backup og meta

โรคหลงผิด (Delusional Disorder) อาการทางจิต ที่ผู้ป่วยมักมีอาการชอบคิดไปเอง

โรคหลงผิด (Delusional Disorder) อาการทางจิต ที่ผู้ป่วยมักมีอาการชอบคิดไปเอง

หากคนใกล้ชิดของคุณมีความเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง เช่น เขาคิดว่า ซุปเปอร์แมนมีอยู่จริง แต่เมื่อเราอธิบายว่า มันไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงตัวละครสมมติในละคร เท่านั้น แต่เขาก็ยังคงยืนกรานที่จะเชื่อในสิ่งนั้นๆอยู่ หรือมีความคิดที่ว่า คนอื่นปองร้ายเราตลอดเวลา อาการเหล่านี้เข้าข่ายเป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า โรคหลงผิด จะมีลักษณะอาการอย่างไรบ้างนั้น หาคำตอบได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ได้เลยค่ะ

ทำความรู้จัก โรคหลงผิด (Delusional Disorder)

โรคหลงผิด (Delusional Disorder) คือโรคจิตชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยมักมีความเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานมาหักล้างความเชื่อนั้นๆแล้วก็ตาม โดยอาการหลงผิดที่พบมากที่สุดในผู้ป่วย คือ ระแวงว่าจะถูกบุคคลอื่นปองร้าย ทำร้ายร่างกายตน แม้ว่าอาการหลงผิดอาจเป็นอาการของโรคที่พบได้บ่อยในโรคทางจิตเภท ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

สาเหตุของอาการทางจิต ที่ทำให้ เป็นโรคหลงผิด

ปัจจุบันแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคหลงผิดได้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับความผิดปกติทางจิตเภทอื่นๆ โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม

บุคคลที่มีความผิดปกติของอาการประสาทหลอนนั้นพบได้บ่อยในผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการประสาทหลอนด้วยกัน กล่าวได้ว่าความผิดปกติทางจิตของพ่อแม่อาจถูกถ่ายทอดสู่ลูกได้

  • ปัจจัยทางชีววิทยา

อาการผิดปกติของโรคหลงผิดนั้นอาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ซึ่งความผิดปกตินี้จะส่งผลต่อความคิด ความจำ

  • ปัจจัยทางจิตวิทยา

คนที่จะมีแนวโน้มที่มีความคิดหลงผิดอาจอยู่ในสภาวะที่มีความเครียดสูง เช่น ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาและการได้ยิน

อาการที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็น โรคหลงผิด

  • อาการหลงผิดที่คิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักตน (Erotomanic Delusional Disorder)

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความคิดไปเองว่าบุคคลนั้นมาหลงรักตน และพยายามติดต่อบุคคลนั้นบ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่คิดว่าดาราดังหรือนักร้องที่มีชื่อเสียงมาหลงรักตนเอง

  • อาการหลงผิดที่คิดว่าตัวเองมีความสามารถเกินความเป็นจริง (Grandiose Delusional Disorder)

ผู้ป่วยมีความคิดว่าตนเองนั้นมีพลังความสามารถพิเศษเหนือกว่าบุคคลอื่นๆ เช่น สามารถอ่านใจคนได้ คิดว่าตัวเองมีพลังเหนือธรรมชาติ เป็นต้น

  • อาการหลงผิดที่คิดว่าคนรักนอกใจ (Jealous Delusional Disorder )

ผู้ป่วยจะรู้สึกระแวงคนรัก คิดว่าคนรักนอกใจ

  • อาการหลงผิดที่คิดว่าถูกคนปองร้าย (Persecutory Delusional Disorder)

ผู้ป่วยมักเกิดอาการกลัว อาการระแวง คิดไปเองว่าตนโดนสะกดรอยตาม เพื่อที่จะวางแผนทำร้ายร่างกายตน

  • อาการหลงผิดคิดว่าร่างกายตนเองมีความผิดปกติ (Somatic Delusional Disorder)

ผุ้ป่วยมักคิดว่าตัวเองมีร่างกายที่ผิดปกติ เช่นคิดว่าอวัยวะในร่างกายหยุดทำงาน ร่างกายมีกลิ่นเหม็น หรือป่วยเป็นโรคร้ายแรงไม่สามารถรักษาได้

  • อาการหลงผิดแบบผสม (Mixed Delusional Disorder)

ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดมากกว่า 1  อาการที่กล่าวมาข้างต้น

วิธีการรักษา

โรคหลงผิดนั้นมีวิธีการรักษาด้วยกันหลากหลายวิธี ดังต่อไปนี้

  • รักษาด้วยการบำบัดทางจิต

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาบำบัดรักษาโดยรับฟังผู้ป่วยเล่าเรื่องราวต่างๆ โดยหลีกเลี่ยงการโต้แย้งอธิบายเรื่องที่ผู้ป่วยเล่าว่าไม่ใช่ความจริง แต่จะสะท้อนให้ผู้ป่วยเห็นถึงความเป็นจริงในเวลาที่เหมาะสมทีหลัง

  • รักษาด้วยการใช้ยา

แพทย์อาจสั่งจ่ายยาระงับประสาทและยากล่อมประสาทเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของผู้ป่วย หรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

 เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ กับบทความทำนำมาฝากกันในวันนี้ หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการของโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Delusions and Delusional Disorder. https://www.webmd.com/schizophrenia/guide/delusional-disorder#1. Accessed 11 February 2020.

Delusional Disorder. https://www.health.harvard.edu/a_to_z/delusional-disorder-a-to-z. Accessed 11 February 2020.

Delusional Disorder. https://emedicine.medscape.com/article/292991-overview. Accessed 11 February 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคชอบสะสมสิ่งของ ไม่ใช่เรื่องของนักสะสม แต่เป็นความบกพร่องทางจิต

โรคชอบขโมยของ โรคทางจิตที่แปลกแต่จริง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา