รูปแบบของยาชาสำหรับทา
- ยาน้ำ
- ยาครีม
- ยาเจล
- ยาพ่น
- แผ่นแปะยา
นอกจากนี้ คุณยังอาจหาซื้อยาชาที่ขายตามร้านขายยาได้ เพื่อให้สำหรับบรรเทาอาการปวดจากการปวดฟัน ปวดเหงือก เจ็บแผล แมลงกัดต่อย เจ็บคอ หรือแผลลวกระดับเบา
ยาชาสำหรับฉีด
โดยปกติแล้วยาชาสำหรับฉีดนี้จะใช้โดยแพทย์หรือทันตแพทย์เท่านั้น แพทย์จะฉีดยาชาเข้าในบริเวณที่ต้องการให้เกิดอาการชาโดยตรงก่อนการผ่าตัด โดยกระบวนการที่ต้องใช้ยาชาสำหรับฉีดอาจมีดังต่อไปนี้
- ทันตกรรมต่างๆ เช่น ผ่าฟันคุด รักษารากฟัน ถอนฟัน
- การผ่าตัดชิ้นเนื้อผิวหนังบริเวณเล็กๆ เช่น หูด
- การผ่าตัดกำจัดเนื้องอกใต้ผิวหนัง
- การกำจัดไฝ
- การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
- การตรวจวินิจฉัยโรค เช่น การเจาะไขสันหลัง
ความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการใช้ยาชา
ยาชาเฉพาะที่จัดได้ว่าเป็นวิธีการระงับความเจ็บปวดที่ปลอดภัย และมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการใช้ยาชานั้นจะไม่ส่งผลเสียอะไรเลย 100% เสมอไป เพราะการใช้ยาชายังสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ และในบางครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการที่รุนแรงได้เช่นกัน โดยปกติแล้วผลข้างเคียงของการใช้ยาชามักจะมีเพียงอาการเบาๆ และคงอยู่ไม่นาน แค่เพียงเท่าระยะที่ยาชาออกฤทธิ์เท่านั้น
ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
- รู้สึกปวดหรือแสบเล็กน้อยในบริเวณที่ฉีดยา
- เกิดรอยช้ำในบริเวณที่ฉีดยา
- ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด
- วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดหัว
- กล้ามเนื้อกระตุก
- รู้สึกอ่อนแรงไม่หาย
- หูอื้อ
- มีรสขมภายในปาก
- อาการแพ้ เช่น ผดผื่น ลมพิษ คัน และหายใจไม่ออก
ในกรณีที่หายาก การใช้ยาชาเกินขนาด ก็อาจทำให้เกิดความเป็นพิษจากยาชาได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่จะมีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า ยาชานั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางนั้นทำงานได้ช้าจนเกินไป นำไปสู่อาการหัวใจเต้นชาลงและหายใจช้าลง ทำให้เกิดอาการชัก ความดันโลหิตต่ำ และอาจส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นได้ในที่สุด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย