backup og meta

เรื่องน่ารู้ของ เลเซอร์กำจัดแผลเป็น เทคนิคลบรอยแผลให้แลดูจางลงอย่างรวดเร็ว

เรื่องน่ารู้ของ เลเซอร์กำจัดแผลเป็น เทคนิคลบรอยแผลให้แลดูจางลงอย่างรวดเร็ว

เมื่อผิวหนังได้รับความเสียหาย ไม่ว่าต้นเหตุจะมาอะไรก็สามารถทำให้ทิ้งร่องรอยแผลเป็นเอาไว้ทั้งนั้น โดยเฉพาะกรณีที่คุณประสบอุบัติเหตุจนได้รับรอยแผลจากการบาดเจ็บในเหตุการณ์รุนแรงมา พอเหลือบมองทีไร ก็อาจทำให้คุณนึกถึงเหตุการณ์ไม่ดีที่เคยเกิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจเพิ่มเติมได้อีกเช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวการใช้ เลเซอร์กำจัดแผลเป็น ที่ช่วยกำจัดรอยนูนอย่างรวดเร็ว มาให้ทุกคนได้ศึกษาไว้ประกอบการตัดสินใจกันค่ะ

ขั้นตอนการทำงานของ เลเซอร์กำจัดแผลเป็น

การรักษารอยแผลเป็นด้วยเลเซอร์นี้ อาจไม่ได้ทำให้แผลเป็นที่ปรากฏบนผิวร่างกายของคุณถูกลบไปได้ 100 % แต่สามารถทำให้สี และรอยนูนดูจางลง พร้อมขนาดที่เล็กลง หรือตื้นขึ้น และเห็นผลเร็วกว่าการใช้ยาทา

เพราะแสงที่ออกมาจากเครื่องเลเซอร์จะไปกำจัดพื้นผิวที่ได้รับความเสียหาย และทำการซ่อมแซมชั้นผิว เพื่อสร้างผิวใหม่ที่แข็งแรงกว่าขึ้นมา โดยมีขั้นตอนที่แตกต่างออกไปของแต่ละลักษณะรอยแผลเป็น ตามการพิจารณาของแพทย์เฉพาะทางที่จะทำการรักษา ดังนี้

  • เลเซอร์โดยการทำให้ผิวหนังลอก (Ablative or laser resurfacing) เป็นการใช้ คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (Carbondioxide laser : CO2 Laser) เป็นการลอกชั้นผิวด้านบนของเลเซอร์ออก เพื่อกำจัดรอยแผลเป็นด้านในที่มีลักษณะค่อนข้างหนา และลึก รวมทั้งยังสามารถรักษารอยเหี่ยวย่นของผิวหนังได้อีกด้วย
  • เลเซอร์ผิวหนังเฉพาะส่วน (Fractionated laser resurfacing) ขั้นตอนนี้สามารถยิงเลเซอร์เข้าไปในชั้นเซลล์ผิวที่ลึกลงไปอีกได้ เพื่อลดเลือนร่องรอยความหมองคล้ำของแผลเป็น และยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เพื่อผลัดเซลล์ผิวใหม่มาซ่อมแซมให้ขนาดของแผลเป็นเล็กลง
  • เลเซอร์ที่ไม่ทำให้เกิดผิวลอก (Non-ablative laser resurfacing) คือการรักษาโดยใช้ความร้อนอินฟาเรดยิงไปที่บริเวณผิวหนังชั้นใน ความร้อนนี้จะนำไปสู้การกระตุ้นผลิตคอลลาเจนขึ้นมาทดแทนเซลล์ผิวที่ถูกทำลาย

แต่ละขั้นตอนนั้นอาจมีความเจ็บปวด และใช้ระยะเวลาการรักษาที่แตกต่างกัน แพทย์อาจใช้ยาชาทาบริเวณโดยรอบก่อนทำการเลเซอร์ หรือมีการใช้น้ำเกลือควบคู่ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บจากความร้อนในการรักษาแผลเป็นขนาดใหญ่

แผลเป็นชนิดใดที่สามารถใช้เลเซอร์ลบรอยได้

สถาบันโรคผิวหนังอเมริกันได้กล่าวไว้ว่า การรักษาด้วยเลเซอร์ไม่ได้เป็นตัวช่วยในการลบรอยแผลเป็นให้หายไปได้อย่างสมบูรณ์ และอาจมีการใช้การรักษาด้วยการฉีดฟิลเลอร์ควบคู่ไปด้วยในบางกรณีเพื่อกำจัดแผลเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเลเซอร์อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลเป็นบางกลุ่มจากเหตุการณ์ต่อไปนี้

วิธีเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษามีอะไรบ้าง

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนการรักษา
  • หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนประกอบของ เรตินอล (retinol) และ กรดไกลโคลิก (glycolic acid) อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
  • เลิกรับประทานยาประเภท แอสไพริน (aspirin) ยาต้านการอักเสบ รวมทั้ง สมุนไพรใดๆ ที่มีคุณสมบัติการขับเลือด
  • อยู่ห่างจากแสงแดด หรือหลีกเลี่ยงการเผชิญกับรังสีอัลตร้าไวโอเลตเป็นเวลานาน

ผลข้างเคียงจากการทำ เลเซอร์กำจัดแผลเป็น

  • มีเลือดออกเล็กน้อย
  • ติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • สีผิวเปลี่ยนสี
  • บวม
  • รู้สึกคันระคายเคือง

หลังจากที่ทำการเลเซอร์เสร็จสิ้นแล้ว ให้หลีกเลี่ยงแสงแดดเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์เช่นเดียวกัน รวมทั้งใช้ผ้าเย็น หรือเจลเย็นที่ทางแพทย์ได้เตรียมให้คอยประคบตามคำแนะนำ เพื่อลดอาการบวม หากมีสัญญาณอันตรายอื่นเพิ่มเติม ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังทันที

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Laser Treatment for Scars: What You Should Know https://www.healthline.com/health/laser-treatment-for-scars#overview Accessed March 09, 2020

What to know about laser treatment for scars https://www.medicalnewstoday.com/articles/325762#which-types-of-scar Accessed March 09, 2020

Scar Removal: Are Lasers the Answer? https://www.everydayhealth.com/skin-and-beauty/lasers-for-scar-removal.aspx Accessed March 09, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

รอยแผลเป็นจากสิว วิธีรักษาและป้องกัน

ของมีคม ลูกโดนมีดบาดดูแลยังไงไม่ให้เป็นแผลเป็น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา