backup og meta

กานพลู ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 28/09/2022

    กานพลู ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้

    กานพลู เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่นิยมใช้แต่งกลิ่นอาหาร นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม และยังอุดมไปด้วยสารอาหารและสารประกอบหลายชนิด เช่น ยูจีนอล (Eugenol) ฟีนอลิก (Phenolic) เอทิลอะซิเตท (Ethyl Acetate) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ปรับปรุงสุขภาพตับ และป้องกันมะเร็ง

    คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

    กานพลู ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 274 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น

    นอกจากนี้ กานพลูยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โซเดียม แมงกานีส  แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินเค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 4 วิตามินบี 6

    ประโยชน์ของกานพลูที่มีต่อสุขภาพ

    กานพลูมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของกานพลูในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

    1. อาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

    น้ำมันกานพลูมีสารประกอบบางชนิด เช่น ยูจีนอล กรดโอเลอิก (Oleic Acids) ลิปิด (Lipid) ที่อาจมีฤทธิ์ต้านจุลชีพได้  งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดกานพลูและโหระพา ตีพิมพ์ใน Sultan Qaboos University Medical Journal เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549  พบว่า สารสกัดจากน้ำมันของกานพลู เช่น ยูจีนอล กรดโอเลอิก ลิปิด อาจมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต่อต้านแบคทีเรียและยีสต์ โดยเฉพาะเชื้อราแคนดิดา (Candida) และน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรยังทำหน้าที่เป็นสารปกป้องพืช โดยปกป้องพืชจากสัตว์กินพืชและเชื้อโรคที่ร้ายแรง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับฤทธิ์ในการต้านจุลชีพของกานพลูต่อไป

    1. อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

    กานพลูอาจมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ควบคุมฮอร์โมนความอิ่มและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับผลของกานพลูและขิงหมักต่อระดับกลูโคสในเลือด เลปติน (Leptin) อินซูลิน และตัวรับอินซูลินในอาหารที่มีไขมันสูง ตีพิมพ์ใน Nigerian Journal of Physiological Sciences เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 พบว่า การบริโภคอาหารเสริมกานพลูอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมระดับฮอร์โมนเลปติน หรือฮอร์โมนความอิ่ม เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินที่ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของการพลูในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

    1. อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพกระดูก

    การพลูมีสารประกอบฟีนอลิก (Phenolic Compounds) อย่างยูจีนอล (Eugenol) ที่อาจช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกและบำรุงรักษากระดูก โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดจากกานพลูที่อุดมไปด้วยยูจีนอลซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำรุงรักษากระดูก ตีพิมพ์ในวารสาร Natural Product Research เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 พบว่า กานพลูแห้งอุดมไปด้วยสารประกอบฟีนอลิก ได้แก่ ยูจีนอล ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของฟลาโวน (Flavones) ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) และฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีประสิทธิภาพในการรักษากระดูกในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่เกิดจากภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ โดยการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของกานพลูในการปรับปรุงสุขภาพกระดูก

    1. อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพตับ

    น้ำมันกานพลูและสารสกัดยูจีนอลจากน้ำมันกานพลู อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพตับและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับตับได้  งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับน้ำมันกานพลูและยูจีนอลที่มีผลต่อการป้องกันไขมันพอกตับและภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ตีพิมพ์ใน Journal of Medicinal Food เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557  พบว่า น้ำมันหอมระเหยกานพลูและองค์ประกอบหลักอย่างยูจีนอล อาจช่วยปรับปรุงการทำงานของตับ ลดการอักเสบ และลดผลกระทบจากปฏิกิริยาออกซิเดชันเนื่องจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยป้องกันไขมันพอกตับและภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

    1. อาจช่วยป้องกันมะเร็ง

    สารสกัดจากกานพลูอย่างเอทิลอะซิเตท (Ethyl Acetate) และกรดโอเลโนลิก (Oleic Acid) อาจช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดจากกานพลูในการยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกและส่งเสริมวัฏจักรการตายของเซลล์ ตีพิมพ์ในวารสาร Oncology Research and Treatment เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 พบว่า กานพลูมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส รวมทั้งมีสารสกัดเอทิลอะซิเตทและกรดโอเลโนลิก ที่อาจมีฤทธิ์ต้านเนื้องอกและเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในมนุษย์หลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ

    ข้อควรระวังในการบริโภคกานพลู

    การพลูเป็นเครื่องเทศและพืชสมุนไพรที่อาจมีข้อควรระวังในการบริโภค ดังนี้

    • การใช้น้ำมันกานพลูในบางคนอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจ หรืออาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ทำให้มีอาการผื่นแดง ผิวแห้งเป็นขุยและคัน
    • เด็กไม่ควรบริโภคน้ำมันกานพลู เนื่องจาก น้ำมันกานพลูอาจมีฤทธิ์ทำลายตับ ก่อให้เกิดอาการชัก อาจเกิดผลข้างเคียงอย่างอาการตับวายและปัญหาการแข็งตัวของเลือด โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน European Journal of Pediatrics เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 ศึกษาเกี่ยวกับพิษจากน้ำมันหอมระเหย พบว่า มีเด็กชายอายุ 15 เดือน เป็นโรคตับวายเฉียบพลันหลังจากกินน้ำมันกานพลู 10 มิลลิลิตร เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 28/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา