการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทำให้การทรงตัวดีขึ้น นอกจากนี้ โยคะยังสามารถเล่นร่วมกับการออกกำลังกายประเภทอื่นๆ ได้ โดยใช้เป็นวิธีการวอร์มอัพ หรือการคูลดาวน์หลังการออกกำลังกาย ท่าบริหารเพื่อการยืดเหยียดร่างกายโดยทั่วไป ช่วยทำให้ระยะของการเคลื่อนไหวดีขึ้น ดังนั้น การที่คุณยืดร่างกายในการเล่นโยคะ จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยในเรื่องความยืดหยุ่นของร่างกายได้ ในวันที่คุณมีอาการปวดข้ออักเสบกำเริบขึ้นมา หากเป็นไปได้ อย่าเพิ่งหยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ให้ใช้การออกกำลังกายอย่างเช่น โยคะ ซึ่งจะสามารถช่วยรักษาความยืดหยุ่นของข้อต่อได้ สำหรับผู้ที่เป็นข้ออักเสบ อาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนท่าเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ท่าสุนัขก้ม (Downward facing dog) ซึ่งคุณจำเป็นต้องก้มตัวลง และทรงตัวด้วยมือและเท้าบนพื้น ผู้ที่เป็นข้ออักเสบอาจจำเป็นต้องใช้เก้าอี้ บล็อคหรือกล่อง สายรัด หรืออุปกรณ์ช่วยอื่นๆ เพื่อช่วยทรงตัวในระหว่างการทำท่าบางท่า คำแนะนำที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นข้ออักเสบก็คือ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านข้ออักเสบก่อนเริ่มเล่นโยคะ และควรสอบถามครูสอนโยคะว่า ครูสอนโยคะมีประสบการณ์ในการจัดการกับผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือไม่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน