backup og meta

อ้วนไปก็ไม่ดี ผอมไปก็ไม่ดี เพิ่มน้ำหนัก แบบสุขภาพดี ได้ด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้

อ้วนไปก็ไม่ดี ผอมไปก็ไม่ดี เพิ่มน้ำหนัก แบบสุขภาพดี ได้ด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้

หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินแต่วิธีการลดน้ำหนัก เพราะน้ำหนักเกินจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน แต่หลายๆ คนกลับเจอปัญหาตรงกันข้ามนี้ คือน้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งการที่มีปัญหาน้ำหนักน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน  วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการ เพิ่มน้ำหนัก แบบสุขภาพดี มาฝากค่ะ

น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ร่างกายกำลังส่งสัญญาณอะไรต่อสุขภาพ

การมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์นั้น หมายถึงค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 18.5 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หากค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 นั้นถือว่าน้ำหนักมากเกินไปและหากดัชนีมวลกายมากกว่า30 ถือว่าเป็นโรคอ้วน ซึ่งเราสามารถคำนวณค่าดัชนีมวลกายได้จากน้ำหนักและส่วนสูง

อย่างไรก็ตามการที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์นั้นอาจส่งผลต่อสุขภาพ จากการศึกษาพบว่าการที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มาตราฐานนั้นมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัย โดยในผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยถึงร้อยละ 140 ส่วนผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยร้อยละ 100 นอกจากนี้การที่มีน้ำหนักน้อยนั้นอาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงอีกด้วย และยังไปเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ และอาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะเจริญพันธ์ุ นอกจากปัญหาต่างๆ เหล่านี้แล้ว ผู้ที่มีน้ำหนักน้อยยังเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) ซึ่งเป็นภาวะที่มักจะเกิดในผู้สูงอายุ ที่เมื่อายุมากขึ้นแล้วจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อละความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

ผลกระทบต่อสุขภาพ เมื่อน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

มีผลกระทบ และความเสี่ยงมากมายที่เกิดจากปัญหาการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในหลายๆ กรณีผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์นั้นมากจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้ ซึ่งการขาดสารอาหารนั้นส่งผลให้ร่างกายขาดวิตามินดี ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูก หากร่างกายขาดวิตามินดีนั้น อาจส่งผลต่อสุขภาพกระดูกได้

คนเรานั้นต้องมีการบริโภคอาหารให้เพียงพอต่อการทำงานของร่างกายในแต่ละวัน โดยจะต้องมีการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานแคลอรี่ที่เพียงพอกับที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้งาน หากร่างกายมีพลังงานไม่เพียงพออาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้

  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้
  • ปัญหาสุขภาพผิวหนังและเส้นผม
  • นอกจากนี้การที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
  • โรคกระดูกพรุน
  • ส่งผลต่อระบบสืบพันธ์ุ
  • มีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต
  • มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • โรคพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ

เพิ่มน้ำหนัก แบบสุขภาพดี อย่างไร เมื่อน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

โดยทั่วไปแล้วการได้รับพลังงานแคลอรี่มากกว่าปริมาณที่ร่างกายเผาผลาญต่อวันนั้นจะส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งในแต่ละคนมีความต้องการพลังงานแคลอรี่ที่แตกต่างกันออกไป โดยปกติแล้วนั้นควรบริโภคให้ปริมาณแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายต้องการประมาณ 300-500 กิโลแคลอรี่ แต่หากใครที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักก็ควรบริโภคอาหารที่ให้พลังงานแคลอรี่มากขึ้น แต่ก็ควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย หากได้รับปริมาณแคลอรี่จากอาหารที่มีน้ำตาลมากอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานประเภท 2 ได้นอกจากนี้เคล็ดลับเหล่านี้อาจเป็นวิธีในการเพิ่มน้ำหนักแบบสุขภาพดีได้

  • บริโภคโปรตีนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหาร 3-5 มื้อ ต่อวัน
  • รับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใย อย่าง ข้าวกล้อง ขนมปังโฮวีท
  • เลือกบริโภคไขมันดี
  • ออกกำลังกายด้วยการ เวทเทรนนิ่ง เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด
  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

How to Gain Weight Fast and Safely

https://www.healthline.com/nutrition/how-to-gain-weight

Tips for gaining weight safely and things to avoid

https://www.medicalnewstoday.com/articles/321982

Safe Ways to Gain Weight

https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-safe-weight-gain

Understanding BMI and How It Can Increase the Cost of Your Health Insurance in Thailand https://blog.lumahealth.com/understanding-bmi-and-increase-the-cost-health-insurance-thailand

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/06/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดน้ำหนัก งดข้าว หรือ กินข้าว จะช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่ากัน

โยโย่ เอฟเฟค ผลของการลดน้ำหนักผิดวิธี ที่ ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 10/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา