backup og meta

อาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ที่คุณควรลอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2020

    อาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ที่คุณควรลอง

    น้ำตาลในเลือดหากมีระดับที่สูงกว่าปกติอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหัวใจ ปัญหาไต และปัญหาการมองเห็น ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั้น มาจากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม ความเครียด และอาหาร ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูงจึงต้องมีการควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และ อาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ที่ Hello คุณหมอ นำมาเสนอวันนี้ ถือเป็นตัวเลือกที่ดี ที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

    ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

    น้ำตาลในเลือด นั้นได้มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แล้วถูกย่อยจนเป็นน้ำตาล เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างสมดุล ส่วนน้ำตาลส่วนเกินจะถูกเก็บไว้ในเซลล์เพื่อใช้ในภายหลัง แต่หากร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่าปกติจนเกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (High blood sugar) อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวาน หากปล่อยให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงโดยไม่ได้รับการศึกษาอาจทำให้หลอดเลือดที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของอวัยวะเกิดความเสียหายได้ จนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต การมองเห็น และปัญหาระบบประสาท การรับประทานอาหารจึงมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นคุณควรรู้ว่าควรเลือกรับประทานอาหารแบบเพื่อเป็นผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด

    อาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้าง

    สำหรับผู้ที่มีปัญหาภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) โรคเบาหวาน หรือภาวะอื่นๆ ที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด การเลือกรับประทานอาหารจึงเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ แม้ว่าปัจจัยอื่นๆ อย่าง ความเครียด พันธุกรรมจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่การรับประทานอาหารนั้นมีส่วนสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

    ผลไม้

    ผลไม้ส่วนใหญ่นั้นดีต่อสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลน้อยกว่า 55 เนื่องจากผลไม้ส่วนใหญ่มีปริมาณไฟเบอร์และมีน้ำเป็นส่วนประกอบจำนวนมาก จึงมีน้ำตาลจากธรรมชาติทีเรียกว่า ฟรักโตส อย่างสมดุล แต่กหากเป็นผลไม้ที่สุกที่มีดัชนีน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น หรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลมาก อาจไม่ดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไร จากการศึกษาในปี 2013 พบว่าผู้ที่บริโภคผลไม้ทั้งลูก โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่ แอปเปิล ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

    ถั่ว

    ถั่วเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ และมีค่าดัชนีน้ำตาลน้อยกว่า 55 นอกจากนี้ถั่วยังให้โปรตีนและสารอาหารอื่นๆ ในปริมาณที่สูงด้วย ดังนี้  สารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์ แมกนีเซียมและโพแทสเซียม จากการทบทวนการศึกษาในปี 2014 พบว่าการรับประทานถั่วนั้นมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่สำคัญต้องเลือกถั่วที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งหรือเพิ่มน้ำตาล

    กระเทียม

    กระเทียมถือเป็นหนึ่งในอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานนั้นควรรับประทาน เพราะในกระเทียมมีสารประกอบที่มีส่วนช่วยลดน้ำตาลในเลือด โดยมีส่วนช่วยในการปรับปรุงความไวและการหลั่งอินซูลิน

    จากการศึกษาในปี 2013 ที่ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคอ้วนจำนวน 60 คนรับประทานยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานที่มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพียงอย่างเดียว ส่วนอีกกลุ่มมีการรับประทานยาเมทเฟอร์มินร่วมกับกระเทียม วันละสองครั้งหลังอาหารเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ พบว่าผู้ที่รับประทานยาเมทเฟอร์มินร่วมกับกระเทียม ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

    โยเกิร์ต

    การรับประทานโยเกิร์ตแบบธรรมชาติทุกๆ วันนั้นมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ ปกติแล้วผลิตภัณฑ์จากนมประเภทอื่นๆ ดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยง แต่โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน แต่ต้องมีความระมัดระวังในการเลือกโยเกิร์ต ควรเลือกโยเกิร์ตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลไม่เกิน 50 ทางที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงโยเกิร์ตที่มีการปรุงแต่งรสชาติ หรือการเพิ่มความหวาน

    อาหารทะเล

    อาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็นปลา หอย ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ แถมยังมีไขมัน วิตามินและแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

    โปรตีน เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โปรตีนนั้นช่วยให้การย่อยอาหารช้าลงและป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นหลังมื้ออาหาร และยังช่วยให้รู้สึกอิ่มได้ นอกจากนี้การเลือกรับประทานปลาที่มีไขมันสูงอย่าง ปลาแซลมอน ปลาซาดีนยังช่วยเพิ่มการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย

    ฟักทองและเมล็ดฟักทอง

    ฟักทองเป็นพืชที่อุมดมไปด้วยไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ฟักทองยังมีคาร์โบไฮเดรตสูง ที่เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) ซึ่งได้ทำการศึกษาแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนเมล็ดฟักทองเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพทำให้ เมล็ดฟักทองเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

    กระเจี๊ยบเขียว

    กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารประกอบมากมายที่มีส่วนช่วยในการลดน้ำตาลในเลือด เช่น เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารต้านอนุมูลอิสระโฟลวานอยด์

    ไข่

    ไข่ถือเป็นหนึ่งในซุปเปอร์ฟู้ด ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูง ไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี แถมยังมีวิตามินและเกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพ จากการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าไข่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา