backup og meta

ตาพร่ามัว เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

ตาพร่ามัว เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

คงไม่ดีเท่าไหร่ ถ้าการมองเห็นของเราเปลี่ยนไปจากภาพคมชัดระดับ HD กลายเป็นภาพไม่ชัดเนื่องจาก ตาพร่ามัว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ โดยคุณควรปรึกษาคุณหมอถ้าตาพร่ามัวส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณ

ตาพร่ามัว เกิดจากสาเหตุใด

1.มีปัญหาสายตา

เมื่อลูกตาของคุณมีรูปร่างคล้ายไข่มากกว่าทรงกลม หรือกระจกตาและเลนส์ตาไม่โค้งอาจทำให้แสงมีจุดโฟกัสที่ไม่ตรงจุด ซึ่งจะส่งผลให้มองเห็นอย่างชัดเจนได้แค่ช่วงระยะหนึ่ง ที่เป็นปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น คือมองเห็นชัดเจนเมื่ออยู่ในระยะใกล้ และสายตายาวคือมองเห็นชัดเจนเมื่ออยู่ในระยะไกล รวมถึงสายตาเอียง โดยคุณสามารถแก้ปัญหาตาพร่ามัว ที่เกิดจากปัญหาสายตาได้ด้วยการสวมแว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือการศัลยกรรมเล็ก (minor surgery)

2.ใช้สายตามากเกินไป

สัญญาณที่บอกว่าคุณใช้สายตามากเกินไป คือการไม่ค่อยกระพริบตา เนื่องจากคนเรามีแนวโน้มที่จะกระพริบตาน้อยลง ในเวลาที่จดจ่ออยู่กับอะไรบางอย่าง และทุกครั้งที่คุณกระพริบตา น้ำตาจะแพร่กระจายทั่วพื้นผิวดวงตาของคุณ เพื่อให้ตาหล่อลื่น สะอาด และสดชื่น ดังนั้นถ้าคุณตาพร่ามัวเนื่องจากใช้สายตามากเกินไป ให้หยุดพักและกระพริบตาให้บ่อยขึ้น

3.โรคเบาหวาน

ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดไม่ปกติ ของเหลวอาจซึมเข้าไปในเลนส์ของดวงตา และทำให้พองตัว ซึ่งอาการอาจเกิดขึ้นก่อนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy) และปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับดวงตาซึ่งควรปรึกษาคุณหมอ ถ้าคุณสงสัยว่าอาการตาพร่ามัวมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน

4.การติดเชื้อในดวงตา

การนอนหลับทั้งๆ ที่ไม่ได้ถอดคอนแทคเลนส์ออก หรือใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาด สามารถนำไปสู่การติดเชื้อได้ นอกจากนี้โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) สามารถเป็นสาเหตุของการอักเสบในดวงตาของคุณ

5.ความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำอาจเกี่ยวข้องกับอาการตาพร่ามัว โดยควรพิจารณาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำ เช่น ภาวะขาดน้ำ เจอแสงแดดมากเกินไป การกินยา ปัญหาหัวใจ และฮอร์โมนผิดปกติ ต่างก็สามารถเป็นสาเหตุของความดันโลหิตต่ำและอาการตาพร่ามัว

6.ไมเกรน

ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ที่เป็นไมเกรน จะเกิดอาการ Aura (ออร่า) เช่น การมองเห็นเปลี่ยนไป โดยอาการออร่าจะเกิดขึ้นประมาณ 20 นาที ก่อนเกิดอาการปวดหัวไมเกรนอย่างหนัก ซึ่งกลุ่มอาการออร่าอาจทำให้ตาพร่ามัว คล้ายกับเวลาที่คุณมองภาพบนน้ำ ซึ่งถ้าอาการเกิดขึ้นกับตาข้างเดียว ควรพบคุณหมอทันทีเนื่องจากอาจเป็นปัญหาร้ายแรง

7.ต้อกระจก

ต้อกระจกจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยเฉพาะในดวงตาทั้ง 2 ข้างหลังจากอายุ 55 ปี แต่ในผู้ที่อายุน้อย หรือวัยเด็กก็สามารถเป็นต้อกระจกได้ โดยอาการของต้อกระจกคือการมองเห็นสีจะเริ่มจางลง และยากต่อการมองเห็นในตอนกลางคืน รวมถึงดวงตาไวต่อแสงจ้า ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการใส่แว่นและเลนส์ที่ทำขึ้นพิเศษ รวมถึงการผ่าตัด

8.รอยขีดข่วนที่กระจกตา

รอยขีดข่วน หรือรอยถลอกที่กระจกตาอาจมาจากการบาดเจ็บ แต่ก็อาจเกิดจากการที่ฝุ่นหรือทรายเข้าตา พยายามกระพริบตาบ่อยๆ และอย่าขยี้ตาเพราะอาจทำให้กระจกตาเกิดความเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้ถ้าคุณรู้สึกเจ็บตาเนื่องจากการบาดเจ็บ ควรพบคุณหมอทันที

เมื่อไหร่ควรไปหาคุณหมอ

คุณควรไปพบคุณหมอทันที หากเกิดอาการตาพร่ามัวกะทันหัน และในกรณีที่มีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่

  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีปัญหาในการพูด
  • สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อของร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง
  • มีปัญหาการมองเห็น
  • เจ็บตาอย่างรุนแรง
  • สูญเสียการมองเห็น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Why Is Your Vision Blurry?. https://www.webmd.com/eye-health/ss/slideshow-blurry-vision?ecd=soc_fb_181203_cons_ss_blurryvision&linkId=100000004217973. Accessed on December 18 2018.

What Causes Blurred Vision?. https://www.healthline.com/symptom/blurred-vision. Accessed on December 18 2018.

6 Weird Reasons Your Vision Is Blurry. https://www.self.com/story/blurry-vision-causes. Accessed on December 18 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีถนอมสายตา เมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

ใช้สายตามากเกินจนเกิด อาการตาล้า จัดการอย่างไรดี?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา