backup og meta

วิธีจับลูกเรอ ป้องกันอาการจุดเสียด ท้องอืด ทำได้อย่างไร

วิธีจับลูกเรอ ป้องกันอาการจุดเสียด ท้องอืด ทำได้อย่างไร

ทารกแรกเกิดอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารยังทำได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาการจุดเสียด กรดไหลย้อน และอาเจียนหลังกินนม การทำให้ลูกเรอ จึงอาจช่วยขับแก๊สออกจากกระเพาะ และลดอาการท้องอืด จุกเสียดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษา วิธีจับลูกเรอ และวิธีป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยให้ลูกน้อยสบายตัว ลดอาการท้องอืด

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ทำไมควรทำให้ทารกเรอหลังจากกินนม

ระหว่างที่ทารกกินนมอาจทำให้กลืนอากาศเข้าไปในช่องท้อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ โปรตีนในนมวัว และสารอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทาน เช่น ไข่ ถั่ว กะหล่ำ น้ำอัดลม โซดา ขนมที่มีน้ำตาลสูง อาจปะปนในน้ำนม เมื่อทารกกินนมจึงทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างแก๊สในช่องท้องมากขึ้น ทำให้ทารกปวดท้อง ไม่สบายตัว และแสดงอาการออกมาเป็นการร้องไห้ ดังนั้น การทำให้ลูกน้อยเรอหลังจากดื่มนมจะช่วยระบายแก๊สส่วนเกินในกระเพาะอาหารเหล่านี้ออกไป

วิธีจับลูกเรอ ทำอย่างไร

วิธีจับลูกเรอ อาจทำได้ด้วยการอุ้มท่าต่าง ๆ ดังนี้

  • อุ้มลูกพาดไหล่

คุณพ่อคุณแม่ควรอุ้มทารกพาดไหล่แนบชิดกับหน้าอก โดยให้หลังทารกตั้งตรง ใช้แขนข้างหนึ่งประคองก้น และจับศีรษะทารกพิงกับไหล่เอาไว้ จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังทารกเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม เพื่อไล่อากาศ

  • อุ้มลูกนั่งบนตัก

หลังจากทารกกินนมเสร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่จับลูก นั่งหลังตรงหันด้านข้างพิงกับหน้าอก และใช้มือประคองลำคอและศีรษะไว้ ใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังทารกเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ หากทารกยังไม่เรอ ให้ลองตบหลังเบา ๆ

  • อุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนแขน

อุ้มทารกนอนคว่ำหน้าวางบนแขนข้างใดข้างหนึ่ง โดยให้ศีรษะอยู่บริเวณข้อพับแขน และหันหน้าทารกไปด้านข้างเพื่อให้ทารกหายใจได้สะดวก จากนั้นนำมืออีกข้างลูบหลังทารกเป็นวงกลมเบา ๆ 

  • อุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนหน้าท้อง

เป็นวิธีจับทารกที่เหมือนกับการนอนคว่ำหน้าบนแขนแต่เปลี่ยนมาอุ้มมาไว้บนหน้าท้องของคุณพ่อคุณแม่เพื่อให้ทารกนอนสบายขึ้น โดยหันศีรษะทารกออกด้านข้าง จากนั้นค่อย ๆ ตบหลังทารกหรือลูบหลังทารกเป็นวงกลมและลูบขึ้น เพื่อไล่แก๊สในกระเพาะอาหาร

ทำอย่างไร เมื่อทารกไม่เรอ

หากทารกยังไม่เรอภายใน 5 นาที คุณพ่อคุณแม่อาจลองปรับเปลี่ยนท่าทางการอุ้มที่ช่วยทำให้ลูกเรอไปเรื่อย ๆ หรือนวดทารกโดยให้ทารกนอนหงายบนที่นอน และจับขาทั้ง 2 ข้าง ทำท่าเหมือนปั่นจักรยาน หากทารกยังคงไม่เรออยู่ก็อาจหมายความว่าทารกไม่มีแก๊สในช่องท้องมาก อย่างไรก็ตาม หากทารกกินนมแล้วมีอาการอาเจียน ตัวร้อน มีไข้สูงกว่า 38 องศา ท้องร่วง ขับถ่ายเป็นเลือด ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงอาการเจ็บป่วย

การป้องกันไม่ให้ทารกมีแก๊สมากเกินไป

วิธีที่อาจช่วยป้องกันไม่เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารของทารกมากเกินไป อาจทำได้ดังนี้

  • เปลี่ยนจุกนม หากสังเกตว่าจุกนมมีรูขยายใหญ่ขึ้น
  • ทดสอบการไหลของจุกนม โดยการจับขวดพลิกคว่ำ หากนมในขวดไหลออกมาเร็วจนเกินไป อาจหมายความว่าขวดนมเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนทันที
  • ควรถือขวดนมให้ทารกในลักษณะเอียงขวดเล็กขึ้นไปเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกดูดอากาศเข้าไปมากเกินไปขณะกินนม
  • สังเกตน้ำนมจากเต้าของคุณแม่ หากน้ำนมไหลเร็วจนเกินไปควรหยุดให้นมทารกสักครู่ และนำผ้าซับน้ำนมจนกว่าน้ำนมจะไหลช้า จากนั้นจึงให้ทารกดูดกินได้ตามปกติ
  • ตรวจดูว่าปากของทารกประกบกับเต้านมหรือจุกนมสนิทหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ดูดอากาศเข้าไปในระหว่างที่ดูดนม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to breastfeed. https://www.nhs.uk/start4life/baby/feeding-your-baby/breastfeeding/how-to-breastfeed/burping-your-baby/. Accessed February 08, 2022  

Baby basics: How to burp your baby. https://www.unicef.org/parenting/child-care/how-to-burp-baby. Accessed February 08, 2022  

Burping Your Baby. https://kidshealth.org/en/parents/burping.html. Accessed February 08, 2022   

Newborn wind and burping: in pictures. https://raisingchildren.net.au/newborns/health-daily-care/health-concerns/wind. Accessed February 08, 2022

Burping a Baby. https://www.uofmhealth.org/health-library/not42086. Accessed February 08, 2022   

DEBUNKING OLD WIVES’ TALES: DO BABIES NEED TO BURP AFTER FEEDING? HTTPS://HEALTHCARE.UTAH.EDU/THE-SCOPE/SHOWS.PHP?SHOWS=0_J8JQTR2M. Accessed February 08, 2022  

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีเก็บนมแม่ เก็บอย่างไรให้ถูกวิธีและคงคุณค่าสารอาหาร

การนอนของทารก ที่เหมาะสม และวิธีช่วยให้ทารกหลับง่ายขึ้น


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา