backup og meta

สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ และสาเหตุที่ส่งผลให้น้ำหนักเกิน มีอะไรบ้าง

สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ และสาเหตุที่ส่งผลให้น้ำหนักเกิน มีอะไรบ้าง

โรคอ้วน นับว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่เราทุกคนควรระวัง โดยเฉพาะกับช่วงวัยผู้ใหญ่ เพราะไม่พียงแค่จะทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่ม หรือไขมันสะสมจำนวนมากแล้ว แต่ยังจะเป็นการก่อให้เกิดความเสี่ยงบางอย่างของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ได้อีกด้วย และเพื่อป้องกันตนเองห่างไกลจากสภาวะดังกล่าว วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ ที่คุณควรสังเกตมาฝากกันค่ะ

สาเหตุที่ทำให้ช่วงวัยผู้ใหญ่มักเป็น โรคอ้วน

ถึงแม้ว่า โรคอ้วน สามารถเกิดสืบทอดได้จากยีนทางพันธุกรรมในด้านระบบการเผาผลาญ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัว แต่ขณะเดียวกันพฤติกรรมบางอย่างที่คุณเพิกเฉย ดังต่อไปนี้ นั้นก็ย่อมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้คุณเสี่ยงเป็น โรคอ้วน ได้

  • ขาดการออกกำลังกาย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายในระดับปานกลาง สามารถช่วยให้เผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกินได้อย่างมาก โดยสิ่งที่คุณควรปรับเปลี่ยนคือ การเริ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ตามความชอบอย่างน้อย 30 นาที เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์
  • เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารจานด่วน เครื่องดื่มปริมาณน้ำตาลสูง เป็นต้น ก็ย่อมล้วนแต่ก่อให้เกิด โรคอ้วน ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากขาดการควบคุมปริมาณไขมัน แคลอรี่ที่เหมาะสม จึงส่งผลให้คุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน พร้อมไขมันเกาะใต้ผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย

สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ ที่คุณควรรู้

คุณจะทราบว่าตนเองกำลังเข้าสู่ โรคอ้วน ได้ก็ต่อเมื่อ คุณมีการวัดดัชนีมวลกาย แล้วพบว่ามีระดับตัวเลขสูงกว่ามาตรฐาน โดยการหาค่าดัชนีมวลกายนั้นสามารถคำนวณจากส่วนสูง และน้ำหนัก

ยกตัวอย่าง ผู้ที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 1.65 เซนติเมตร สามารถตั้งตัวเลขตามได้ดังนี้ 70 ÷ (1.65) 2 = 25.71 (น้ำหนักเกิน)

ผลลัพธ์ค่าดัชนีมวลกาย

  • ต่ำกว่า 18.5 = มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  • 18.5 – 24.9 5 = น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • 25.0 – 29.9 = น้ำหนักเกิน
  • สูงกว่า 30.0 = โรคอ้วน

นอกจากนี้คุณยังสังเกตตนเองได้จากการที่ร่างกายของคุณเริ่มมีไขมันเกาะใต้ผิวหนังตามจุดต่าง ๆ เช่น หน้าท้อง แขน ต้นขา สะโพก หรืออาจมีการสวมใส่เสื้อผ้าชุดเดิม ๆ ไม่ได้ รู้สึกคับ และแน่นมากขึ้นกว่าปกติที่เคยใส่ เป็นต้น

วิธีแก้ไขปัญหา โรคอ้วนในผู้ใหญ่

สิ่งแรกที่คุณควรทำนั่นคือการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผัก ผลไม้ และไขมันที่ดี ก็จะสามารถทำให้คุณช่วยควบคุมน้ำหนักไปได้อีกระดับหนึ่ง

แต่หากคุณมีข้อสงสัย หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารนี้ สามารถเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการร่วมด้วยได้ เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจสอบร่างกาย และสุขภาพคุณ ก่อนแนะนำการวางแผนรับประทานอาหารที่เหมาะสมให้ หรืออาจมีการให้ยาลดน้ำหนักที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมด้วย เช่น ออริสแตท (Orlistat) เฟนเทอร์มีน (Phentermine) โทพิราเมท (Topiramate) บูโพรพิออน (Bupropion) นาลเทรกโซน (Naltrexone) และ ยาในรูปแบบฉีด ลิรากลูไทด์ (Liraglutide) ตามความเหมาะสมของสภาวะสุขภาพผู้ใหญ่แต่ละบุคคล

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Obesity https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/obesity/symptoms-causes/syc-20375742. Accessed May 28, 2021

Adult Obesity https://www.cdc.gov/vitalsigns/adultobesity/index.html . Accessed May 28, 2021

Treatment https://www.nhs.uk/conditions/obesity/treatment/ . Accessed May 28, 2021

Overweight and obesity in adults https://healthywa.wa.gov.au/Articles/N_R/Overweight-and-obesity-in-adults . Accessed May 28, 2021

Adult Obesity Facts https://www.cdc.gov/obesity/data/adult.html . Accessed May 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

หน้าอ้วน เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

คนอ้วน กับการดูแลสุขภาพตนเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา