ระหว่างตั้งครรภ์

ยินดีด้วยค่ะ คุณกำลังจะมีลูกแล้ว เมื่อชีวิตน้อย ๆ กำลังจะเกิดขึ้น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะรู้สึกเป็นกังวลหรือประหม่า Hello คุณหมอ จะอยู่เคียงข้างคุณตลอดช่วงเวลา ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ มีความมั่นใจในทุกย่างก้าวของพัฒนาการลูกน้อย

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระหว่างตั้งครรภ์

โรคอ้วนและการตั้งครรภ์ ผลกระทบและแนวทางในการรับมือที่เหมาะสม

ในยุคปัจจุบัน อัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โรคอ้วนไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของมารดาและทารกในช่วงการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในภาวะที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง และครรภ์เป็นพิษ บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของโรคอ้วนต่อการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งแนวทางการจัดการเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับทั้งแม่และทารก ผลกระทบของโรคอ้วนต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ ผลกระทบต่อแม่ โรคอ้วนในช่วงตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน เช่น: เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes): โรคนี้พบได้บ่อยในแม่ที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งแม่และทารกในระยะยาว ความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia): โรคอ้วนเพิ่มโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นๆ การผ่าคลอด: แม่ที่มีภาวะโรคอ้วนมักมีโอกาสสูงที่จะต้องผ่าคลอด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการฟื้นตัวที่ช้ากว่า ผลกระทบต่อทารก ผลกระทบจากโรคอ้วนของมารดาต่อทารก ได้แก่: น้ำหนักแรกเกิดเกินมาตรฐาน (Macrosomia): ทารกที่มีน้ำหนักตัวเกินอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการคลอด และมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บขณะคลอด ปัญหาสุขภาพในระยะยาว: ทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและเบาหวานในวัยเด็ก ความผิดปกติแต่กำเนิด: โรคอ้วนในมารดาเพิ่มโอกาสเกิดความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น Neural Tube Defects. การจัดการโรคอ้วนในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ การเตรียมตัวที่ดีสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้: การประเมินสุขภาพก่อนตั้งครรภ์: การตรวจสุขภาพทั่วไป รวมถึง BMI และระดับฮอร์โมน ช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม การลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย: การปรับโภชนาการและการออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การควบคุมน้ำหนัก: การปฏิบัติตามแนวทางควบคุมน้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน โภชนาการที่เหมาะสม: การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เช่น โปรตีน ผัก และผลไม้ […]

หมวดหมู่ ระหว่างตั้งครรภ์ เพิ่มเติม

สำรวจ ระหว่างตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

เลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ถ้า ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากการที่เอ็มบริโอหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คล้ายกับประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกเหมือนประจำเดือนในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากพบอาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดโดยเร็ว ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน เกิดจากอะไร อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ เอ็มบริโอฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยคล้ายกับประจำเดือน  การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในบริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ตามปกติ มักส่งผลให้มีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy /Hydatidiform mole) […]


ไตรมาสที่ 3

การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ควรเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง

เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในร่างกายเป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะ การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 เป็นจุดเริ่มต้นของการนับถอยหลังเตรียมพบกับลูกน้อย ซึ่งก่อนพบอาจจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และอารมณ์ในช่วงโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เริ่มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าไตรมาสที่ 3 โดยไตรมาสที่ 3 เริ่มในสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งต่อไปนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอาการที่อาจพบเจอ การปัสสาวะที่บ่อยขึ้น เนื่องจากแรงกดที่เพิ่มขึ้นบนกระเพาะปัสสาวะ บวมที่ข้อเท้า มือ และใบหน้า หรือที่เรียกว่า บวมน้ำ ขาเป็นตะคริวบ่อยขึ้น รวมไปถึงการปวดหลัง มดลูกหดรัดตัว (Braxton Hicks contractions) มีอาการปวดท้องบริเวณท้องน้อย ซึ่งเป็นสิ่งปกติ หน้าท้องที่ขยายใหญ่ อาจมีปัญหาด้านการนอน และรู้สึกอึดอัด เต้านมเริ่มคัดตึง บางครั้งอาจจะมีน้ำนมไหลออกมาได้ รอยแตกลายที่เพิ่มขึ้นบนหน้าท้อง ต้นขา ก้น ผิวหนังที่แห้ง และคล้ำขึ้น มีเส้นเลือดขอดที่ขา ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดเข้ามาทุกที อารมณ์ความคิด ความคาดหวัง ความกลัว อาจเพิ่มมากขึ้น หากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกอาการอาจยิ่งแย่ลงกว่าเดิม เพราะเป็นประสบการณ์ที่ยังไม่เคยเจอ และเนื่องจากการคลอดเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยอาจมีความกังวลเกี่ยวกับการคลอดว่าจะคลอดแบบธรรมชาติ หรือผ่าคลอด ตอนคลอดจะเจ็บมากน้อยเพียงใด […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของแม่จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับการมีอยู่ของทารกตัวน้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในครรภ์ อาการมากมายที่เกิดขึ้นมาจึงสร้างความวิตกกังวลให้กับแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อาการนี้อันตรายหรือไม่ และอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์หรือเปล่า [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ อาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ก็เป็นอาการหนึ่งของแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่จะมีความแตกต่างตรงที่อาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีประจำเดือนมา จึงต้องลองสังเกตร่างกายของตัวเองเป็นประจำ หากเป็นช่วงที่ถึงรอบเดือน ใกล้กับช่วงเวลาประจำเดือนมา แล้วเกิดอาการปวดท้องน้อย ประจำเดือนอาจมาใน 1-2 วัน แต่ถ้าไม่ใช่ช่วงที่ประจำเดือนจะมา แต่เกิดมีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ให้ลองใช้ชุดตรวจครรภ์ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ ขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์ แล้วเกิดอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน อาจเกิดความกังวลว่า อาการนี้อันตรายหรือไม่ สามารถมีข้อสังเกตได้ ดังนี้ 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ : หากเกิดอาการปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือน หรือปวดบีบ ๆ รัด ๆ ตรงกลางท้อง ร่วมกับอาการเลือดออกทางช่องคลอด มีลักษณะเป็นเลือดสดหรือมูกเลือด อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลายวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) จึงควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด   ไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ […]


ระหว่างตั้งครรภ์

คํานวณอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร และวิธีนับอายุครรภ์

คํานวณอายุครรภ์ ด้วยตัวเองสามารถทำได้ไม่ยาก แต่คุณแม่ควรมีรอบเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ มีการจดบันทึกประจำเดือนเป็นประจำ และจำประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้ จึงจะคํานวณอายุครรภ์ได้ และนอกจากการคํานวณอายุครรภ์ วิธีนับอายุครรภ์ที่ถูกต้อง ก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้คุณแม่ติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ ความสมบูรณ์ของเด็ก อีกทั้งดูแลสุขภาพร่างกายให้เหมาะสมในแต่ละไตรมาส การทราบอายุครรภ์ยังช่วยให้แพทย์วางแผนการตรวจครรภ์  [embed-health-tool-due-date] คํานวณอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร  วิธีคํานวณอายุครรภ์ ทำได้โดยคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ไม่ได้นับตามวันที่ปฏิสนธิ เป็นการนับอายุครรภ์จากประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยการคํานวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ทำให้คุณแม่สามารถวางแผนเรื่องการฝากครรภ์ได้ตามเวลาที่เหมาะสม เมื่อคุณแม่ใช้ที่ตรวจครรภ์แล้วพบว่า ตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์ทันทีไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ ดังนี้ ฝากครรภ์เร็วเพื่อคัดกรองความเสี่ยง  ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ หากแพทย์พบว่า การตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงจะส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดูแลเฉพาะบุคคลได้อย่างรวดเร็ว เมื่อฝากครรภ์แล้ว แพทย์จะตรวจคัดกรองและตรวจยืนยัน โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด คัดกรองเบาหวาน  ตรวจอนามัยในช่องปาก ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจอัลตร้าซาวด์ และตรวจครรภ์  แพทย์จะช่วยประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม การฝากครรภ์คุณภาพ จะได้รับความรู้ตามมาตรฐานโรงเรียนพ่อแม่ วิธีนับอายุครรภ์ เมื่อทราบถึงการคํานวณอายุครรภ์ในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ควรฝึกนับอายุครรภ์หรือคํานวณอายุครรภ์เป็นรายสัปดาห์ วิธีนับอายุครรภ์ของแพทย์ มักจะนับเป็นรายสัปดาห์ เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ หากคุณแม่คํานวณอายุครรภ์เองได้ จะสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม โดยการคํานวณอายุครรภ์ […]


ไตรมาสที่ 1

ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน อาการคนท้องมีอะไรบ้าง

ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดท้อง1เดือน จะยังไม่เป็นที่สังเกตได้เนื่องจากหน้าท้องของคุณแม่ยังไม่ขยายใหญ่แต่อาจสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนไม่มา อารมณ์แปรปรวน หน้าอกขยายและคัดตึง ปัสสาวะบ่อย นอกจากนี้ ยังนับเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างมาก เนื่องจากอยู่ในระยะที่ทารกกำลังค่อย ๆ เติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ คุณแม่จึงต้องคอยดูแลตัวเองทั้งในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ทารกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามอายุครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือ 4 สัปดาห์แรกขนาดท้องมักไม่ต่างจากก่อนตั้งครรภ์เลย เนื่องจากทารกยังตัวเล็กมากและยังไม่เจริญเติบโตมากพอที่จะทำให้หน้าท้องขยาย โดยทั่วไป ขนาดท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่จนเห็นได้ชัดในช่วงเดือนที่ 4-5 หรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และจะขยายใหญ่ตามอายุครรภ์มากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แม้ว่าอาการของคนท้องจะไม่สามารถเห็นได้จาก ขนาดหน้าท้อง1เดือน แต่ก็อาจสังเกตได้ด้วยตัวเองจากอาการร่วมอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์แล้วประจำเดือนมาช้ากว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์ อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ระยะแรก ควรตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ด้วยตนเอง ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนไม่ปกติ อาจรอประมาณ 1-2 เดือน หากประจำเดือนยังไม่มาควรตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองหรือไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ หน้าอกขยายและคัดตึง เนื่องจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์จึงอาจทำให้หน้าอกคัดตึง บวม หรือเจ็บ เส้นเลือดอาจมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น และหัวนมอาจดำคล้ำ ทั้งนี้ อาการต่าง ๆ […]


ไตรมาสที่ 1

อาการคนท้องสัปดาห์แรก ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ต้องดูแล

การจะทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์หรือไม่นั้น นอกเหนือจากการตรวจครรภ์แล้ว คุณแม่ก็อาจสามารถสังเกตอาการคนท้องได้ อย่างไรก็ตาม อาการคนท้องสัปดาห์แรก อาจสังเกตได้ยากเนื่องจากร่างกายยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นได้ชัด แต่อาการคนท้องสัปดาห์แรกที่มักจะพบบ่อย อาจมีทั้งอาการประจำเดือนขาด เลือดออกกะปริดกะปรอย หรือที่เรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก และอาการอ่อนเพลียเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนท้อง ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากมาย โดยเฉพาะอาการแพ้ท้อง ที่มักจะเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุครรภ์ 2 เดือน เมื่อเกิดอาการแพ้ท้อง อาจทำให้ร่างกายของคุณแม่ไม่อยากอาหาร จนกังวลว่าจะกระทบต่อทารกในครรภ์ แต่แท้ที่จริงแล้ว หากคุณแม่น้ำหนักตัวลดลงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ จะยังไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการคนท้องสัปดาห์แรก สำหรับอาการคนท้องที่พบได้บ่อยตั้งแต่สัปดาห์แรก ได้แก่ ขาดประจำเดือน เนื่องจากการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว เกิดภายในมดลูก ทำให้ร่างกายของคนท้องจะผลิตฮอร์โมน Human Chorionic Gonagotropin (hCG) ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ฮอร์โมน hCG ส่งผลให้รังไข่หยุดการตกไข่ชั่วคราว ดังนั้น ระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์จะไม่มีประจำเดือน  เลือดออกขณะตั้งครรภ์ แม้ว่าร่างกายของคนท้องจะไม่มีประจำเดือน แต่อาจเกิดเป็นเลือดออกทางช่องคลอดได้ ซึ่งเป็นอาการคนท้องสัปดาห์แรกไปจนถึงสัปดาห์ที่ 4 ซึ่งเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อน เรียกว่า ระยะบลาสโตซิสท์ ที่เป็นกระบวนการสร้างอวัยวะของตัวอ่อน เกิดจากหลอดเลือดเล็ก ๆ ในโพรงมดลูกแตกออก เพราะการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งเลือดที่ออกมาทางช่องคลอดจะมีสีจาง ๆ เลือดออกมาปริมาณน้อย ไม่มีอาการปวดท้อง คนไทยโบราณจะเรียกว่า […]


การดูแลก่อนคลอด

นับอายุครรภ์ อย่างไร วิธีคำนวณอายุครรภ์ ที่ถูกต้อง

การนับอายุครรภ์และวิธีคำนวณอายุครรภ์ เป็นสิ่งที่มักเข้าใจกันผิด สับสนว่าจะคำนวณอายุครรภ์จากวันที่มีเพศสัมพันธ์หรือไม่ และต้องนับอายุครรภ์อย่างไรให้แม่นยำ เพื่อประโยชน์ของแม่ตั้งครรภ์และลูกในท้อง [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] นับอายุครรภ์ มีประโยชน์อย่างไร อายุครรภ์ตั้งแต่วันแรกของการตั้งครรภ์จวบจนถึงวันคลอดเป็นสิ่งที่แม่ควรใส่ใจ การคำนวณอายุครรภ์อย่างแม่นยำ มีข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อตัวแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้ การนับอายุครรภ์ ช่วยให้ทราบขนาดของลูกในท้องแต่ละไตรมาส ตลอดจนพัฒนาการของทารกในครรภ์และความสมบูรณ์ของทารก แม่จะได้ดูแลทารกอย่างเหมาะสม การนับอายุครรภ์ ช่วยให้แพทย์วางแผนการตรวจครรภ์ แม่จะทราบถึงข้อควรระวังในแต่ละไตรมาส โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละไตรมาส การนับอายุครรภ์ ช่วยให้แพทย์คาดการณ์วันกำหนดคลอดได้ วันแรกที่เริ่ม นับอายุครรภ์ คือวันไหน การนับอายุครรภ์ เพื่อให้ทราบว่า ตั้งครรภ์มาแล้วกี่สัปดาห์หรือกี่เดือน อาจเข้าใจได้ว่า นับอายุครรภ์ตั้งแต่วันที่มีเพศสัมพันธ์หรือวันที่ปฏิสนธิ แต่จริง ๆ แล้ว แพทย์จะยึดเอาวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดมาคำนวณอายุครรภ์ การจดวันที่มีประจำเดือนทุก ๆ เดือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แพทย์นำประจำเดือนครั้งสุดท้าย มาคำนวณอายุครรภ์ได้อย่างถูกต้อง  ทั้งนี้ หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ให้ใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์หรือชุดตรวจครรภ์ตรวจการตั้งครรภ์ เมื่อทราบว่า กำลังตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์  วิธีคำนวณอายุครรภ์ นับเป็นเดือนหรือเป็นสัปดาห์ อายุครรภ์ปกติจะอยู่ประมาณ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์ โดยแพทย์จะนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ และแยกอายุครรภ์ตามไตรมาส ประกอบด้วย ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก สัปดาห์ที่ 1-14 ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง สัปดาห์ที่ […]


ไตรมาสที่ 1

ตั้งครรภ์ระยะแรก อาการที่ควรสังเกต และวิธีดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่

การตั้งครรภ์ตามปกติจะมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดประมาณ 40 สัปดาห์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ไตรมาส โดยการ ตั้งครรภ์ระยะแรก หรือไตรมาสที่ 1 เป็นระยะที่คุณแม่ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนทำให้มีอาการไม่สบายหรือแพ้ท้องได้ง่าย คุณแม่ควรงดพฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ และควรฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณหมอสามารถติดตามพัฒนาการของทารกและให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยไปจนถึงวันคลอด [embed-health-tool-due-date] การตั้งครรภ์ระยะแรก หรือ ไตรมาสที่ 1 การตั้งครรภ์ระยะแรก หรือ ไตรมาสที่ 1 คือ ช่วงอายุครรภ์ 1-13 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นระยะที่คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นไตรมาสที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างมากเพื่อปรับตัวเข้าสู่การตั้งครรภ์ ทั้งยังเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ และก่อตัวเป็นทารกที่สมบูรณ์ หากคุณแม่ได้รับการกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือจิตใจ เช่น รับสารพิษจากการสูบบุหรี่ สูดดมควันบุหรี่มือสอง ติดเชื้อแบคทีเรีย เครียดเรื้อรัง อาจกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกได้มากกว่าไตรมาสที่ 2 และ 3 อาการของคุณแม่ ตั้งครรภ์ระยะแรก อาการของคุณแม่ ตั้งครรภ์ระยะแรก ที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ หน้าอกคัดตึง ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้มีอาการหน้าอกคัดตึง ขยายใหญ่ขึ้น ทั้งยังอาจสังเกตเห็นว่าลานนมใหญ่ขึ้นและคล้ำขึ้น อาการแพ้ท้อง […]


ระหว่างตั้งครรภ์

รู้เพศตอนกี่เดือน อัลตราซาวด์ตอนไหนแม่นยำที่สุด

การได้ทราบเพศลูก ถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่คุณพ่อและคุณแม่หลายคนตั้งตารอ และอาจสงสัยว่าจะสามารถ รู้เพศตอนกี่เดือน ตามปกติแล้วอวัยวะเพศของทารกจะพัฒนาในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 8 (เดือนที่ 2) ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป โดยบุคลากรทางการแพทย์จะตรวจเพศของทารกได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 18-21 (เดือนที่ 4-5) ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่อวัยวะเพศภายนอกของเด็กผู้ชายจะยื่นยาว ทำให้เริ่มแยกได้แล้วว่าทารกเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย [embed-health-tool-due-date] อวัยวะเพศของทารกพัฒนาเมื่อไหร่ ตามปกติแล้ว เพศของทารกในครรภ์จะถูกกำหนดตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ และเมื่อดำเนินอายุครรภ์มาถึงสัปดาห์ที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ อวัยวะเพศของทารกจะเริ่มพัฒนาไปเป็นคลิตอริสของทารกเพศหญิงหรือองคชาตของทารกเพศชาย และจะพัฒนาเป็นอวัยวะเพศที่สมบูรณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 17-18 ของการตั้งครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ที่ 8-22 ของการตั้งครรภ์ คลิตอริสของทารกเพศหญิงจะขยายตัวตามอายุครรภ์ที่มากขึ้น ส่วนองคชาตของทารกเพศชายก็จะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) และอาจยาวขึ้นกว่าในตอนแรกถึง 5 เท่า รู้เพศตอนกี่เดือน การอัลตราซาวด์เพื่อตรวจเพศของทารกสามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ในช่วงนี้ อวัยวะเพศของทารกอาจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่และยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าทารกเป็นเพศใด ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลตรวจที่แม่นยำ บุคลากรทางการแพทย์จึงมักระบุเพศของทารกให้คุณพ่อคุณแม่ทราบในช่วงสัปดาห์ที่ 18-21 (เดือนที่ 4-5) ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะเพศของทารกในครรภ์พัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยคุณหมอจะอัลตราซาวด์หน้าท้อง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความเสี่ยงต่ำและไม่มีผลข้างเคียงต่อคุณแม่และทารก โดยทั่วไป คุณหมอจะพิจารณาว่าทารกในครรภ์เป็นเพศใดด้วยการมองหาอวัยวะเพศชายหรือองคชาตขณะทำอัลตราซาวด์ ‌ทั้งนี้ หากทารกนอนอยู่ในท่าที่มองไม่เห็นอวัยวะเพศที่ยื่นออกมาอย่างชัดเจน ก็อาจยังไม่สามารถระบุเพศได้อย่างแน่ชัด และอาจต้องอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศทารกอีกครั้งในการตรวจครรภ์ครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม การตรวจเพศทารกในครรภ์ด้วยการอัลตราซาวด์ก็อาจมีการระบุเพศผิดบ้าง เนื่องจากเข้าใจผิดว่าสายสะดือเป็นอวัยวะเพศชาย วิธีตรวจเพศของทารก โดยทั่วไป คุณพ่อคุณแม่จะทราบเพศของทารกในครรภ์ได้เมื่อเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างละเอียด […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อาการท้องอืด ของคนท้อง เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไร

อาการท้องอืดของคนท้อง มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาการอาจแย่ลงในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์ โดย อาการท้องอืด ที่เกิดขึ้นอาจมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ที่อาจทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานช้าลง นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอีดในคนท้องได้เช่นกัน [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] อาการท้องอืดของคนท้อง เกิดจากอะไร อาการท้องอืดที่เกิดขึ้นในคนท้อง มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอรโมนการตั้งครรภ์ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่ทำให้มดลูกผ่อนคลาย และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการย่อยอาหารผ่อนคลาย ส่งผลให้การย่อยอาหารช้าลง ซึ่งมักทำให้เกิดอาการท้องผูกและอาจส่งผลให้คนท้องมีอาการท้องอืดได้ด้วย อาการท้องอืดของคนท้อง มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาการอาจแย่ลงในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในท้องใช้พื้นที่มากขึ้นทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้นและกดทับอวัยวะรอบข้าง สำหรับคนท้องที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome หรือ IBS) ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ อาการของโรคอาจแย่ลงระหว่างตั้งครรภ์ และอาจทำให้ปวดท้องบ่อย ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด เกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางชนิดก็อาจส่งผลให้คนท้องมีอาการท้องอืดเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งอาหารที่อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด มีดังนี้ ถั่ว เมล็ดธัญพืช และผักบางชนิด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง แป้งบางชนิด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน