backup og meta

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต มีอะไรบ้าง

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต มีอะไรบ้าง

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต หมายถึง อาหารที่มีโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสในระดับต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต หรืออาจรวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคไต ไตของผู้ป่วยจะเสื่อมสภาพและทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจึงไม่สามารถกำจัดโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสส่วนเกินได้ตามปกติ จึงควรระมัดระวังในการรับประทานอาหารให้เหมาะสม

[embed-health-tool-bmi]

โรคไต คืออะไร มีอาการอย่างไร

โรคไตเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง มักเกิดจากการที่ไตได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือเมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือติดเชื้อบริเวณไตบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือดได้ตามปกติ จนทำให้ร่างกายสะสมของเหลวหรือสารอาหารส่วนเกินไว้ในปริมาณมาก และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคไตมักมีอาการปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หน้าและเท้าบวม ผิวแห้งและคัน ผิวซีด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้ตามปกติ เจ็บหน้าอก

หากสงสัยว่าตนเองอาจป่วยเป็นโรคไต ควรไปหาคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต ควรเป็นอย่างไร

เมื่อเป็นโรคไต คุณหมอมักแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสารอาหารบางชนิด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

  • โซเดียม เป็นธาตุอาหารที่ช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกาย ผู้ป่วยโรคไตควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน เพราะไตของผู้ป่วยไม่สามารถกรองและขับโซเดียมออกจากร่างกายได้ตามปกติ ทำให้ระดับของเหลวในร่างกายมีปริมาณสูงขึ้น และอาจนำไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น แข้งบวม ความดันโลหิตสูง หายใจไม่ออก
  • โพแทสเซียม เมื่อเป็นโรคไต ไตของผู้ป่วยจะไม่สามารถจัดการโพแทสเซียมส่วนเกินในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโพแทสเซียมส่วนเกินจะไม่ถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่จะถูกส่งไปยังไตและย้อนกลับเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง โดยโพแทสเซียมส่วนเกินในเลือดมักก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการมีโพแทสเซียมในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคไตควรบริโภคโพแทสเซียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน
  • ฟอสฟอรัส ไตของผู้ป่วยโรคไตจะไม่สามารถจัดการปริมาณฟอสฟอรัสส่วนเกินได้เหมือนคนทั่วไป ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงมีปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดสูง ซึ่งอาจส่งผลให้กระดูกเปราะ เป็นโรคหัวใจ ปวดตามข้อ หรือเสียชีวิตได้ โดยทั่วไป คุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตบริโภคฟอสฟอรัสไม่เกิน 800-1,000 มิลลิกรัม/วัน

นอกจากนี้ แม้ว่าโปรตีนจะจำเป็นต่อการสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และต่อสู้กับเชื้อโรค แต่ผู้ป่วยโรคไตควรบริโภคโปรตีนแบบจำกัดปริมาณ หรือประมาณ 600-800 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน เนื่องจากไตของผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถกำจัดของเสียจากการเผาผลาญโปรตีนได้ทั้งหมดและหากมีของเสียหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดอาจก่อให้เกิดอาการมึนงง อาเจียน และหมดสติได้

งานวิจัยเรื่องการบริโภคโปรตีนและโรคไตเรื้อรัง ตีพิมพ์ในวารสาร Current Opinion in Clinical Nutrition & Metabolic Care ปี พ.ศ. 2560 ระบุว่า การบริโภคโปรตีนในปริมาณมาก อาจทำให้ความดันในกระจุกเลือดฝอยของไตเพิ่มสูงขึ้น และไตมีอัตราการกรองของเสียที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้กระจุกเลือดฝอยเสียหาย และอาการของโรคไตเรื้อรังแย่ลงได้

นอกจากนั้น ในงานวิจัยยังระบุว่า ผู้ป่วยอาจเลือกบริโภคอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณน้อยลง แทนการฟอกไต นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการฟอกไตแล้ว ยังอาจช่วยรักษาไตให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต มีอะไรบ้าง

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต หมายถึง อาหารที่มีธาตุอาหารโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสในระดับต่ำ ซึ่งได้แก่

  • ผลไม้ เช่น องุ่น เชอร์รี่ แอปเปิล ลูกพลัม สับปะรด ลูกพีช
  • ผัก เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี หัวหอม มะเขือม่วง หัวไชเท้า พริกหยวก กระเทียม เห็ดชิตาเกะ แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง
  • โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ส่วนไม่ติดมัน ไข่ อาหารทะเลที่ไม่เติมเกลือ
  • คาร์โบไฮเดรต เช่น ขนมปังขาว แครกเกอร์แบบไม่มีเกลือ เส้นพาสต้า
  • เครื่องดื่ม เช่น น้ำเปล่า ชาที่ไม่เติมน้ำตาล

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานอาจเลือกรับประทานอาหารแบบ DASH หรือ Dietary Approaches to Stop Hypertension ซึ่งเป็นการบริโภคโซเดียมและไขมันอิ่มตัวในปริมาณน้อยลง และเพิ่มการบริโภคใยอาหาร แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียมในมื้ออาหารให้มากขึ้น เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตและช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการบริโภคอาหารแบบ DASH ต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย เผยแพร่ในวารสาร Kidney International ปี พ.ศ. 2562 นักวิจัยระบุว่า การรับประทานอาหารแบบ DASH ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงของโรคไตรวมถึงภาวะไตวายระยะสุดท้ายซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนระดับรุนแรงของโรคไตได้

นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อมูลของผู้ใหญ่อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 1,110 ราย ซึ่งมีภาวะความดันโลหิตสูงและเป็นโรคไตเรื้อรัง นักวิจัยพบว่า การไม่ปฏิบัติตามแนวทางการบริโภคอาหารแบบ DASH สัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย ในผู้ที่เป็นโรคไตและมีความดันโลหิตสูงในระดับปานกลาง

ทั้งนี้ การบริโภคอาหารแบบ DASHจะมีสัดส่วนการบริโภคอาหารแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับจำนวนพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายต้องการต่อวัน เช่น หากร่างกายต้องการพลังงาน 2,000 แคลอรี่/วัน ควรบริโภคอาหารตามสัดส่วนดังต่อไปนี้

  • ธัญพืช ประมาณ 96-128 กรัมวัน
  • ผัก ประมาณ 320-400 กรัม/วัน
  • ผลไม้ ประมาณ 320-400 กรัม/วัน
  • ผลิตภัณฑ์จากนมแบบไขมันต่ำ ประมาณ 480-720 มิลลิลิตร/วัน
  • เนื้อสัตว์หรือปลาแบบไร้มัน ประมาณ 450 กรัม/วัน หรือต่ำกว่า
  • ถั่วและเมล็ดพืช ประมาณ 12-150 กรัม/สัปดาห์
  • ไขมันและน้ำมัน ประมาณ 10-15 มิลลิลิตร/วัน
  • น้ำตาล ประมาณ 20 กรัม/สัปดาห์ หรือต่ำกว่า

อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารแบบ DASH อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตทุกคน ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจรับประทานอาหารตามสูตรข้างต้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการรักษา

อาหารที่คนเป็นโรคไตควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

เมื่อเป็นโรคไต อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือบริโภคในปริมาณน้อย ได้แก่

อาหารโซเดียมสูง

  • เครื่องปรุงรสที่มีความเค็ม เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว
  • อาหารฟาสฟู้ดต่าง ๆ เช่น แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์
  • อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง

อาหารโพแทสเซียมสูง

  • ผลิตภัณฑ์จากนมรูปแบบต่าง ๆ

อาารฟอสฟอรัสสูง

  • ผักบางชนิด เช่น มันฝรั่ง อะโวคาโด ส้ม บรอกโคลี แครอท มะเขือเทศ ผักใบเขียวต่าง ๆ ยกเว้นผักเคล
  • ผลไม้บางชนิด เช่น กล้วย ส้ม เมลอน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High potassium (hyperkalemia): Causes, prevention and treatment. https://www.kidneyfund.org/living-kidney-disease/health-problems-caused-kidney-disease/high-potassium-hyperkalemia-causes-prevention-and-treatment#:~:text=If%20you%20have%20kidney%20disease,and%20back%20into%20your%20bloodstream. Accessed August 24, 2022

Chronic kidney disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-kidney-disease/symptoms-causes/syc-20354521. Accessed August 24, 2022

Chronic Kidney Disease. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/diet-and-chronic-kidney-disease. Accessed August 24, 2022

Potassium. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/potassium/.

Dietary protein intake and chronic kidney disease. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27801685/. Accessed August 24, 2022

Eating Right for Chronic Kidney Disease. https://www.niddk.nih.gov/health-information/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/eating-nutrition. Accessed August 24, 2022

Dietary protein intake and chronic kidney disease. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27801685/. Accessed August 24, 2022

Nutrition and Early Kidney Disease (Stages 1–4). https://www.kidney.org/atoz/content/nutrikidfail_stage1-4#protein. Accessed August 24, 2022

Poor accordance to a DASH dietary pattern is associated with higher risk of ESRD among adults with moderate chronic kidney disease and hypertension. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6602537/#:~:text=Low%20accordance%20to%20a%20DASH,blacks%20and%20persons%20with%20diabetes.&text=The%20constituents%20of%20one’s%20diet,those%20with%20chronic%20medical%20conditions. Accessed August 24, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/09/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อข้องใจ คนเป็นโรคไต ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ปลอดภัยจริงเหรอ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต อาหารประเภทไหนที่ควรรับประทานและหลีกเลี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 09/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา