backup og meta

ใบโหระพา คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ และข้อควรระวังการรับประทาน

ใบโหระพา คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ และข้อควรระวังการรับประทาน

ใบโหระพา เป็นสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์กะเพรา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และแถบทวีปเอเชียและแอฟริกา ใบโหระพามีลักษณะเป็นใบสีเขียว บางสายพันธุ์อาจมีสีม่วงหรือสีแดง มีกลิ่นหอมเฉพาะ นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู อีกทั้งใบโหระพายังมีสารอาหารสำคัญ เช่น ลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) แคลเซียม วิตามินเอ ที่อาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อได้

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของใบโหระพา

ใบโหระพา 5 กรัม หรือ 2 ช้อนโต๊ะ อาจให้พลังงาน 1.22 กิโลแคลอรี่ และคุณค่าโภชนาการ ดังนี้

นอกจากนี้ ใบโหระพายังมีวิตามินเอ วิตามินเค ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 ลูทีน และซีแซนทีน ที่อาจช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังได้

ประโยชน์ของใบโหระพาต่อสุขภาพ

ใบโหระพามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของใบโหระพาในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

  • อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

ใบโหระพา มีแร่ธาตุสำคัญอย่าง แมกนีเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ และสารยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่สามารถพบได้มากในสมุนไพรและเครื่องเทศ อาจช่วยลดความดันโลหิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ที่อาจส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

จากการศึกษาในวารสาร The Ocimum Genome ปี พ.ศ. 2561 ที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของพืชตระกูลกะเพรา เช่น กะเพรา โหระพา ใบแมงลัก ในการต่อต้านความผิดปกติของหัวใจ พบว่า โหระพามีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีบทบาทสำคัญที่อาจช่วยรักษาและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการลดปริมาณไขมันในเลือด รวมถึงอาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ลดความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงในปอด

  • อาจช่วยลดการอักเสบ

ใบโหระพาอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารยูจีนอล กรดลิโนเลอิก (Linoleic acid) ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบ จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น อัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ โรคลำไส้อักเสบ

จากการศึกษาใน Journal of Food Science and Technology ปี พ.ศ. 2560 ที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของน้ำมันหอมระเหยจากโหระพา โดยการนำไปกลั่นและสกัดออกมาเป็นน้ำมันโหระพา พบว่า โหระพามีสารเมทิลยูจินอล  (Methyl eugenol) กรดลิโนเลอิก และลินาลูล (Linalool) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยบรรเทาความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ที่ส่งผลให้เซลล์และเนื้อเยื่อเสียหายหรือเสื่อมสภาพ และช่วยต้านการอักเสบ จึงอาจนำไปทำเป็นยาสมุนไพรธรรมชาติเพื่อรักษาโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำน้ำมันโหระพาไปใช้เป็นยา

  • อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ

ใบโหระพา มีคุณสมบัติที่อาจช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ จากแบคทีเรียบางชนิดได้ จากการศึกษาในวารสาร Molecules ปี พ.ศ. 2556 ที่ศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพของการใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นสารต้านแบคทีเรียเพื่อลดการติดเชื้อเรื้อรัง โดยการนำเชื้ออีโคไล (E. coli) 60 สายพันธุ์ จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ ติดเชื้อในระบบย่อยอาหาร ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และติดเชื้อทางผิวหนัง มาวิเคราะห์เกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะด้วยการทดสอบกับน้ำมันหอมระเหยโหระพา พบว่า น้ำมันหอมระเหยโหระพามีประสิทธิภาพสูงที่อาจช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต ที่อาจนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลให้ติดเชื้อเรื้อรังไปยังบริเวณอื่น ๆ ในร่างกายได้ 

  • อาจช่วยลดริ้วรอย

สารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในใบโหระพา เช่น ฟีนอล (Phenol) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) อาจช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ที่ส่งผลให้เกิดริ้วรอย เนื่องจากแสงยูวี หรืออายุมากขึ้น จากการศึกษาในวารสาร DARU Journal of Pharmaceutical Sciences ปี พ.ศ. 2554 ที่ศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดสูตรและการประเมินผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีสารสกัดจากโหระพา พบว่า ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนประกอบของสารสกัดของโหระพาในรูปแบบผง 400 กรัม มีสารประกอบฟีนอล ฟลาโวนอยด์ ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยลดการเกิดริ้วรอยและลดความหยาบกร้านของผิว และอาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้

ข้อควรระวังในการรับประทานใบโหระพา

ข้อควรระวังในการรับประทานใบโหระพา มีดังนี้

  • ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) ยาดาร์บิการ์แทน (Dabigatran) ไรวาโรซาแบน (Rivaroxaban) ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานใบโหระพา หรือจำกัดปริมาณการรับประทานใบโหระพา เนื่องจากใบโหระพามีวิตามินเคสูง ที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว จึงอาจลดประสิทธิภาพของยาเหล่านี้ได้
  • ผู้ที่รับประทานยารักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานใบโหระพาในรูปแบบอาหารเสริม เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยากับยา จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลงรวดเร็วจนเกินไป
  • โหระพาอาจส่งผลให้มีภาวะเลือดออกผิดปกติในระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดได้
  • บางคนอาจมีอาการแพ้ใบโหระพา หากสังเกตพบอาการแพ้หลังรับประทานใบโหระพา เช่น ลมพิษ ผื่นคัน หายใจลำบาก ควรหยุดรับประทานโหระพา รับประทานยาแก้แพ้ แล้วเข้าพบคุณหมอในทันทีหากมีอาการที่รุนแรง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Health Benefits of Basil. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-basil. Accessed June 06, 2022 

Basil, fresh. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/172232/nutrients. Accessed June 06, 2022  

Ocimum: The Holy Basil Against Cardiac Anomalies. https://www.researchgate.net/publication/328069487_Ocimum_The_Holy_Basil_Against_Cardiac_Anomalies. Accessed June 06, 2022  

Evaluation of the chemical composition, antioxidant and anti-inflammatory activities of distillate and residue fractions of sweet basil essential oil. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5495712/. Accessed June 06, 2022  

The Potential of Use Basil and Rosemary Essential Oils as Effective Antibacterial Agents. https://www.mdpi.com/1420-3049/18/8/9334/htm. Accessed June 06, 2022  

Formulation and in vivo evaluation for anti-aging effects of an emulsion containing basil extract using non- invasive biophysical techniques.  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3304398/. Accessed June 06, 2022  

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/06/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

แซลมอน สารอาหาร และประโยชน์ต่อสุขภาพ

ผักกาดขาว สารอาหารและข้อควรระวังในการบริโภคต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา