backup og meta

ชมพู่ ผลไม้ฉ่ำน้ำ รูปทรงแปลกตา กับประโยชน์สุขภาพที่คุณอาจไม่เคยรู้

ชมพู่ ผลไม้ฉ่ำน้ำ รูปทรงแปลกตา กับประโยชน์สุขภาพที่คุณอาจไม่เคยรู้

ผลไม้รูปทรงแปลกอย่าง ชมพู่ (Rose Apple) จัดเป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี หลายคนชอบกินชมพู่มาก โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน เพราะกินแล้วสดชื่น ยิ่งหากแช่เย็นก่อนกินก็จะยิ่งกรอบ อร่อยขึ้นไปอีก แต่คุณรู้ไหมว่า นอกจากความอร่อยแล้ว ชมพู่ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากด้วย ว่าแต่ประโยชน์สุขภาพของชมพู่จะมีอะไรบ้าง แล้วเวลาบริโภคเราจะต้องระมัดระวังอะไรหรือเปล่า ไปหาคำตอบจากบทความนี้กันเลย

คุณค่าทางโภชนาการใน ชมพู่

ชมพู่เป็นผลไม้ฉ่ำน้ำที่มีแคลอรี่ต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด ชมพู่สด 100 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ และให้สารอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

นอกจากวิตามินและแร่ธาตุข้างต้นแล้ว ในชมพู่ยังมีซัลเฟอร์ (Sulfer) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) แมงกานีส เหล็ก รวมถึงสารพฤกษเคมี เช่น กรดบิทูลินิก (Betulinic Acid) สารแจมโบไซน์ (Jambosine) ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ต้านมะเร็ง ต้านการติดเชื้อราที่ผิวหนัง

ประโยชน์สุขภาพของ ชมพู่

ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ในชมพู่มีสารแอลคาลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งสารประกอบอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ที่เรียกว่า “แจมโบไซน์ (Jambosine)” ซึ่งงานศึกษาวิจัยเผยว่า สารประกอบชนิดนี้มีส่วนช่วยกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ อีกทั้ง ชมพู่ยังเป็นผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานด้วย

ช่วยในการขับถ่าย

นอกจากจะฉ่ำน้ำแล้ว ชมพู่ยังเป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นยอด เมื่อร่างกายของเราได้รับน้ำและไฟเบอร์อย่างเพียงพอ จะช่วยให้อาหารเคลื่อนผ่านจากกระเพาะอาหารไปสู่ลำไส้ใหญ่ได้สะดวกขึ้น จึงช่วยบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับระบบอาหารและการขับถ่าย เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ได้

ดีต่อสุขภาพหัวใจ

สารอาหารนานาชนิด และไฟเบอร์ที่มีมากในชมพู่ช่วยให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดของเราแข็งแรงขึ้นได้ นอกจากนี้ ชมพู่ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและโพแทสเซียมสูง ที่ช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดเป็นปกติ ความเสี่ยงในการเกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง จึงลดลงตามไปด้วย

ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

วิตามินซี (Vitamin C) เป็นวิตามินที่มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และชมพู่ก็เป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่มีวิตามินซีสูงมาก ชมพู่ 100 กรัม มีวิตามินซีถึง 22.3 ไมโครกรัม กินแล้วจึงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเช่นกัน นอกจากนี้ คอลลาเจนยังช่วยบำรุงผิวหนัง ชะลอการเกิดริ้วรอย ทั้งยังดีต่อสุขภาพข้อต่อและกระดูกด้วย

ช่วยป้องกันมะเร็ง

วิตามินซีและวิตามินเอที่มีมากในชมพู่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นยอด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยืนยันแล้วว่า ช่วยขัดขวางการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง จึงลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด

ความเสี่ยงในการบริโภค ชมพู่ ที่ควรรู้

เมล็ด ราก และใบชมพู่มีสารพิษอย่าง “ไซยาไนด์” (Cyanide) อยู่ในปริมาณเล็กน้อย หากเผลอกินเข้าไปจะส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างฉับพลัน และอาจร้ายแรงถึงขึ้นทำให้หยุดหายใจได้ ฉะนั้น เวลากินชมพู่ คุณจึงต้องระวังให้ดี อย่าให้มีเมล็ดติดไปกับเนื้อชมพู่ และคุณไม่ควรกินชมพู่มากเกินไปด้วย เพราะอาจทำให้เกิดอาการคันคอและไอได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Top 4 Health Benefits Of Rose Apples. https://www.organicfacts.net/health-benefits/fruit/rose-apples.html. Accessed December 2, 2020

Watery Rose Apple facts and health benefits. https://www.healthbenefitstimes.com/watery-rose-apple/. Accessed December 2, 2020

5 Health Benefits Of Rose Apple That You May Not Know. https://www.onlymyhealth.com/health-benefits-of-rose-apple-1588833842. Accessed December 2, 2020

Water Apple: Health Benefits, Nutrition, Uses For Skin And Hair, Recipes, Side Effects. https://www.netmeds.com/health-library/post/water-apple-nutrition-health-benefits-uses-for-skin-and-applications-in-ayurveda. Accessed December 2, 2020

Health Benefits of Rose Apple. https://www.medindia.net/patients/lifestyleandwellness/health-benefits-of-rose-apple.htm. Accessed December 2, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/04/2021

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

แมลงวันผลไม้ กวนใจ ทำอย่างไรให้อาหารปลอดภัยจากสิ่งนี้

ผลไม้ฉ่ำน้ำ กินแล้วช่วยป้องกันอันตรายจากภาวะขาดน้ำ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 27/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา