สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

วัคซีน HPV ผู้ชายฉีดได้ไหม? ช่วยอะไร?

HPV (Human Papillomavirus) คือไวรัสที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำคอ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจคิดว่า HPV ส่งผลกระทบแค่กับผู้หญิงเท่านั้น จึงมองข้ามความสำคัญของการฉีดวัคซีน hpv สำหรับผู้ชายไปได้ บทความนี้จึงอยากจะมาแก้ไขความเข้าใจผิด และนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] HPV ส่งผลอะไรต่อผู้ชาย เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดย แบ่งเป็นสายพันธุ์เสี่ยงต่ำ และสายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเพศชาย ดังนี้ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 ซึ่งทำให้เซลล์บริเวณทวารหนักเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นมะเร็งได้  ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย  การมีคู่นอนหลายคน  อาการที่พบบ่อยคือ เลือดออกจากทวารหนัก ปวดหรือกดเจ็บในบริเวณนั้น และรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ  การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง และการใช้ถุงยางอนามัย มะเร็งองคชาต มะเร็งองคชาตเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ช่องคลอด ติดเชื้อแบคทีเรีย อาการ และภาวะแทรกซ้อน

ช่องคลอด ติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis) เป็นการติดเชื้อในช่องคลอดที่ไม่รุนแรง เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่มีอยู่ในช่องคลอดเสียสมดุล แม้การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดจะไม่ใช่การติดเชื้อที่รุนแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่อันตรายได้ อย่างไรก็ตาม หากสังเกตอาการเบื้องต้นของ ช่องคลอดติดเชื้อแบคทีเรีย ก็อาจช่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทัวท่วงที [embed-health-tool-ovulation] ภาวะแทรกซ้อนจาก ช่องคลอด ติดเชื้อแบคทีเรีย แม้การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดจะพบได้ทั่วไปในผู้หญิงวัย 18-44 ปี แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา ก็อาจนำไปสู่โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงบางชนิดได้ เช่น มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นเพิ่มขึ้น เช่น โรคหนองในเทียม โรคหนองในแท้ หากเข้ารับการผ่าตัด เช่น การตัดมดลูก การทำแท้ง ก็จะเสี่ยงติดเชื้อหลังผ่าตัดมากขึ้น เสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เสี่ยงเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่มดลูกและท่อนำไข่ ที่จะนำไปสู่การมีบุตรยาก ช่องคลอดติดเชื้อแบคทีเรีย มีอาการอะไรบ้าง ควรดูแลช่องคลอดเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้เสี่ยงต่อช่องคลอดติดเชื้อแบคทีเรีย และควรรีบไปพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการรักษา ตกขาวผิดปกติ อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด คือ ตกขาวมีกลิ่น แบคทีเรียในช่องคลอดมักมาพร้อมกับตกขาวสีเทาหรือสีเข้ม บางครั้งช่องคลอดอาจมีกลิ่นคาวปลา ซึ่งกลิ่นอาจแย่กว่าเดิมหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากตกขาวผิดปกติแล้ว บางครั้งการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดก็อาจทำให้รู้สึกคันในช่องคลอดได้ด้วย รู้สึกแสบขณะปัสสาวะ ผู้หญิงบางคนรู้สึกแสบขณะปัสสาวะ ความรู้สึกเจ็บปวดอาจเริ่มตั้งแต่ขณะที่ปัสสาวะ หรือหลังปัสสาวะ หากความเจ็บปวดเกิดขึ้นภายนอกช่องคลอดอาจเป็นเพราะช่องคลอดอักเสบหรือระคายเคืองคันบริเวณด้านนอกช่องคลอด รู้สึกเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด อาจส่งผลให้รู้สึกเจ็บปวดหรือแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ หากรู้สึกเจ็บปวดจนทนไม่ไหว หรืออาการที่เป็นทำให้รู้สึกไม่มีความสุขกับการมีเพศสัมพันธ์ ควรไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม ค่าความเป็นกรดด่างในช่องคลอดไม่สมดุล หากช่องคลอดยังอยู่ในภาวะปกติ จะมีค่าความเป็นกรดด่างหรือค่าพีเอช […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ เกี่ยวกับกรุ๊ปเลือดหรือไม่

กรุ๊ปเลือดสามารถระบุได้ด้วยแอนติบอดี ซึ่งเป็นโปรตีนในพลาสมา ทำหน้าที่ในการป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมอย่าวเชื้อโรค และแอนติเจนซึ่งเป็นโมเลกุลโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยกรุ๊ปเลือดหลักมีอยู่ด้วยกัน 4 กลุ่ม คือ A B AB และ O ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากพ่อแม่ ด้วยเหตุผลนี้ จึงอาจทำให้โรคบางอย่างสามารถถ่ายทอดผ่านทางกรุ๊ปเลือดได้ เช่น โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ความสัมพันธ์ของ โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ และกรุ๊ปเลือด ในความเป็นจริงแล้ว โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อได้ในกรุ๊ปเลือดทุกกลุ่ม โดยอาจพบได้มากที่สุดในเลือดกรุ๊ปเอ และกรุ๊ปเลือดโอ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Iranian Journal of Public Health พ.ศ. 2557 ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของกรุ๊ปเลือดในระบบ ABO และกรุ๊ปเลือดในระบบ Rh ต่อโรคที่นำโดยเลือด (Blood-Borne Infections) หรือโรคที่ติดเชื้อผ่านทางเลือด หรือโรคที่ติดเชื้อผ่านทางเลือด ในผู้บริจาคเลือดที่ศูนย์บริจาคเลือดในเมืองเตหราน ประเทศอีหร่าน ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2554 พบว่า จากตัวอย่างเลือด 10,451 รายจากทั้งหมด 2,031,451 […]


สุขภาพทางเพศ

breast lump คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

breast lump คือ เนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย มักไม่พัฒนาเป็นมะเร็งเต้านม และเนื้องอกบางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่ติดตามอาการทุก 6 เดือนหรือทุกปี โดยก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงจะมีลักษณะเรียบกลมหรือเป็นรูปไข่มีขอบเขตชัดเจน เมื่อสัมผัสอาจกลิ้งไปมาได้ ส่วนใหญ่อาจพบเพียงก้อนเดียว แต่ในบางรายก็อาจพบได้หลายก้อน คำจำกัดความ breast lump คือ อะไร breast lump คือ ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงหรือเนื้องอกในเต้านมชนิดปกติ และอาจเป๋นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย มักไม่พัฒนาเป็นมะเร็งเต้านม และเนื้องอกบางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่ติดตามอาการทุก 6 เดือนหรือทุกปี โดยก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงจะมีลักษณะเรียบกลมหรือเป็นรูปไข่มีขอบเขตชัดเจน เมื่อสัมผัสอาจกลิ้งไปมาได้ ส่วนใหญ่อาจพบเพียงก้อนเดียว แต่ในบางรายก็อาจพบได้หลายก้อน โดยประเภทของก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง อาจมีดังนี้ ไฟโบรซีสติก (Fibrocystic breast) คือ กลุ่มเนื้อเยื่อที่มารวมตัวกันเป็นก้อน หรือมีลักษณะคล้ายกับเชือก คุณหมอจะเรียกว่า เป็นก้อนเนื้อเยื่อที่เต้านมนอดูล่า (nodular) หรือแกลนดูล่า (glandular) ซีสต์ที่เต้านม (Breast Cyst) คือ ถุงน้ำที่เกิดขึ้นในเต้านม ซีสต์ที่เต้านมนี้อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่ ไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma) คือ เนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งที่เกิดขึ้นในเต้านม มักพบได้ในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 30 ปี เนื้องอกนี้ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเต้านมสโตรมัล […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

6 สถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยงการมีเซ็กส์

การมีเซ็กส์เป็นเรื่องปกติเพื่อการสืบพันธุ์ เพื่อแสดงความรัก หรือเพื่อความพึงพอใจ อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีบางสถานการณ์ที่ผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงการมีเซ็กส์ เช่น หลังการคลอดลูก หลังการผ่าตัด เมื่อมีการติดเชื้อที่ช่องคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ [embed-health-tool-ovulation] 6 สถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยงการมีเซ็กส์ 1. หลังการผ่าตัด หลังผ่าตัดไม่ควรมีเซ็กซ์ น่าจะเป็นเรื่องที่ ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว แต่หลายๆ ครั้ง ก็จะมีคนไข้ ที่เกิดภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด เนื่องจากมีเซ็กซ์เร็วเกินไป ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน จะมีเทคโนโลยีที่ ช่วยหายแผลหายไวขึ้นหลังการผ่าตัด ทำให้คนไข้รู้สึกว่าหายเร็วกว่าแต่ก่อน แต่บางครั้งถึงแม้ว่าบางคนจะคิดว่าตัวเองหายแล้ว แต่อาจเป็นแค่ภายนอก ร่างกาย ส่วนภายในร่างกาย ยังต้องการเวลาเยียวยาอวัยวะภายใน ดังนั้นหากเพิ่งผ่าตัดมา ควรปรึกษาแพทย์ว่าเมื่อไหร่ คือเวลาที่สามารถมีเซ็กซ์ได้ 2. หลังการคลอดลูก ทั้งการคลอดแบบผ่าคลอด  และการคลอดแบบธรรมชาติ ต่างก็ต้องรอเวลา ให้ผ่านไปอย่างน้อย 6 สัปดาห์ จนกระทั่งทุกอย่างในร่างกาย กลับมาเป็นปกติ ถึงจะมีเซ็กซ์ได้ นอกจากนี้สาวๆ ต้องระวัง เนื่องจากการมีเซ็กซ์ ในเวลาที่ทั้งมดลูก และช่องคลอดยังไม่แข็งแรง หรือเวลาที่ร่างกายยังอ่อนแอ ก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเกิดภาวะแทรกซ้อนไดทั้งนั้น 3. เวลามีประจำเดือน หลายคนเข้าใจว่า ถ้ามีเซ็กซ์ตอนมีประจำเดือน จะไม่ตั้งครรภ์ ความจริงแล้ว การมีเซ็กซ์ตอนมีประจำเดือน ก็ยังมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน […]


การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

7 สิ่งที่ควรรู้ เพื่อช่วยให้มี เซ็กส์ดี และปลอดภัย

หากอยากมี เซ็กส์ดี และปลอดภัย ทั้งตัวเองและคู่รัก อาจต้องดูแลร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งอาจทำได้ด้วยการตรวจร่างกายและตรวจหาโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์เป็นประจำ นอกจากนี้ การสวมถุงยางอนามัยก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะนอกจากจะป้องกันการท้องไม่พร้อมแล้ว ยังอาจช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย 7 สิ่งที่ช่วยทำให้ เซ็กส์ดี และปลอดภัย 1. การตรวจสอบถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัย นอกจากจะช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย การสวมถุงยางอนามัย ผู้ชายอาจต้องตรวจสอบให้ดีว่า ใช้ถุงยางอนามัยถูกไซส์หรือไม่ ซึ่งถุงยางอนามัยในประเทศไทยมีด้วยกัน 3 ขนาด คือ 49 มิลลิเมตร 52 มิลลิเมตร และ 56 มิลลิเมตร การสวมถุงยางอนามัยให้ถูกไซส์ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากถุงยางหลวมเกินไปหรือคับเกินไป อาจทำให้ถุงยางหลุดหรือฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ สำหรับวิธีการเลือกขนาดถุงยางให้เหมาะสมกับตัวเอง อาจทำได้โดยการวัดขนาดเส้นรอบวงตอนอวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่ แล้วดูว่าเส้นรอบวงกี่มิลลิเมตร จากนั้นนำตัวเลขที่ได้มาหาร 2 จึงจะได้เป็นขนาดถุงยางอนามัยที่เหมาะสม สิ่งที่ต้องระวัง คือ ผู้ชายไทยหลายคนชอบวัดขนาดจากความยาว ไม่ได้วัดเส้นรอบวง จึงอาจได้ขนาดถุงยางที่ไม่ถูกต้อง 2. ดูวันหมดอายุของถุงยางอนามัย นอกจากถุงยางไม่ถูกไซส์ ถุงยางรั่ว หรือฉีกขาดแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังก็คือ ถุงยางอนามัยหมดอายุ การตรวจสอบวันหมดอายุข้างกล่องถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพราะหากถุงยางอนามัยหมดอายุ อาจทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดก็ลดลง แถมยังเสี่ยงถุงยางรั่ว จนทำให้ท้องไม่พร้อม หรือติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ 3. การกินยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดไม่ได้ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การช่วยตัวเอง

การช่วยตัวเอง คือ การสัมผัสร่างกายหรืออวัยวะเพศของตนเอง เพื่อกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศและอาจช่วยให้ถึงจุดสุดยอดได้ ปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการช่วยตัวเองอยู่ไม่น้อย เช่น เป็นเรื่องน่าอาย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งที่ความจริงแล้ว การช่วยตัวเองถือเป็นเรื่องตามธรรมชาติ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศ ทำให้นอนหลับสบาย บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยลดความเครียด ไม่ก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-ovulation] ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการช่วยตัวเอง การช่วยตัวเองถือเป็นเรื่องตามธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่ยังมีความเข้าใจผิดและความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการช่วยตัวเอง ดังต่อไปนี้ การช่วยตัวเองหลายครั้ง ถือว่าผิดปกติ คนจำนวนไม่น้อยกังวลว่าการช่วยตัวเองหลายครั้งต่อสัปดาห์จะถือว่าเป็นการช่วยตัวเองบ่อยครั้งเกินไปหรือเปล่า ความจริงแล้วไม่มีเครื่องชี้วัดว่า การช่วยตัวเองหลายครั้งต่อสัปดาห์ หรือหลายครั้งต่อวัน เป็นการช่วยตัวเองที่มากเกินไป การช่วยตัวเองบ่อยแค่ไหนถึงเรียกว่ามากเกินไป จริง ๆ แล้ว ความถี่ในการช่วยตัวเองขึ้นอยู่กับแต่ละคน หากช่วยตัวเองมากกว่า 1 ครั้ง/วัน และสุขภาพยังแข็งแรงดีอยู่ และไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือมากเกินไป แต่หากการช่วยตัวเองส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน งาน ความสัมพันธ์ เช่น ไม่อยากมีอะไรกับคู่รัก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษา คู่รักช่วยตัวเอง แสดงว่าไม่พึงพอใจในความสัมพันธ์ การช่วยตัวเองไม่ได้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ เป็นความเชื่อที่ผิด หากคิดว่าฝ่ายชายช่วยตัวเองเป็นสัญญาณว่าความสัมพันธ์กำลังมีปัญหา ความจริงแล้ว ผู้ชายส่วนใหญ่มักช่วยตัวเองได้ในทุกสถานะของชีวิต ไม่ว่าจะโสด มีปัญหากับคู่รัก เครียด หรือมีความสุข […]


สุขภาพทางเพศ

ขลิบ อวัยวะเพศชาย คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ขลิบ อวัยวะเพศชาย เป็นการสืบทอดความเชื่ออย่างหนึ่ง โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมนี้ที่แตกต่างกัน ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าการขลิบ คือ การที่เด็กย่างเข้าสู่การเป็นบุรุษเพศอย่างเต็มตัว ส่วนในศาสนาอิสลามเชื่อว่า การขลิบเป็นการส่งเสริมในเรื่องของความสะอาด และความบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม การขลิบอาจช่วยให้ผู้ชายทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น รวมถึงยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย [embed-health-tool-heart-rate] ขลิบ อวัยวะเพศชาย คืออะไร ขลิบ อวัยวะเพศชาย คือ การผ่าตัดเอาหนังหุ้มปลายลึงค์ออกจากองชาตของทารกเพศชาย เนื่องจากมีความเชื่อว่าอาจช่วยให้ผู้ชายทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น รวมถึงยังอาจช่วยรักษาสุขภาพทางเพศให้ดีขึ้น และอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังจากคลอด 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเด็กทารกบางคนก็อยู่ในระยะเวลา 10 วัน หลังจากขลิบปลายแล้วแผลจะหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ สาเหตุที่ควรขลิบอวัยวะเพศชาย นอกจากเรื่องของวัฒนธรรมและประเพณีแล้ว การขลิบอาจมีข้อดี ดังนี้ อาจช่วยให้ง่ายต่อการรักษาสุขอนามัย การขลิบทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และรักษาสุขอนามัยของอวัยะเพศ ดังนั้น ผู้ที่ไม่ได้ขลิบอาจจะต้องใส่ใจในการทำความสะอาดเป็นพิเศษในรายที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่สามารถเปิดได้หลังอายุสี่ขวบไปแล้วอาจจะพิจารณาเรื่องการขลิบ  อาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ การติดเชื้อในท่อปัสสาวะเกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่การขลิบจะช่วยลดโอกาสการเกิดได้ เนื่องจากลดการสะสมของเชื้อโรคบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ  อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การขลิบอาจช่วยลความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) อาจช่วยป้องกันปัญหาที่องคชาติ เป็นการป้องกันปัญหาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศหรือหัวองคชาติอักเสบได้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งองคชาติ แม้ว่าโรคมะเร็งองคชาติจะเป็นโรคที่พบได้น้อย แต่ก็จะน้อยลงไปอีกสำหรับผู้ที่ผ่านการขลิบ […]


การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

ถุงยางอนามัยสตรี เรื่องจริงที่ผู้ชายไม่เคยรู้ และผู้หญิงควรรู้

ถุงยางอนามัยสตรี คือ ถุงเล็ก ๆ ทำจากพลาสติก สามารถใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิง และปิดช่องคลอดบางส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแลกเปลี่ยนของเหลวกันระหว่างคนสองคน ที่ปลายทั้งสองมีวงแหวนนุ่ม ๆ ด้านหนึ่งอยู่ข้างนอก และอีกด้านอยู่ใกล้กับปากมดลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ ถุงยางอนามัย หลุดออกไป [embed-health-tool-ovulation] ถุงยางอนามัยสตรี คืออะไร ถุงยางอนามัยสตรี คือ ถุงเล็ก ๆ ทำจากพลาสติก สามารถใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิง และปิดช่องคลอดบางส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแลกเปลี่ยนของเหลวกันระหว่างคนสองคน ที่ปลายทั้งสองมีวงแหวนนุ่ม ๆ ด้านหนึ่งอยู่ข้างนอก และอีกด้านอยู่ใกล้กับปากมดลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงยางอนามัย หลุดออกไป ถุงยางอนามัยสตรีทำงานโดยการเก็บเชื้อสเปิร์ม และป้องกันไม่ให้มันหลุดเข้าไปในอวัยวะเพศ หากใช้งานอย่างถูกต้อง ถุงยางอนามัยสตรีอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ข้อดีของถุงยางอนามัยสตรี ถุงยางอนามัยสตรีปกคลุมอยู่ด้านนอกอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง จึงอาจทำให้ลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับเริม และหูดที่อวัยวะเพศ มีขนาดเล็กและพกพาสะดวก ขนาดพอดีกับผู้หญิงทุกคน อาจใช้ขณะมีประจำเดือนได้ อาจใช้กับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก อย่างไรก็ตาม ควรระวังอย่างมากเนื่องจากถ้าถุงยางหลุดเข้าไปในทางทวารหนักแล้ว การเอาออกจะยากกว่าทางช่องคลอดมาก อาจจำเป็นต้องไปส่องกล้องเพื่อเอาออกมา ข้อเสียของถุงยางอนามัยสตรี อวัยวะเพศชายอาจจะลื่นเข้าไปในบริเวณระหว่างถุงยางอนามัยสตรีกับผนังมดลูก อาจทำให้เกิดเสียงขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่อาจแก้ได้ด้วยการใช้สารหล่อลื่นแบบวอเตอร์เบส ถุงยางอนามัยสตรีอาจจะหลุดออกหรือฉีกขาด ขณะที่นำอวัยวะเพศชายออกจากอวัยวะเพศหญิง ถุงยางอนามัยสตรีไม่แพร่หลายเหมือนกับถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย และยังมีราคาที่แพงกว่า การใช้สารหล่อลื่นกับถุงยางอนามัยสตรี โดยปกติแล้ว ถุงยางอนามัยสตรีมักจะมีสารหล่อลื่นอยู่แล้ว […]


สุขภาพทางเพศ

เซ็ก ในหญิงสูงวัย ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ควรทราบ

เซ็ก ถือเป็นวิธีแสดงออกถึงความรักและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักวิธีหนึ่ง ที่อาจช่วยให้สามารถประคับประคองชีวิตคู่ได้นานขึ้น เซ็กส์ไม่ใช่เรื่องแปลกไม่ว่าจะกับคนเพศไหนวัยไหน แม้แต่หญิงสูงวัยก็สามารถมีเซ็กส์ได้ แต่ปัจจัยบางประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพจิตใจ อาจส่งผลกระทบต่อเซ็กส์ของผู้หญิงสูงวัยได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพและรักษาโรคที่อาจเป็นสาเหตุให้เซ็กส์เปลี่ยนแปลง อาจช่วยให้หญิงสูงวัยมีเซ็กส์ที่ดีขึ้นได้ ปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อ เซ็ก ในหญิงสูงวัย ระดับฮอร์โมนที่ลงลง เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเพศหญิง ที่จะมีอารมณ์ทางเพศลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Sexual Behavior เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและสุขภาวะของประชากรชายหญิงสูงวัยในประเทศอังกฤษ พบว่า เมื่อมนุษย์มีอายุเกิน 45 ปี ฮอร์โมนเพศจะลดลงเรื่อย ๆ ทั้งเพศชายและเพศหญิง จึงอาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลงตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจด้วย สำหรับบางคนอาจมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นตามอายุ เนื่องจากสภาพร่างกายและจิตใจดี ไม่เครียด รู้จักปล่อยวาง รู้สึกสบายใจ มีการออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ  การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในหญิงสูงอายุบางรายเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งกายและใจ โดยเฉพาะเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ช่องคลอดจะแคบลง น้ำหล่อลื่นในช่องคลอดลดลง เมื่อมีเพศสัมพันธ์จะเจ็บปวดทำให้ไม่มีความสุข ความแห้งของช่องคลอดอาจเป็นอุปสรรคทำให้ความสนใจทางเพศลดลง แต่ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงบางคนที่อายุเพิ่มมากขึ้น ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง แต่ฮอร์โมนเพศชายในร่างกายกลับมีอิทธิพลมากขึ้น อาจทำให้ตื่นตัวและมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น แนวทางแก้ไขปัญหาเซ็กส์ในผู้หญิงสูงวัย ปัญหาสุขภาพทางเพศ […]


สุขภาพทางเพศ

เพิ่มขนาด อวัยวะเพศชาย ให้ใหญ่ขึ้น ได้จริงหรือ

โดยปกติแล้ว ขนาดของอวัยวะเพศชายที่ปกติเมื่อแข็งตัวจะอยู่ที่ประมาณ 5 นิ้ว แต่หากแข็งตัวแล้วมีขนาดเล็กกว่า 3 นิ้ว นั่นอาจหมายความว่าขนาดอวัยวะเพศเล็กกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เสียความมั่นใจเมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักได้ ดังนั้น ผู้ชายหลายคนจึงอาจพยายามหาวิธี เพิ่มขนาด อวัยวะเพศชาย ซึ่งอาจมีด้วยกันหลายวิธี อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีเพิ่มขนาดอวัยวะเพศที่เหมาะสมและปลอดภัย [embed-health-tool-ovulation] อวัยวะเพศขนาดขนาดปกติ คือเท่าไหร่ การมีขนาดอวัยวะเพศเล็กอาจทำให้เสียความมั่นใจทั้งตัวเองและคู่รัก ซึ่งความคิดเหล่านี้ อาจเกิดจากการเปรียบเทียบขนาดอวัยวะเพศของตัวเองกับผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หากอวัยวะเพศชายตอนแข็งตัวเต็มที่มีขนาด 5 นิ้ว หรือมากกว่านั้น ก็ถือว่าปกติดี แต่หากแข็งตัวเต็มที่แล้วมีขนาดเล็กกว่า 3 นิ้ว นั่นอาจหมายความว่าขนาดอวัยวะเพศเล็กกว่าปกติ เพิ่มขนาด อวัยวะเพศชาย ทำได้จริงหรือ โฆษณาสินค้าเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายนั้น ไม่สามารถช่วยให้ขนาดของอวัยะเพศใหญ่ขึ้นได้จริง เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางการแพทย์มาสนับสนุนผลลัพธ์ดังกล่าว โดยเฉพาะการผ่าตัดที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเพิ่มขนาด ก็ไม่ได้มีการรับรองว่าสามารถทำจริง นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ด้วย อย่างไรก็ตาม วิธีการเพิ่มขนาดอวัยวะเพศ อาจทำได้ดังนี้ ปั๊มสุญญากาศ เป็นการดึงเอาเลือดมาเลี้ยงที่อวัยวะเพศเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวและใหญ่ขึ้นเล็กน้อย แต่ข้อเสีย คือ ผลของมันอยู่ได้ไม่นาน และถ้าใช้นานกว่า 20-30 นาที ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหายได้ อุปกรณ์นี้มีการใช้เพื่อรักษาอาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ แต่ก็ไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยเพิ่มขนาดได้แต่อย่างใด การถ่วงน้ำหนักเพื่อยืดอวัยวะเพศ การเอาตุ้มน้ำหนักไปแขวนไว้กับอวัยวะเพศ อาจทำให้มันยืดออกได้เล็กน้อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน