วัยรุ่น

เมื่อลูกของคุณเริ่มเข้าสู่ "วัยรุ่น" (หญิงอายุ 12-17 ปี และชายอายุ 14-19 ปี) แน่นอนว่าการดูแลสุขภาพและเรื่องอื่น ๆ โดยรวมก็ต้องเปลี่ยนไปจากตอนที่ยังเป็นเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกและสนับสนุนพวกเขาได้ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

วัยรุ่น

สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทํา กับลูกวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

วัยรุ่น เป็นวัยที่ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนและหงุดหงิดง่าย นอกจากนั้น ยังอาจเริ่มมีสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ รวมทั้งกิจกรรมใหม่ ๆ ที่พ่อแม่อาจไม่คุ้นเคยและเริ่มตั้งคำถามหรือต้องการที่จะควบคุมพฤติกรรมของลูก จนอาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ทั้งนี้ พ่อแม่ควรทำความเข้าใจว่า สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทำกับ ลูกวัยรุ่น มีอะไรบ้าง [embed-health-tool-ovulation] พฤติกรรมของวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องการความเข้าใจและความรักเช่นเดียวกับวัยอื่น ๆ เพียงแต่พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ระดับฮอร์โมน อารมณ์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นความหงุดหงิด ไม่สบายตัว นอกจากนี้ ความต้องการในชีวิตเองก็เริ่มเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ต้องการอยู่กับเพื่อน มีความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการการควบคุม อยากรู้อยากเห็น เริ่มทดลองสิ่งต่าง ๆ และอาจเริ่มทำตัวท้าทายพ่อแม่ เริ่มมีความลับ อย่างไรก็ตาม แม้ลูกวัยรุ่นจะแสดงออกว่าพวกเขาไม่ต้องการพ่อแม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขายังต้องการกำลังใจ ความรัก ความเอาใจใส่ และความเข้าใจจากพ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่ อาจจะต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน และแสดงออกอย่างพอดีให้ลูกวัยรุ่นทราบว่า รักและเป็นห่วง แต่ให้อิสระในการตัดสินใจ หากลูกมีปัญหาก็พร้อมจะอยู่เคียงข้าง นอกจากนั้น พ่อแม่ควรทราบว่า สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทํา กับลูกวัยรุ่น […]

สำรวจ วัยรุ่น

สุขภาพจิตวัยรุ่น

เรื่องนี้อย่าปล่อยผ่าน การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ปัญหาใหญ่ระดับโลก

การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยผ่านไปได้เพราะหนึ่งชีวิตมีความสำคัญ และพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นสามารถเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคน ดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญและใส่ใจปัญหาที่ลูกของคุณอาจกำลังเผชิญอยู่ เพื่อให้ง่ายต่อการปกป้องลูกคุณจากการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ลองมาอ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าวัยรุ่นกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ อะไรที่ทำให้เสี่ยงต่อ การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดบางอย่างของวัยรุ่นที่กำลังประสบปัญหามีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ซึ่งวัยรุ่นอาจกำลังเผชิญกับความเครียด ความกังวลหรือความกดดันจากรอบตัว อีกทั้งช่วงวัยรุ่นยังเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ต้องการความเป็นอิสระที่มักขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และความคาดหวังจากคนในครอบครัวและคนรอบข้าง วัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ หรืออาการนอนไม่หลับ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น และยิ่งวัยรุ่นที่มีความกดดันจากปัญหาในชีวิต เช่น พ่อแม่หย่าร้าง หรือถูกกลั่นแกล้ง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปอีก หรืออาจจะเป็นเรื่องอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติทางจิตใจ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ความรู้สึกหงุดหงิดกับเรื่องต่าง ๆ ความรู้สึกสิ้นหวังและไรค่าที่มาพร้อมกับภาวะซึมเศร้า เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว ประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย การถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดนทารุณกรรม ใช้ความรุนแรง หรือการกลั่นแกล้ง มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างครอบครัว เพื่อนและสังคม เกิดความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด สามารถเข้าถึงวิธีการฆ่าตัวตายได้ เช่น อาวุธปืน หรือยาต่าง ๆ มีปัญหาทางร่างกายอาจด้วยโรคร้ายหรือพิการทางร่างกาย เด็กที่เป็นลูกบุญธรรม กลุ่มเพศ LGBTQ ที่โดนต่อต้านจากครอบครัวและสังคม สัญญาณเตือน การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น การฆ่าตัวตายในวัยรุ่นมักเกิดได้จากหลายสาเหตุข้างต้น โดยอาจมีสัญญาณอาการ ดังนี้ พูดถึงการตายหรือการฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง อาจส่งสัญญาณบอกใบ้ว่าจะไม่อยู่แล้ว พูดถึงความรู้สึกสิ้นหวังหรือรูสึกผิด ออกห่างจากครอบครัวและสังคมเพื่อน อาจเขียนจดหมายเกี่ยวกับเรื่องความตาย เริ่มแจกหรือมอบสิ่งของแทนใจให้คนในครอบครัว หมดความชื่นชอบในสิ่งที่เป็นงานอดิเรก เหม่อลอย มีปัญหาทางความคิด พฤติกรรมการกิน การนอนเปลี่ยนแปลงไป เข้าไปมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเสี่ยง ไม่อยากออกไปไหนหรือทำอะไร เช่น การไปโรงเรียน เล่นกีฬา การป้องกัน ปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถมีส่วนในการช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นได้ ดังนี้ พูดคุยกับบุตรหลานเกี่ยวกับสุขภาพจิต หากวัยรุ่นมีอาการเศร้า วิตกกังวล […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

3 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม เด็กเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 13-18 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เช่น สูงขึ้นหลายเซนติเมตรในเวลาไม่กี่เดือน เริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น อาจทำให้วัยรุ่นไม่แน่ใจว่าจะต้องรับมืออย่างไรและอาจต้องขอคำปรึกษาจากคุณพ่อคุณแม่ [embed-health-tool-bmr] การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น  ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม และการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นมักเกิดขึ้นแบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางร่างกาย เช่น ความสูงที่อาจเพิ่มขึ้นได้หลายเซนติเมตรในเวลาไม่กี่เดือน หรืออาจเริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ในแต่ละด้าน มีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ผู้หญิงมักมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนผู้ชาย บางคนอาจเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นหญิงที่พบได้ เช่น เต้านมเริ่มขยาย รูปร่างและส่วนสูงเปลี่ยนแปลง อวัยวะเพศเปลี่ยนแปลงหรือเจริญเติบโตขึ้น เริ่มมีขนรักแร้และขนตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น อวัยวะเพศ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 10-16 ปี ผู้ชายมักเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตั้งแต่อายุ 11-12 ปี หรือบางคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นได้ในช่วงอายุ 9-14 ปี โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นชายที่พบได้ เช่น องคชาตและอัณฑะเจริญเติบโตขึ้น รูปร่างและส่วนสูงเปลี่ยนแปลง เริ่มมีความรู้สึกทางเพศมากขึ้น อวัยวะเพศแข็งตัวบ่อยและอาจมีฝันเปียก มีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น และใบหน้าเริ่มเปลี่ยนแปลง บางคนเริ่มมีเสียงแตกหนุ่ม เริ่มมีขนรักแร้และขนตามอวัยวะต่าง […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่ควรเฝ้าระวัง ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง

ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่พบเจอส่วนใหญ่มักมาจากสภาพแวดล้อมรอบด้านพวกเขา จนทำให้ลูกรักมักเผชิญกับสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก และอารมณ์ หากคนในครอบครัวไม่รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จากที่เด็ก ๆ เลือกจะเก็บไว้ภายในจิตใจ อาจนำมาสู่การแสดงออกในรูปแบบเหตุการณ์รุนแรงก็เป็นได้ สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพจิต ที่ผู้ปกครองควรสังเกต หากเป็นอาการแรกเริ่มลูกรักของคุณอาจปวดศีรษะบ่อย นอนหลับยาก พร้อมน้ำหนักที่ลดลง แต่กรณีเมื่อสภาวะจิตใจของพวกเขาย่ำแย่ลง คุณพ่อคุณแม่ทุกควรควรสังเกตถึงสัญญาณเตือนจากปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปของลูกรัก ดังต่อไปนี้ ความโศกเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และรุนแรง รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมใด ๆ หาที่ระบายด้วยการทำร้ายตัวเอง หรือใช้สารเคมีผิดกฎหมายเข้ามาช่วยคลายความเครียด อยากอยู่คนเดียว เลี่ยงการเจอกับผู้คนรอบข้าง บางครั้งอาจมีการพูดถึงความตาย ผลการเรียนไปในเชิงลบ หรือมีการขาดเรียน โดดเรียนบ่อยครั้ง เป็นต้น แน่นอนว่าเมื่อสัญญาณเตือนข้างต้นปรากฏขึ้น คุณควรพาเข้ารับขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเภททันที เนื่องจากแพทย์อาจมีหลักจิตวิทยา และทักษะการสื่อสารที่อาจทำให้เด็กช่วงวัยรุ่นนี้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะเด็กที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น บางคนอาจไม่มีความกล้าพอที่จะพูดคุยกับคนในครอบครัวได้อย่างเปิดเผย 5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง เมื่อปัญหาต่าง ๆ รุมเร้าเกินกว่าที่จิตใจของพวกเขาจะรับไหว อาจทำให้เด็ก ๆ นั้นเผชิญกับโรคที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพจิต โดยไม่รู้ตัว ดังนี้ 1. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรควิตกกังวล คือความวิตกกังวลที่มากจนเกินไปของผู้ป่วย และมาจากปัจจัยหลาย ๆ ทาง เช่น สถานการณ์แต่ละวันในสังคม เหตุการณ์รุนแรงที่ฝังอยู่ในความทรงจำตั้งแต่อดีต ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการตื่นตระหนก หวาดระแวง และตึงเครียดตลอดเวลา 2. […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น ในช่วงอายุ 12-17 ปี มักมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน รวมถึงการเลี้ยงดูของคนในครอบครัว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการวัยรุ่น เพื่อนำไปใช้ในการฝึกฝนและกระตุ้นพัฒนาการของวัยรุ่น เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น เปลี่ยนไปอย่างไร คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า เมื่อเด็กกำลังเข้าสู่ช่วงของวัยรุ่น ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการและการใช้ชีวิต ที่อาจส่งผลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้นกับวัยรุ่นในช่วงอายุต่าง ๆ อาจมีดังนี้ พัฒนาการวัยรุ่น อายุ 12-14 ปี เด็กวัยรุ่นในช่วงอายุ 12-14 ปี เป็นช่วงที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น มักเริ่มจดจ่ออยู่กับการค้นหาในสิ่งที่ตัวเองชอบ รักอิสระ อยากดูแลตัวเองให้มากขึ้นเพื่อเข้าสู่สังคม เช่น การเลือกเสื้อผ้า จัดทรงผม รวมถึงเริ่มมีอารมณ์ที่แปรปรวนต่างจากกับช่วงวัยเด็ก พร้อมทั้งมีกระบวนการคิดที่ค่อนข้างซับซ้อน และเริ่มแสดงความรู้สึกออกมาให้คุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบตัวได้ทราบว่า พวกเขากำลังมีความคิด และความรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น ๆ เนื่องจากเด็กช่วงวัยรุ่น อาจถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด หากเข้าไปอยู่ในกลุ่มสังคมใหม่ ๆ ในเชิงลบ เพราะพวกเขาอาจต้องการเป็นที่ยอมรับในคนหมู่มาก แต่กลับกันเมื่อพวกเขาเข้าไปอยู่สภาพแวดล้อมที่ดี หรือได้รับการเลี้ยงดูอย่างเอาใจใส่จากคนในครอบครัว เด็กก็อาจมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตตามต้นแบบที่พวกเขาอยากจะเป็นในอนาคต เช่น สนใจเล่นกีฬา เพื่ออยากเป็นนักกีฬามืออาชีพ พัฒนาการวัยรุ่น อายุ 15-17 ปี เด็กวัยรุ่นช่วงอายุ 15-18 ปี […]


สุขภาพวัยรุ่น

เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพวัยรุ่น

วัยรุ่น เป็นช่วงชีวิตที่สำคัญ ควรได้รับการส่งเสริมในหลาย ๆ ด้าน อย่างถูกวิธี การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ และความคิด การดูแลสุขภาพวัยรุ่น ที่เหมาะสมจึงนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้วัยรุ่นมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและปลอดภัยจากโรค รวมทั้งสุขภาพจิตที่ดีเช่นเดียวกัน [embed-health-tool-bmi] ปัญหาสุขภาพในวัยรุ่น ปัญหา สุขภาพวัยรุ่น ที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหาสุขภาพจิต โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของปัญหา สุขภาพวัยรุ่น ที่อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมา ปัจจัยอื่นที่สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้ คือ ความรุนแรง ความรู้สึกด้อยค่า ความวิตกกังวล ปัญหาทาอารมณ์ ปัญหาทางครอบครัว การดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่นจึงเป้นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย โรคกินผิดปกติและภาวะทุพโภชนาการ วัยรุ่น หลายคนอาจมีความกังวลเรื่องรูปร่างและน้ำหนัก จนอาจนำไปสู่ปัญหาการกินผิดปกติ เช่น กินน้อยเกินไป กินมากเกินไป และอาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพมากมายในอนาคต  ในขณะเดียวกัน วัยรุ่นบางคนอาจไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม จึงทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ การเกี่ยวข้องกับความรุนแรง ความสาเหตุเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตใน วัยรุ่น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยรุ่นชายและเด็กหญิงอายุประมาณ 20 ปี ถูกล่วงละเมิดทางเพศ สาเหตุหลักของปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่มากจากความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้เกิดความก้าวร้าวในวัยรุ่น เอชไอวี/ เอดส์ เอชไอวี (HIV) เป็นโรคหนึ่งที่คุกคามสุขภาพวันรุ่นเนื่องจากวัยนี้เป็นวัยอยากรู้อยากลองจึงอาจเกิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การใช้สารเสพติด ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น หรือ […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจ  เพราะสุขภาพจิตด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด หากตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต หรืออยากเริ่มดูแลสุขภาพจิต [embed-health-tool-ovulation] การดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น สำคัญอย่างไร การดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ไม่ควรละเลยสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน เพราะสุขภาพจิตที่ดีจะช่วยให้สามารถรับมือกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ การตัดสินใจ และความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น ที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง และเป็นรอยต่อก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจและดูแลสุขภาพจิตของลูกในช่วงวัยรุ่น คอยสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ แต่ไม่เข้าใกล้หรือสั่งสอนจนทำให้ลูกอึดอัด แต่แสดงออกและบอกให้ลูกในช่วงวัยรุ่นรู้ว่า ครอบครัวพร้อมจะสนับสนุน เป็นกำลังใจ และพร้อมให้คำปรึกษาเมื่อพวกเขาต้องการ วิธีการ ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เคล็ดลับในการดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจทำได้ ดังนี้ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดูแลให้วัยรุ่นรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตด้วย เพราะแร่ธาตุบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสมดุลทางอารมณ์ ช่วยจัดการกับความเครียด และความวิตกกังวล นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ยังอาจเป็นผลดีต่อสุขภาพจิต เพราะคาเฟอีนอาจทำให้รู้สึกกระวนกระวายและวิตกกังวลได้ งดเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเสพยาเสพติด สามารถส่งผลต่อ สุขภาพจิต ทำให้รู้สึกหดหู่ วิตกกังวล และขาดสมาธิมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ร่างกายขาดสารไทอามีน (Thiamine) ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง ถ้าขาดไทอามีนอาจนำไปสู่ปัญหาทางความจำอย่างรุนแรง ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว […]


สุขภาพวัยรุ่น

อาหารว่างสำหรับวัยรุ่น แบบไหนถึงจะดีต่อสุขภาพ

วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารไปพัฒนาร่างกายให้เจริญเติบโตอย่างสมวัย ดังนั้น การเลือกอาหารว่างสำหรับวัยรุ่นให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโตให้สมบูรณ์สมวัย และอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาในภายหลัง [embed-health-tool-bmi] อาหารว่างสำหรับวัยรุ่น ที่กินแล้วดีต่อสุขภาพ ผลไม้สด ผลไม้สดส่วนใหญ่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ และมีคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงาน ทำให้วัยรุ่นมีพลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเขา โดยผลไม้ที่เหมาะเป็นอาหารว่างสำหรับวัยรุ่น เช่น แอปเปิ้ล กล้วย ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ลูกแพร์ ลูกพีช เสาวรส และอย่าลืมให้เขากินผลไม้หลากหลาย จะได้ได้รับสารอาหารหลายชนิดตามไปด้วย ป๊อปคอร์น ป๊อปคอร์นมีไฟเบอร์สูง แต่หากเป็นป๊อปคอร์นกึ่งสำเร็จรูป หรือป๊อปคอร์นที่ขายอยู่ทั่วไป ก็อาจมีโซเดียม (Sodium) ไขมัน หรือน้ำตาลสูง ทางที่ดี คุณจึงควรทำป๊อปคอร์นเอง หรือหากไม่สะดวก ก็ให้เลือกป๊อปคอร์นกึ่งสำเร็จรูปที่มีไขมันและโซเดียมน้อย และควรหลีกเลี่ยงป๊อปคอร์นชนิดที่เคลือบคาราเมล คุณสามารถเติมโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ ชีส ลงในป๊อปคอร์นได้ด้วย โปรตีนเหล่านี้นอกจากจะทำให้วัยรุ่นได้สารอาหารครบถ้วนขึ้น และช่วยให้อยู่ท้องนานขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรสชาติ และรสสัมผัส ทำให้เขาไม่เบื่อป๊อปคอร์นแบบปกติด้วย สมูทตี้ สมูทตี้ผลไม้ถือเป็นอาหารว่างสำหรับวัยรุ่นอีกหนึ่งอย่างที่ทำง่ายมาก ๆ แถมยังสามารถดัดแปลงส่วนผสมและรสชาติตามต้องการได้ด้วย สูตรสมูทตี้ที่เหมาะกับวัยรุ่น เช่น สมูทตี้กล้วยหอมบลูเบอร์รี่ สมูทตี้ควินัว สมูทตี้ดาร์กช็อกโกแลตกับเชอรี่ สมูทตี้กล้วยหอมเนยถั่วและดาร์กช็อกโกแลต เพราะสมูทตี้สูตรต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากจะอร่อยแล้วยังให้พลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อวัยรุ่นมากด้วย แซนวิชเนยถั่ว วัยรุ่นส่วนใหญ่ชอบกินขนมอบ หรือเบเกอรี่ เช่น เค้ก […]


วัยรุ่น

ลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย พ่อแม่ควรแนะนำอย่างไรดี

ลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย ถือเป็นเรื่องปกติเมื่อเพศหญิงเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านเนื่องจากฮอร์โมนเพศ ทำให้มีขนขึ้นตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะจุดซ่อนเร้น รักแร้ ขนหน้าแข้ง หรือในเพศหญิงบางราย อาจมีหนวดจาง ๆ ขึ้นเหนือริมฝีปาก คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองอาจรู้สึกว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่หากลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย แทนการห้ามปราม ควรเปิดใจรับฟังและให้คำแนะนำที่เหมาะสม หรือร่วมกันหาวิธีกำจัดขนอย่างปลอดภัยอาจสร้างความสบายใจให้ลูกมากกว่า [embed-health-tool-ovulation] ลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย ควรเริ่มต้นอย่างไร หากลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น อาจเป็นเพราะขนที่ขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นขนรักแร้ ขนหน้าแข็ง ขนบริเวณอวัยวะเพศ รวมทั้งอาจเป็นขนบนใบหน้า หรือขนบริเวณริมฝีปากที่ทำให้ดูเหมือนมีหนวด อาจทำให้ลูกรู้สึกประหม่า กังวล และไม่มั่นใจ หรือในทางตรงกันข้ามหากลูกสาวไม่ต้องการโกนขน เช่น ขนรักแร้ ขนหน้าแข็ง คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดใจรับฟังว่าลูกสาวต้องการทำอย่างไรกับขนบนร่างกายของตนเอง และให้คำแนะนำที่เหมาะสม รวมทั้งร่วมกันศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับขนบนร่างกาย รวมทั้งสิทธิ์บนร่างกายของตัวเอง สิ่งสำคัญคือการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะตามจุดซ่อนเร้น ข้อพับ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ เคล็ดลับกำจัดขนเมื่อลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย การโกนขนนั้นมีด้วยกันหลายวิธี หากลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรแนะนำวิธีกำจัดขนที่ถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้ เตรียมผิว  พยายามทำผิวบริเวณที่จะโกนให้เปียกจนทั่ว หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ขณะโกน เรื่องจากอาจทำให้ผิวแห้ง และระคายเคืองได้ ควรแนะนำลูกของคุณให้ผลิตภัณฑ์เจล โฟม หรือโลชั่นสำหรับการโกนขนโดยเฉพาะทาลงไปบริเวณที่ต้องการจะโกนขน […]


วัยรุ่น

เมื่อเด็ก ติดสื่อลามก จะส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กอย่างไร

ในปัจจุบันสื่อลามกถือว่าแพร่หลายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในโลกโซเชียล เรียกได้ว่าหาดูและเข้าถึงได้ง่ายมากๆ แต่ในทางกลับกันการเข้าถึงสื่อลามกได้ง่ายนั้น ก็มีผลเสียงอย่างร้ายแรงต่อเด็กๆ เพราะเมื่อเด็ก ติดสื่อลามก จะทำให้มุมมองพฤติกรรมทางเพศของพวกเขาเปลี่ยนไป และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] รู้หรือไม่ว่าเด็ก ติดสื่อลามาก ได้จากทางไหนบ้าง? ความจริงแล้วเด็กสามารถติดสื่อลามกได้จาก 2 ทางหลังๆ คือ ความบังเอิญ และการได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้จากสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อน โดยความบังเอิญนั้นมักจะเกิดขึ้นจากการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตที่ผิดพลาด หรือเพราะสื่อลามกนั้นมันอาจถูกเก็บไว้ในอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ การค้นหาที่ผิดพลาดมักเกิดขึ้นได้จากการที่พยายามหาเรื่องเกี่ยวกับบุคคล ภาพยนตร์ หรืออื่นๆ แล้วผลลัพธ์ที่ค้นหาเริ่มทำให้พบลิงก์ที่ต่อไปยังสื่อลามกต่างๆ นั่นเอง อีกหนึ่งสิ่งก็คือ เด็กอาจจะบังเอิญเห็นภาพลามกที่มีอยู่ในอีเมลล์ ซึ่งนี่ถือเป็นเรื่องปกติของการได้รับอีเมล์ที่เป็นสแปม ถึงแม้จะมีป้ายกำกับบอกเอาไว้ แต่ก็มีโอกาสสูงที่พวกเขาจะคลิกเข้าไปในอีเมล์ที่มีเนื้อหาลามกอนาจาร จากการสำรวจความคิดเห็นของไซแมนเทค (Symantec) ในปี 2003 ระบุเอาไว้ว่า จากเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี 1,000 คน มีถึง 1 ใน 5 ที่เปิดอีเมล์ขยะที่ถูกส่งมายังอีเมล์ของพวกเขา นอกจากนั้นแล้วหากสมาชิกในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น คู่สมรส เด็ก หรือเพื่อน มีประวัติการค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวกับความลามกอนาจาร มันจะทำให้ลูกของคุณนั้นสามารถเข้าถึงสื่อลามกได้ง่ายยิ่งขึ้นเมื่อใช้อุปกรณ์ของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณดาวน์โหลดเนื้อหาลามกอนาจารต่างๆ เอาไว้ในคอมพิวเตอร์ นั่นก็ยิ่งจะมีโอกาสเสี่ยงสูงที่เด็กๆ จะสามารถพบเจอได้ และอย่างที่ทราบกันดีว่าเด็กๆ นั้นมักจะมองคุณเป็นแบบอย่างเสมอ […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

โรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

โรคกลัวสังคม เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรงในสภาพแวดล้อมทางสังคม ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจมีปัญหาในการพูดคุยกับผู้คน การพบปะผู้คนใหม่ ๆ อีกทั้งยังกลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่น อาการดังกล่าวนั้นไม่ได้พบเฉพาะในผู้ใหญ่ แต่เด็ก ๆ ก็อาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โรคกลัวสังคม คืออะไร โรคกลัวสังคม (Social phobia) คือ โรควิตกกังวลนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรงเมื่อต้องพูดคุยกับผู้คน พบปะผู้คนใหม่ ๆ และการเข้าสังคม นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจกลัวการถูกตัดสินหรือพิจารณาจากผู้อื่น โรคกลัวสังคมอาจเป็นความกลัวที่ไม่มีเหตุผล และอาจรุนแรงจนไม่สามรถก้าวข้ามผ่านไปได้  โรคกลัวสังคมอาจแตกต่างจากการเขินอาย เพราะการเขินอายอาจเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และอาจไม่รบกวนชีวิตประจำวัน ส่วนโรคกลัวสังคมอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ และอาจส่งผลต่อความสามารถต่าง ๆ ดังนี้ การทำงาน การเรียนหนังสือ การพัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนนอกครอบครัว โรคกลัวสังคมอาจเป็นปัญหาที่เริ่มในช่วงวัยรุ่น สำหรับบางคนอาจดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่สำหรับหลาย ๆ คนอาจไม่หายไปเองถ้าไม่ได้รับการรักษา ดังนั้น อาจต้องไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการของโรคกลัวสังคม อาการของโรคกลัวสังคม อาจมีอาการเกิดขึ้นทั้งด้านกายภาพ และทางจิตใจ โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้ ลักษณะอาการทางกายภาพ  หน้าแดง มีอาการพูดลำบาก เวียนหัวหรือมึนหัว เหงื่อออกมากเกินไป ตัวสั่นหรือมีอาการสั่น อัตราการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ลักษณะอาการทางจิต  กังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคม กังวลเกี่ยวกับความอับอายในที่สาธารณะ กังวลว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นว่ากำลังเครียดหรือวิตกกังวล มีความกังวลกับวันหรือสัปดาห์ กังวลก่อนเหตุการณ์นั้น ๆ จะมาถึง ต้องการดื่มแอลกอฮอล์เวลาที่ต้องเข้าสังคม ปลีกตัวออกจากสังคม  ขาดเรียน หรือลางาน หากโรคกลัวสังคมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยอาจพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมทั้งหมด เช่น การถามคำถาม การสัมภาษณ์งาน การใช้ห้องน้ำสาธารณะ การคุยโทรศัพท์ การรับประทานอาหารในที่สาธารณะ การไปช้อปปิ้ง วิธีรับมือของคุณพ่อคุณแม่ เมื่อเด็กเกิดโรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลเด็กได้ดังนี้ สอนให้เด็กรู้จักการเอาใจใส่ คุณพ่อคุณแม่อาจสอบถามเด็กว่าเพื่อนคนอื่น ๆ รู้สึกอย่างไร เวลาเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น และอาจตามติดสถานการณ์ของเด็กอยู่เสมอ สอนให้เด็กเข้าใจในเรื่องของการมีพื้นที่ส่วนบุคคล […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม