backup og meta

มะยม ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 20/11/2023

    มะยม ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

    มะยม เป็นผลไม้รสเปรี้ยว ฉ่ำน้ำ ผลอ่อนมีสีเขียว นิยมรับประทานเป็นของกินเล่น จิ้มหรือคลุกกับเครื่องปรุงต่าง ๆ และอาจใช้เป็นพืชสมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าอักเสบ โรคทางเดินหายใจ การติดเชื้อ ปกป้องตับ รวมถึงยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ นอกจากนี้ มะยมยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย ปกป้องตับและลดระดับน้ำตาลในเลือด

    คุณค่าทางโภชนาการของมะยม

    มะยม ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 16 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น

    นอกจากนี้ มะยมยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แคโรทีน (Carotene) วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี

    ประโยชน์ของมะยมที่มีต่อสุขภาพ

    มะยมมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของมะยมในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

  • อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบและป้องกันโรค

  • มะยมอาจนำมาใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคทางเดินหายใจ เนื่องจากอุดมไปด้วยสารต้านอนมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ฟีนอลิก (Phenolic) ซึ่งอาจช่วยต้านการอักเสบ ต้านจุลชีพ และอาจช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด

    โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Ethnopharmacology เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ศึกษาเกี่ยวกับสารพฤกษเคมีและคุณสมบัติทางยาของมะยม พบว่า สารสกัดจากผล เปลือก ใบ และรากของมะยมอุดมไปด้วยสารประกอบ เช่น ไกลโคไซด์ (Glycoside) เซสควิเทอร์พีน (Sesquiterpenes) ไดเทอร์พีน (Diterpene) ไตรเทอร์พีน (Triterpene) ซึ่งมีคุณสมบัติทางยาที่ช่วยปกป้องตับ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบและต้านจุลชีพ ที่อาจช่วยป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น การอักเสบ โรคไขข้อ หลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจ โรคตับ โรคเบาหวาน

    1. อาจช่วยจัดการกับโรคเบาหวาน

    มะยมเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ ฟีนอลิก เอทานอล (Ethanol) ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย และลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้

    โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน International Food Research Journal เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านเบาหวานของมะยม พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะยม เช่น เอทานอล ฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบของเซลล์และลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจช่วยป้องกันและจัดการกับโรคเบาหวานได้  ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของมะยมในการป้องกันและจัดการกับโรคเบาหวาน

    1. อาจช่วยปกป้องสุขภาพตับ

    มะยมอุดมไปด้วยเอทานอลซึ่งมีหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีสรรพคุณทางยา อาจช่วยปกป้องสุขภาพตับจากพิษของยาและผลข้างเคียงจากการใช้ยา

    โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Complementary and Integrative Medicine เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของมะยมที่อาจช่วยป้องกันการบาดเจ็บของตับที่เกิดจากการใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) และการอักเสบที่เกิดจากอนุมูลอิสระ พบว่า มะยมใช้เป็นยาบำรุงตับในยาแผนโบราณของอินเดีย เนื่องจากอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเอทานอลถึง 70% ซึ่งอาจมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านความเป็นพิษของยาอะเซตามิโนเฟนที่ส่งผลต่อตับและอาจช่วยป้องกันผลข้างเคียงของยา เช่น อาการง่วงซึม ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของมะยมในการปกป้องสุขภาพตับ

    1. อาจช่วยต้านจุลชีพและป้องกันการติดเชื้อ

    มะยมอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งอาจช่วยป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และยังอาจช่วยรักษาแผลที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย

    โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cogent Biology เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบสารต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากน้ำตาลที่สูงขึ้นและฤทธิ์ต้านจุลชีพ พบว่า มะยมเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เอทานอล ฟีนอลิก ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพ จึงอาจช่วยรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ ทั้งยังเป็นผลไม้ที่อาจช่วยรักษาแผลเปื่อย ช่วยสมานแผล ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

    1. อาจมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ

    สารประกอบที่พบในมะยมหลายชนิด เช่น วิตามินซี กรดทาร์ทาริก (Tartaric Acid) แทนนิน (Tannin)  มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและมีความเป็นกรดสูง จึงอาจใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ในผู้ที่มีอาการท้องผูกได้

    โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cogent Biology เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบสารต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากน้ำตาลที่สูงขึ้นและฤทธิ์ต้านจุลชีพ พบว่า มะยมมีสารประกอบหลายชนิด ได้แก่ วิตามินซี กรดทาร์ทาริก แทนนิน อะดีโนซีน (Adenosine) แคมป์เฟอรอล (Kaempferol) และกรดไฮโปแกลลิก (Hypogallic Acid) ที่อาจมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทั้งยังช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไขมันในเลือดสูงได้อีกด้วย

    ข้อควรระวังในการบริโภคมะยม

    การบริโภคมะยมอาจมีข้อควรระวังบางประการ ดังนี้

    • มะยมมีรสชาติเปรี้ยวมาก มีกรดสูงและอาจมีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้มีอาการท้องเสีย เสียดท้องและปวดท้องได้
    • สำหรับผู้ที่ใช้มะยมเป็นยารักษาโรคหรือบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้เสมอ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากใช้ในปริมาณมาก
    • น้ำยางจากเปลือกและรากของต้นมะยมมีความเป็นพิษเล็กน้อย หากรับประทานอาจทำให้มีอาการง่วงซึมและปวดหัว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 20/11/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา