backup og meta

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลต่อผิวหนัง อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/02/2022

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลต่อผิวหนัง อย่างไรบ้าง

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานชนิดที่พบมากที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินหรือร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสูงผิดปกติ ร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลต่อผิวหนัง และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น แผลพุพอง เชื้อราที่ผิวหนัง อาการคัน โรคสะเก็ดเงิน การติดเชื้อรา และอาจนำไปสู่ภาวะที่อันตรายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลต่อผิวหนัง อย่างไรบ้าง

    ผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีแนวโน้มที่ระบบไหลเวียนเลือดจะทำงานได้ไม่ปกติ ทำให้เลือดที่ต้องไหลเวียนไปยังผิวหนังลดลง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดและระบบประสาท คอลลาเจนในผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวอีกด้วย

    ปัญหาผิวหนังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี แม้ว่าปัญหาผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายและจะหายไปเอง แต่ปัญหาสภาพผิวหนังบางอย่างก็เป็นอันตรายควรได้รับการรักษา

    ปัญหาผิวหนังที่มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2

    ผิวหนังช้าง (Acanthosis nigricans)

    ผิวหนังช้าง หรือ อะแคนโทสิสนิกริแคน เป็นโรคผิวหนังมีลักษณะหนาขึ้น เป็นปื้นสีดำตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณรอยพับ ขาหนีบ หลังคอดำ และรักแร้ ส่วนใหญ่แล้วโรคผิวหนังช้างมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานและโรคอ้วน แต่ถือว่าไม่เป็นอันตรายและไม่ติดต่อสู่ผู้อื่น การควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะปกติช่วยให้อาการดีขึ้นได้

    การติดเชื้อแบคทีเรีย

    การติดเชื้อแบคทีเรีย ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับทุกคน แต่สำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวานประเภทที่ 2 การติดเชื้อแบคทีเรียถือเป็นปัญหาสำคัญ เมื่อผู้ป่วยเบาหวานเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจะเกิดอาการปวด บวมแดง การติดเชื้อที่ผิวหนังจะลุกลามและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง

    การติดเชื้อรา

    การติดเชื้อราในผู้ป่วย โรคเบาหวานนิดที่ 2 นั้นถือเป็นเรื่องปกติ หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เมื่อเกิดการติดเชื้อราผิวหนังจะเกิดอาการแดง คัน และบวม บางครั้งผิวหนังบริเวณนั้นอาจเป็นปื้นแดง แห้ง และมีสะเก็ดสีขาว ส่วนใหญ่แล้วเชื้อราเหล่านี้มักจะเกิดในที่อุ่น ๆ อย่างรอยพับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  ใต้หน้าอก ขาหนีบ รักแร้ มุมปาก และใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

    ผิวแข็งและหนาขึ้น (Digital Sclerosis)

    ผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหลายปี อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้าแข็งและหนาขึ้นได้ ซึ่งผิวหนังที่แข็งและหนาเหล่านี้สามารถแพร่กระจายไปยังปลายแขน ต้นแขน ใบหน้า ไหล่ และหน้าอกอีกด้วย สำหรับบางคนอาจมีอาการข้อติดร่วมด้วย

    โรคสะเก็ดเงิน

    ผู้ที่เป็น โรคเบาหวานนิดที่ 2 มีความเสี่ยงที่เกิดโรคสะเก็ดเงินสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่มักจะเกิดรอยแดงบริเวณผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคันและเป็นสะเก็ด สำหรับบางคนที่เป็นโรคสะเก็ดเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงของเล็บและหนังศีรษะด้วย

    โรคด่างขาว

    โรคด่างขาว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเซลล์สีผิวที่ถูกทำลาย เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสีผิว โดยเกิดการเซลล์เม็ดสี (Melanocyte) ถูกทำลาย ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ จนเป็นดวงขาว ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ร่างกาย

    จุดที่หน้าแข้ง (Diabetic Dermopathy)

    จุดที่หน้าแข้ง หรือที่เรียกว่า Diabetic Dermopathy เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นในผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งจะมีสีน้ำตาลอ่อนเป็นจุด ๆ เกิดที่หน้าแข้ง ปัญหาจุดที่หน้าแข้งนั้นเกิดขึ้นจาก หลอดเลือดขนาดเล็กเกิดความเสียหาย จนทำให้สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณนั้นไม่เพียงพอ

    แผลพุพองที่ผิวหนัง

    ผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมักจะเกิดแผลพุพอง ที่มีขนาดผิดปกติขึ้นทั่วผิวหนังทั้งที่มือและเท้า แผลที่เกิดขึ้นมักจะมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติ ทางเลือกเดียวในการรักษา คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี

    ไขมันสะสมที่เปลือกตา (Xanthelasma)

    สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในร่างกายสูง จะมีเกล็ดไขมันสีเหลืองสะสมอยู่บริเวณเปลือกตาและใกล้เปลือกตา นอกจากนี้ ยังอาจเกิดที่บริเวณคอ ลำตัว ไหล่และรอบ ๆ ใต้วงแขนอีกด้วย

    ความผิดปกติของผิวหนังที่เกิดจาก โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีตั้งแต่ระดับที่ไม่น่ากังวลไปจนถึงระดับที่รุนแรง แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการและช่วยลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผิวหนังได้ด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา