พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สามารถทำได้โดยการเลือกสิ่งที่ดีต่อร่างกายของคุณ ตลอดไปจนถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และทำให้คุณภาพชีวิตของเราดียิ่งขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ และผลกระทบที่อาจตามมา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

หมากฝรั่งนิโคติน (NRT) ตัวช่วยเลิกบุหรี่ได้ง่าย ๆ ไม่ทรมาน

ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำอาจมองหาตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ให้ได้ด้วยตัวเอง เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน ทั้งยังทำให้ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองเกิดปัญหาสุขภาพได้ไม่ต่างกัน สำหรับผู้ที่ต้องการหาวิธีเลิกบุหรี่แบบง่าย ๆ เห็นผล อาจลองใช้ Nicotine Replacement Therapy (NRT) ซึ่งเป็นการให้นิโคตินทดแทนสำหรับช่วยในการเลิกบุหรี่ ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลายชนิด เช่น หมากฝรั่งนิโคติน ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากคุณหมอ ทั้งยังใช้งานง่าย สามารถเคี้ยวได้ทันทีเมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ช่วยป้องกันอาการถอนบุหรี่ที่เกิดจากการขาดนิโคตินกะทันหัน ถือเป็นตัวช่วยที่ดีในการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จได้โดยไม่ทรมาน Nicotine Replacement Therapy (NRT) คืออะไร Nicotine Replacement Therapy (NRT) คือ การใช้นิโคตินทดแทนเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการลดขนาดการรับนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกายอย่างช้า ๆ จนร่างกายสามารถปรับตัวและเลิกใช้นิโคตินได้ในที่สุด ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดความอยากบุหรี่และป้องกันอาการถอนบุหรี่ เช่น อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า สับสน กระวนกระวาย ที่เกิดจากร่างกายขาดสารนิโคตินเฉียบพลัน นอกจากนี้ นิโคตินทดแทนยังไม่มีคาร์บอนมอนอไซด์ น้ำมันดินหรือทาร์ หรือสารเคมีเป็นพิษอื่น ๆ เหมือนในบุหรี่ จึงส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการเลิกบุหรี่ด้วยการค่อย ๆ สูบบุหรี่ให้น้อยลง ชนิดของ […]

หมวดหมู่ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพิ่มเติม

การเลิกบุหรี่

สำรวจ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

การปฐมพยาบาล

แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา วิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกบริเวณผิวหนัง หลายครั้งผู้ประสบอุบัติเหตุและคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงอาจตกใจ ทำอะไรไม่ถูก และนึกถึงความเชื่อที่เคยได้ยินมาเรื่องการดูแลแผลน้ำร้อนลวก แต่ในความเป็นความจริงแล้ว แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา จึงจะปลอดภัย และวิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ ทำได้อย่างไรบ้าง [embed-health-tool-bmi] วิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับบาดแผลจากไฟไหม้ แผลพุพอง หรือแผลน้ำร้อนลวก มีดังนี้ ออกจากแหล่งความร้อนโดยเร็วที่สุด และกำจัดแหล่งความร้อนที่จะทำให้บาดแผลลุกลามมากขึ้น เช่น เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่อยู่บริเวณแผล ล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ เพื่อลดความร้อนและทำให้แผลเย็นลง กรณีมีบาดแผลถลอก มีตุ่มน้ำ สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลง มีบาดแผลลึก หรือมีแผลไหม้เป็นบริเวณกว้าง สามารถปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาด และให้รีบไปพบคุณหมอ แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา การดูแลแผลน้ำร้อนลวกที่ดีที่สุด ควรล้างด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรืออาจใช้สบู่อ่อน ๆ เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นให้ซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วรีบไปพบแพทย์ ในกรณีที่แผลน้ำร้อนลวกไม่รุนแรง สามารถใช้ว่านหางจระเข้ไปวางบนแผล เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อน ก่อนใช้ควรทำความสะอาดแผล แล้วนำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือก ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด ให้เหลือแต่วุ้นใส ๆ แล้วนำไปวางบริเวณที่เป็นแผล ส่วนผลิตภัณฑ์เจลว่านหางจระเข้ที่มีจำหน่ายที่ร้านขายยา ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือที่มีเครื่องหมาย องค์การอาหารและยา (อย.) เท่านั้น  แผลน้ำร้อนลวกไม่ควรใช้อะไรทา ยาสีฟัน การนำยาสีฟันมาทาบนบาดแผลน้ำร้อนลวกไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้แผลเกิดอาการระคายเคือง มีโอกาสติดเชื้อ และรักษาได้ยากขึ้น น้ำปลา น้ำปลาไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น […]


พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

ทำความรู้จัก NCDs กลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต

NCDs คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง และอาจรวมไปถึงโรคที่นำไปสู่โรคดังที่กล่าวมา เช่น โรคอ้วนลงพุง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรค NCDs มักส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ หากมีการติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคโควิด-19 ก็อาจทำให้มีอาการรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคนทั่วไป [embed-health-tool-bmi] NCDs คืออะไร NCDs หรือ Non-Communicable Disease คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่ากลุ่มโรคนี้เป็นภาวะสุขภาพที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลก 41 ล้านคนต่อปี คิดเป็น 74% ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก โรค NCDs มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม การใช้ชีวิต หรือสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โรคกลุ่มนี้จะดำเนินโรคอย่างช้า ๆ และสะสมอาการนานหลายปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาและดูแลทางการแพทย์ เช่น การใช้ยารักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงเกิดโรคในกลุ่ม NCDs โรคในกลุ่ม NCDs สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกช่วงอายุ แต่ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นหากมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ […]


การเลิกบุหรี่

หมากฝรั่งนิโคติน (NRT) ตัวช่วยเลิกบุหรี่ได้ง่าย ๆ ไม่ทรมาน

ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำอาจมองหาตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ให้ได้ด้วยตัวเอง เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน ทั้งยังทำให้ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองเกิดปัญหาสุขภาพได้ไม่ต่างกัน สำหรับผู้ที่ต้องการหาวิธีเลิกบุหรี่แบบง่าย ๆ เห็นผล อาจลองใช้ Nicotine Replacement Therapy (NRT) ซึ่งเป็นการให้นิโคตินทดแทนสำหรับช่วยในการเลิกบุหรี่ ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลายชนิด เช่น หมากฝรั่งนิโคติน ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากคุณหมอ ทั้งยังใช้งานง่าย สามารถเคี้ยวได้ทันทีเมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ช่วยป้องกันอาการถอนบุหรี่ที่เกิดจากการขาดนิโคตินกะทันหัน ถือเป็นตัวช่วยที่ดีในการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จได้โดยไม่ทรมาน Nicotine Replacement Therapy (NRT) คืออะไร Nicotine Replacement Therapy (NRT) คือ การใช้นิโคตินทดแทนเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการลดขนาดการรับนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกายอย่างช้า ๆ จนร่างกายสามารถปรับตัวและเลิกใช้นิโคตินได้ในที่สุด ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดความอยากบุหรี่และป้องกันอาการถอนบุหรี่ เช่น อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า สับสน กระวนกระวาย ที่เกิดจากร่างกายขาดสารนิโคตินเฉียบพลัน นอกจากนี้ นิโคตินทดแทนยังไม่มีคาร์บอนมอนอไซด์ น้ำมันดินหรือทาร์ หรือสารเคมีเป็นพิษอื่น ๆ เหมือนในบุหรี่ จึงส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการเลิกบุหรี่ด้วยการค่อย ๆ สูบบุหรี่ให้น้อยลง ชนิดของ […]


พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

การดูแลสุขภาพ ทำอย่างไรให้ชีวิตแข็งแรงดีทั้งกายและใจ

การดูแลสุขภาพ คือการดูแลสุขภาพกาย  สุขภาพจิต และการรักษาความสัมพันธ์กับรอบข้าง ให้แข็งแรง มีความสุข และสมดุล เพราะภาวะสุขภาพส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องงาน ครอบครัว การเงิน ความสัมพันธ์ เมื่อสุขภาพดี ชีวิตมักมีแนวโน้มที่จะดีตามไปด้วย [embed-health-tool-heart-rate] การดูแลสุขภาพ การดูแลสุขภาพกาย การดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ สามารถทำได้ดังนี้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การเคลื่อนไหวร่างกาย นับเป็นสิ่งจำเป็นเพราะทำให้ร่างกายแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า ใน 1 สัปดาห์ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที อาจแบ่งเป็นออกกำลังกายวันละ 30 นาที จำนวน 5 วัน หรืออาจเพิ่มเป็น 300 นาที ต่อสัปดาห์ เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพที่มากขึ้น การออกกำลังกาย สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้นบันไดแทนลิฟต์ การเดินไปเดินมาในบ้านระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ การทำงานบ้าน และการเดินไปยังจุดหมายใกล้ ๆ อย่างโรงอาหารหรือร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน แทนการใช้ยานพาหนะ นอกจากนั้น การเล่นกีฬาที่ชื่นชอบก็นับเป็นแรงจูงใจที่ดีเพื่อการดูแลสุขภาพกาย ทั้งวิ่ง […]


การดูแลสุขอนามัย

การล้างมือ 7 ขั้นตอน สะอาดปลอดภัย รู้ไว้ห่างไกลโรค

การล้างมือ 7 ขั้นตอน เป็นวิธีการล้างมือให้สะอาดที่สุดและสำคัญที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงป้องกันการแพร่เชื้อโรคให้ผู้อื่น โดยเฉพาะหลังการสัมผัสวัตถุต่าง ๆ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับราวรถเมล์ ราวรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ทั้งนี้ การล้างมือ 7 ขั้นตอนยังสามารถประยุกต์ใช้กับการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ได้ และช่วยป้องกันโรคติดต่อได้หลายโรค อาทิ โรคท้องร่วง โรคหวัด  โรคโควิด-19 การล้างมือ 7 ขั้นตอน มือนับเป็นอวัยวะหลักที่นำเชื้อโรคเข้าร่างกายได้มาก เพราะหากมือสัมผัสเชื้อโรค แล้วเผลอนำเข้าปากหรือขยี้ตา อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย การล้างมือให้สะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการล้างมือ 7 ขั้นตอน มีดังต่อไปนี้ ฝ่ามือถูฝ่ามือ ฟอกฝ่ามือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ จากนั้นประกบฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแล้วถูไปมาจนรู้สึกสะอาด ฝ่ามือถูหลังมือ เมื่อถูฝ่ามือเสร็จแล้ว ให้นำฝ่ามือข้างหนึ่งประกบหลังมืออีกข้างหนึ่ง ถูจนสะอาดแล้วเปลี่ยนมือ นิ้วถูซอกนิ้ว หันฝ่ามือเข้าหากัน กางออกแล้วประสานมือเข้าหากันโดยใช้นิ้วแต่ละนิ้วถูซอกนิ้วให้สะอาด ฝ่ามือขัดหลังนิ้ว กำมือข้างหนึ่ง แล้วใช้ฝ่ามืออีกข้างทำความสะอาดหลังนิ้ว ถูหัวแม่มือ ใช้ฝ่ามือข้างหนึ่ง กำรอบหัวแม่มืออีกข้าง แล้วหมุนไปมา ขัดฝ่ามือด้วยปลายนิ้ว แบมือข้างหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วของมืออีกข้างขัดไป-มา […]


การปฐมพยาบาล

น้ำเกลือล้างแผล ประโยชน์และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง

น้ำเกลือล้างแผล มีสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride หรือ Nacl) 0.9%  นิยมใช้ในการปฐมพยาบาล เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น หกล้ม มีแผลถลอก ของมีคมบาด นอกจากนี้ ยังอาจนำน้ำเกลือล้างแผลไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น ล้างโพรงจมูก ล้างคอนแทคเลนส์ แต่ไม่ควรใช้แช่คอนแทคเลนส์ ทั้งนี้ สามารถหาซื้อน้ำเกลือล้างแผลได้ตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อ เมื่อเปิดใช้แล้วสามารถเก็บได้นานประมาณ 1 เดือน โดยควรปิดฝาให้สนิท และเก็บให้พ้นแสง เพื่อคงประสิทธิภาพ [embed-health-tool-heart-rate] น้ำเกลือล้างแผล คืออะไร  น้ำเกลือล้างแผล (Normal saline solution หรือ NSS) คือ น้ำเกลือปราศจากเชื้อที่มีโซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride หรือ Nacl) 0.9% โดยโซเดียมคลอไรด์เป็นสารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution) ที่มีความเข้มข้นเท่ากับสารละลายภายในเซลล์ร่างกาย จึงทำให้ไม่แสบ ไม่ระคายเคือง และไม่ทำลายเนื้อเยื่อเหมือนตอนล้างแผลด้วยแอลกอฮอล์ แต่น้ำเกลือล้างแผลก็อาจช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ไม่ดีเท่าการใช้แอลกอฮอล์ และไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ประโยชน์ของน้ำเกลือล้างแผล  น้ำเกลือล้างแผลนิยมนำมาใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ล้างแผล น้ำเกลืออาจช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม และเชื้อแบคทีเรียออกจากแผลได้โดยไม่ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อบริเวณแผลถูกทำลาย […]


การเลิกบุหรี่

วิธีเลิกบุหรี่ และอันตรายจากการสูบบุหรี่

วิธีเลิกบุหรี่ มีทั้งวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างการเปลี่ยนมาเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีสารนิโคตินแทนการสูบบุหรี่ หรือวิธีบำบัดทางการแพทย์อย่างการใช้แผ่นแปะนิโคติน ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อการเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อฟื้นฟูสุขภาพและป้องกันอวัยวะตนเองก่อนถูกสารเคมีในบุหรี่ทำลาย  [embed-health-tool-bmi] โทษของการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังและภาวะรุนแรง ดังต่อไปนี้ โรคมะเร็ง บุหรี่อาจทำให้ผู้สูบเสี่ยงเป็นมะเร็งได้เกือบทุกประเภท เช่น มะเร็งริมฝีปาก มะเร็งลิ้น มะเร็งจมูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ส่วนใหญ่อาจกระทบกับสุขภาพปอด และเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งปอดได้มากกว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด บุหรี่อาจส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ สมอง หรืออวัยวะอื่น ๆ ได้น้อยลง ปัญหาทางเดินหายใจ บุหรี่อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ทำให้หายใจลำบาก และอาจพัฒนานำไปสู่โรคหอบหืด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ที่สูบบุหรี่อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น 30-40 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังอาจทำให้อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคไตแย่ลงได้ การติดเชื้อ สารเคมีในบุหรี่อย่างสารนิโคติน ปรอท ตะกั่ว เป็นต้น อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง และมีแนวโน้มจะติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสได้ง่ายขึ้น สูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน เนื่องจากบุหรี่อาจลดประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือด จึงส่งผลให้เลือดที่ไปหล่อเลี้ยงในเนื้อเยื่อหูชั้นในและดวงตาน้อยลง นำไปสู่การสูญเสียการได้ยินรวมถึงการมองเห็นเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลให้ตาบอดได้ นอกจากนี้ผู้สูบบุหรี่อาจทำให้ผู้คนรอบข้างสูดดมสารเคมีจากควันบุหรี่เข้าไป ซึ่งอาจส่งผลให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้เดียวกัน วิธีเลิกบุหรี่  วิธีเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง  สำหรับวิธีการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง มีดังนี้ เคี้ยวหมากฝรั่งที่มีสารนิโคตินทดแทนการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่อาจนำไปสู่การสูบบุหรี่ เช่น […]


การดูแลสุขอนามัย

ถ่ายพยาธิ จำเป็นอย่างไร ทำได้วิธีใดบ้าง

ถ่ายพยาธิ เป็นวิธีหนึ่งในการกำจัดพยาธิที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งสาเหตุที่ควรถ่ายพยาธิ เพราะพยาธิ คือปรสิตที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ตั้งแต่ยังเป็นไข่พยาธิ ผ่านการปนเปื้อนในอาหาร น้ำ เป็นต้น หากปรสิตอาศัยอยู่ในร่างกาย อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ พยาธิ คืออะไร พยาธิ คือปรสิตที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางปาก ทางผิวหนัง ทางสายรกในครรภ์ พบได้บ่อยในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ และเมื่ออาศัยอยู่ในร่างกาย ก็สามารถวางไข่ ฟักตัวเพิ่มจำนวน คอยแย่งอาหาร หรือดูดเลือด จนอาจก่ออันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ พยาธิสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พยาธิตัวกลม สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่อาจปนเปื้อนไข่พยาธิ พยาธิตัวกลมที่พบบ่อย เช่น พยาธิเข็มหมุดหรือพยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิตัวแบน มักติดเชื้อจากการรับประทานอาหารดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เข้าสู่ร่างกายทางปาก และอาศัยอยู่ในลำไส้ พยาธิตัวแบนที่พบบ่อย เช่น พยาธิตัวตืด  พยาธิใบไม้ มักติดเชื้อจากการทำกิจกรรมในแหล่งน้ำจืด เช่น ว่ายน้ำ เล่นน้ำ หรือรับประทานอาหารจำพวกปลาน้ำจืดที่กึ่งสุกกึ่งดิบ พยาธิชนิดนี้สามารถอาศัยอยู่ในหลอดเลือด ลำไส้ ปอด ตับ ทำไมถึงต้อง ถ่ายพยาธิ ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิจะโดนแย่งอาหาร ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายทรุดโทรม และอาจทำให้เสียสุขภาพจิต […]


การปฐมพยาบาล

หัวโน อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

หัวโน คือ อาการที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม กระแทก จนเกิดการปูดนูนขึ้นมาในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยอาการหัวโนอาจมีอาการเจ็บเล็กน้อยในระยะสั้น รวมถึงระยะยาวหากเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ซึ่งควรหมั่นสังเกตอาการข้างเคียง และหากมีอาการใดที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ หัวโน เกิดจากอะไร  หัวโน หมายถึง ศีรษะบริเวณที่ได้รับการกระทบกระเทือกจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการปูดนูนขึ้นมา หากกระแทกไม่แรงอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย และสามารถหายได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยส่วนใหญ่หัวโนในเด็กมักเกิดจากการชนสิ่งของ เช่น เฟอร์นิเจอร์ มุมโต๊ะ รวมถึงหกล้ม ถึงแม้ว่าเด็กอาจตกลงมาไม่สูง แต่การกระแทกอาจส่งผลกระทบต่อศีรษะของเด็ก ทำให้เกิดการฟกซ้ำ หรือปวดศีรษะ    อย่างไรก็ตามหัวโนอาจส่งผลกระทบต่อศีรษะ และเนื้อเยื้อรอบศีรษะได้หากเกิดการกระแทกที่รุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาว เช่น เลือดคั่งในสมอง พูดติดขัด  หัวโน พบได้บ่อยแค่ไหน หัวโนอาจพบเจอได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนมากมักพบเจอในวัยเด็กที่ซุกซน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังในการดูแล เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แต่วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน อาการ อาการของหัวโน  หากหัวโนจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงมากนัก อาจมีอาการฟกซ้ำ เวียนศีรษะเล็กน้อย มึนงง ซึ่งอาการอาจเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่หากได้รับการกระทบกระเทือนที่รุนแรง อาจเกิดอาการเหล่านี้ได้ เช่น  ปวดศีรษะรุนแรง และเรื้อรัง  อาเจียนบ่อย จนผิดสังเกต  […]


การปฐมพยาบาล

พลัดตก หกล้ม ปฐมพยาบาลขั้นต้นอย่างไรให้สบายใจหายห่วง

อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดอย่างการ พลัดตก หกล้ม สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่และทุกเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการเดินที่ไม่ระมัดระวัง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการลื่น สะดุด หรือชนเข้ากับสิ่งของ ทำให้หกล้มได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อหกล้มแล้วก็จำเป็นที่จะต้องมีการปฐมพยาบาลในขั้นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพอื่น ๆ แต่การปฐมพยาบาลเมื่อหกล้มทำได้อย่างไรบ้างนั้น มาหาคำตอบได้ที่บทความนี้จาก Hello คุณหมอ เมื่อ หกล้ม ปฐมพยาบาลอย่างไร หากเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ มีการ พลัดตก หกล้มเกิดขึ้น สามารถปฐมพยาบาลได้ดังนี้ ทันทีที่พบว่ามีการ พลัดตก หกล้มให้รีบเข้าไปประคอง และดูว่าเป็นการหกล้มอย่างรุนแรง เช่น ศีรษะฟาดลงกับพื้น ได้รับบาดเจ็บที่คอ หลัง สะโพก ต้นขาหรือไม่ หากพบว่ามีบาดแผล ให้ทำความสะอาดบาดแผลทันที โดยก่อนทำความสะอาดบาดแผล ผู้ที่ทำแผลควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเกิดการติดเชื้อจากมือที่ไม่สะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการฟกช้ำ หรือบวมอย่างรุนแรง ให้ทำการประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็งไปที่บาดแผล หรือบริเวณที่มีการฟกช้ำ หรือบวม ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง ให้รับประทานยาแก้ปวด นำผู้บาดเจ็บไปพักผ่อนและรอดูอาการ และสังเกตอาการใน 24 ชั่วโมงแรก ข้อควรระวังในการปฐมพยาบาลเมื่อ หกล้ม ก่อนลงมือทำการปฐมพยาบาล ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ตรวจดูบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ หากเป็นการ พลัดตก หกล้มที่ไม่รุนแรงก็สามารถทำการปฐมพยาบาล และให้พักผ่อนได้ หากเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน