เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังของคนเราก็จะแห้ง ขาดความชุ่มชื้น ทั้งยังบอบบางกว่าปกติด้วย หากคุณไม่ระมัดระวังสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ก็อาจทำให้เกิด แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง ได้ ซึ่งเมื่อเกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง ลองมาติดตามกันในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ
แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง เป็นอย่างไร
แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง (Skin Tears) ถือเป็นเรื่องปกติมากเมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น เนื่องจากผิวหนังจะแห้งและบอบบางมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากผิวที่มีสุขภาพดี ผิวสุขภาพดีนั้นเมื่อออกแรงกดเพียงนิดเดียวมันก็สามารถยืดและขยายตัวออกจากกันได้ทันที สำหรับบางคนแล้ว การมีผิวที่สุขภาพดีก็อาจทำให้ผ้าปิดแผลแบบกาวติดกับผิวได้ยาก เมื่อดึงออกจากผิวหนังก็ยังไม่ทำให้เกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังอีกด้วย
แผลฉีกขาดที่ผิวหนังเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระตุ้นที่เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังมีความบอบบางมากซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเมื่อมีอายุที่มากขึ้น เนื่องจากหลอดเลือดที่กระจายตัวตามผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีความกระด้าง หรือหนังแข็ง (Sclerotic) มากขึ้น การส่งผ่านความชื้นและสารอาหารไปยังเนื้อเยื่อผิวหนังก็ลดน้อยลง
ประเภทของ แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง
แผลฉีกขาดที่ผิวหนังมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่ โดยแผลฉีกขาดที่ผิวหนังแต่ละประเภท มีดังนี้
แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภทที่ 1
แผ่นหนัง (Skin Flap) มีความสมบูรณ์เพียงพอสำหรับการปิดแผลทั้งหมด แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภทนี้อาจหายได้หากมีการแทนที่ของแผ่นหนังในส่วนที่ขาดหายไป โดยที่คุณจำเป็นจะต้องพันแผลเอาไว้ด้วยผ้าปิดแผล สำหรับแผลฉีกขาดที่ผิวหนังภายใต้ประเภทแผลฉีกขาดประเภทที่ 1 ที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้เป็นสิ่งที่คุณจะต้องจัดการ แม้ว่าแผ่นหนังที่เอามาแทนที่นั้นจะสามารถพัฒนาได้หรือไม่ก็ตาม
- แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภท 1a หมายถึงแผ่นหนังเป็นสีชมพูและมีสุขภาพดี
- แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภท 1b แผ่นหนังจะซีดเป็นสีฟ้าหรือม่วง ซึ่งหมายความว่าอาจไม่สามารถรักษาได้
แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภทที่ 2
แผ่นหนังเสียหายและปิดไม่สนิท ในกรณีนี้แผลฉีกขาดที่ผิวหนังจะไม่สามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากแผ่นหนังจะปิดไม่ถึงขอบของแผล เช่นเดียวกับด้านบน
- แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภท 2a หมายถึงแผ่นหนังเป็นสีชมพู
- แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภท 2b หมายถึงแผ่นหนังเป็นสีซีดหรือสีน้ำเงิน
แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภทที่ 3
แผ่นหนังหายไปหมด ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานที่สุด สิ่งสำคัญกว่าการรักษา คือ การป้องกันไม่ให้ผิวหนังฉีกขาด การปิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังทำได้น้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแผ่นหนังหายไป หากแผลฉีกขาดที่ผิวหนังขาดการรักษา ก็ควรจะเน้นไปที่การรักษาความสะอาดของบาดแผลและป้องไม่เกิดความเสียหายเพิ่มเติม
วิธีการรักษาแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง
เป้าหมายโดยรวมของการรักษาแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง คือ การรักษาบาดแผลให้ปราศจากการติดเชื้อ ปกป้องผิวหนังและเนื้อเยื่อโดยรอบในขณะที่รักษาความชุ่มชื้น เพื่อส่งเสริมการรักษา หากยังคงมีแผ่นหนังปิดผิวไว้ ซึ่งเป็นแผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภทที่ 1 และ 2 คุณต้องพยายามรักษาและทำให้แผลใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม โดยไม่ยืดผิวหนังให้มากจนเกินไป
ก่อนที่จะการรักษาบาดแผล ควรเริ่มต้นด้วยการล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ สวมถุงมือ แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้
- หากบาดแผลมีเลือดออก ให้ใช้แรงกดและยกขึ้นให้มากที่สุด
- ล้างผิวหนังที่ฉีกขาดด้วยน้ำประปาหรือน้ำเกลือ ระวังอย่าให้ผิวหนังแย่ลง และอย่าใช้ไฮโดนเจนเปอร์ออกไซด์ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแผลอื่น ๆ
- ปล่อยให้ผิวหนังที่ฉีกขาดโดยอากาศจนแห้ง หรือซับให้แห้งอย่างระมัดระวัง อย่าถูแผล หากมีแผ่นหนังให้ค่อย ๆ วางกลับเข้าที่หรือใกล้เคียงที่สุด อย่ายืดออกหรือออกแรงมากเกินไป
- ปิดผิวที่ฉีกขาดด้วยผ้าพันแผลที่หมดกับแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง
แผลฉีกขาดที่ผิวหนังบางชนิดอาจรุนแรงมากและอาจจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ หากคุณไม่สบายใจกับการรักษาความรุนแรงของแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง หรือสังเกตเห็นเห็นสัญญาณของการติดเชื้อให้รีบไปพบคุณหมอโดยทันที
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง
คุณสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังได้ โดบการสอบถามจากแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเฉพาะสำหรับคุณ นอกจากนั้นคุณอาจจะลองวิธีเหล่านี้ดูก็ได้
ดูแลผิวให้ชุ่มชื้น
ผิวแห้งอาจทำให้เกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง และนี่คือจุดสำคัญที่สุดในการป้องกัน พยายามหลีกเลี่ยงสบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง ทาครีมบำรุงผิวที่คุณภาพอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง นอกจากนั้น คุณยังสามารถปกปิดผิวหนังที่บอบบางเป็นพิเศษด้วยแบริเออร์ฟิล์ม (Barrier Film) ครีม หรือพันด้วยผ้าพันแผล
สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
แผลฉีกขาดที่ผิวหนังเป็นเรื่องปกติในประชากรผู้สูงอายุ และมักจะเกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด เช่น การกระแทกเฟอร์นิเจอร์ หรือรอยขีดช่วยจากแหวนแต่งงาน หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุเหล่านี้ ด้วยการนำพรมหรือสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ออก เพื่อไม่ให้เกิดไปชนสิ่งของต่าง ๆ ติดแผ่นกันกระแทกบนขอบคม ๆ รอบบ้าน ระวังสิ่งของต่าง ๆ เช่น ผ้าปูที่นอนที่สามารถขูดกับผิวหนังได้ หรือมุมโต๊ะ เป็นต้น
สวมชุดป้องกัน
การปกคลุมผิวที่บอบบางส่วนใหญ่ด้วยเสื้อผ้า จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่ผิวหนังได้หลายอย่าง สิ่งนี้อาจทำได้ง่ายเหมือนกับการใส่เสื้อผ้าปกติของคุณเพียงชิ้นเดียว แต่ควรสวมเสื้อแขนยาวและถุงเท้ายาว อย่าลืมระมัดระวังเมื่อต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและระวังซิป กระดุม และสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถรัดผิวหนังของคุณได้
[embed-health-tool-bmi]