backup og meta

เล่มเกมมากไป ระวังกลายเป็น "โรคติดเกม"

เล่มเกมมากไป ระวังกลายเป็น "โรคติดเกม"

การเล่นเกมเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมนันทนาการที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย หายเครียดได้ หากบางวันคุณรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงาน เพียงหยิบเกมขึ้นมาเล่น ก็ทำให้เรารู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณเล่นเกมมากจนเกินไปจนติดเกมแบบงอมแงมแล้วล่ะก็ คุณอาจกลายเป็น โรคติดเกม โดยไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันมากขึ้นพร้อมวิธีการป้องกันก่อนที่คุณจะกลายเป็นโรคนี้แบบถอนตัวไม่ขึ้น

ทำความรู้จักกับ รคติดเกม (Gaming disorder)

โรคติดเกม (Gaming disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่ผู้ป่วยมีอาการเสพติดการเล่นเกมจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ต้องการเล่นเกมอย่างต่อเนื่องและเล่นเกมในแต่ละครั้งเป็นระยะเวลายาวนานขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจกิจกรรมอื่น ๆ โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมองในส่วนการยับยั้งชั่งใจ เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ไม่สามารถควบคุมการเล่นเกมได้เนื่องจากพวกเขาขาดความยับยั้งชั่งใจ

5 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคติดเกม

  • ตัดขาดจากโรคภายนอก หมกมุ่นอยู่แต่กับการเล่นเกม โดยไม่สนใจในการทำกิจกรรมอื่น ๆ
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว ฉุนเฉียว โมโหง่าย
  • ควบคุมอารมณตัวเองไม่ได้หรือหยุดการเล่นเกมไม่ได้ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าไม่ดีต่อสุขภาพ
  • ไม่ยอมรับตัวเองว่ามีพฤติกรรมเสพติดการเล่นเกม
  • นอนหลับยาก นอนไม่ค่อยหลับรู้สึกอยากเล่นเกมตลอดเวลา

เสพติดการเล่นเกม ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

  • ปวดคอ ปวดไหล่ การเล่นเกมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้คุณมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และส่งผลเสียต่อระบบภายในร่างกาย
  • สายตาพร่ามัว อ่อนล้า การใช้สายตาเพ่งหน้าจอนาน ๆ เวลาเล่นเกม ทำให้ดวงตาเกิดอาการพร่ามัว อ่อนล้า หรือรุนแรงถึงขั้นตาอักเสบได้
  • โรคอ้วน เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวน้อยลง ขาดการออกกำลังกายเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ ทำให้เป็นโรคอ้วนโดยไม่รู้ตัว
  • โรคซึมเศร้า เมื่อเสพติดการเล่นเกมมากจนเกินไป มักทำให้แยกตัวจากสังคม ชอบอยู่โดดเดี่ยว จนนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า

วิธีป้องกันปัญหา การเสพติดเกม

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ถึงแม้ว่าการแพทย์ในปัจจุบันจะยังไม่พบวิธีการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้ แต่ก็สามารถปรับที่พฤติกรรม ความคิด เพื่อให้เห็นโทษของการเล่นเกมได้ แต่หากพบว่าผู้ป่วยมีโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็จำเป็นต้องรักษาควบคู่กัน อาจรักษาด้วยยา หรือวิธีบำบัดร่วมกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

WHO Calls ‘Gaming Disorder’ Mental Health Condition. https://www.webmd.com/mental-health/addiction/news/20180620/who-recognizes-gaming-disorder-as-a-condition. Accessed 09 January, 2020

WHO: Work Burnout, Gaming Addiction Are Real. https://www.webmd.com/mental-health/news/20190528/who-work-burnout-gaming-addiction-are-diseases. Accessed 09 January, 2020

Gaming disorder. https://www.who.int/features/qa/gaming-disorder/en/. Accessed 09 January, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/08/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ อาการติดเตียง มากเกินไป เสี่ยงต่อโรคทางจิตได้

ทำความรู้จัก โรคไซโคพาธ ไม่รีบรักษาเสี่ยงเป็นฆาตกรต่อเนื่องไม่รู้ตัว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 10/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา