การดูแลก่อนคลอด

การดูแลก่อนคลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการดูแลคุณภาพการนอนหลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เรียนรู้เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับ การดูแลก่อนคลอด ที่ Hello คุณหมอนำมาฝาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลก่อนคลอด

โรคอ้วนและการตั้งครรภ์ ผลกระทบและแนวทางในการรับมือที่เหมาะสม

ในยุคปัจจุบัน อัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โรคอ้วนไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของมารดาและทารกในช่วงการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในภาวะที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง และครรภ์เป็นพิษ บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของโรคอ้วนต่อการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งแนวทางการจัดการเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับทั้งแม่และทารก ผลกระทบของโรคอ้วนต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ ผลกระทบต่อแม่ โรคอ้วนในช่วงตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน เช่น: เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes): โรคนี้พบได้บ่อยในแม่ที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งแม่และทารกในระยะยาว ความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia): โรคอ้วนเพิ่มโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นๆ การผ่าคลอด: แม่ที่มีภาวะโรคอ้วนมักมีโอกาสสูงที่จะต้องผ่าคลอด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการฟื้นตัวที่ช้ากว่า ผลกระทบต่อทารก ผลกระทบจากโรคอ้วนของมารดาต่อทารก ได้แก่: น้ำหนักแรกเกิดเกินมาตรฐาน (Macrosomia): ทารกที่มีน้ำหนักตัวเกินอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการคลอด และมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บขณะคลอด ปัญหาสุขภาพในระยะยาว: ทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและเบาหวานในวัยเด็ก ความผิดปกติแต่กำเนิด: โรคอ้วนในมารดาเพิ่มโอกาสเกิดความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น Neural Tube Defects. การจัดการโรคอ้วนในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ การเตรียมตัวที่ดีสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้: การประเมินสุขภาพก่อนตั้งครรภ์: การตรวจสุขภาพทั่วไป รวมถึง BMI และระดับฮอร์โมน ช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม การลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย: การปรับโภชนาการและการออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การควบคุมน้ำหนัก: การปฏิบัติตามแนวทางควบคุมน้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน โภชนาการที่เหมาะสม: การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เช่น โปรตีน ผัก และผลไม้ […]

สำรวจ การดูแลก่อนคลอด

การดูแลก่อนคลอด

ท้องลาย จากการ ตั้งครรภ์ มีวิธีรักษาหรือไม่

ท้องลาย มักเกิดขึ้นกับหญิง ตั้งครรภ์ แทบทุกคน เพราะการตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง ผิวหนังจึงเกิดการขยายตัว กลายเป็นรอยแตกลายตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใต้ท้องแขน หน้าอก แต่มักเกิดรอยแตกลายบริเวณหน้าท้องมากกว่าบริเวณอื่น คุณแม่ตั้งครรภ์มักกังวลว่าท้องลายแล้วจะสามารถรักษาได้หรือไม่ หรือจะป้องกันการเกิดท้องลายได้อย่างไรบ้าง [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] สาเหตุที่ทำให้ ท้องลาย จากการ ตั้งครรภ์ ท้องลาย (Stretch marks) เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังขยายตัวเร็วเกินไป เป็นเหตุให้เส้นใยยืดหยุ่น (Elastic fibers) ที่อยู่ใต้ชั้นผิวแยกออก จนเกิดเป็นรอยแตกลาย ซึ่งหนึ่งในสาเหตของท้องลายมาจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ ดังนั้น การขยายของผิวหนังอย่างรวดเร็ว สามารถทำให้เกิดรอยแตกลายบนผิวได้ โดยเฉพาะบริเวณท้องและเต้านม ที่จะมีรอยแตกลายมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้รอยแตกลายยังสามารถปรากฏบนต้นขา ต้นแขน และก้น โดยรอยแตกลายอาจมีสีแดงหรือม่วง แต่หลังจากคลอดลูกแล้ว รอยแตกลายเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ จางเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีเทา และหากคนที่มีลักษณะผิวสีค่อนข้างสว่าง ก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดรอยแตกลายสีชมพูอ่อน ส่วนผู้หญิงที่มีผิวสีเข้ม มีแนวโน้มว่าจะเกิดรอยแตกลายที่มีสีสว่างกว่าสีผิวของตัวเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารอยแตกลายจะพบได้ทั่วไป แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะท้องลาย นอกจากนี้รอยแตกลายยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ได้แก่ ช่วงที่เปลี่ยนจากวัยเด็กเป็นวัยรุ่น น้ำหนักลงหรือน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว ออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง จนทำให้กล้ามเนื้อโตเร็วเกินไป ข้อมูลจากสมาคม the American Academy […]


การดูแลก่อนคลอด

ผู้หญิงตั้งครรภ์ขึ้นเครื่องบิน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

โดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์ที่สุขภาพดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อน ที่ต้องดูแลติดตามอย่างใกล้ชิดสามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ตามปกติ รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวโดยเครื่องบิน โดยปกติแล้ว ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถเดินทางในระยะสั้น เช่น การเดินทางในประเทศ ได้ สำหรับการเดินทางไกลข้ามประเทศนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์ขึ้นเครื่องบิน ได้หากอายุครรภ์ไม่เกิน 36 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นอายุครรภ์ที่ใกล้ครบกำหนดและอาจเสี่ยงต่อการคลอดบนเครื่องบินได้ ทั้งนี้อาจต้องเตรียมตัวเอง และสิ่งอื่น ๆ ให้พร้อม เช่น ใบรับรองแพทย์ที่อนุญาตให้บิน [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] สิ่งที่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ขึ้นเครื่องบิน ควรรู้ โดยทั่วไป ก่อนที่ผู้หญิงตั้งครรภ์จะเดินทางหรือขึ้นเครื่องบิน สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ตรวจสอบกฎของสายการบินในเรื่องของอายุครรภ์ที่อนุญาตให้ขึ้นเครื่องบินได้ ซึ่งปกติแล้วจะอนุญาตให้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ไม่เกิน 36 สัปดาห์ หรือบางสายการบินก็อาจกำหนดอยู่ที่ไม่เกิน 27 สัปดาห์ ขณะที่บางสายการบิน เช่น Air France Delta Airline หรือ Egypt Air ไม่กำหนดอายุครรภ์ที่สามารถทำการบินได้ นอกจากนี้ บางสายการบินอาจต้องการใบรับรองแพทย์ที่อนุญาตให้บินได้ด้วย เพราะฉะนั้นก่อนจะจองการเดินทาง ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรตรวจสอบนโยบายเรื่องนี้กับสายการบินที่จะทำการเดินทางก่อน อีกสิ่งที่ควรใส่ใจ คือ ประกันสุขภาพในระหว่างการเดินทาง ซึ่งจำเป็นต้องอย่างยิ่ง เพื่อประกันการช่วยเหลือทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน และการเคลื่อนย้ายกลับมารักษาต่อที่ประเทศของตัวเอง อาจต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ประกันสุขภาพในระหว่างเดินทางครอบคลุมหรือไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง ในกรณีของผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ และมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว […]


การดูแลก่อนคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์ทำงานบ้าน ได้หรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์ทำงานบ้าน ได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่คุณแม่ตั้งครรภ๋หลายคนสงสัย โดยปกติแล้ว การทำงานบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้อันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่ก็มีงานบ้านบางอย่างอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทำงานบ้าน อาจต้องทำด้วยความระมัดระวังและหลีกกเลี่ยงการทำงานบ้านบางประเภท เช่น การซักรีดเสื้อผ้า การถูพื้นและการกำจัดฝุ่น เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองและทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ทำงานบ้าน ได้หรือไม่ โดยปกติแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำงานบ้านได้ แต่งานบ้านบางประเภทอาจควรหลีกเลี่ยง และมีข้อควรระวังบางอย่าง ดังนี้ การทำความสะอาดเสื้อผ้า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำความสะอาดเสื้อผ้า เช่น ชุดคลุมท้องก่อนนำมาสวมใส่ เนื่องจาก การใส่เสื้อผ้าใหม่โดยที่ไม่ผ่านการซักอาจทำให้ได้รับสารเคมีบางชนิดที่ปนเปื้อนมากับเสื้อผ้า แต่การซักผ้า ตากผ้า หรือรีดผ้าจำนวนมาก ๆ เป็นสิ่งที่คุณแม่ครรภ์ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากตะกร้าผ้าอาจมีน้ำหนักถึง 9 กิโลกรัม ซึ่งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีอาการของการคลอดก่อนกำหนด รวมถึงมีรกเกาะต่ำ (Placenta Previa) หรือมีอาการอื่น ๆ คุณหมออาจไม่แนะนำให้ทำงานบ้านที่เป็นการซักรีด การถูพื้นและการกำจัดฝุ่น การถูพื้นและการกำจัดฝุ่นอาจทำให้อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica) รุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นการอักเสบที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดของเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) ที่อยู่บริเวณตั้งแต่หลังส่วนล่างลงไปจนทั่วทั้งขา ซึ่งการปวดสะโพกร้าวลงขาเป็นอาการที่อาจพบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจาก การตั้งครรภ์อาจทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มขึ้น หรือมีภาวะมดลูกกดทับเส้นประสาท นอกจากนี้ การทำงานบ้านที่ต้องก้มตัวไปข้างหน้าอาจทำให้อาการแย่ลงได้ ข้อควรระวังในการทำงานบ้าน สำหรับข้อควรระวังเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทำงานบ้าน อาจมีดังนี้ การทำความสะอาดทั่วไป คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องหลีกเลี่ยงการทำงานบ้าน หรือหากจำเป็นจะต้องทำงานบ้าน อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการทำงานงานที่ต้องยกของหนัก หรือต้องก้มเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ยังอาจต้องหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาด […]


การดูแลก่อนคลอด

ยาฆ่าแมลง อันตรายที่ แม่ท้อง ไม่ควรมองข้าม

ยาฆ่าแมลง นอกจากจะเป็นอันตรายต่อแมลง ศัตรูพืช และสัตว์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อคน โดยเฉพาะ แม่ท้อง ที่อาจได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำ สเปรย์กำจัดแมลง ยากันยุง ส่งผลให้เกิดอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด หรือการพิการแต่กำเนิดได้ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังสารพิษและยาฆ่าแมลง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช และควรเข้าพบคุณหมอในทันทีหากได้รับสารพิษหรือยาฆ่าแมลงเข้าไป เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ยาฆ่าแมลง คืออะไร ยาฆ่าแมลง คือ สารเคมีที่ใช้สำหรับกำจัดแมลง จัดอยู่ในสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (Pesticide) ชนิดหนึ่ง โดยสารเคมีกลุ่มนี้ นอกจากสารฆ่าแมลง ยังมี สารกำจัดวัชพืช สารฆ่าเชื้อรา และสารฆ่าสัตว์ฟันแทะ เช่น ยาฆ่าหนู ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์รอบตัวมากมายหลายชนิด บางชนิดใช้ในการเกษตร เช่น ยาฆ่าหญ้า บางชนิดใช้กันทั่วไปในครัวเรือน เช่น น้ำยาฟอกขาว สเปรย์กำจัดแมลงสาบ สารเคมีเหล่านี้อาจช่วยกำจัดศัตรูพืช และทำให้บ้านปลอดจากแมลง แต่ก็สามารถทำลายสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะหากกำลังตั้งครรภ์ กำลังให้นมบุตร หรือวางแผนจะมีลูก แหล่งของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในชีวิตประจำวัน หากเอ่ยถึง ยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า ใช้กันแค่ในกลุ่มของเกษตรกร ตามสวน […]


การดูแลก่อนคลอด

ยามีลอกซิแคม ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกหรือไม่

ยามีลอกซิแคม เป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มักใช้บรรเทาอาการปวดข้อ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก หากจำเป็นต้องใช้ยามีลอกซิแคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องปรึกษาคุณหมอ เพื่อคุณหมอให้คำแนะนำในการกินและสั่งจ่ายยาในปริมาณที่เหมาะสม ยามีลอกซิแคม คืออะไร ยามีลอกซิแคม (Meloxicam) คือ ยาในกลุ่มยายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drug – NSAID) ทำหน้าที่ลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและอาการปวดในร่างกาย อาการปวดหรือการอักเสบที่เป็นผลมาจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ในผู้ใหญ่ และข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก (Juvenile Rheumatoid Arthritis) ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี อาจรักษาได้ด้วยยามีลอกซิแคม องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration) ได้จัดยามีลอกซิแคมไว้ที่กลุ่ม C สำหรับการตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะถูกจัดไว้ในกลุ่ม D โดย ยาในกลุ่ม C คือ ยาที่ยังไม่เคยทดลองกับมนุษย์ แต่จากการทดลองกับสัตว์ พบว่า อาจมีผลข้างเคียง แม้ว่าผลข้างเคียงเหล่านั้นอาจจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ก็ตาม ส่วนยาที่อยู่ในกลุ่ม D คือ ยาที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ […]


การดูแลก่อนคลอด

โยคะคนท้อง ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวัง

เมื่อคนท้องฝึกโยคะอาจช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นการทำงานของระบบหายใจ และระบบประสาท ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น ช่วยให้ผ่อนคลาย ทั้งยังอาจช่วยเรื่องการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วย อย่างไรก็ตาม การฝึกโยคะคนท้อง ควรและอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญและคุณหมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ โยคะคนท้อง คืออะไร โยคะ เป็นกระบวนการฝึกฝนร่างกายและจิตใจที่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะหากฝึกอย่างถูกต้อง อาจส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว การฝึกโยคะคนท้องก็เหมือนกับการฝึกโยคะปกติ เพียงแต่อาจต้องปรับเปลี่ยนท่าทาง และเลือกประเภทของโยคะให้เหมาะสมกับคนท้องมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ เล่นโยคะตอนท้องดีอย่างไร การฝึกโยคะคนท้องอย่างน้อยวันละ 30 นาที อาจมีประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องใช้พลังงานและความแข็งแรงของร่างกายมากขึ้น การฝึกโยคะคนท้องจะช่วยให้สะโพก แขน หลังและไหล่แข็งแรงขึ้น จึงสามารถรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ในช่วงตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ หน้าอก หลังส่วนบน และหลังส่วนล่างของคุณแม่อาจตึงและแอ่นมากขึ้น น้ำหนักและแรงกดของทารกในครรภ์อาจทำให้สะโพกและหลังส่วนล่างตึงตัว ส่วนขนาดหน้าอกที่เพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้หลังส่วนบน คอ และไหล่ตึงได้ การฝึกโยคะเป็นประจำ จึงอาจช่วยให้ยืด และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวผ่อนคลายขึ้่นได้ ช่วยให้จิตใจสงบ เมื่อฝึกโยคะ คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องหายใจให้ลึกขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบประสาทเข้าสู่โหมดพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งเป็นระบบประสาทที่ทำงานในสภาวะพักของร่างกาย เมื่อร่างกายอยู่ในโหมดนี้อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี นอนหลับสนิทขึ้น ทั้งยังอาจช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ด้วย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด […]


การดูแลก่อนคลอด

แม่ท้องทำเล็บ อย่างไรจึงจะปลอดภัย และความเสี่ยงที่ควรรู้

แม้ว่าจะเป็นคุณแม่ท้อง ก็ยังคงอยากจะสวยและดูดีเหมือนกับสาว ๆ ทั่วไป แต่คุณแม่หลายคนอาจจะมีความกังวลว่าการเสริมความงามอย่างการ ทำเล็บ ว่าเป็นอันตรายหรือเปล่า สารเคมีที่อยู่ในยาทาเล็บ จะทำให้เกิดปัญหาอะไรกับคุณแม่ท้องหรือไม่ ลองมาหาคำตอบเกี่ยวกับสารพัดปัญหา แม่ท้องทำเล็บ ด้วยกันกับ Hello คุณหมอ นะคะ [embed-health-tool-due-date] ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อ แม่ท้องทำเล็บ การติดเชื้อที่เล็บจากการ ทำเล็บ สิ่งแรกที่คุณควรตรวจสอบในร้านเสริมสวยก็คือ ความสะอาด หากร้านนั้นทำความสะอาดเครื่องมือที่ไม่ดี อาจจะเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ผิวหนังและเล็บ การติดเชื้อต่าง ๆ มีดังนี้ การติดเชื้อจากแบคทีเรีย การ ทำเล็บ อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย สัญญาณแรกของการติดเชื้อ คือ อาการบวม แดง หรือแสบร้อนที่เล็บ การใช้ยาฆ่าเชื้อหรือการเอาหนองในบริเวณที่ติดเชื้อออก เป็นวิธีในการรักษาการติดเชื้อประเภทนี้ การติดเชื้อรา การติดเชื้อชนิดนี้ทำให้เล็บเหลือง หรืออาจทำให้เล็บหลุด วิธีการรักษาคือ การรับประทานยาหรือการใช้ยาทาเฉพาะที่ การติดเชื้อไวรัส ตัวอย่างการติดเชื้อประเภทนี้คือ โรคหูด (Plantar warts) หูดเกิดขึ้นมีสีแตกต่างกัน และมีลักษณะคล้ายหนังหนาด้าน การรักษาทำได้โดยการใช้ยาทาเฉพาะที่ การได้รับสารเคมี อุปกรณ์สำหรับทำเล็บเกือบทั้งหมดนั้นจะมีส่วนประกอบของสารระเหย หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่ไม่มีกลิ่นนั้น ปลอดภัยกว่าผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่มีกลิ่นแรง แต่ที่จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่ไม่มีกลิ่นอาจจะไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป สารเคมีที่คุณอาจได้รับจากการเข้ารับบริการ ทำเล็บ […]


การดูแลก่อนคลอด

คนท้องเป็นเบาหวาน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานและวางแผนตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองให้ดีทั้งในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ โดยทั่วไป คนท้องเป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีน้ำตาลน้อย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจครรภ์กับคุณหมออย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คนท้องเป็นเบาหวาน ควรดูแลตัวเองอย่างไร วิธีในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ สำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน สามารถทำได้ดังนี้ 1. วางแผนการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน ควรรับคำปรึกษากับทีมแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ คุณหมอต้องประเมินถึงผลของโรคเบาหวานในร่างกาย และให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างช่วงตั้งครรภ์ หรือเปลี่ยนยาหากจำเป็น และวางแผนเพื่อติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ หากน้ำหนักเกิน คุณหมออาจแนะนำให้ลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 2. พบคุณหมออย่างต่อเนื่อง คนท้องเป็นเบาหวาน ควรเข้ารับการรักษา หรือตรวจเช็กสุขภาพตามนัดหมายบ่อยกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี คุณแม่และคุณหมอจะทำงานร่วมกันเพื่อป้องกัน หรือทำให้ตรวจพบปัญหาได้เร็ว 3. กินอาหารที่มีประโยชน์ ทุกคนควรกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน นักโภชนาการสามารถช่วยวางแผนโภชนาการ และบอกวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างตั้งครรภ์ที่เหมาะสมที่สุด 4. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเป็นตัวช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว ควรใช้เวลาในการออกกำลังกายระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือการเล่นกับลูก ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5. กินยาและฉีดอินซูลินตามคำแนะนำ ควรใช้ยารักษาโรคเบาหวานและอินซูลิน (Insulin) ตามที่แพทย์สั่ง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 6. ควบคุมและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเร่งด่วน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ในบางครั้ง หากใช้ยาโรคเบาหวานหรืออินซูลิน […]


การดูแลก่อนคลอด

ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นอันตรายหรือไม่

การกินมังสวิรัติ เป็นรูปแบบการกินอาหารโดยการงดกินเนื้อสัตว์ ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การกินมังสวิรัติแบบยังกินไข่และนมอยู่ การกินมังสวิรัติแบบไม่กินผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์เลย ทุกคนสามารถเลือกกินมังสวิรัติได้ แต่หากผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือปัญหาทารกพิการแต่กำเนิดได้ ดังนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่กินเนื้อสัตว์จึงอาจต้องรับประทานอาหารเสริมเพื่อชดเชยวิตามินและแร่ธาตุที่ขาดหายไปจากการไม่กินเนื้อสัตว์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นอันตรายหรือไม่ หากผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ อาจทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ แต่หากผู้หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องงดกินเนื้อสัตว์ ก็สามารถทำได้แต่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ผู้หญิงตั้งครรภ์จึงควรปรึกษานักโภชนาการหรือปรึกษาคุณหมอ เพื่อวางแผนการกินอาหารในกรณีที่ต้องงดกินเนื้อสัตว์ สารอาหารที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ควรได้รับ เนื่องจากการไม่กินเนื้อสัตว์อาจทำให้ขาดสารอาหาร ดังนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์จึงควรบริโภคสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ ดังนี้ วิตามินบี 12 แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 คือเนื้อสัตว์ ดังนั้นการงดกินเนื้อสัตว์จึงอาจทำให้ขาดวิตามินบี 12 ซึ่งถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ขาดวิตามินบี 12 จะส่งผลต่อพัฒนาการทางระบบประสาทของทารก นอกจากนี้องค์กรอนามัยโลกยังกล่าวว่าการมีระดับวิตามินบี 12 ต่ำจะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ซึ่งเป็นสาเหตุของการผิดปกติแต่กำเนิดของทารก สำหรับแหล่งวิตามินบี 12 จากอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ ได้แก่ อาหารเช้าซีเรียลที่มีการเติมสารอาหาร (เลือกแบบที่มีน้ำตาลน้อย) เครื่องดื่มนมถั่วเหลืองที่มีการเติมสารอาหาร สารสกัดยีสต์ เช่น Marmite วิตามินบี 12 จากแหล่งอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์มีอย่างจำกัด ดังนั้น ผู้ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงอาจต้องได้รับวิตามินบี 12 […]


การดูแลก่อนคลอด

ยาอะเซตามิโนเฟน ส่งผลต่อ ทารกในครรภ์ อย่างไรบ้าง

ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) เป็นตัวยาแก้ปวดและลดไข้ประเภทหนึ่ง ที่พบได้ในยาแก้ปวดหลายชนิด ใช้เพื่อรักษาอาการ ต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ข้ออักเสบ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน อาการไข้ อย่างไรก็ตาม หากใช้ยานี้ระหว่างอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคของทารกในครรภ์ เช่น โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) โรคออทิสติก โรคหอบหืด ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ และควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนใช้ยาใด ๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาอะเซตามิโนเฟน ยาอะเซตามิโนเฟนเป็นตัวยาแก้ปวดประเภทหนึ่ง ที่พบได้โดยทั่วไปในยาหลายประเภท นอกเหนือจากใช้รักษาอาการปวดที่รุนแรงแล้ว คุณหมอยังใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย จากข้อมูลขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ยาอะเซตามิโนเฟนจัดอยู่ในกลุ่ม C ซึ่งหมายความว่า ยานี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงหลายประการต่อทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยานี้ยังอาจแพร่ไปยังน้ำนมแม่ และทำอันตรายต่อทารกที่ดื่มนมแม่อีกด้วย ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนระหว่างตั้งครรภ์และให้นมลูกโดยเด็ดขาด ยกเว้นได้รับใบสั่งยาจากคุณหมอ ยาอะเซตามิโนเฟน ส่งผลอย่างไรต่อ ทารกในครรภ์ อะเซตามิโนเฟนมีความสัมพันธ์กับภาวะที่เกี่ยวกับพฤติกรรมในเด็ก โดยเฉพาะเมื่อหญิงตั้งครรภ์ใช้ยานี้ในช่วงระหว่างสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาการของสมอง และการเจริญเติบโตของสมองเด็ก โดยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากคุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ยาอะเซตามิโนเฟน มีดังนี้ ทารกมีความเสี่ยงต่ออาการสมาธิสั้น ทารกมีความเสี่ยงต่ออาการออทิสติก ทารกเสี่ยงต่อโรคหอบหืด คำแนะนำในการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หากเป็นไข้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน