backup og meta

เปิดไฟนอน อาจทำให้อ้วนขึ้นได้นะ อีกหนึ่งประโยคบอกเล่า หรือเรื่องจริงที่ควรใส่ใจ

เปิดไฟนอน อาจทำให้อ้วนขึ้นได้นะ อีกหนึ่งประโยคบอกเล่า หรือเรื่องจริงที่ควรใส่ใจ

ช่วงเวลานอนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลังจากกิจกรรมที่เหนื่อยมาตลอดทั้งวัน บางคนเหนื่อยมากจนบางทีลืมปิดไฟก่อนนอนหรือในบางคนก็กลัวความมืดจนไม่สามารถนอนคนเดียวแล้วปิดไฟมืดๆ รู้หรือไม่คะว่า พฤติกรรมเหล่านี้จะให้คุณอ้วนได้ ด้วยที่คุณไม่รู้ตัวนะ แถมยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย จะจริงหรือไม่นั้น วันนี้ Hello คุณหมอมีคำตอบค่ะ จะพามาไขข้อสงสัย รวมถึงผลเสียของการ เปิดไฟนอน และเคล็ดลับการนอนยังไงให้หุ่นดีมาฝากกันด้วยค่ะ

เปิดไฟนอน ทำให้อ้วนได้จริงหรือ?

การเปิดไฟนอน เพราะความเคยชินหรือบางคนกลัวความมืด การเปิดไฟนอนนั้นจะทำให้รู้สึกอยากทานอาหารมากขึ้น โดยฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร และฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่ช่วยให้เจริญอาหาร ทำงานไม่สมดุลกันจึงทำให้รู้สึกหิว ยิ่งถ้าหากนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะผลิตเลปตินน้อยลง และผลิตเกรลินมากขึ้น ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะอ้วนได้มากขึ้นนั่นเอง กลายเป็นโรคอ้วนและอาจลุกลามไปถึงโรคเบาหวานได้อีกด้วย

ผลเสียจากการเปิดไฟนอน

การเปิดไฟนอนนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายของเราอย่างมาก นอกจากจะทำให้ความจำสั้นแล้ว ยังเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าอีกด้วย หรืออาจถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่ามันจริงหรือไม่

  • น้ำหนักขึ้น

รู้หรือไม่ว่าการเปิดไฟนอนนั้น ส่งผลเสียต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย เพราะ การเปิดไฟนอน ทำให้ร่างกายของเราพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ และเมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ สารเกรลิน ที่เป็นตัวกระตุ้นความอยากอาหารจะทำให้เรารู้สึกอยากอาหารและกินบ่อยมากขึ้น และเป็นที่แน่นอนว่า..เมื่อเราทานเยอะ น้ำหนักเราก็จะขึ้นแบบที่เราไม่รู้ตัวเลยล่ะ

  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง

เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยยับยั้งมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ยังเป็นส่วนช่วยในการสร้างสมองให้ทำงานได้อย่างมีปนะสิทธิภาพ แต่เมื่อเราเปิดไฟนอนต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่ผลิตเมลาโทนินจะทำงานน้อยลงทำให้ภูมิคุ้มกันต่างๆในร่างกายอ่อนแอลง และเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้

  • ขี้หลง ขี้ลืม

การเปิดไฟนอน เป็นตัวขัดขวางต่อมใต้สมองไม่ให้ผลิตเมลาโทนิน หากคุณมีพฤติกรรมเปิดไฟนอนบ่อยๆ จะส่งผลให้การจดจำสิ่งต่างๆของคุณลดประสิทธิภาพลงไปด้วย

  • ผิวพรรณไม่กระจ่างใส

เมื่อเราหลับร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) จะทำหน้าที่ซ่อมแซมผิวหนังฟื้นฟูผิวส่วนที่สึกหรอ แต่หากคุณนอนเปิดไฟ ธรรมชาติของการนอนได้ผิดเพี้ยนไป เมื่อร่างกายพักผ่อนได้ไม่เต็มที่โกรทฮอร์โมน ก็จะซ่อมแซมผิวพรรณของเราได้น้อยลง โดยส่งผลเสียต่างๆ ดังนี้ ผิวหมองคล้ำไม่กระจ่างใส ปัญหาริ้วรอยและการเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

นอนอย่างไร ห่างไกลความอ้วน

หากเราได้นอนหลับอย่างถูกต้องแล้วนอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกายอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังทำให้น้ำหนักของเราลดลงอีกด้วยนะ โดยการนอนหลับแต่ละคืนสามารถเผาผลาญพลังงานได้ถึง 300 กิโลแคลอรี เราไปดูเคล็ดลับความผอมง่ายๆ ด้วยการนอนที่ถูกต้องกันเถอะ

  • การนอนหลับที่ดีมีผลต่อการลดน้ำหนัก การรักษาน้ำหนักให้คงที่ต้องอาศัยการกินอาหารให้ครบหมู่ โดยเฉพาะโปรตีน สารอาหารที่จำเป็นต่อโกรทฮอร์โมน
  • การนอนหลับที่ดีที่สุดต้องหลับให้สนิทในช่วง 3 ชั่วโมงแรก เพื่อให้โกรทฮอร์โมนได้หลั่งออกมาอย่างเต็มที่  ยิ่งถ้าเรานอนดึก นอนน้อย  โกรทฮอร์โมนก็จะหลั่งได้น้อยลงไปด้วย
  • ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วเราควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง โกรทฮอร์โมนจะช่วยในการสร้างโปรตีน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อและทำให้ไขมันที่สะสมในร่างกายลดลง

การนอนเป็นสิ่งที่สำคัญที่เราควรต้องใส่ใจและปฎิบัติอย่างถูกวิธี เมื่อเราปิดไฟนอนแล้วจะทำให้นอนหลับได้สนิทมากขึ้น แม้ว่าการเปิดไฟนอนไม่ได้ส่งผลเสียร้ายแรงมาก แต่ถ้าหากเราปล่อยไว้จนกลายเป็นชีวิตประจำวันเราไป มันอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราในระยะยาวได้

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sleeping in front of the TV makes women fat – so better turn off lights and TV. https://newsbeezer.com/austriaeng/sleeping-in-front-of-the-tv-makes-women-fat-so-better-turn-off-lights-and-tv/Accessed 13 June, 2019

8 Ways You Can Literally Lose Weight in Your Sleep. https://www.thehealthy.com/weight-loss/lose-weight-sleep/ .Accessed 08 November, 2019

Bedroom Light at Night Might Boost Women’s Weight. https://www.webmd.com/sleepdisorders/news/20190610/bedroom-light-at-night-might-boost-womens-weight. Accessed 08 November, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการนอนไม่หลับ สามารถแก้ไขได้ด้วยเครื่องดื่มเหล่านี้

5 สาเหตุสำคัญ ที่อาจทำให้คุณเป็น โรคนอนไม่หลับ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา