หอบหืด เป็นภาวะเรื้อรังที่ทำให้เกิดการหายใจมีเสียง (เสียงเหมือนนกหวีดเมื่อคุณหายใจ) แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และไอ หอบหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการและรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตตามปกติและมีสุขภาพดีได้
คำจำกัดความ
หอบหืดคืออะไร
หอบหืด (Asthma) เป็นภาวะหนึ่งซึ่งอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดถูกจำกัด เนื่องจาก มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบทางเดินหายใจตึงตัวและกระตุ้นอาการบางประการ หอบหืดเป็นภาวะเรื้อรังที่ทำให้เกิดการหายใจมีเสียง (เสียงเหมือนนกหวีดเมื่อคุณหายใจ) แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และไอ หอบหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการและรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตตามปกติและมีสุขภาพดีได้
หอบหืดพบได้บ่อยเพียงใด
โรคหอบหืด เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในคนได้ทุกวัย แต่มักเกิดได้มากที่สุดในวัยเด็ก โดยพบว่า คนประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลกเป็น โรคหอบหืด สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ หอบหืด
อาการทั่วไปของ โรคหอบหืด ได้แก่
- ไอเรื้อรัง อาการไอจากหอบหืดมักมีอาการแย่ลงในตอนกลางคืนหรือในตอนเช้าตรู่
- หายใจมีเสียง หายใจมีเสียงเป็นเสียงคล้ายนกหวีดหรือเสียงแหลม
- หายใจลำบาก
- อาการแน่นหน้าอกที่อาจรู้สึกเหมือนว่า มีบางสิ่งกำลังบีบเค้นหรือทับบนหน้าอกและอาจทำให้เกิดอาการปวด
- มีปัญหาในการนอนหลับจากอาการไอหรือหายใจมีเสียง
เด็กที่เป็นหอบหืดมักมีอาการไอเรื้อรัง แต่อาการอื่น ๆ ที่ค้ลายคลึงกับหอบหืดในผู้ใหญ่ยังอาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาการไอ หายใจมีเสียง และหายใจลำบาก
ประเภทของอาการหอบหืด ความถี่ของการเกิดอาการ และความรุนแรงของอาการ อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ในบางครั้ง อาการต่าง ๆ อาจเพียงสร้างความรำคาญ แต่บางครั้ง อาการอาจเป็นปัญหามากพอที่จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
ควรไปพบหมอทันทีเมื่อเกิดอาการขึ้น เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงกว่าเดิม อาการขั้นรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยเป็น โรคหอบหืด ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ควรไปพบหมอเพื่อหาการรักษาที่เหมาะสม หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการต่าง ๆ ของ โรคหอบหืด สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
หากมีอาการที่พบได้ทั่วไปเหล่านี้หนึ่งประการหรือมากกว่า ให้ทำการนัดหมายเพื่อปรึกษาแพทย์
- อาการไอที่เรื้อรังหรือมีอาการแย่ลงจากการติดเชื้อไวรัส และเกิดขึ้นในขณะระหว่างนอนหลับหรือถูกกระตุ้นด้วยการออกกำลังกายและอากาศเย็น
- หายใจมีเสียงหรือมีเสียงคล้ายนกหวีดเมื่อหายใจออก
- หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย
- แน่นหน้าอก
- อ่อนเพลีย หากเกิดในเด็ก เด็กทำกิจกรรมช้าลง หรือหยุดทำกิจกรรม
- ในเด็กทารก อาจมีปัญหาในการป้อนอาหาร หรือมีเสียงร้องครางในระหว่างป้อนอาหาร
- มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางสังคม
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เนื่องจากการไอหรือหายใจลำบาก
สาเหตุ
สาเหตุของ หอบหืด
ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดสำหรับการเกิดโรคหอบหืด อย่างไรก็ดี มีสิ่งกระตุ้นบางประการที่สามารถทำให้อาการต่าง ๆ ปรากฏขึ้นหรือมีอาการแย่ลง
- สารก่อภูมิแพ้จากฝุ่น ขนสัตว์ แมลงสาบ เชื้อรา และละอองเกสรจากต้นไม้ หญ้า และดอกไม้
- สารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ มลภาวะทางอากาศ สารเคมีต่าง ๆ หรือฝุ่นในที่ทำงาน สารประกอบในผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน และสเปรย์ เช่น สเปรย์ฉีดผม
- ยาต่าง ๆ เช่น ยาแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบปราศจากสเตียรอยด์ และกลุ่มยาปิดกั้นตัวรับเบต้า (Nonselective Beta-Blockers)
- สารซัลไฟต์ในอาหารและเครื่องดื่ม
- การติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด
- กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งรวมถึงการออกกำลังกาย
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของ หอบหืด
หอบหืดส่งผลต่อคนได้ทุกวัย แต่พบได้มากที่สุดในวัยเด็ก พันธุกรรมและการสัมผัสสารบางชนิดในสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยความเสี่ยงร่วมกันของการเริ่มต้นเป็นหอบหืดครั้งแรก
- ประวัติครอบครัว : ผู้ที่มีบิดามารดาเป็นหอบหืด ความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้น 3-6 เท่าในการเป็นหอบหืด เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่มีบิดามารดาเป็นหอบหืด
- การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ : ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจในวัยทารกและวัยเด็ก สามารถทำให้เกิดการหายใจมีเสียงได้ เด็กบางรายที่มีการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจมีอาการหอบหืดเรื้อรัง
- ภูมิแพ้ : การเป็นภูมิแพ้ เช่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (ผื่นแดง) หรือจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (ไข้ละอองฟาง) เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหอบหืด
- การสัมผัสสารกระตุ้นในการทำงาน : การสัมผัสสารเคมีบางชนิดในที่ทำงานสามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของหอบหืดได้ สำหรับบางคน การสัมผัสฝุ่นบางประเภท (ฝุ่นในโรงงานอุตสาหกรรมหรือฝุ่นจากไม้) ไอควันหรือไอจากสารเคมี และเชื้อราสามารถทำให้เกิดหอบหืดได้เป็นครั้งแรก
- การสูบบุหรี่ : ควันบุหรี่ทำให้ทางเดินหายใจระคายเคือง ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นหอบหืด ผู้ที่มีมารดาสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือสัมผัสกับควันบุหรี่มือสองยังมีโอกาสเป็นหอบหืดได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
- มลภาวะทางอากาศ : ส่วนประกอบหลักของการสัมผัสหมอกควัน (โอโซน) ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นหอบหืด ผู้ที่เติบโตหรืออาศัยอยู่ในเมืองมีความเสี่ยงสูงในการเป็นหอบหืด
- โรคอ้วน : เด็กและผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นหอบหืด ถึงแม้ว่าสาเหตุไม่ชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญบางรายระบุว่า เกิดจากการอักเสบที่มีไข้ต่ำในร่างกายที่เกิดขึ้นร่วมกับภาวะน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยโรคอ้วนมักใช้ยาต่าง ๆ มากกว่าคนทั่วไป จึงมักมีอาการที่รุนแรงกว่า และสามารถควบคุมหอบหืดได้น้อยกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเหมาะสม
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคหอบหืด
หอบหืดมีการวินิจฉัยโดยการตรวจสอบประวัติสุขภาพและทำการตรวจการหายใจเพื่อวัดการทำงานของปอด แพทย์จะฟังเสียงการหายใจและตรวจหาสิ่งบ่งชี้ต่าง ๆ ของ โรคหอบหืด หรือภูมิแพ้ สิ่งบ่งชี้ดังกล่าว ได้แก่ หายใจมีเสียง น้ำมูกไหลหรือโพรงจมูกบวม และภูมิแพ้ผิวหนัง คนจำนวนมากที่เป็นหอบหืดยังเป็นโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย ดังนั้น แพทย์จึงอาจทำการตรวจภูมิแพ้ด้วย
นอกจากนี้ ยังอาจทำการทดสอบบางประการเพื่อดูภาวะต่าง ๆ โดยระดับความรุนแรงของโรคจะเป็นตัวกำหนดการรักษาในระยะเริ่มต้น การทดสอบที่มักทำกันทั่วไป ได้แก่
- การตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) การตรวจนี้เป็นการวัดปริมาณอากาศที่หายใจเข้าและออก อีกทั้งยังเป็นการวัดความเร็วในการหายใจออกอีกด้วย
- การทดสอบเพื่อประเมินการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นของหลอดลม (Bronchoprovocation Test) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความไวต่อสิ่งกระตุ้นของหลอดลม
- การทดสอบเพื่อตรวจหาภาวะอื่นที่มีอาการเช่นเดียวกับหอบหืด เช่น กรดไหลย้อน เส้นเสียงทำงานผิดปกติ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- การตรวจเอกซเรย์หน้าอก หรือการการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการทดสอบเหล่านี้จะช่วยตรวจว่าอาจมีสิ่งแปลกปลอมหรือโรคอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ หรือไม่
การรักษาหอบหืด
ในปัจจุบันนี้ โรคหอบหืด ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการอาการต่าง ๆ ได้โดยการใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็นการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของหอบหืด
เมื่อมีการการใช้ยาที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม อาการทั่วไปจะดีขึ้น ดังนี้
- หายใจได้ดีขึ้น
- ทำสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการได้มากขึ้น
- มีอาการหอบหืดน้อยลง
การใช้ยา
ยาบางชนิดมักใช้เป็นประจำทุกวัน ได้แก่ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) สำหรับสูดดม ยาบูเดโซไนด์ (Budesonide) ยาโมเมทาโซน (Mometasone) ยาซิเคลโซไนด์ (Ciclesonide) ยาฟลูนิโซไลด์ (Flunisolide) ยาเบโคลเมทาโซน (Beclomethasone) และยาอื่น ๆ
ยา Leukotriene Modifiers เป็นยารับประทาน ซึ่งได้แก่ ยามอนเทลูคาสต์ (Montelukast) ยาซาเฟอร์ลูคาสต์ (Zafirlukast) และยาไซลูตัน (Zileuton)
ยาออกฤทธิ์เร็วหรือยาช่วยชีวิตจะนำมาใช้เพื่อคลายและเปิดหลอดลมอย่างรวดเร็วและบรรเทาอาการต่าง ๆ ในระหว่าง โรคหอบหืด กำเริบ หรือใช้ก่อนออกกำลังกายหากแพทย์สั่ง ยาเหล่านี้ ได้แก่ ยากลุ่ม Beta-Agonists ที่ออกฤทธิ์สั้น ยาขยายหลอดลมสำหรับพ่นจมูก (Inhaled Bronchodilator) เหล่านี้ ได้แก่ ยาอัลบิวเทอรัล (Albuterol) ยาเลวัลบิวเทอรัล (Levalbuterol) และยาเพอร์บิวเทอรัล (Pirbuterol)
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับรับประทานหรือใช้ทางหลอดเลือด อาจจำเป็นเมื่อหอบหืดชนิดเฉียบพลันกำเริบหรือมีอาการที่รุนแรง ตัวอย่างเช่น ยาเพรดนิโซน (Prednisone) ยาเมทิลเพรดนิโซน (Methylprednisolone)
ยาสำหรับพ่นจมูก
ย่าพ่นจมูกมักประกอบด้วย 2 ตัวยาหลัก ได้แก่ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับพ่นจมูก (Inhaled Corticosteroid) และยา Long-Acting Beta-Agonist (LABA) โดยยา LABAs เป็นยาควบคุมอาการที่ช่วยขยายหลอดลม
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับหอบหืด
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองดังต่อไปนี้จะช่วยให้รับมือกับ โรคหอบหืด ได้
- หากตั้งครรภ์ อาจต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ยา ซึ่งรวมถึงยาที่ใช้สำหรับหอบหืดด้วย เพราะการใช้ยาอาจกระทบต่อสุขภาพของแม่และลูกในท้องได้
- หลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้อาการหอบหืดแย่ลง (สิ่งกระตุ้นหอบหืด)
- ใช้ยาตรงเวลาและใช้ยาครบตามที่แพทย์สั่ง
- ทำตารางการรับประทานยาที่แสดงประเภทของยาและเวลารับประทานยา
- ขอให้เพื่อนหรือครอบครัวช่วยจัดการ “ระบบ’ ในชีวิตประจำวัน
- สร้างความคุ้นเคยกับการใช้ยา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน เช่น ก่อนหรือหลังอาหารบางมื้อ หรือเมื่อคุณแปรงฟันในตอนเช้าหรือตอนเย็น
- ตั้งนาฬิกาปลุก
- ใช้กล่องยาประจำอาทิตย์ที่มีช่องต่างๆ สำหรับแต่ละวันและช่วงเวลาต่างๆ ของวัน
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ