ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นโรคที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปสู่ร่างกายได้ตามปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ หรือลิ้นหัวใจ มักมีอาการโดยทั่วไปคือ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะหัวใจล้มเหลว

CHF คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว ปัจจัยเสี่ยงและอาการที่ควรรู้

CHF คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจทำงานผิดปกติ โดยหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดีพอที่จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารตามปกติ ส่งผลให้เลือดและของเหลวสะสมในปอดและบริเวณขา ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ออก ไม่อยากอาหาร นอกจากนี้ ภาวะหัวใจล้มเหลวนี้อาจทำให้เสียชีวิตได้ จึงควรดูแลตัวเองให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีเพื่อลดความเสี่ยงการเกิด CHF [embed-health-tool-bmi] CHF คือ อะไร CHF หรือ Congestive Heart Failure คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงตามอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอตามความต้องการของร่างกาย เมื่อมีภาวะ CHF ไม่ได้หมายความว่าหัวใจกำลังจะหยุดทำงานหรือหยุดเต้น แต่หากร่างกายไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และหากมีภาวะหัวใจล้มเหลวแม้เพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวซีกซ้ายเป็นเวลานานหลายปี ก็อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวซีกขวาได้เช่นกัน นอกจากนี้ ภาวะ CHF ก็อาจทำให้เลือดไปสะสมอยู่ตามบริเวณอวัยวะอื่น ๆ เช่น ของเหลวสะสมอยู่ในปอดจนทำให้เกิดอาการหายใจถี่รัว ของเหลวสะสมอยู่ในขาและเท้าจนบวม สาเหตุของ CHF คืออะไร โรคหัวใจและปัญหาสุขภาพเรื้อรังอาจทำให้หัวใจอ่อนแอจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อส่งไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้ตามปกติ โดยมีปัจจัยต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด CHF ได้ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac […]

สำรวจ ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว

เพศสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย : หลังหัวใจวายต้องรอนานแค่ไหนถึงมีเซ็กส์ได้อีกครั้ง

หลังจากเกิดภาวะหัวใจวาย การมีเพศสัมพันธ์อาจกลายเป็นเรื่องท้าทาย ผู้ที่รอดตายจากหัวใจวายบางราย ก็อาจยังไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถมีเซ็กส์ได้อีกหรือไม่ หรือเซ็กส์จะส่งผลให้อาการกำเริบขึ้นมาได้อีกหรือเปล่า และความสงสัยเหล่านี้ อาจกลายเป็นความกังวลที่ทำให้บางคนหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ไปเลย แต่อย่างไรก็ดี ความใกล้ชิดทางกายก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคู่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือกิจกรรมทางเพศได้ตลอดไป Hello คุณหมอ จึงอยากบอกคุณว่า ไม่ต้องเป็นกังวลไป ลองอ่านบทความเรื่อง เพศสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย นี้ดูก่อน แล้วคุณจะรู้ว่า ถึงจะเคยเกิดภาวะหัวใจวาย ก็ใช่ว่าคุณจะต้องงดมีเซ็กส์ไปตลอดชีวิต เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ เพศสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย หลังหัวใจวาย เมื่อไหร่จะมีเซ็กส์ได้อีกครั้ง คำตอบในเรื่องนี้นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล หากหลังหัวใจวาย คุณไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่มีอาการที่แสดงถึงปัญหาสุขภาพหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก ในขณะทำกิจกรรมทางกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายในระดับความเข้มข้นปานกลาง อย่างการเดินเร็ว การขึ้นบันได เป็นต้น ส่วนใหญ่ก็จะสามารถทำกิจกรรมทางเพศหรือมีเซ็กส์ได้อีกครั้ง หลังพักฟื้นแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ หากคุณเข้ารับการรักษาภาวะหัวใจวายด้วยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือทำบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Surgery) โดยปกติแล้ว ต้องรออย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ เพื่อให้แผลผ่าตัดหายสนิทก่อน จึงจะสามารถมีเซ็กส์ได้อีกครั้งอย่างปลอดภัย หากคุณไม่แน่ใจว่าตัวเองพร้อมจะมีเซ็กส์อีกครั้งหรือยัง ก็สามารถปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจคลื่นหัวใจได้ หากผลตรวจออกมาเป็นปกติ นั่นอาจหมายความว่า คุณสามารถกลับมามีเซ็กส์ได้แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหมตั้งแต่ครั้งแรก มีโอกาสหัวใจวายระหว่างมีเซ็กส์ได้ไหม ความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวายระหว่างมีเซ็กส์นั้นน้อยมาก จากสถิติของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

ระวัง! สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเกิดภาวะ หัวใจวาย ขณะออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีในการลดความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดิน มีข้อพิสูจน์แล้วว่าทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น โดยช่วยลดปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ลดน้ำหนักและลดความดันโลหิต อย่างไรก็ดี บางครั้งการออกกำลังกายก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะ หัวใจวาย ขณะออกกำลังกาย โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และไม่ระมัดระวังเกี่ยวกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ไลฟ์สไตล์ที่ไม่ออกกำลังกาย เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญประการหนึ่ง สำหรับโรคหัวใจ จากข้อมูลของ World Heart Federation การขาดการออกกำลังกายสามารถเพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจได้ร้อยละ 50 ปัจจัยเสี่ยงประการอื่น ได้แก่ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน (Obesity) ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ การลดความเสี่ยงเหล่านี้สามารถลดโอกาสในการเกิดหัวใจวาย (heart attack) หรือโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ (bypass surgery) เหตุผลที่ควรระมัดระวังในการออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีความสำคัญมากในการป้องกันโรคหัวใจ โดยทั่วไปแล้ว การออกกำลังกายเป็นสิ่งปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่คุณควรระมัดระวัง โดยเฉพาะหากว่า แพทย์ได้แจ้งคุณว่า คุณมีปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจหนึ่งประการหรือมากกว่า เมื่อไม่นานมานี้ คุณมีอาการหัวใจวาย หรืออาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆ คุณไม่ออกกำลังกายมาก่อน ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเกือบจะสามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ หากได้รับการประเมินอาการล่วงหน้า อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายไม่ได้เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจทุกคน หากคุณเป็นมือใหม่ในการออกกำลังกาย สิ่งสำคัญคือการเริ่มต้นอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันผลข้างเคียง ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายใหม่ นอกจากนี้ คุณอาจจำเป็นที่จะเริ่มออกกำลังกาย ภายใต้การดูแลของหมอ ถึงแม้จะระมัดระวังในเรื่องเหล่านี้แล้ว ก็ยังอาจเป็นสิ่งที่ยากสำหรับหมอ ที่จะคาดการณ์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ ที่คุณอาจมีในระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัย […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

เคล็ดลับการกำหนดอาหารสำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure: CHF) เป็นภาวะสุขภาพประการหนึ่ง เมื่อหัวใจไม่สูบฉีดโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เกิดการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ภาวะนี้อาจเป็นผลมาจากกลุ่มโรคหลายชนิด ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไต การกำหนดอาหารที่เหมาะสมต่อ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว เพื่อช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ควรให้ความสำคัญต่อการรักษาควบคู่ไปด้วย นอกเหนือจากการสั่งจ่ายยา และการทำหัตถการผ่าตัด ใส่ใจสิ่งที่ดื่ม ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีโอกาสมากขึ้น ที่จะกักเก็บของเหลวไว้ภายในเซลล์และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องสูบฉีดเลือดปริมาณมากขึ้น เมื่อภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น การจำกัดการบริโภคของเหลวสามารถเป็นการบรรเทาอาการได้ดีที่สุด ในบางครั้งแพทย์ที่ทำการรักษาจะสั่งยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะ พร้อมกับช่วยกำหนดปริมาณของเหลวที่คุณควรดื่มต่อวันไว้ อย่างไรก็ดี ของเหลวไม่ได้หมายถึงแค่น้ำเปล่าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงน้ำผลไม้ น้ำแข็ง ไอศกรีม กาแฟ ชา แกงจืด ข้าวต้ม และน้ำซุปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อต้องดูแลปริมาณของเหลวตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยจึงควรใส่ใจในการชั่ง ตวง วัดของเหลวที่บริโภคในทุกวัน วิธีที่ง่ายๆ ก็คือทำความเข้าใจความจุของถ้วย แก้ว และชามที่คุณใช้ที่บ้านเป็นประจำ ซึ่งโดยเฉลี่ยถ้วยกาแฟมีปริมาตร 125-150 มิลลิลิตร ถ้วยตวง 250 มิลลิลิตร ขวดน้ำ 600-1000 มิลลิลิตร […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ : ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) เรียกได้ว่าเป็นอีกภาวะหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง ทำให้คุณอาจเสียชีวิตลงได้อย่างรวดเร็วหากรับการรักษาไม่เท่าทัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาวะหัวใจล้มเหลว มาฝากทุกคนกันค่ะ เพื่อให้เกิดความตระหนัก และหันมาดูแลสุขภาพหัวใจกันให้มากขึ้น คำจำกัดความภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) คืออะไร ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวใจล้มเหลว (heart failure) เป็นภาวะหนึ่งที่หมายถึง กล้ามเนื้อหัวใจมีกำลังในการสูบฉีดโลหิตลดลง ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดผลที่อันตรายบางประการ ดังนี้ หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตที่เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย เลือดถูกอุดกั้นในหัวใจ ซึ่งทำให้มีความดันมากขึ้นในผนังหัวใจ หัวใจจำเป็นต้องยืดตัวเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น ไตมีการตอบสนองโดยการทำให้ร่างกายกักเก็บของเหลวและเกลือมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมที่อวัยวะบางประการได้ ในท้ายที่สุดส่งผลให้เกิดอาการบวมแน่นในร่างกาย ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นในหัวใจด้านใดด้านหนึ่ง โดยปกติแล้วเริ่มเกิดขึ้นในหัวใจด้านซ้ายแล้วย้ายไปยังหัวใจด้านขวา หากไม่มีการรักษาที่เหมาะสม หัวใจล้มเหลวอาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ภาวะหัวใจล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถส่งผลต่อคนได้ทุกวัย ถึงแม้ว่าพบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ เด็กที่มีภาวะหัวใจบกพร่องแต่กำเนิด (Congenital Heart Defects) ยังมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยเช่นกัน อาการอาการของ ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจล้มเหลวเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที อาการทั่วไปของโรคนี้ ได้แก่ หัวใจเต้นผิดปกติ อ่อนเพลีย ไอเป็นเลือดและหายใจมีเสียงบ่อย ไม่มีความอยากอาหาร คลื่นไส้ หายใจลำบาก ปวดปัสสาวะด่วนในตอนกลางคืน น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เจ็บหน้าอก มีอาการบวมในท้อง ขา ข้อเท้า และเท้า อาจมีอาการและสัญญาณเตือนอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากคุณข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาณเตือนเหล่านี้ […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) กับความรู้พื้นฐานที่ควรรู้เอาไว้

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถรองรับการทำงาน และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจะทำให้เลือดลำเลียงไปทั่วร่างกาย และผ่านทางหัวใจในอัตราที่ช้าลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ไม่เพียงพอ ห้องหัวใจอาจมีการตอบสนองโดยการขยายตัวออกเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผนังหัวใจมีความแข็ง และความหนาตามไปด้วย คำจำกัดความหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คืออะไร หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้อธิบายหัวใจที่ไม่สามารถรองรับการทำงาน และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะทำให้เลือดลำเลียงไปทั่วร่างกาย และผ่านทางหัวใจในอัตราที่ช้าลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ไม่เพียงพอ ห้องหัวใจอาจมีการตอบสนองโดยการขยายตัวออกเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผนังหัวใจมีความแข็ง และความหนาตามไปด้วย ในการขยายตัวของห้องหัวใจอาจช่วยรักษาการไหลเวียนของเลือดได้ แต่ในท้ายที่สุดแล้วกล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแอลงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด หัวใจล้มเหลวอาจพบได้ทั่วไป และมีความรุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังสามารถส่งผลได้ทุกวัย ในปัจจุบัน หัวใจล้มเหลวไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจจัดการได้โดยการลดความเสี่ยง อาการอาการของหัวใจล้มเหลว อาการทั่วไปของหัวใจล้มเหลวอาจได้แก่ หายใจลำบากในระหว่างทำกิจกรรมหรือพักผ่อน อ่อนเพลียมาก มีอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า กระเพาะอาหาร หรือบริเวณหลังส่วนล่าง มีอาการบวมมากขึ้นที่เท้า ขา ข้อเท้า และท้อง ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ ไอในเวลากลางคืน มึนงงหรือกระสับกระส่าย มีภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว (มากกว่า 120/นาที ในขณะที่พักผ่อน) สาเหตุสาเหตุของหัวใจล้มเหลว สาเหตุทั่วไปบางประการของหัวใจล้มเหลวที่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ อาจมีดังนี้ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High Blood Pressure) โรคซึมเศร้า (Depression) มีความผิดปกติในการนอนหลับ (Sleep Disorder) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของหัวใจล้มเหลว สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจวาย (Heart attack)

หัวใจวาย (Heart Attack) หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) เป็นโรคร้ายแรงประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ไปยังหัวใจมีการอุดกั้น คำจำกัดความหัวใจวาย คืออะไร หัวใจวาย (Heart Attack) หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) เป็นโรคร้ายแรงประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ไปยังหัวใจมีการอุดกั้น ซึ่งมักเกิดได้มากที่สุดจากการก่อตัวของไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ ซึ่งก่อตัวเป็นแผ่นอุดกั้นในหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ กระแสเลือดที่ถูกขัดขวาง อาจทำให้เกิดการทำลาย หรือความเสียหายที่กล้ามเนื้อหัวใจได้ หัวใจวายสามารถเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการโทรไปยังหมายเลขฉุกเฉิน หรือขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน หากกำลังสงสัยว่าตัวเองมีภาวะหัวใจวาย หัวใจวาย พบได้บ่อยเพียงใด ตามข้อมูลจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ประเทศสหรัฐฯ ในทุก ๆ ปีจะมีชาวอเมริกันจำนวน 735,000 คนที่เกิด ภาวะหัวใจวาย ในจำนวนผู้ป่วยดังกล่าวนี้ ผู้ป่วยจำนวน 525,000 รายเป็นหัวใจวายครั้งแรก และผู้ป่วยจำนวน 210,000 รายเป็นผู้ที่เคยเป็นหัวใจวายมาก่อนแล้ว ในประเทศไทย ภาวะหัวใจวาย […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

สัญญาณหัวใจล้มเหลว อาการบอกเหตุที่คุณควรต้องรู้

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหลายคนอาจจะรู้สึกหวาดกลัว กับภาวะหัวใจล้มเหลวเพราะไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองตอนไหน แต่จริงๆ แล้ว คุณสามารถสังเกต สัญญาณหัวใจล้มเหลว ได้ คุณควรจะระมัดระวังตัวเองและสังเกต สัญญาณหัวใจล้มเหลว และอาการต่างๆเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป หัวใจล้มเหลวคืออะไร หัวใจล้มเหลว (heart failure หรือ congestive heart failure) คือหนึ่งในอาการของโรคหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุด อาการของหัวใจล้มเหลวนั้นอาจมีสาเหตุมาจาก อายุ ความเสียหายต่อหัวใจ หรือพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นสามารถทำให้หัวใจอ่อนแอลง และลดความสามารถในการสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือก็คือ “ล้มเหลว” ในการทำงานนั่นเอง หัวใจล้มเหลวอาจเกิดได้ทั้งช่วงที่หัวใจบีบเลือดเข้า (systolic) หรือช่วงที่หัวใจคลายตัว (diastolic) ทั้งสองอย่างเชื่อมโยงกับอาการเสียหายบางประการของหัวใจห้องด้านซ้ายล่าง สัญญาณหัวใจล้มเหลว ที่ควรระวัง หายใจลำบาก ภาวะหายใจหอบถี่หรือหายใจลำบาก ปกติแล้วมักเกิดขึ้นเมื่อคุณทำกิจกรรมบางอย่าง อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่คุณนอนหลับ และทำให้คุณผวาตื่นขึ้น ปกติแล้วคุณมักจะหายใจลำบากเวลาที่นอนหงาย คุณอาจจะต้องเอาหมอนมาหนุนเพิ่มเพื่อยกลำตัวให้สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น คุณอาจรู้สึกเหนื่อยอย่างมากตอนตื่นนอน รู้สึกเกร็งและวิตกกังวล อาการนี้มักเกิดขึ้น เนื่องจากเกิดการอุดกั้นหรือกีดขวางในหลอดเลือดดำในปอด เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้ทันกับความต้องการ จนอาจทำให้ของเหลวเข้าไปในปอด ความอ่อนล้ารุนแรง หากร่างกายของคุณมักรู้สึกเหนื่อยอยู่เสมอ และการทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การเดิน การช้อปปิ้ง ต่างก็กลายเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ตลอดรอดฝั่ง อาการนี้ส่วนใหญ่แล้วก็เนื่องมาจากความจริงที่ว่า หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ร่างกายก็จะลดปริมาณเลือดที่ส่งไปยังอวัยวะที่มีความสำคัญน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อแขนขา เพื่อที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองมากกว่า การคั่งของของเหลวในเนื้อเยื่อของร่างกาย อาการนี้เรียกอีกอย่างว่า อาการบวมน้ำ (edema) คุณอาจพบว่าตัวเองน้ำหนักเพิ่มขึ้น […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจวายในผู้หญิง กับอาการและสัญญาญเตือนที่สาว ๆ ควรรู้ จะได้รับมือทัน

ภาวะ หัวใจวายในผู้หญิง เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง ภาวะหัวใจวายนั้นสามารถเกิดได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิง แต่จะส่งผลกระทบกับเพศชายและหญิงต่างกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตระหนักถึงอาการและสัญญาณเตือนของโรค ที่เรามักจะไม่ใส่ใจและมองข้าม เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังและป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หัวใจวายในผู้หญิง มีอาการอย่างไร ผู้หญิงมักจะมีอาการที่เห็นได้ชัดน้อยกว่าผู้ชาย สัญญาณและอาการที่พบได้มากที่สุดมีดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกอึดอัดไม่สบายในอก เป็นอาการของโรคหัวใจที่รับรู้ได้ง่ายที่สุด แต่อาจจะไม่เกิดขึ้นเสมอไป อาการปวดที่ลามลงมายังแขน คอ กราม ท้อง และหลัง คุณอาจรู้สึกถึงอาการปวดเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด สำหรับบางคน อาการปวดอาจรุนแรงมาก แต่สำหรับบางคนอาจแค่รู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย รู้สึกไม่สบาย เหงื่อออก หายใจไม่ออก วิงเวียนศีรษะ โดยมีอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกร่วมด้วย รู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดท้องแบบมีกรดเกินในกระเพาะอาหาร ความรู้สึกไม่ค่อยสบายเหมือนทั่ว ๆ ไป แต่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และตามมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก อาการวิตกกังวล อ่อนแรง หรือเหนื่อยล้าอย่างหาสาเหตุไม่ได้ ใจสั่น ตื่นตกใจกลัว หรือตัวซีด หากคุณมีสัญญาณและอาการที่กล่าวมาเบื้องต้นโปรดรับการรักษาทันที และควรรับการทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจวายด้วย เพราะภาวะนี้ ยิ่งตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นเท่านั้น ความเสี่ยงต่อการเกิด หัวใจวายในผู้หญิง ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งพบได้บ่อยนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อผู้ชายและผู้หญิงเหมือน ๆ กัน อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยอื่น ที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดโรคหัวใจในผู้หญิง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน