ตกใจแรง จนหัวใจเต้นเร็ว ถึงกับชะงักทำอะไรไม่ถูก อาจเป็นที่มาของ อาการตื่นตระหนก จนทำให้รู้สึกตื่นกลัว หวาดระแวง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสุขภาพของเราได้ มารู้วิธีรับมือของภาวะนี้ในบทความของ Hello คุณหมอ กันเถอะ
อาการตื่นตระหนก คืออะไร
อาการตื่นตระหนก (Panic Disoder) คือ อาการที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล หวาดหลัว โดยเฉพาะเมื่อเราพบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้รู้สึกกดดัน และตื่นเต้น จนทำให้เกิดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ หายใจถี่ขึ้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่จะหายได้เองภายใน 2-3 ชั่วโมง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป
สาเหตุหลักๆ ของอาการตื่นตระหนกนี้อาจมาจากการรับรู้ของสมองที่ไปกระตุ้นต่อมความกลัวเกินจริง เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ทำให้คุณรู้สึกไม่เป็นตนเอง เรียกอีกโครงสร้างนี้ว่า อะมิกดาลา (amygdala) ในงานวิจัยบางชิ้นระบุไว้ว่าผู้ที่ความวิตกกังวลอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากอัตราของหัวใจเปลี่ยนแปลง (HRV)
สัญญาณของ อาการตื่นตระหนก ที่คุณควรรู้
- อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น
- เหงื่อออก
- แน่นหน้าอก
- ตัวสั่น รู้สึกร้อนวูบวาบภายใน
- หายใจเร็ว และถี่
- วิงเวียนศีรษะ มึนงง จนถึงขั้นเป็นลมหมดสติ
- ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้
- กล้ามเนื้อรัดเกร็ง
- เสียการควบคุมทางด้านอารมณ์ และทางกายภาพ
โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติม หากมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนรุนแรง เพื่อความปลอดภัย และห่างไกลจากโรคหัวใจ
6 วิธี รับมือกับอาการตื่นตระหนก เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี
หากคุณอยู่ในภาวะตื่นตระหนกเช่นนี้ ควรเรียนรู้ที่จะรับมือเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเริ่มต้นได้ ดังนี้
1. กำหนดลมหายใจเข้า-ออก สูดลมหายใจเข้าอย่างช้าๆ ประมาณ 5 วินาที และหายใจออก ทำซ้ำกันจนกว่าคุณจะรู้สึกถึงอาการที่สงบลง
2. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่างกาย เริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการขยับร่างกายเล็กน้อย หรือยืดแขนเหนือหัวพร้อมกับการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เพื่อระงับอาการตื่นตระหนก และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
3. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลือกอาหารที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด หลีกเลี่ยงคาเฟอีน และแอลกอฮอล์เนื่องจากอาจทำให้เกิดการกระตุ้นของอาการตื่นตระหนกเพิ่มเติมได้
4. บำบัดสติ และพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavioral therapy ; CBT) วิธีนี้อาจให้นักบำบัด หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเข้ามามีส่วนร่วมในวิธีการสร้างความผ่อนคลายให้กับสมอง และควบคุมอารมณ์เมื่อพบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
5. เบี่ยงเบนความสนใจ หากพบเจอกับสิ่งที่ทำให้คุณตื่นตระหนก ให้คุณรวบรวมสติที่มี มองไปจุดโฟกัสอื่นๆ เพื่อผ่อนอัตราการเต้นของหัวใจลง เช่น ฟังเพลง เลือกดูภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ
6. การใช้ยาบรรเทาอาการ ยานี้ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเภสัชกรก่อนที่คุณจะใช้ เพื่อให้ทางแพทย์ได้ทราบถึงปัญหา และอาการที่คุณเป็น โดยส่วนใหญ่แพทย์อาจเลือกใช้ยา เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการกระวนกระวาย และเพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อของคุณได้
อาจมีเทคนิคทางการแพทย์อื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อรับขั้นตอนการรักษาอย่างเหมาะสมของอาการแต่ละบุคคล
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด