backup og meta

ทำความรู้จักกับ อาการลำไส้ขี้เกียจ ที่คุณรู้แล้ว ต้องรีบรักษา

ทำความรู้จักกับ อาการลำไส้ขี้เกียจ ที่คุณรู้แล้ว ต้องรีบรักษา

อาการลำไส้ขี้เกียจ ส่งผลให้ระบบขับถ่ายคุณนั้นไม่เป็นไปตามเวลา ท้องไส้ปั่นป่วน ในบางครั้งก็มีอาการท้องผูก และท้องเสียร่วมด้วย จนต้องพึ่งยาระบายเป็นตัวช่วยเสริม แถมยังเสียเวลาไปกับการวิ่งเข้า วิ่งออก จากห้องน้ำแทบทั้งวัน มารู้ถึงการรักษาสุขภาพลำไส้ ในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ ได้มานำฝากกัน

อาการลำไส้ขี้เกียจ มีสาเหตุมาจากอะไร ?

อาการลำไส้ขี้เกียจ (Colonic inertia) เกิดมากจากความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร หรือมีสิ่งรบกวนบางอย่างเข้าไปทำให้ลำไส้เกิดการอุดตัน อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาลดกรด หรือยาระบายบ่อยครั้ง ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนมมากเกินไป และการดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องผูก ท้องอืด และท้องเสียได้

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าลำไส้ของคุณกำลังมีปัญหา

อาการจะรุนแรงมาก หรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเมื่อเกิดอาการดังต่อไปนี้

วิธีรักษาอาการลำไส้ขี้เกียจ ให้กลับมาปกติดังเดิม

ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยลดปริมาณอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนม รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวันอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ก่อนเกิดอาการรุนแรง เพราะหากคุณปล่อยไว้จนถึงขั้นเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดลำไส้ได้เลยทีเดียว

  • ยา

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำการใช้ยาระบายเพื่อรักษาอาการท้องผูกในเบื้องต้น และคอยติดตามอาการของคุณอย่างใกล้ชิด เพราะยาระบาย อาจไปทำความเสียหายให้แก่ระบบประสาท และกล้ามเนื้อของลำไส้ส่วนล่างจนถึงลำไส้ใหญ่

  • ฝึกการขับถ่ายด้วยเครื่องไบโอฟีดแบค (Biofeedback)

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ขับถ่ายเป็นเวลา และขับถ่ายออกได้ง่ายขึ้น โดยการวัดแรงดันการบีบตัว และการคลายตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ที่จะแสดงออกมาบนหน้าจอเครื่อง เรียกง่ายๆ ว่า การวัดแรงเบ่งอุจจาระ

  • การผ่าตัด

กรณีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังเท่านั้น การผ่าตัดเป็นการนำส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดของลำไส้ใหญ่ เพื่อเชื่อมลำไส้เล็กเข้าสู่ช่องรูทวาร เป็นการนำไปสู่การขับถ่ายที่ดี

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Colonic inertia http://ddc.musc.edu/public/diseases/colon-rectum/colonic-inertia.html Accessed January 20, 2020

Colonic Inertia Treatment Options https://www.g-pact.org/colonic-inertia/treatment-options Accessed January 20, 2020

Toward a definition of colonic inertia https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4572142/ Accessed January 20, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีดูแลสุขภาพลำไส้ เพราะลำไส้สำคัญต่อสุขภาพโดยรวมมากกว่าที่คิด

เดี๋ยวท้องเสีย เดี๋ยวท้องผูก! ไม่อยาก ท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยว เราป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา