backup og meta

เครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

เครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารการกิน รวมไปถึงการเลือกดื่ม ทางสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association, ADA) ได้แนะนำ เครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่เป็นเครื่องดื่มศูนย์แคลอรี่หรือแคลอรี่ต่ำ เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นการเลือกเครื่องดื่มที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงช่วยให้ไม่เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ควบคุมอาการและรักษาน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพได้ บทความนี้จาก Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานมาฝากค่ะ

เครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง

น้ำเปล่า

เมื่อพูดถึงความชุ่มชื้นน้ำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้เกิดการคายน้ำได้ การดื่มน้ำที่เพียงพอช่วยให้ร่างกายขจัดน้ำตาลส่วนเกินออกจากปัสสาวะได้ ผู้หญิงควรดื่มน้ำประมาณ 8 แก้วต่อวัน ในขณะที่ผู้ชายควรดื่มน้ำประมาณ 10 แก้ว

หากอยากเพิ่มรสชาติให้น้ำเปล่าไม่จืดชืดเกินไป สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มชิ้นมะนาวหรือส้ม เพิ่มใบสมุนไพร เช่น มินต์ โหระพา หรือจะบดราสเบอร์รี่สดหรือแช่แข็งลงในเครื่องดื่ม ก็ช่วยเพิ่มรสชาติและให้ความรู้สึกสดชื่นขึ้นได้

ชา

ผลงานวิจัยจากหลายสถาบันแสดงให้เห็นว่าชาเขียวมีผลดีต่อสุขภาพโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังช่วยลดความดันโลหิตและลดระดับคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายได้ การวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการดื่มชาเขียว 6 แก้วต่อวันอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อ โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้

อย่างไรก็ตาม เราก็ยังต้องการงานวิจัยในด้านนี้อีก ไม่ว่าคุณจะเลือกชาเขียว ชาดำหรือชาสมุนไพร คุณควรหลีกเลี่ยงสารให้ความหวาน หากต้องการความสดชื่นควรแช่ชาให้เย็น หรืออาจจะใช้ชาที่มีความหวานอ่อน ๆ ในตัวมันเอง เช่น ชารอยบอส (Rooibos) หรืออาจะเพิ่มมะนาวฝานลงไป ถ้าคุณไม่รู้สึกถึงคาเฟอีน ชาเอิร์ลเกรย์ และชาเขียวมะลิก็เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม

กาแฟ

จากผลการศึกษาในปีค.ศ. 2012 พบว่าการดื่มกาแฟอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้ นักวิจัยพบว่าระดับความเสี่ยงมีการลดลงต่ำกว่าสำหรับคนที่ดื่ม 2-3 แก้วต่อวัน และยังเห็นผลจริงสำหรับผู้ที่ดื่มชา 4 แก้วต่อวันหรือมากกว่านั้น รวมทั้งการดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนและกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนก็ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน

หากคาเฟอีนทำให้คุณกระวนกระวายใจก็ควรเลือกแบบที่ไม่มีคาเฟอีนได้ เช่นเดียวกับชา สิ่งสำคัญคือต้องไม่ทำให้กาแฟหวาน ด้วยการเพิ่มนม ครีมหรือน้ำตาลลงในกาแฟ เพราะจะเป็นการเพิ่มปริมาณแคลอรี่โดยรวมและอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ

น้ำผักและน้ำผลไม้

คนที่เป็น โรคเบาหวาน ควรเลือกน้ำผลไม้ 100% ที่ปราศจากน้ำตาล หรืออาจจะลองเลือกน้ำผัก โดยผสมผักใบเขียวเข้าด้วยกัน เช่น ขึ้นฉ่าย แตงกวา กับเบอร์รี่สักหนึ่งกำมือเพื่อเพิ่มรสชาติและเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุ

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณรับประทานอาหารตามตารางการกินที่ถูกจัดไว้ในแต่ละมื้อ ควรระบุเครื่องดื่มที่ต้องการไว้ด้วย เนื่องจากโดยเฉลี่ยแล้วนำผลไม้ 4 กรัม อาจจะมีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 15 กรัม และได้พลังงานประมาณ 60 แคลอรี่ จึงจำเป็นต้องระบุเครื่องดื่มที่ต้องการให้ชัดเจน เพื่อให้การควบคุมอาหารและสารอาหารในร่างกายเป็นไปตามที่ต้องการ เนื่องจากเครื่องดื่มบางชนิดอาจให้คาร์โบไฮเดรตสูง หรือให้น้ำตาลสูง ซึ่งอาจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตในผู้ป่วยเบาหวาน

นม

ผลิตภัณฑ์จากนมมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ แต่ก็มีคาร์โบไฮเดรตด้วยเช่นกัน ควรเลือกนมที่ไม่หวาน ไขมันต่ำหรือนมพร่องมันเนย และควรดื่มนมเพียงวันละ 1-2 แก้วต่อวัน นอกจากนี้คุณยังสามารถลองผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่นมวัวแต่มีระดับน้ำตาลต่ำ เช่น ผลิตภัณฑ์นมจากถั่ว กะทิ แต่ควรระวังคาร์โบไฮเดรตในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What can i drink if i have diabetes?
https://www.healthline.com/health/diabetes/drinks-for-diabetics. Accesed December 17, 2018

The beat and worst diabetic drink
https://www.rd.com/health/conditions/best-worst-drinks-for-diabetics/. Accesed December 17, 2018

What You Can Drink, Besides Water, When You Have Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/daily-control-19/diet/slideshow-diabetes-friendly-drinks. Accesed October 1, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/10/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล กับข้อควรรู้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เป็นเบาหวาน..ก็กินน้ำตาลได้ ความจริงเกี่ยวกับน้ำตาล สำหรับคนเป็นเบาหวาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา