backup og meta

กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague)

กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague)

กาฬโรคปอด (Pneumonic plague) เป็นกาฬโรคชนิดหนึ่งที่ถือว่ามีความรุนแรงที่สุด เกิดจากการติดเชื้อ เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) จนเชื้อชนิดนี้ลามไปที่ปอด จนทำให้เกิดปัญหาในการหายใจ

[embed-health-tool-heart-rate]

คำจำกัดความ

กาฬโรคปอด คืออะไร

กาฬโรคปอด (Pneumonic plague) เป็นโรคกาฬโรคชนิดหนึ่งที่มีการติดเชื้อ เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) ที่ปอด ซึ่งเป็นกาฬโรคชนิดเดียวที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ และสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านอากาศได้ โดยการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นละอองที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป ก็จะสามารถติดเชื้อได้ นอกจากนี้กาฬโรคปอดยังสามารถแพร่กระจายได้จากลมหายใจของผู้ป่วยหรือสัตว์ที่มีเชื้อได้อีกด้วย การติดเชื้อกาฬโรคปอดนั้นมักจะต้องมีการสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือมีความใกล้ชิดกับผู้ป่วย สัตว์ที่ป่วย ผู้ที่เป็นกาฬโรคปอดนั้นมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague) หรือกาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic plague) และไม่ได้รับการรักษาจนเชื้อนั้นลามลงไปติดที่ปอดด้วย

กาฬโรคปอดพบได้บ่อยเพียงใด

กาฬโรค เป็นโรคที่พบได้ในประเทศต่าง ๆ ของทวีปแอฟริกา และยังเป็นโรคประจำถิ่นในสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มองโกเลีย เมียนมาร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมีการระบาด ใหญ่เป็นครั้งคราว เช่น การระบาดของกาฬโรคปอด ในเอกวาดอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 หรือการเกิดกาฬโรค ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นลักษณะ กระจาย บางพื้นที่พบผู้ป่วยเพียงรายเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ส่วนการติดเชื้อในประเทศไทยเองก็เคยมีการติดเชื้อกาฬโรคกระจายไปในหลายท้องที่ในประเทศ นานถึง 2 ปี และมีรายงานการเกิดกาฬโรคอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ. 2495 จากนั้นไม่มีรายงานการ เกิดกาฬโรคในประเทศไทยจนกระทั่งปัจจุบัน

อาการ

อาการของ กาฬโรคปอด

อาการของป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดนั้น มักจะมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรียแล้ว 1 วัน โดยอาการของผู้ป่วยกาฬโรคปอดมักจะปรากฏอาการต่าง ๆ เหล่านี้

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อไร

กาฬโรคปอดประเภทของกาฬโรคที่ถือว่าอันตรายที่สุดเลยก็ว่าได้ หากไม่ได้รับการรักษามีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 50-60 และยังเป็นประเภทที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ด้วย หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม ข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ กาฬโรคปอด

กาฬโรคปอดถือเป็นกาฬโรคชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) แล้วเชื้อแบคทีเรียได้ลามลงที่ปอด จนปอดติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อนั้น เกิดจากโดนสัตว์ฟันแทะ เช่น กระต่าย หนู และหมัดของสัตว์ฟันแทะกัด และแพร่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย โดยเชื้อจะฟักตัวนาน 1-7 วัน หรืออาจนานกว่านั้นสำหรับบางคน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของกาฬโรคปอด

ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อกาฬโรคนั้นมีอยู่ 2 อย่างคือ โดนสัตว์ฟันแทะหรือหมัดของสัตว์ฟันแทะ ที่มีเชื้อแบคทีเรีย เยอร์ซีเนีย เพสติส กัดจนร่างกายเกิดการติดเชื้อ อีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อกาฬโรคคือการแพร่กระจายจากคนสู่คน ว่าจะเป็นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศ ลมหายใจ การไอ หรือจาม หากใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ โดยไม่มีการป้องกันอย่างถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียโดยตรง จากฝีหนองของสัตว์ที่มีเชื้อ

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติ

การวินิจฉัยกาฬโรคปอด

กาฬโรคถือเป็นโรคระบาดที่เป็นภัยคุกคามต่อชีวิต หากคุณได้สัมผัสหรือคลุกคลีกับสัตว์ฟันแทะหรือโดนหมัดของสัตว์ฟันแทะกัด แล้วมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือมีอาการอื่นๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นควรรีบเข้ารับการปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการนำหนองที่ดูดมาจากฝี เสมหะ หรือน้ำที่ไขสันหลัง มาตรวจหาเชื้อด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์

หากรูปร่างของเชื้อมีโอกาสที่จะเป็นกาฬโรคก็อาจจะทำการตรวจด้วย Fluorescent Antibody Test (FA Test) ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อแบคทีเรียที่มีความเฉพาะเจาะจง หรืออาจจะใช้วิธีการตรวจแบบ Antigen- capture ELISA หรือ Dipstick formats หรือ PCR ที่ก็เป็นวิธีการตรวจที่มีความเฉพาะเจาะจงเช่นเดียวกัน

การรักษากาฬโรคปอด

การติดเชื้อกาฬโรคปอดนั้น มักจะเริ่มต้นด้วยอาการ มีไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย และบางครั้งพัฒนาอย่างรวดเร็วไปจนถึงอาการติดเชื้อที่ปอดจนมีปัญหาในการหายใจ เจ็บหน้าอก บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาด้วย ซึ่งการรักษาโรคกาฬโรคในระยะแรกนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิต โดยจะต้องให้ยาปฏิชีวนะภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีอาการครั้งแรก ซึ่งยาปฏิชีวนะ Streptomycin, Gentamicin, Tetracyclines, Chloramphenicol ล้วนเป็นยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาฬโรคปอด การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน 7 วัน จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อกาฬโรคได้ นอกจากนี้การสวมใส่หน้ากากอนามัยยังช่วยลดการติดเชื้อได้อีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับกาฬโรคปอด

นอกเหนือจากการรักษาแล้ว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างอาจช่วยรับมือกาฬโรคปอดเบื้องต้นด้วยตนเองได้ กาฬโรคปอด ถือเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากสัตว์ฟันแทะ อย่างหนู ดังนั้นการทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ ไม่สกปรกหรือเป็นแหล่งอาศัยของหนู กำจัดหนูในพื้นที่และควบคุมหมัดของสัตว์ไม่ให้แพร่กระจาย เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดพาหะของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกาฬโรคได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ฟันแทะอย่างกระต่าย หนู กระรอกด้วย หากมีความจำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็จะต้องป้องกันตนเองอย่างดี เช่น สวมใส่หน้ากากอนามัย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Facts about Pneumonic Plague

https://emergency.cdc.gov/agent/plague/factsheet.asp

Pneumonic Plague

https://www.doh.wa.gov/Emergencies/BePreparedBeSafe/Diseases/PneumonicPlague

What are symptoms of pneumonic plague?
https://www.webmd.com/a-to-z-guides/qa/what-are-symptoms-of-pneumonic-plague

The Plague

https://www.healthline.com/health/plague

โรคกาฬโรค (PLAGUE)

https://www.pidst.or.th/userfiles/f5.pdf

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/04/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคฉี่หนู โรคร้ายที่มากับน้ำขังและต้องระวังแม้จะเป็น “คนเมือง”

กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic Plague)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา