“แตงโม” ผลไม้หน้าร้อนยอดนิยม ที่ภายในมีลักษณะเป็นสีแดงบ้าง สีเหลืองบ้างตามสายพันธุ์ มาพร้อมรสชาติหวานฉ่ำชื่นใจ แต่ใครจะไปรู้ว่าจะการรับประทานแตงโมอาจส่งผลทำให้เราเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่ง แพ้แตงโม มักจะมีอาการคล้ายการแพ้อาหารทั่วไป เช่น แพ้อาหารทะเล แพ้ถั่วลิสง แต่อาการก็อาจแตกต่างไปได้ตามสภาพร่างกายของแต่ละคน นั่นทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง และน่าเป็นห่วงอย่างมาก วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธีรับมือกับ อาการแพ้แตงโม มาฝากคุณผู้อ่านทุกคน
[embed-health-tool-bmi]
แพ้แตงโม มีลักษณะอย่างไร
โรคแพ้แตงโม (Watermelon Allergy) เป็นภาวะที่มีความเชื่อมโยงกับโรคภูมิแพ้ของแต่ละบุคคล โรคนี้สามารถเริ่มเป็นได้ตั้งแต่เด็ก จนติดตัวไปจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ได้ โดยมีอาการหลัก ๆ ที่พบบ่อยมากที่สุดเมื่อรับประทานแตงโม ดังนี้
สำหรับผู้ที่มีโรคภูมิแพ้เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อรับประทานแตงโมเข้าไปอาจเกิดการกระตุ้นให้คุณมีอาการร้ายแรงเหล่านี้ขึ้น จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
- หายใจลำบาก หรือหายใจถี่ มีเสียงหวืด
- มีปัญหาในการเคี้ยว และกลืนอาหาร
- ลำคอ และลิ้นบวม
- ความดันโลหิตต่ำ
หากมีอาการข้างต้นเกิดขึ้น คุณควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยของคุณในทันที เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบสุขภาพด้านอื่น ๆ ที่รุนแรงตามมา
นอกจากแตงโมแล้ว ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ใดอีกบ้าง
ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้แพ้แค่ผลไม้ชนิดนี้เพียงชนิดเดียว แต่อาจมีอาการแพ้พืช และผลไม้ในตระกูลเดียวกันดังต่อไปนี้ได้ด้วย
ไม่ว่าคุณจะไปรับประทานอาหารที่ใด หากรู้ตัวว่ามีอาการแพ้วัตถุดิบข้างต้น โปรดแจ้งให้พนักงานทราบ และกำชับให้ผู้ประกอบอาหารละเว้นการใช้วัตถุดิบดังกล่าวในอาหารของคุณด้วย
ควรทำอย่างไรเมื่อ อาการแพ้แตงโม กำเริบ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อคนรอบข้างหรือตัวคุณเกิดอาการแพ้แตงโม ก็คือ ควรรีบแจ้งบริการฉุกเฉินที่อยู่ใกล้สถานที่ที่คุณอยู่มากที่สุด และในระหว่างการรอนี้ คุณควรเริ่มปฐมพยาบาลผู้ป่วยโดยเริ่มจาก
- ปลดเสื้อผ้า ให้ผู้ป่วยได้หายใจสะดวกขึ้น
- ให้ผู้ป่วยนอนราบตัวตรง
- ยกเท้าของผู้ป่วยขึ้นประมาณ 12 นิ้ว
- หากผู้ป่วยมีอาการอาเจียนให้พลิกตัวเขานอนตะแคง เพื่อไม่ให้เลอะเปรอะเปื้อน หรือเกิดอาการสำลัก
- ห้ามยกศีรษะก่อนหน่วยแพทย์มาถึง
- หลีกเลี่ยงการให้ผู้ป่วยรับประทานยาทุกชนิด เว้นแต่แพทย์จะอนุญาต
- เตรียมตัวทำ CPR ในยามจำเป็น
หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แพทย์อาจให้ผู้ป่วยพกอีพิเพน (Epinephrine auto injector หรือ Epipen) ในรูปแบบกระบอกฉีดพ่น เพื่อการรักษาตนเองหากอาการกำเริบอีกครั้ง และแพทย์อาจสั่งให้ใช้ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ร่วมด้วย