หลายคนอาจพบว่า เวลาตัวเองไม่สบาย เป็นหวัด มักจะมีแผลปากเปื่อยร้อนในเกิดขึ้นด้วย จนอาจทำให้สงสัยว่า แผลปากเปื่อยร้อนในมีสาเหตุมาจากโรคไข้หวัดใช่ไหม ปากเปื่อยร้อนในกับโรคไข้หวัดเกี่ยวข้องกันอย่างไร ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอจึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับแผล ปากเปื่อยร้อนใน มาฝากกัน
[embed-health-tool-bmi]
ความเกี่ยวข้องระหว่าง ปากเปื่อยร้อนใน กับโรคไข้หวัด
ความจริงแล้ว ปากเปื่อยร้อยใน หรือที่เรียกว่า “Fever Blisters” ไม่ได้เกิดจากโรคไข้หวัด แต่เกิดจากไวรัสเริม (Herpes) โดย แผลปากเปื่อยร้อนใน เกิดจากไวรัส HSV-1 ในขณะที่ไวรัส HSV-2 เป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่บริเวณอวัยวะเพศ ความจริงแล้ว เกือบทุกคนมีไวรัส HSV-1 อยู่ในร่างกายตั้งแต่อายุ 10 ปี แต่ไม่ใช่ว่าไวรัส HSV-1 จะแสดงอาการในทุกคน หากคุณติดเชื้อไวรัส HSV-1 ครั้งแรก นอกจาก แผลปากเปื่อยร้อนใน คุณอาจจะพบอาการอื่น ๆ ดังนี้
- ไข้
- เจ็บคอ
- ปวดหัว
- อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
หลังจากการติดเชื้อครั้งแรก คุณอาจจะมีอาการคันบริเวณรอบ ๆ แผลประมาณ 1-2 วัน ก่อนที่อาการหวัดจะปรากฏขึ้น แผลปากเปื่อยร้อนในจะเต็มไปด้วยตุ่มน้ำที่จะเกิดขึ้นบริเวณขอบริมฝีปากของคุณ เพียงไม่กี่วันตุ่มน้ำจะแตกออก และตกสะเก็ด ซึ่งแผลนี้ควรจะหายภายใน 2 สัปดาห์
หากคุณติดเชื้อไวรัส HSV-1 คุณอาจจะต้องพบกับอาการของโรคไข้หวัดไปตลอดชีวิต นอกจากนั้น แผลปากเปื่อยร้อนใน ยังสามารถเกิดได้จากความเครียดหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ได้อีกด้วย แม้ว่า แผลปากเปื่อยร้อนใน จะสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเจ็บป่วย เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว แผลปากเปื่อยร้อนใน ไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัสหวัด หรือไข้หวัดใหญ่
วิธีรักษา แผลปากเปื่อยร้อนใน ให้หายดี
ส่วนใหญ่แล้ว แผลปากเปื่อยร้อนใน ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะสามารถหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่หากให้แผลปากเปื่อยร้อนในหายเร็วขึ้น คุณก็สามารถจัดการได้ด้วยยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยที่ไม่ต้องมีใบสั่งจ่ายยาจากแพทย์ หรือจะทำการประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการปวดก็ได้เช่นกัน แต่หากเกิดอาการเหล่านี้บ่อยจนเกินไป การเข้าพบคุณหมอถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เมื่อคุณหมอวินิจฉัยว่าอาการของคุณอยู่ในระดับรุนแรง คุณหมออาจจะสั่งจ่ายยาที่ใช้สำหรับต้านไวรัสเพื่อใช้ในการรักษา ซึ่งยาต้านไวรัสนั้นมีอยู่หลายตัวด้วยกัน ได้แก่
- อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)
- วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir)
- ฟามซิโคลเวียร์ (Famciclovir)
- เพนซิโคลเวียร์ (Penciclovir)
ยาเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบครีมหรือยาเม็ด แม้ยาเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพที่ดี แต่หากการติดเชื้อลุกลามและรุนแรง คุณอาจจะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและรับการรักษาผ่านทางหลอดเลือดดำ
การรักษาทางเลือกก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ในการรักษาแผลปากเปื่อยร้อนในได้เช่นกัน แม้ว่าประสิทธิภาพในการรักษายังไม่ชัดเจนเท่าไหรนัก แต่ก็มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เลมอนบาล์ม (Lemon Balm) ซึ่งเป็นลิปบาล์มที่มีสารสกัดจากมะนาว 1% อาจช่วยลดระยะเวลาในการรักษาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้ นอกจากนั้น ไลซีน (Lysine) ยังถูกใช้เป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยในการรักษา แผลปากเปื่อยร้อนใน ได้อีกด้วย
วิธีป้องกันการเกิดแผลปากเปื่อยร้อนใน
ถ้า แผลปากเปื่อยร้อนใน ของคุณเกิดจากความเครียด คุณจำเป็นต้องหาผ่อนคลายความเครียดด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การหายใจลึก ๆ การทำสมาธิ คุณควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นในขณะที่มีแผลปากเปื่อยร้อนใน โดยเฉพาะการจูบ การแบ่งปันอาหาร หรือการใช้อุปกรณ์การรับประทานอาหารร่วมกัน ระวังการสัมผัสส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเมื่อมีแผลปากเปื่อยร้อนใน เนื่องจากไวรัสสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเข้าตา
ในช่วงที่คุณเป็นหวัดควรล้างมือบ่อย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อไวรัสไปยังคนอื่น และถ้า แผลปากเปื่อยร้อนใน ของคุณมีจำนวนมากขึ้น คุณควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อดูว่าการรับประทานยาต้านไวรัสเป็นประจำช่วยคุณได้หรือไม่