โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ข้อต่อ ช่วยเชื่อมกระดูกสองส่วนเข้าด้วยกัน เช่น กระดูกหัวเข่า กระดูกหัวไหล่ ส่วนเส้นเอ็น ช่วยเชื่อมกล้ามเนื้อให้ติดกับกระดูก และหากอวัยวะทั้งสองส่วนนี้ผิดปกติ เช่น ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นตามมาได้ แต่ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเอ็นและข้อต่อไม่ได้มีแค่นี้ โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เนื้องอกข้อต่อ หนึ่งในโรคหายาก ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม

หลายคนอาจคุ้นเคย หรือรู้ว่าเนื้องอกสามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกในสมอง ได้ แต่คุณรู้ไหมว่า ที่ข้อต่อของเราก็สามารถเป็นเนื้องอก หรือที่เรียกว่า เนื้องอกข้อต่อ ได้เช่นกัน Hello คุณหมอ มีบทความดี ๆ เกี่ยวกับอาการ และวิธีการรักษาเนื้องอกชนิดนี้เบื้องต้นมาฝาก เพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทัน และระวังตนเองจากภาวะสุขภาพนี้ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำความรู้จักกับ เนื้องอกข้อต่อ กันเถอะ เนื้องอกข้อต่อ (Tenosynovial giant cell tumor หรือ TGCT) จัดเป็นกลุ่มเนื้องอกหายากที่มักเกิดขึ้นในข้อต่อ โดยส่วนใหญ่เนื้องอกนี้จะปรากฎบริเวณไขข้อที่มีชื่อเรียกว่า Synovium และ Bursae ซึ่งเป็นถุงน้ำที่มีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหว รวมถึงเกิดที่ปลอกหุ้มเอ็นได้ด้วย แต่คุณไม่ต้องกังวลใจไป เนื่องจากเนื้องอกข้อต่อจะไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ ปกติเนื้องอกข้อต่อมีหลายประเภท และมีระดับความรุนแรงต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต ดังนี้ เนื้องอกขนาดใหญ่ในปลอกหุ้มเอ็น (GCTTS) เป็นเนื้องอกที่เจริญเติบโตช้าที่สุด ส่วนใหญ่มักเกิดที่บริเวณข้อต่อในมือ เนื้องอกขนาดใหญ่ชนิด Pigmented villonudular synovitis (PVNS) เป็นเนื้องอกที่มีการแพร่กระจาย มักส่งผลกระทบกับข้อต่อบริเวณ ไหล่ ข้อศอก สะโพก […]

สำรวจ โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

5 วิธีลดความเสี่ยงและ ป้องกันข้อเสื่อม

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เคยถูกจัดว่าเป็นสัญญาณเตือนถึงการมีอายุมากขึ้นและความร่วงโรยของวัย เมื่อข้อต่อเริ่มเสื่อม จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณข้อต่อเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย นักวิจัยเผยว่ามีปัจจัยหลายประการ ที่สามารถทำให้เกิดข้อเสื่อม และมันมีความซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเหล่านี้ เราสามารถ ป้องกันข้อเสื่อม ไม่ให้มีอาการเลวร้ายลง หรือไม่ให้เกิดขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ นำ 5 วิธีลดความเสี่ยงและ ป้องกันข้อเสื่อม มาฝากกันค่ะ ควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน ทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเกิดข้อเสื่อมได้มากขึ้น น้ำหนักที่มากขึ้น ทำให้มีแรงกดทับที่ข้อต่อมากขึ้น เช่น ที่สะโพกและเข่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหนึ่งกิโลกรัม เพิ่มแรงกดทับเกือบ 8 กิโลกรัมที่เข่า และเพิ่มแรงกดทับที่สะโพก เมื่อวลาผ่านไป แรงกดที่มากขึ้นจะทำลายกระดูกอ่อนที่ช่วยพยุงข้อต่อ แต่แรงกดทับจำนวนมากที่ข้อต่อ ไม่ใช่ปัญหาเพียงประการเดียว น้ำหนักที่มากขึ้นยังทำให้คุณมีเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้น เนื้อเยื่อไขมันจะสังเคราะห์โปรตีนที่เรียกว่าไซโตไคน์ (Cytokine) ที่กระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย ในข้อต่อนั้น สารไซโตไคน์ทำลายเนื้อเยื่อโดยการเปลี่ยนการทำงานของเซลล์กระดูกอ่อน เมื่อคุณมีน้ำหนักมากขึ้น ร่างกายจะสร้างและปลดปล่อยโปรตีนที่ทำลายเซลล์เหล่านี้ได้มากขึ้น ด้วยการลดน้ำหนัก แม้เพียงสองถึงสามกิโลกรัม คุณก็สามารถลดแรงกดทับ และการอักเสบที่ข้อต่อ ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเสื่อมได้ ควบคุมน้ำตาลในเลือด นักวิจัยเผยว่าการเป็นเบาหวาน สามารถเพิ่มความเสี่ยงสำหรับข้อเสื่อมได้ ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ น้ำตาลในเลือดสูงทำให้กระดูกอ่อนเกิดการติดขัดและฝืดแข็ง และไวต่อแรงกดทับได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการอักเสบในระบบร่างกาย ที่ทำให้เกิดการสูญเสียกระดูกอ่อนได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงสำหรับข้อเสื่อม คุณควรควบคุมน้ำตาลในเลือด […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา คืออะไร และคุณจะรับมือด้วยวิธีอะไรได้บ้าง

หากคุณรู้สึกปวดหลังส่วนล่างเมื่อลุกขึ้นจากเก้าอี้ คุณอาจมี อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sacroiliac Joint Dysfunction) อาการนี้พบได้ทั่วไปมากกว่าที่พวกเราคิด บทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการและวิธีรับมือกับโรคนี้ ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา อาการปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นโรคที่เกิดกับข้อต่อเชิงกราน ที่อยู่บริเวณสะโพก (Sacroiliac joint) อวัยวะส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการรองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบน ที่ส่งไปยังขาของคุณในขณะที่ยืนหรือเดิน จากการศึกษาพบว่า ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับอาการนี้มีถึงร้อยละ 15 ถึง 30 มีอาการ อาจรู้สึกปวดบริเวณสะโพก ที่อาจปวดร้าวลงไปยังต้นขา ก้น ง่ามขา หรือหลังส่วนบน โดยปกติ อาการหลักคืออาการปวดที่หลังส่วนล่าง ในขณะที่ยืนหรือลุกขึ้นในตอนเช้า ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่อาจทำให้เกิดอาการนี้ เช่น การเล่นกีฬา การล้ม การวิ่ง ข้ออักเสบ อายุที่มากขึ้น หรือการตั้งครรภ์ วิธีรับมือกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา การรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ปกติแล้วสามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูการเคลื่อนไหวปกติของข้อต่อ ซึ่งวิธีการดังต่อไปอาจจะช่วยได้ การประคบเย็นหรือร้อนและการพัก แพทย์จะแนะนำการรักษาเหล่านี้ คือ การใช้น้ำแข็งหรือแผ่นประคบเย็น ประคบบริเวณที่เจ็บเป็นเวลา 15 ถึง 20 นาที เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และสามารถทำซ้ำได้เป็นเวลา 2 วันจนถึง 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอาการปวด นอกจากนี้ การใช้ความร้อนประคบหรืออาบน้ำอุ่น ก็สามารถบรรเทาอาการได้ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles bursitis)

เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles bursitis) เป็นการอักเสบที่มีอาการปวดและบวม ที่ถุงน้ำช่วยลดการเสียดสีของเอ็นร้อยหวาย (Achilles bursa) คำจำกัดความ เอ็นร้อยหวายอักเสบคืออะไร เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles bursitis) เป็นการอักเสบที่มีอาการปวดและบวมที่ถุงน้ำช่วยลดการเสียดสีของเอ็นร้อยหวาย (Achilles bursa) ถุงน้ำนี้อยู่ระหว่างผิวหนังและเอ็นร้อยหวายที่ติดกับกระดูกส้นเท้า เป็นถุงของเหลวขนาดเล็กที่อยู่โดยรอบข้อต่อ ในบริเวณที่มีแรงเสียดทานมาก โดยทั่วไปอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อ เอ็น หรือส่วนที่โผล่ออกมาของกระดูก ถุงน้ำลดการเสียดสีจะอยู่ระหว่างเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่รองรับแรงเสียดทานจากการเคลื่อนไหว ถุงน้ำเป็นเสมือนหมอนรองที่อ่อนนุ่มและราบเรียบ สำหรับให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้อย่างไร้ความเจ็บปวด และทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่น และช่วยการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็น พบได้บ่อยเพียงใด เอ็นร้อยหวายอักเสบเป็นอาการปวดเท้าที่พบได้ทั่วไปในนักกีฬา โดยเฉพาะนักวิ่ง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของเอ็นร้อยหวายอักเสบ อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าเกิดจากการบาดเจ็บ โรคประจำตัว หรือการติดเชื้อ จากการใช้งานหนักและการบาดเจ็บ อาการปวดมักเป็นอาการปวดตื้อต่อเนื่อง หรือปวดแสบปวดร้อนที่ส้นเท้าด้านหลัง ที่มีอาการรุนแรงขึ้นได้จากการสัมผัส การกดทับ อย่างเช่นการสวมใส่รองเท้าที่คับแน่น หรือการเคลื่อนไหวของข้อต่อ มักมีอาการบวมที่สังเกตได้บริเวณโดยรอบส้นเท้าด้านหลัง ในกรณีอื่นที่ถุงน้ำอยู่ลึกลงไปภายใต้ผิวหนัง เช่น บริเวณสะโพกหรือไหล่ อาการบวมอาจมองไม่เห็น การเคลื่อนไหวของข้อเท้าและเท้าจะไม่สะดวกโดยเฉพาะในตอนเช้า และหลังจากกิจกรรมใดๆ ที่ต้องใช้เท้า ถ้าเป็นอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบแบบติดเชื้อ จะมีอาการทั้งหมดเหล่านี้ ร่วมกับการมีไข้สูง 38 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า และมีอาการหนาวสั่นแบบมีไข้ นอกจากนี้ผิวหนังโดยรอบข้อต่อที่มีอาการจะมีสีแดง และสัมผัสแล้วจะอุ่นเป็นอย่างมาก อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

นิ้วล็อค โรคยอดฮิตของคนยุคนี้ กับหลากหลายวิธีรักษา

นิ้วล็อค เป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ของคนในยุคนี้ เพราะส่วนใหญ่ต้องใช้นิ้วมือจิ้มคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ หน้าจอแท็บเล็ต หรือหน้าจอสมาร์ทโฟนซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลานาน ๆ การใช้นิ้วมืออย่างหนักทำให้เกิดอาการ นิ้วล็อค ได้ ถ้าคุณอยากรู้ว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และต้องจัดการยังไง ลองอ่านรายละเอียดที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมมาให้ในบทความนี้ดูนะคะ คุณจะได้รู้ว่าตรงกับอาการที่เป็นอยู่หรือเปล่า หากใครเป็นแล้วรักษาด้วยวิธีที่เราแนะนำแล้วได้ผล ก็อย่าลืมแชร์บทความดี ๆ บทความนี้ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันด้วยนะคะ นิ้วล็อค คืออะไร นิ้วล็อค (Trigger Finger) เกิดจากการเสียดสีของเส้นเอ็นในช่องเอ็น จนทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่ปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อนิ้ว ซึ่งทำหน้าที่ในการงอนิ้ว เมื่อมีอาการขึ้นมาจะทำให้เคลื่อนไหวนิ้วได้ยาก และอาจทำให้งอหรือเหยียดนิ้วได้ลำบาก รวมทั้งอาจมีความเจ็บปวด ซึ่งความเจ็บปวดก็จะมีหลายระดับ อาการของนิ้วล็อค คนที่มีปัญหาเรื่องนิ้วล็อค มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บปวดไม่ยอมหายในบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วอื่น ๆ มีตุ่มหรือก้อนนูนรอบ ๆ โคนนิ้วบริเวณที่อยู่ใกล้ฝ่ามือ มีอาการกดเจ็บบริเวณรอบ ๆ โคนนิ้วมือ ขยับนิ้วแล้วมีเสียงแปลก ๆ นิ้วแข็ง ขยับไปมาได้ยาก หากคุณปล่อยไว้โดยไม่รักษา นิ้วล็อคก็อาจมีอาการแย่ลงได้ เช่น นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วอื่น ๆ อาจล็อคอยู่ในท่างอหรือท่าเหยียดตรง จนไม่สามารถขยับเปลี่ยนเป็นท่าอื่นได้ ถ้าไม่ได้ใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วย อาการนิ้วล็อคมักจะแย่ลงในช่วงเช้า แต่เมื่อถึงช่วงกลางวันนิ้วก็จะหายเกร็งและเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ้วล็อค นิ้วของเรามีกระดูกชิ้นเล็ก ๆ อยู่หลายชิ้น โดยมีเส้นเอ็นทำหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกเข้ากับกล้ามเนื้อ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เอ็นร้อยหวายฉีกขาด (Achilles Tendon Rupture)

เอ็นร้อยหวายเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า หากเอ็นร้อยหวายยืดเกินไปหรือหดตัวอย่างรวดเร็ว ก็อาจทำให้ เอ็นร้อยหวายฉีกขาด ได้ คำจำกัดความเอ็นร้อยหวายฉีกขาด คืออะไร ภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดเป็นอาการบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวาย ซึ่งเป็นเส้นเอ็นที่ใหญ่และหนาที่สุดในร่างกายที่อยู่เหนือส้นเท้า เชื่อมต่อส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่อง และส่งผลในการวิ่ง เดิน หรือกระโดด เมื่อเอ็นร้อยหวายยืดเกินขีดจำกัดหรือหดอย่างรวดเร็วก็สามารถส่งผลให้เอ็นร้อยหวายทั้งเส้นหรือบางส่วนฉีกขาดได้ เมื่อเอ็นร้อยหวายฉีกขาด คุณอาจได้ยินเสียงดัง “กึก” ตามด้วยอาการเจ็บแปลบที่บริเวณเหนือส้นเท้า ซึ่งส่งผลให้คุณเดินไม่ถนัดหรือขยับเท้าไม่ได้ คนส่วนใหญ่ที่เอ็นร้อยหวายฉีดขาดจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเอ็นร้อยหวาย แต่ในบางกรณีก็สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เอ็นร้อยหวายฉีกขาด พบบ่อยแค่ไหน ภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดนี้เป็นอาการบาดเจ็บที่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่พบมากกับผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย แต่ภาวะนี้ก็สามารถจัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของเอ็นร้อยหวายฉีกขาด อาการของภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ อยู่ๆ ก็เจ็บแปลบ (เจ็บเหมือนโดนแทงหรือโดนเตะ) บริเวณเหนือส้นเท้า หรือที่น่อง ก่อนอาการจะลดลงเป็นปวดตื้อ ๆ (Dull Ache) ได้ยินเสียง “กึก” จากบริเวณเหนือส้นเท้า บริเวณเหนือส้นเท้าบวม ยืนหรือเดินลำบาก โดยเฉพาะเวลาขึ้นลงเนินหรือบันได งอข้อเท้าไม่ได้ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดถือเป็นเหตุฉุกเฉิน หากเกิดขึ้นควรเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที และควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยหลักการ หลักการ R.I.C.E. คือ R – Rest: พัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้เอ็นร้อยหวายยิ่งฉีกขาดหรือถูกทำลาย I – Ice: ประคบน้ำแข็ง หรือประคบเย็น เพื่อลดอาการเจ็บปวด บวม ช้ำ C – […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน