backup og meta

พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อ ลูกงอแง ตอนดึก

พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อ ลูกงอแง ตอนดึก

การเลี้ยงเด็กนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทั้งเวลาและความรัก ความเอาใจใส่ เพราะเด็กทารก ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ว่าเขานั้นต้องการอะไร จึงทำให้เมื่อเขาต้องการอะไร หรือเกิดอะไรขึ้นมักจะร้องไห้โยเย แต่บางครั้ง ลูกงอแง ตอนดึก จนทำให้พ่อแม่หลายคนอดนอนจนขอบตาดำ เพราะอดหลับจากการที่ลูกงอแงตอนกลางคืน ให้นมก็แล้วก็ยังไม่หยุดงอแง วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ไปดูกันว่าการลูก ๆ ร้องไห้ งอแงตอนกลางคืนนั้นมาจากอะไร แล้วพ่อแม่อย่างเราควรรับมืออย่างไรดี

สาเหตุที่อาจทำให้ลูกงอแง ตอนดึก

การที่ลูกน้อยของเราร้องไห้ งอแงในช่วงกลางคืน ไม่ว่าจะโอ๋อย่างไร ให้นมอย่างไรก็ยังไม่ดีขึ้น ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำลูกร้องไห้ งอแงตอนกลางคืน

ความหิว

ในช่วงวัยเด็กเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายเติบโตขึ้นก็ทำให้พวกเขาต้องการอาหารเพื่อไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่าง ๆ จึงทำให้เขาอาจจะรู้สึกหิวได้ บางครั้งดารที่ลูกน้อยงอแงอาจมีสาเหตุมาจากการได้รับนมที่ไม่เพียงพอ

นมแม่ไหลน้อยลง

บางครั้งอาการหิวอาจไม่ใช่ปัญหาที่ทำให้ลูกงอแง เพราะบางครั้งขณะที่คุณแม่ให้นมเขาก็มีอาการงอแงขึ้นมา นั่นอาจเป็นเพราะปริมาณนมที่ไหลน้อยลงจากเต้านมของคุณแม่ ในช่วงกลางคืนองค์ประกอบของน้ำนมมีการเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้น้ำนมแม่ไหลได้ช้าลง จนบ้างครั้งทำให้เจ้าตัวเล็กของเราหงุดหงิด จนร้องไห้งอแงได้

แก๊สในกระเพาะอาหาร

ทารกในเป็นวัยที่ยังไม่สามารถระบายแก๊สที่มีได้อย่างดีพอ ทำให้ลูกรู้สึกไม่ตัว ไม่สบายท้องจากการที่มีแก๊สมากเกินไป จนร้องไห้

ลูกน้อยเหนื่อยเกินไป

ความคิดที่ว่าเด็กตื่นมากขนาดไหนแล้วจะหลับได้นาน หลับได้เร็วนั้น ถือเป็นความเชื่อที่ผิด หากเด็ก ๆ ตื่นมากกว่าปกติ โดยที่ไม่ได้พักระหว่างวันนั้นอาจทำให้เขารู้สึกเหนื่อยล้า จนทำให้เขางอแงและนอนหลับได้ยากในเวลากลางคืน

ทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกที่มีการคลอดก่อนกำหนดนั้น ระบบประสาทยังพัฒนาได้ไม่ดีพอ ทำให้พวกเขามีความไวต่อเสียง แสง และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา เช่น แสงจากทีวี เสียงรอบข้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เขาร้องไห้ได้อย่างง่าย

เมื่อ ลูกงอแง ตอนดึก วิธีเหล่าอาจช่วยได้

เด็กทารกที่อยู่ในช่วงอายุ 2-3 สัปดาห์แรกมักจะมีอาการร้องไห้ งอแงในช่วงกลางคืน เนื่องจากเป็นวัยที่อยู่ในการเจริญเติบโต และมักจะตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะช่วงอายุ 6 สัปดาห์เป็นช่วงที่เด็กมักจะร้องไห้งอแงหนักที่สุด หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วอาการร้องไห้ในช่วงกลางคืนนั้นก็มักจะดีขึ้นและลดลงเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 3-4 เดือน ซึ่งระยะเวลานั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปในเด็กแต่ละคน แต่ในช่วงที่เขางอแงนั้นวิธีจัดการเหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยให้คุณแม่ได้

อุ้มลูกไว้

การที่เด็กทารก ได้อยู่ในอ้อมอกแม่นั้นจะช่วยให้เขารู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย จนทำให้เขารู้สึกสบายขึ้นได้

พาเดิน

การอุ้มแล้วพาเขาเดินนั้นนอกจากเขาจะได้อยู่ใกล้ชิดกับพ่อและแม่แล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไม่ให้เขารู้สึกเบื่อ

ลดสิ่งเร้าต่าง ๆ

สิ่งเร้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสง เสียง นั้นเป็นสิ่งที่กระตุ้นความสนใจของเด็กได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากลดสิ่งเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยให้เขาร้องไห้ งอแงน้อยลงได้

นวดทารก

การสัมผัสเป็นวิธีที่ดี ที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้คุณกับลูกได้ นอกจากนี้การนวดยังทำให้เขาผ่อนคลายได้ด้วย

ใช้เสียงช่วยให้ผ่อนคลาย

การใช้เสียงที่มีความนุ่ม ละมุน อ่อนโยน ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ทำขึ้นเองหรือการเปิดเพลงเบา ๆ สามารถทำให้ลูกนั้นรู้สึกผ่อนคลายลง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Why Is My Baby Fussy at Night?

https://www.healthline.com/health/baby/fussy-baby-at-night

Why Newborn Babies Are Fussy In The Evening (Besides Colic) — aka The

Witching Hour

https://www.babysleepsite.com/newborns/newborn-babies-fussiness-evening-why/

How to Calm a Fussy Baby: Tips for Parents & Caregivers

https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/crying-colic/Pages/Calming-A-Fussy-Baby.aspx

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/09/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการฝึกให้ทารกว่ายน้ำ

การเล่นบทบาทสมมติ สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 09/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา