โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยแบ่งคำถาม-คำตอบ เป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้ [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง ถึงแม้ว่าไข้หวัดจะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายคนมักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไข้หวัด ซึ่งอาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้น ด้วยการนำ 4 คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มาฝากกันค่ะ ไข้หวัดเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จริงหรือไม่ จริง ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่าผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี และในวันเด็กอาจป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก โรคไข้หวัดเกิดจากไวรัส จริงหรือไม่ จริง โรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinoviruses) รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดหวัดอย่างไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นต้น ไข้หวัด รักษาให้หายขาดได้ จริงหรือไม่ ไม่จริง แต่เราสามารถเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ รับประทานยาแก้ปวด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัด […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

ไข้หวัด

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคทางเดินหายใจ

เสมหะมีเลือดปน เกิดจากอะไร อันตรายไหม

อาการไอแล้ว เสมหะมีเลือดปน หรือเสมหะเป็นสีแดง อาจเกิดจากเส้นเลือดฝอยในลำคอแตกหลังไออย่างรุนแรง ซึ่งพบได้ในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ การอักเสบเรื้อรังในปอด โดยส่วนใหญ่ ไอแล้วมีเสมหะปนเลือดมักไม่ได้เกิดจากภาวะสุขภาพที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม หากอาการไอแล้วเสมหะมีเลือดปนเป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เสมหะมีเลือดปน คืออะไร เสมหะมีเลือดปนเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อไอแล้วพบว่าเสมหะหรือน้ำลายมีเลือดปนออกมา เลือดอาจเป็นสีชมพู สีแดง หรือสีสนิม มักออกในปริมาณน้อยและเป็นฟอง เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่มักไม่ใช่อาการรุนแรงหรือเป็นอันตราย เช่น มีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในทางเดินหายใจ ทางเดินหายใจระคายเคืองจากการสูบบุหรี่ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด แต่หากเป็นเรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ ควรไปหาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป เสมหะมีเลือดปน ต่างจาก อาเจียนเป็นเลือด อย่างไร เสมหะมีเลือดปนแตกต่างไปจากการอาเจียนเป็นเลือด (Hematemesis) ตรงที่อาการไอแล้วพบว่าเสมหะมีเลือดปนเล็กน้อย มักเป็นเลือดที่มาจากเส้นเลือดฝอยแตกภายในปากหรือลำคอหลังจากมีอาการไอเรื้อรัง ส่วนอาการอาเจียนเป็นเลือด มักเกี่ยวข้องกับอาการเลือดออกภายในที่อาจเกิดจากหลอดเลือดของอวัยวะในร่างกายบริเวณระบบทางเดินอาหารส่วนบนเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่าดูโอดีนัม (Duodenum) ซึ่งควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาอย่างตรงจุด เสมหะมีเลือดปน เกิดจากอะไร โดยทั่วไปแล้ว อาการไอแล้วพบว่าเสมหะมีเลือดปน มักสัมพันธ์กับการติดเชื้อบางอย่าง หรือภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อย เช่น โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) เกิดจากเยื่อบุหลอดลมซึ่งเป็นส่วนที่นำอากาศเข้าและออกจากปอดอักเสบ ทำให้หลอดลมบวมและตีบ ส่งผลให้อากาศไหลผ่านได้ยากขึ้น […]


โรคทางเดินหายใจ

แพทย์แนะสร้างภูมิด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เกราะป้องกันโรคปอดอักเสบ!

แพทย์เตือนเร่งสร้างภูมิด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หนึ่งในเกราะป้องกันโรคปอดอักเสบ ลดอาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต    ด้วยสถานการณ์โรคปอดอักเสบ ถือเป็นโรคติดเชื้อที่มีอุบัติการณ์การเสียชีวิตทั่วโลกกว่า 2.5 ล้านคน ในปี 2562 โดยในจำนวนนี้เป็นเด็กกว่า 672,000 คน และในสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกกว่า 2 ล้านคน ในปี 2563 รวมเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งสิ้นกว่า 4 ล้านคน ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ซึ่งสูงกว่าจำนวนการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้ออื่นๆ ศ. นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร อาจารย์ประจำหน่วยโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยผู้อำนวยการและรักษาการหัวหน้าฝ่ายวิจัยและบริการคลินิก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เปิดเผยถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อหลักๆ ในปัจจุบันที่จะนำไปสู่ภาวะของ ‘โรคปอดอักเสบ’ หรือที่รู้จักกันดีว่า ‘โรคปอดบวม’ ซึ่งหมายถึงการอักเสบที่เนื้อปอด ประกอบด้วยถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้ปอดทำหน้าที่ได้น้อยลง เกิดอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้  พบว่าโรคปอดอักเสบมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ โดยหลักๆ เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย มีอยู่ 3 ตัวหลักๆ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus), ไวรัสโควิด-19 […]


โรคทางเดินหายใจ

ฝุ่น มลพิษ PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง รับมืออย่างไรให้ห่างไกลโรค

ฝุ่น มลพิษ PM 2.5 เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ว่าฝุ่นพีเอ็มเกิดขึ้นได้อย่างไร กระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้อย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร อาจช่วยให้สามารถรับมือกับฝุ่นและป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากฝุ่นและมลพิษทางอากาศได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ฝุ่นและมลพิษในอากาศเกิดจากอะไร ฝุ่นและมลพิษทางอากาศ อาจแบ่งออกเป็นมลภาวะที่เกิดได้จากแหล่งธรรมชาติและแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ มลพิษจากแหล่งธรรมชาติ จะปล่อยสารอันตรายสู่อากาศ เช่น ควันจากไฟป่า (เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติหรือเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การเผาป่า) เถ้าและก๊าซจากการปะทุของภูเขาไฟ ก๊าซมีเทนที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน มลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้น ชนิดที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ มลพิษทางอากาศที่เกี่ยวข้องกับการจราจร เป็นมลภาวะที่มีองค์ประกอบของมลพิษทางอากาศที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมอยู่ด้วยกันมากที่สุด เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen oxides) ซัลเฟอร์ออกไซด์ (Sulfur oxides) หมอกปนควัน (Smog) เป็นโอโซนที่อยู่ระดับพื้นดิน เกิดขึ้นเมื่อมลพิษที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์ โรงไฟฟ้า หม้อไอน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรม โรงกลั่น และแหล่งอื่น ๆ ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแสงแดด ก๊าซพิษ (Noxious gases) ที่เกิดขึ้นจากการปล่อยมลพิษของยานยนต์และกระบวนการทางอุตสาหกรรม เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ไนโตรเจนออกไซด์ […]


โรคทางเดินหายใจ

ไอ เกิดจากอะไร และควรรักษาอย่างไร

ไอ เป็นอาการที่ร่างกายตอบสนองต่อการระคายเคืองของสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้ทราบถึงอาการป่วยในระยะแรกและสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ โรคโควิด-19 เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยหรือรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องรอให้อาการหนักรุนแรง [embed-health-tool-bmi] ไอ คืออะไร  ไอ คือ กระบวนการตอบสนองของร่างกาย เมื่อมีสิ่งระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น น้ำมูก ละอองน้ำหอม เชื้อแบคทีเรีย โดยการระคายเคืองนั้นจะกระตุ้นเส้นประสาทที่ส่งไปยังสมองสั่งให้เกิดอาการไอ เพื่อช่วยขับสิ่งแปลกปลอมที่ส่งผลให้ระคายเคืองออกมา อาการไอแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ อาการไอแห้ง เป็นอาการไอที่ไม่มีเสมหะ เนื่องจากไม่มีเสมหะ หรือน้ำมูกอุดตันอยู่ในปอดหรือทางเดินหายใจ แต่อาจส่งผลให้มีอาการคอแห้ง ระคายเคืองภายในลำคอ และเจ็บคอ โดยอาการไอแห้งอาจเกิดขึ้นเมื่อเป็นกรดไหลย้อน การเจ็บป่วย สำลักอาหาร สูบบุหรี่ และผลข้างเคียไองจากยาบางชนิด  อาการไอแบบมีเสมหะ เป็นอาการไอที่มาพร้อมกับเสมหะในลำคอ มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวใส สีขาวขุ่น สีเขียว สีเหลือง ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส เป็นสัญญาณเตือนแรกของอาการเจ็บป่วย ที่ควรเข้ารับการรักษาหรือรับประทานยาแก้ไอและลายเสมหะ เพราะหากภายในปอดมีเสมหะมากเกินไปอาจนำไปสู่การหายใจลำบากได้ อาการไอดังกล่าว อาจเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันหรืออาจเรื้อรังเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วม เพื่อเช็กตนเองว่ากำลังเจ็บป่วยอยู่หรือไม่ เช่น มีไข้สูง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สาเหตุและการดูแลตัวเอง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ วัณโรค โรคโควิด-19 ทั้งนี้ เมื่อพบอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรไปพบคุณหมอ เพราอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพซึ่งหากปล่อยไว้จะยิ่งแย่ลงหรืออาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] แน่นหน้าอก หายใจลำบากเกิดจากสาเหตุใดบ้าง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับหัวใจและปอด เนื่องจากอวัยวะทั้ง 2 อย่างนี้ สัมพันธ์กับการหายใจ หรือการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในร่างกาย สำหรับปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด หมายถึงโรคต่างๆดังนี้ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด โรคครูป โรคซาร์คอยโดซิส โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด พังผืดที่ปอด ปอดรั่ว ความดันเลือดปอดสูง วัณโรค โรคโควิด-19 นอกจากปัญหาสุขภาพข้างต้น อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด ความเครียด โรควิตกกังวล โรคอ้วน โรคกรดไหลย้อน ซี่โครงหัก […]


โรคทางเดินหายใจ

แสบจมูก เกิดจากอะไร และวิธีบรรเทาอาการแสบจมูกที่เหมาะสม

แสบจมูก เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้หรือภูมิแพ้อากาศ โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ โรคไซนัสอักเสบ อุณหภูมิและความชื้นในอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัด ก็อาจทำให้แสบจมูกได้เช่นกัน โดยทั่วไปอาการแสบจมูกอาจบรรเทาได้ด้วยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ การกินยารักษาตามอาการ การใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ การพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น แต่หากดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการที่เป็นอยู่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] แสบจมูก เกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง อาการ แสบจมูก อาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้ โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) หรือภูมิแพ้อากาศ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น รา ละอองเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ หรือเมื่อสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ความชื้นในอากาศ ทำให้เนื้อเยื่อจมูกอักเสบ ส่งผลให้มีอาการคัดจมูก แสบจมูก จมูกบวมแดง ไอ มีสารคัดหลั่งปริมาณมากสะสมอยู่ในโพรงจมูก น้ำมูกไหลลงคอ ทั้งยังทำให้คันตา ตาแดงได้ด้วย โดยผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้อากาศจะเสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป วิธีรักษา หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้หรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ให้ได้มากที่สุด อาจช่วยให้อาการบรรเทาได้ ใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่กดประสาท (Non-sedating antihistamines) เช่น เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine) […]


โรคทางเดินหายใจ

ระบบหายใจ คืออะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร

ระบบหายใจ หรือระบบทางเดินหายใจเป็นระบบการทำงานในร่างกายที่เกี่ยวข้องการหายใจเข้าออกเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด โดยประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทำงานร่วมกัน เช่น จมูก ปาก หลอดลม ปอด หากเกิดความผิดปกติกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อรา ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการผิดปกติและควรดูแลตัวเองให้ดี เพราะบางโรคอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-heart-rate] ระบบหายใจ คืออะไร ระบบหายใจ หรือระบบทางเดินหายใจ คือ ระบบการทำงานในร่างกายที่ช่วยแลกเปลี่ยนออกซิเจนเมื่อหายใจเข้าและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อหายใจออก ซึ่งเมื่อออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดจะถูกส่งต่อไปยังเซลล์ในร่างกายเพื่อช่วยให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น อีกทั้งระบบหายใจยังช่วยให้รับรู้กลิ่นได้อีกด้วย กระบวนการทำงานของ ระบบหายใจ กระบวนการทำงานของระบบหายใจเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ปาก จมูก ไซนัส คอหอย กล่องเสียง หลอดลม หลอดลมฝอย ปอด เส้นเลือดฝอย เยื่อหุ้มปอด ถุงลม ที่แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ กระบวนการทำงานเมื่อหายใจเข้า กระบวนการหายใจเข้าเริ่มต้นจากกะบังลมหดตัวและเลื่อนต่ำลง ทำให้เกิดช่องว่างในปอด ให้อากาศสามารถไหลผ่านจมูกและปากเข้ามา โดยอากาศจะผ่านไซนัสที่มีส่วนช่วยควบคุมอุณหภูมิของอากาศและผ่านคอหอย กล่องเสียงที่จะนำส่งอากาศไปยังหลอดลมหลักซึ่งเชื่อมอยู่ระหว่างคอและปอด ก่อนจะลงไปยังหลอดลมฝอยที่เชื่อมกับปอดด้านซ้ายและด้านขวา จากนั้นอากาศจะเข้าสู่กระแสเลือดแล้วถูกส่งไปยังหัวใจ จากนั้นหัวใจจะทำหน้าที่ต่อด้วยการสูบฉีดเม็ดเลือดแดงที่เต็มไปด้วยออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ของอวัยวะในร่างกาย กระบวนการทำงานเมื่อหายใจออก ในระหว่างที่สูดอากาศเพื่อนำออกซิเจนเข้า หลอดลมฝอยในถุงลมจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซขึ้น โดยจะนำออกซิเจนเข้าและกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกผ่านการหายใจออก โดยกะบังลมจะคลายตัวและช่วยดันอากาศออกผ่านทางหลอดลมที่ออกมาทางจมูกหรือปาก [embed-health-tool-heart-rate] โรคทางเดินหายใจ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

มีเสมหะในคอ ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้อาการดีขึ้น

เสมหะ เป็นสารคัดหลั่งจากปาก จมูก หรือลำคอ มีหน้าที่ ดักจับฝุ่นละออง สารก่อภูมิแพ้ หรือเชื้อโรคที่อาจเข้าสู่ร่างกายและทำให้ระบบหายใจมีปัญหา หาก มีเสมหะในคอ มากกว่าปกติ มักเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังป่วย ควรดูแลตัวเองด้วยการดื่มน้ำปริมาณมาก งดการสูบบุหรี่ หรือรับประทานยาละลายเสมหะ [embed-health-tool-bmr] เสมหะ คืออะไร เสมหะหรือเสลด เป็นสารคัดหลั่งที่เหนียวและข้นซึ่งผลิตจากเยื่อเมือกบริเวณจมูก ปาก ลำคอ หรือปอด มีหน้าที่ดักจับฝุ่นละออง สารก่อภูมิแพ้ หรือเชื้อโรค ซึ่งหากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้ระบบหายใจแย่ลงได้ โดยทั่วไป เสมหะจะมีปริมาณน้อยและไม่ทำให้รู้สึกรำคาญ อย่างไรก็ตาม หากปริมาณของเสมหะมากขึ้นจนผิดสังเกต หรือต้องบ้วนออกบ่อย ๆ จะหมายความว่าร่างกายได้รับฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคในระดับที่มากกว่าปกติ หรือกำลังป่วยอยู่ เช่น เป็นไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ วัณโรค มีเสมหะในคอ ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้เสมหะลดลง เมื่อมีเสมหะในลำคอมากผิดปกติ ควรดูแลตัวเองด้วยวิธีการต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการ เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ (Humidifier) เนื่องจากอากาศที่แห้งมักทำให้จมูกหรือลำคอระคายเคือง และส่งผลให้ร่างกายต้องผลิตเสมหะมากขึ้น ดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มอื่น ๆ เพื่อเจือจางเสมหะในลำคอ และทำให้เสมหะถูกขับออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เป็นเวลา 30-60 วินาทีแล้วบ้วนออก สูดดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส เนื่องจากมีสารยูคาลิปทอล (Eucalyptol) ซึ่งมีคุณสมบัติส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อสูดดมแล้วอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคหวัดหรือหลอดลมอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุให้มีเสมหะในลำคอมากขึ้นได้ […]


โรคทางเดินหายใจ

โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ มีโรคอะไรบ้าง

โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ คือโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพของปอด หลอดลม กล่องเสียง หรือถุงลม เช่น โรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคมะเร็งปอด วัณโรค มักเกิดจากการสูบบุหรี่ การอยู่ในที่ที่มีฝุ่นละอองหรือเขม่าควันเป็นประจำ การสูดดมควันบุหรี่หรือที่เรียกว่าการสูบบุหรี่มือสอง [embed-health-tool-bmi] โรคเกี่ยวกับระบบหายใจคืออะไร โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบหายใจ เช่น ปอด หลอดลม กล่องเสียง ถุงลม สาเหตุของโรคมักสัมพันธ์กับการติดเชื้อ การสูบบุหรี่ การสูดดมฝุ่นละออง เขม่าควัน หรือสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ มีโรคอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับระบบหายใจมีหลายโรค ดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด หอบหืด หรือบางครั้งเรียกว่าโรคหืด เป็นโรคที่มักพบในเด็ก อาการของโรค ได้แก่ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ อย่างสารปนเปื้อนในอากาศ ควันบุหรี่ หรืออากาศที่เย็นมากกว่าปกติ โดยเมื่อร่างกายสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นดังกล่าวแล้ว หลอดลมจะหดแคบลงและมีสารคัดหลั่งไหลออกมา ทำให้หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ หรือแน่นหน้าอก ซึ่งอาจนำไปสู่อาการนอนไม่หลับหรือบางกรณีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับสาเหตุของหอบหืดนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ พันธุกรรม การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ หอบหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้ ด้วยการรับประทานหรือสูดดมยาปฏิชีวนะ วัณโรค วัณโรค เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส […]


ไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

โรคไข้หวัดใหญ่ คือ โรคติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ การจาม รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ช้อนส้อม จาน แก้ว ผ้าเช็ดหน้า ที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยระดับรุนแรง แต่สามารถป้องกันได้ด้วย วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่หรือช่วยลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ [embed-health-tool-bmi] วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คืออะไร วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ วัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยอาจฉีดบริเวณต้นแขนหรือต้นขาหรือพ่นจมูก โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย (Live Attenuated Influenza Vaccines : LAIV) เป็นวัคซีนที่ประเทศไทยนิยมใช้ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ สามารถรับได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป และควรฉีดเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน